Microsoft Word ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการใด

• ระบบปฏิบัติการ (Operating System)

ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์แลซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น ระบบปฏิบัติงานมีหน้าที่หลัก ๆ คือ

o จัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูลสำรอง และเครื่องพิมพ์

o จัดการงานในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้

o ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่น เช่น การรับข้อมูล และการแสดงผล เป็นต้น ปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะถูกเรียกให้เริ่มต้นทำงานผ่านระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการทำงานอยู่เบื้องหลังการทำงานของผู้ใช้ โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรมหรือเครื่องที่มีขนาดใหญ่ก็ย่อมมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะต้องดูแลการทำงานหลายอย่างจากผู้ใช้หลายคนพร้อมกัน

ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ คือระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ เลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Competible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh) โดยปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่าเอ็มเอสดอส (MS - DOS)หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่าคือไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าแมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิดก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด

โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม

o ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS - DOS)

ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มักจะมีฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่าการบูตระบบ (booting) หรือ บูตแสตป (bootstrap) ซึ่งมีขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิทช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอสได้ทันที

2.ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ประเภทของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก อาจแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ

- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand-alone OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว(เจ้าของเครื่องนั้นๆ) นิยมใช้สำหรรรรรรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้ใช้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนังหรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มมมมีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการ จากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย

- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network OS) เป็นระบบการที่มุ่งเน้นและบริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน(multi-user) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่อง sever ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับผุ้ใช้นั่นเอง

- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embeded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือSmart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อมๆกับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

ประเภทของระบบปฏิบัติการ

 ระบบปฏิบัติการดอส :::: ระบบปฏิบัติการดอส (DOS : Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กันแพร่หลาย ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น (Versions) 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย เช่น มีฮาร์ดดิสก์ มีหน่วยความจำน้อย ซีพียูรุ่นเก่า ๆ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร (TextMode)

รูปแสดงการขอดูรายชื่อไฟล์ที่มีส่วนขยาย ini ในไดรฟ์ C:\windows

ระบบปฏิบัติการ DOS มีข้อเสียคือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้อง โปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Microsoft Windows Version 1.0 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึง Version Microsoft Windows 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานในสภาพแวดล้อม ที่เป็นกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface(GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ Microsoft Windows 3.11 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติเด่นของ Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic OS แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User OS แต่ก็ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูตเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน

 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์95 :::: ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ และวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1995 เป็นซอฟต์แวร ์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป ที่มีคุณลักษณะฮาร์ดแวร ์และหน่วยความจำ สูงกว่าระบบปฏิบัติการดอส ต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็ว ในการประมวลผลด้วย ตัวโปรแกรมต้องใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ประมาณ 40 MB มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นภาพกราฟิก ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น (Friendly User Interface)

รูปแสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการWindows95 บรรจุในแผ่นซีดี

วินโดวส์ 95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิก การใช้งานควบคุมโปรแกรม โดยใช้เมาส์เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่ง สะดวกต่อการใช้งานมาก นอกจากนั้นยังมี DOS Prompt ให้สามารถใช้คำสั่ง ที่จำเป็นของดอสในวินโดวส์ 95 ได้อีกด้วย ความสามารถของวินโดวส์ 95 คือเตรียมโปรแกรม สำหรับการควบคุม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ไว้จำนวนมาก สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ ที่นำมาเชื่อมต่อใหม่ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สะดวกอย่างมาก ในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เข้ากับคอมพิวเตอร์ การทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า Pnp (Plug and Play) นอกจากนี้ยังมีความสามารถ จัดการในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) เพื่อใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่ายร่วมกัน

 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 :::: วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง พัฒนาต่อเนื่องมาจาก วินโดวส์ 95 สามารถทำงานแบบหลายงาน (Multi-Tasking OS) มีผู้ใช้ในระบบเพียงคนเดียว แบบ Single- User OS ได้ อีกทั้งยังสามารถ นำไปใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นแบบ Generic Operating System การทำงานของวินโดวส์ 98 ติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphic User Interface (GUI) เช่นเดียวกับวินโดวส์ 95 แต่ปรับรูปแบบให้ดูสวยงาม อัตโนมัติยิ่งขึ้น มีความสามารถ ในการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้สะดวกยิ่งขึ้น มีโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือ สำหรับการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มาพร้อมคือโปรแกรม Internet Explore 

รูปแสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows 98 บรรจุในแผ่นซีดี

ข้อด้อยของโปรแกรม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 คือ ต้องการทรัพยากรของระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์มัลติมีเดียสูง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถติดตั้งวินโดวส์ 98 ได้ แต่มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มากกว่าวินโดวส์ 95 มีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ สนับสนุนทำงานบนระบบวินโดวส์ 98 เป็นจำนวนมาก รองรับการใช้งาน ด้านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี

 ระบบปฏิบัติการ Windows ME :::: Windows ME (Windows Millennium Edition) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95และ98 ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสม กับผู้ใช้ตามบ้าน เป็นระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย ฉลาด และเข้าใจผู้ใช้ มากกว่าวินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 หน้าตาของ Windows ME จะมีรูปลักษณ์เหมือนวินโดวส์ 98 มาก แต่มันมีคุณลักษณะพิเศษ ที่เหนือกว่าเดิมมาก เช่นสามารถสร้างระบบเครือข่าย ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ด้านอินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย มากกว่าวินโดวส์ 98 อีกด้วย

รูปแสดงโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows Me

 ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 :::: Windows 2000 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ระบบเครือข่าย และเป็น OS ที่สร้างขึ้นมาเป็น GUI ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการนำ Application เดิม ๆ ที่เคยใช้กับระบบปฏิบัติการดอส หรือโปรแกรม ที่สั่งงานฮาร์ดแวร์โดยตรง มาใช้บนระบบปฏิบัติการ วินโดวส์2000 อาจไม่ยอมทำงานให้ แต่การทำงานระบบ Multi-Tasking และ Multi-User ใช้งานได้ดีกว่าตระกูล วินโดวส์ 95 และ 98 โดยทำการควบคุม ขบวนการทำงาน ของแต่ละโปรแกรมได้ดีขึ้น

 ระบบปฏิบัติการ Windows XP :::: WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง

รูปแสดงระบบปฏิบัติการ Windows XP

Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น

 ระบบปฏิบัติการ Windows NT :::: ระบบปฏิบัติการ Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย ในระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) โดยจัดการด้านการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์ และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย ได้เป็นอย่างดี ในระบบเครือข่ายจะมีผู้ใช้งานหลายคน วินโดวส ์NTจะทำการจัดทรัพยากรของระบบ ให้มีการใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้เป็นอย่างดี

รูปแสดงระบบปฏิบัติการ Windows NT

 ระบบปฏิบัติการปาล์ม :::: ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Palm OS) มีจุดกำเนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ที่มีความต้องการทรัพยากรต่ำ มีความสามารถไม่สูงมากนัก แต่มีความสะดวกในการใช้งาน คล่องตัว และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องได้ มีโปรแกรมใช้งานแบบเบ็ดเสร็จในตัว รองรับการ Plug in Module ต่างๆได้พอสมควร

รูปแสดงระบบปฏิบัติการ Palm

 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ :::: ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bell สร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ใช้ในการควบคุมการทำงาน ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นระบบยูนิกซ์ จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้มีการพัฒนา ให้สามารถนำยูนิกซ์ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากสองค่ายคือ AT&T และ BSD และคาดว่ายูนิกซ์จะเป็นที่นิยมต่อไป

รูปแสดงการใช้งานระบบปฏิบัติการ Unix

ลักษณะการทำงาน ยูนิกซ์ ติดต่อกับผู้ใช้ได้ โดยการพิมพ์คำสั่งลงบนเครื่องหมาย Prompt Sign แต่ในปัจจุบัน สามารถจำลองจอภาพการทำงานของยูนิกซ์ ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของวินโดวส์ได้แล้ว ทำให้สามารถทำงาน ติดต่อกับผู้ใช้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติพิเศษของยูนิกซ ์คือ เรื่องของการรักษาความปลอดภัย ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความสามารถสูง ในด้านการติดต่อสื่อสารระยะไกล ระหว่างคอมพิวเตอร์ ทำให้ยูนิกซ์ ถูกนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับเครือข่ายของโลกที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต ดังนั้นก่อนที่ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบยูนิกซ์ ได้จะต้องทำการพิมพ์ Login Name : หรือชื่อผู้ใช้ (User Name) และรหัสผ่าน (Password) เมื่อเข้าสู่ระบบ โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้กำหนดให้ UserName และ Password แก่ผู้ใช้แต่ละคน เพื่อควบคุมการใช้งาน และการรักษาความปลอดภัย

 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ :::: ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน มาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า เพราะว่าลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ ประเภทแจกฟรี (Open Source) ผู้นำไปใช้งาน สามารถที่จะพัฒนา และปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหา ระหว่างใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด และยังมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update) ในทุก ๆ ส่วนของซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา มีบริษัทเอกชน และกลุ่มผู้สนใจร่วมมือกันพัฒนาแอปปลิเคชั่น ที่ใช้งานบนลีนุกซ์ เพื่อทำให้การทำงาน มีประสิทธิภาพมากที่สุด

รูปแสดงระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ติดตั้งลงในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานกันทั่วไป สาเหตุเพราะว่าลีนุกซ์ ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี มีปัญหาระหว่างการใช้งานน้อย ถ้าผู้ดูแลระบบ สามารถที่จะควบคุมดูแลการทำงาน และมีการบำรุงรักษาตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องได้

 ระบบปฏิบัติการ Windows CE :::: Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กหรือรุ่นย่อส่วน สำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถพกพาได้ แต่ยังคงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายวินโดวส์รุ่นใหญ่ ๆ เหมือนกัน เพื่อตอบสนองการใช้งานที่คุ้นเคยกับรุ่นใหญ่ จึงนิยมใช้ในเครือ Pocket PC ที่สามารถถ่ายโอนงาน จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้ดีพอสมควร

 ระบบปฏิบัติการ Mac :::: Mac เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล Macintosh ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ Graphic User Interface ตั้งแต่เริ่มต้นสามารถทำงานกราฟิกได้ ในช่วงเวลาที่เครื่อง IBM PC ยังเป็นโหมดตัวอักษร ดังนั้นเครื่องตระกูลนี้ ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มงานพิมพ์ ตามโรงพิมพ์ต่าง ๆ

 ระบบปฏิบัติการ Firmware :::: Firmware เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน โดยส่วนใหญ่มักจะทำเป็นเครื่องที่สำเร็จมาแล้ว เช่น Router Modem Printer Firmware จะถูกบรรจุอยู่ในหน่วยความจำประเภทรอม

สรุปหน่วยที่ 3

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นโปรแกรมที่มีความสำคัญ ต่อการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มาก เพราะโปรแกรมประเภทอื่น ๆ จะทำงานในคอมพิวเตอร์ได้ ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุม และการจัดการของ OS เพราะฉะนั้น OS จึงเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของระบบ ถ้าไม่มีโปรแกรม OS ระบบคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันมีดังนี้คือ ระบบปฏิบัติการ DOS Windows95 Windows98 WindowsME Windows2000 WindowsXP WindowsNT Palm Unix Linux Windows CE Mac Solaris และ Firmware