เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย ประวัติ

จากอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มาตามทางสาย 101 ที่ไปสวรรคโลก ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะตรงเข้าสู่อำเภอศรีสัชนาลัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. เมืองเชียง เชียงชื่น ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2536.

เมืองเก่าศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมฟากตะวันตก บริเวณแก่งหลวง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นเมืองที่มีอยู่ก่อนตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีขนาดเล็ก ชื่อว่า เชลียง ตั้งอยู่แถบวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง และวัดเจ้าจันทร์ ทางทิศตะวันออกของศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างเมืองหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 16-17 และพัฒนาเป็นแคว้นเชลียง ซึ่งกลายเป็นแคว้นสุโขทัยในเวลาต่อมา

เมื่อสุโขทัยเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา ศรีสัชนาลัยก็เป็นเมืองชั้นโท เป็นเมืองด่านกันชนระหว่างล้านนากับอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองชั้นโท ชื่อว่าสวรรคโลก สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระยาสวรรคโลก และพระยาพิชัยเป็นกบฏ จึงถูกปราบ สวรรคโลกจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังสงครามยุทธหัตถี ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองสวรรคโลกอีก เป็นเมืองชั้นโท เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยา พม่าตีสวรรคโลก ผู้คนจึงหนีเข้าป่า กลายเป็นเมืองร้างอีกครั้ง สมัยธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองสวรรคโลกใหม่ สมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสวรรคโลกมายังตำบลวังไม้ขอน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน หัวข้อ อุทยานโบราณตระการตา

เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย ประวัติ
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย ประวัติ
วัดสวนแก้วอุทยานน้อย

อาณาเขตเมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่ ประกอบด้วยโบราณสถาน ศาสนสถาน คูน้ำ คันดิน บ่อน้ำ สระน้ำ แหล่งเครื่องปั้นดินเผา ส่วนใหญ่โครงสร้างเป็นศิลาแลง ฉาบผิว ปั้นตกแต่งลวดลายด้วยปูน เช่นวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานน้อย หลักเมือง เขาพนมเพลิง วัดเขาสุวรรณคีรี แหล่งเตาเผาสังคโลก เช่น กลุ่มเตาป่ายาง กลุ่มเตาเกาะน้อย กรมศิลปากรได้จัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เปิด เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 และคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ควรได้รับการทะนุบำรุงรักษาเป็นสมบัติวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ

ที่ราบลุ่มแม่น้ํายมและที่ลาดเชิงเขาพระศรี เขาใหญ่ และเขาพระบาท ถือเป็นพื้นที่ ที่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มแม่น้ําและที่ลาดเชิงเขา ทําให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และปราการธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู จึงส่งผลให้พบหลักฐานการใช้พื้นที่ในบริเวณนี้ของมนุษย์ ในอดีตเป็นจํานวนมาก

จากการสํารวจพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ขวานหินขัด ที่ตําบลท่าชัย อําเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงให้เห็นว่ามีการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ที่บริเวณคุ้งแม่น้ํายมหรือเมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองโบราณลุ่มน้ํายมคู่กับเมืองสุโขทัยมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 9 หรือก่อนสมัยสุโขทัย คือ

- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 9 พบหลักฐานประเภท เศษภาชนะดินเผาคุณภาพต่ำ เนื้อหยาบ เผาอุณหภูมิไม่สูงนัก

- สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์-สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 10-16 พบการฝังศพ โดยฝังร่วมกับเครื่องมือเหล็กและเครื่องประดับต่าง ๆ เป็นของอุทิศ เช่น ลูกปัดหินอาเกต ลูกปัดแก้ว แท่งดินเผาลายตาราง เป็นต้น ทั้งหมด 15 โครง

- วัฒนธรรมสมัยลพบุรี-ต้นสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 พบซากโบราณสถาน รูปสี่เหลี่ยม 2 หลัง ก่อด้วยอิฐ เปรียบเทียบกับผลการขุดค้นใกล้เคียงพบว่าเป็นชั้นดินในช่วง ที่วัฒนธรรมเขมรแพร่เข้ามา จากนั้นพัฒนาเป็นวัฒนธรรมของสมัยสุโขทัย-อยุธยา และวัฒนธรรมสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ตามลําดับ

หลักฐานจากการสํารวจและขุดค้นดังกล่าวสอดคล้องกับเอกสารโบราณ ไม่ว่าจะเป็น จดหมายเหตุของจีนในสมัยราชวงศ์ซุ้ง (พุทธศักราช 1503-1670) ที่กล่าวถึงแคว้น “เฉินเหลียง” ว่าอยู่เหนือดินแดนละโว้ขึ้นไป หรือในพงศาวดารโยนก (พุทธศตวรรษที่ 16) กล่าวถึง การอพยพคนลงมาทาง ใต้จนถึงดินแดน “เฉลียง”

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยสุโขทัย

จากชุมชนเมืองเชลียง ได้พัฒนากลายเป็นเมืองศรีสัชนาลัย เมืองที่มีความสําคัญ ดังที่ปรากฏ ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม พุทธศักราช 1912) กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนสถาปนาสุโขทัย เป็นราชธานีของเมืองศรีสัชนาลัย ใจความว่า “เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาว...ไปเมืองบางยาง ให้เอา…พลพ่อ ขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดพาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันและกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย”

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยสุโขทัย

จากชุมชนเมืองเชลียง ได้พัฒนากลายเป็นเมืองศรีสัชนาลัย เมืองที่มีความสําคัญ ดังที่ปรากฏ ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม พุทธศักราช 1912) กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนสถาปนาสุโขทัย เป็นราชธานีของเมืองศรีสัชนาลัย ใจความว่า “เมื่อก่อนพ่อขุนบางกลางหาว...ไปเมืองบางยาง ให้เอา…พลพ่อ ขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดพาพ่อขุนผาเมืองผดาจกันและกัน พ่อขุนบางกลางหาวได้เมืองศรีสัชนาลัย”

ภายหลังจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อ พุทธศักราช 1793 เมืองศรีสัชนาลัย ได้กลายเป็นเมืองสําคัญอีกแห่งของสุโขทัย มีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงที่สําคัญในสมัยสุโขทัย ข้อมูลในศิลาจารึกกล่าวถึงเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะเมืองที่มีศักดิ์เทียบเท่ากับเมืองสุโขทัย ดังที่ปรากฏการเรียกชื่อเมืองทั้งสองควบคู่กันว่า “ศรีสัชนาลัย สุโขทัย” ในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหง พุทธศักราช 1834) และในช่วงการครองราชย์ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงโปรดเกล้า ให้พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระราชโอรสเสด็จไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย

เมื่อพ่อขุนรามคําแหงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้ทรงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา ด้วยการก่อสร้างศาสนสถาน (ก่อพระธาตุ) ดังที่ได้มีการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว ในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหง) มีใจความว่า “…1209 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลาย เห็นกระทํา บูชาบําเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวันจึงเอาฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุสามเข้าจึ่งแล้ว...”

เหตุการณ์สําคัญที่เกี่ยวกับเมืองศรีสัชนาลัยในสมัยสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งคือ พระมหาอุปราช ผู้ปกครองเมืองศรีสัชนาลัยยกพลเข้ายึดอํานาจในกรุงสุโขทัยเมื่อปลายรัชกาลพระเจ้าลือไท จากนั้นทรง ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าลิไท ความในจารึกหลักที่  4 (ศิลาจารึกวัดป่า มะม่วง ภาษาเขมร พุทธศักราช 1904) ความว่า

“มหาศักราช 1269 ศกกุน พระบาทกมรเดงอัญฤาไทยราช ผู้เป็นพระราชนัดดาของ พระบาทกัมรเดงอัญศรีรามราช เสด็จนําพยุหเสนาทั้งหลาย ออกมาจากเมืองศรีสัชนาลัยมา รีบตบแต่งโยธา เดินอยู่นอกพระวิไสย ณ วันศุกร์ขึ้น 5 คำ่เดือน 7 เมื่อเสด็จมีพระราชบัณฑูร ให้ไพร่พลทั้งหลาย...เข้าระดม ฟันประตู ประหารศัตรูทั้งหลาย...บัดนั้น จึงเสด็จพระราชดําเนินเข้าเสวยราชย์ ไอสูรยาธิปัตย์ ในเมืองสุโขทัย แทนพระบิดา พระอัยกา...แล้วถวายพระนามว่า พระบาทกัมรเดงอัญ ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช...”

ในรัชสมัยของพระยาลิไท ถือเป็นยุคทองของแคว้นต่าง ๆ ของสุโขทัย หมายรวมถึง เมืองศรีสัชนาลัยด้วยเช่นกัน เห็นได้จากงานก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จํานวนมาก ครั้นเมื่อสิ้นรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยก็อ่อนกําลังลง บรรดาหัวเมืองของ สุโขทัยต่างมีฐานะเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยา โดยในระยะแรกยังคงมีเจ้าเมืองท้องถิ่นเดิม ปกครองดูแลอยู่

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยกรุงศรีอยุธยา

หลังจากกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอํานาจโดยเด็ดขาดในรัชสมัยของ พระบรมราชาธิราชเมื่อ พุทธศักราช 1921 กรุงศรีอยุธยาได้พยายามเข้าควบคุมบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ของกรุง สุโขทัย โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้วิธีการแก้ไขจัดวางระเบียบการปกครองแบบใหม่ ซึ่งบรรดา เจ้าเมืองหัวเมืองต่าง ๆ จะต้องขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาโดยตรง รวมทั้งกําจัดอํานาจของผู้ปกครองท้องถิ่นเดิม ทําให้เจ้าเมืองเหล่านั้นไม่พอใจคิดแข็งเมืองเอาใจออกห่างไปพึ่งพิงฝ่ายตรงข้ามมีอาณาจักรล้านนาไทย เป็นต้น

เมื่อกรุงศรีอยุธยาได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว ได้ตั้งเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีฝ่ายเหนือ และกําหนดให้เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองชั้นโท ซึ่งมีความสําคัญเป็นอย่างมากในฐานะเมืองหน้าด่านกันชน ระหว่างกรุงศรีอยุธยาและล้านนา แต่เนื่องจากเมืองศรีสัชนาลัยพยายามตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรี อยุธยาจึงทําให้เกิดเหตุการณ์สําคัญขึ้น ดังต่อไปนี้

ในปี พุทธศักราช 2003 เกิดเหตุการณ์พระยาเชลียงหันไปสวามิภักดิ์แก่ล้านนา พงศาวดารโยนก และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐบันทึกความไว้ตรงกันว่าในปีจุลศักราช 822 (พุทธศักราช 2003) เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยเอาใจออกห่างพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยายอมสวามิภักดิ์ ต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบันทึกไว้ว่า

“… ศักราช 822 มะโรงศก … ครั้งนั้นพระญาเชลียงคิดขบถพาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่ มหาราช” ส่วนพงศาวดารโยนกนั้นกล่าวเนื้อความโดยละเอียดไว้ว่า “ในปีจุลศักราช 822 นั้น กองทัพกรุงศรี อยุธยาขึ้นไปตีเมืองแพร่มีหมื่นด้งนครตั้งรับอยู่ เมื่อพระเจ้าติโลกราชเข้ามาช่วย กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ถอย กลับในครั้งนั้นพระเจ้าติโลกราชยกทัพตามกองทัพกรุงศรีอยุธยามาถึงเมืองเชลียง...พระยาเชลียงยอม สวามิภักดิ์ แล้วนําทัพพระเจ้าเชียงใหม่ไปตีเมืองฝาง ตั้งทัพอยู่เหนือเมืองเข้าปล้นเมืองสามวันมิได้ก็เลิกถอยคืน มาเมืองเชลียง … ”

ในปีต่อมาคือ จุลศักราช 832 พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐบันทึกไว้อีกว่า “…พระญา เชลียงนํามหาราชจะมาเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถมิได้เมืองแลจึงยกทัพเปร่อไปเอา เมืองกําแพงเพชร และเข้าปล้นเมืองถึง ๗ วันมิได้เมือง แลมหาราชก็เลิกทับคืนไปเชียงใหม่”

เหตุการณ์การยอมสวามิภักดิ์ของเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยหรือพระยาเชลียงต่อเมืองเชียงใหม่ ในครั้งนั้นอาจเป็นเพราะเหตุการณ์จําเป็นบังคับ เนื่องจากกองทัพพระเจ้าติโลกราชยกเข้ามาถึงเมืองแล้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวที่เมืองศรีสัชนาลัยต้องตกอยู่ในภายใต้การปกครองของล้านนาเป็นเวลานาน ชื่อของเมืองศรีสัชนาลัยจึงถูกเรียกในอีกชื่อว่า “เมืองเชียงชื่น” ดังที่ปรากฏในลิลิตยวนพ่าย

เมืองศรีสัชนาลัยจะขึ้นอยู่กับเมืองเชียงใหม่นานเท่าใดไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อสิ้น รัชกาลพระเจ้าติโลกราชแล้ว เมืองศรีสัชนาลัยได้ตั้งตัวเป็นอิสระและขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาดังเดิม ดังที่มีหลักฐาน ในพระไอยการตําแหน่งนายทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นั้นกําหนดให้เมืองศรีสัชนาลัยเป็นหัวเมืองชั้นโท มีเจ้าเมืองตําแหน่งออกญาเกสตรสงครามรามราชแสนญา - ธิบดีศรีสัชนาไลยอภัยพิรียบรากรมภาหุ พญาสวรรคโลก ถือเป็นการปรากฏชื่อเรียก “สวรรคโลก” เป็นครั้งแรก จากนั้นได้มีการปรับปรุงเมืองศรีสัชนาลัย โดยเฉพาะการก่อสร้างป้อมปราการ คูเมือง กําแพง เมืองให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น

เมืองศรีสัชนาลัย หรืออีกนามที่กรุงศรีอยุธยาเรียกว่าเมืองสวรรคโลกนั้น ในระยะแรกยังคงมี เจ้าเมืองท้องถิ่นปกครองสืบต่อมาระยะหนึ่ง และจากหลักฐานพระไอยการตําแหน่งนายทหารหัวเมืองดังกล่าว ข้างต้นได้กําหนดตําแหน่งเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยเพียงพระยา แต่เมื่อครั้งเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองพิชัยยกพล มาช่วยขุนพิเรนทรเทพกําจัดขุนวรวงศาธิราชแล้วได้รับบําเหน็จเป็นเจ้าพระยา

เหตุการณ์ที่สําคัญอีกครั้งของเมืองศรีสัชนาลัยหรือสวรรคโลก คือ การก่อกบฏในรัชกาล สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มูลเหตุของการกบฏครั้งนั้น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ พระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ ดังนี้

“ฝ่ายพระยาพิชัยข้าหลวงเดิมแจ้งว่าสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าพระเจ้าหงสาวดี เป็นปรปักษ์ แก่กันก็คิดการกบฏครั้นแจ้งพระราชกําหนดก็มิได้ยกไปโดยเสด็จ จึงซ่องสุมชาวเมืองแล้วกวาดครอบครัว ของตัวและครัวชาวเมืองทั้งปวงซึ่งเข้าด้วยนั้นไป ณ เมืองสวรรคโลกแจ้งความทั้งปวงแก่พระยาสวรรคโลก ๆ ก็ลงใจด้วยคิดกันจะยกไปตีเอาเมืองพิษณุโลกแต่หลวงปลัดและยกขุนยกกระบัตร ขุนนรนายกไซร้มิได้ลงด้วย พระยาทั้งสองจึงให้คุมเอาหลวงปลัด ขุนยกกระบัตร ขุนนรนายกจําได้ไว้…”

การก่อกบฏของพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงปราบอย่างหนัก โดยเสด็จยกทัพไปบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง พระองค์ต้องใช้เวลาถึงสามวันจึงยกทัพ เข้าเมืองสวรรคโลกได้ เมื่อตีเมืองสวรรคโลกได้แล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสั่งให้มัดพระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย ตระเวนรอบทัพแล้วให้ฆ่าเสีย

หลังจากเหตุการณ์นั้นก็ไม่ปรากฏว่าเมืองศรีสัชนาลัยก่อกบฏแข็งเมืองต่อกรุงศรีอยุธยาอีก บทบาทความสําคัญของเมืองศรีสัชนาลัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นในลักษณะหัวเมืองที่ถูกเกณฑ์ให้ยกทัพ ไปช่วยในการสงครามหรือป้องกันหัวเมืองฝ่ายเหนือตลอดมา

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยกรุงธนบุรี

ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเสด็จฯปราบกบฏพระเจ้าฝาง (เรือน) ได้ชัยชนะแล้ว จึงเสด็จพระราชดําเนินไปเมืองสวรรคโลก กระทําการสมโภชพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน และเมื่อครั้นรวบรวมบ้านเมืองเป็นปีกแผ่นแล้วทรงโปรดให้ตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นใหม่ อีกครั้งในปี พุทธศักราช 2313 แต่เมืองสวรรคโลกถูกทิ้งร้างไป เมื่อกองทัพอะแซหวุ่นกี้เข้ายึดเมือง

เมืองศรีสัชนาลัยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงอธิบายความเกี่ยวกับทําเนียบหัวเมืองที่ขึ้นตรงต่อ กรุงเทพฯ แต่ก่อนมาว่ากําหนดเป็น 4 ชั้น เรียกว่าเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี และเมืองจัตวา เมืองศรีสัชนาลัย หรือสวรรคโลก ซึ่งมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโทในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้รับการยกขึ้น เป็นเมืองชั้นโทของกรุงรัตนโกสินทร์เช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองสําคัญ อยู่หน้าด่าน และการที่ได้รับยกขึ้นเป็นเมืองโทนั้นสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้อีก ประการหนึ่งว่า เพื่อกํากับเมืองเอกคือเมืองพิษณุโลกไม่ให้แผ่อํานาจใหญ่โตเกินกว่าสมควรไปด้วย

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงโปรดให้ตั้งเมืองสวรรคโลก (เมืองศรีสัชนาลัย) และสุโขทัยขึ้นอีก แต่บ้านเมืองมีสภาพ ทรุดโทรมมาก จึงได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองสวรรคโลกไปตั้งที่วังไม้ขรซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเก่าลงไปทางทิศใต้

เรื่องราวของการย้ายที่ตั้งเมืองครั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงบันทึกไว้ ในจดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลกเมื่อ พุทธศักราช 2444 ความว่า

“…เหตุที่ย้ายครั้งนี้ได้ความพระยาสวรรคโลกบอกว่า พระยาสวรรคโลกที่ชื่อนาคบ้านอยู่วัง ไม้ขร ได้เป็นพญาขึ้นว่าราชการอยู่ที่บ้านวังไม้ขร จึงเป็นเมือง...”

หลังจากย้ายที่ตั้งเมืองสวรรคโลกไปตั้งที่วังไม้ขรแล้วนั้น เมืองเก่าที่ศรีสัชนาลัยยังคงมี ชาวเมืองอาศัยต่อไปตามเดิม การที่หน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายปกครองโยกย้ายไปตั้งอยู่ ณ บริเวณเมืองใหม่ กลับเป็นผลดี ทําให้โบราณสถานบรรดาสิ่งก่อสร้างมาแต่เดิมยังคงสภาพอยู่ได้

ต่อมาเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองแผนใหม่ ให้การบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงขึ้นอยู่ กับกระทรวงมหาดไทย และให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมืองสวรรคโลกได้ถูกรวมเข้ากับบรรดาหัวเมืองเหนืออื่น ๆ คือ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย และเมืองสุโขทัย รวม 5 เมืองเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก

ในปี พุทธศักราช 2459 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขการเรียกชื่อเมืองซึ่งเดิมเรียกว่า เมืองบ้างจังหวัดบ้าง ให้เป็นระเบียบเดียวกัน คือให้เปลี่ยนคําว่าเมืองเป็นจังหวัดให้หมด เมืองสวรรคโลก จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดสวรรคโลก ขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลกตามเดิม

เมื่อมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ใน พุทธศักราช 2476 จังหวัดสวรรคโลกก็ยังคงมีฐานะ เป็นจังหวัดต่อมา

จนกระทั่งปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดสวรรคโลกเป็น จังหวัดสุโขทัย เมืองสวรรคโลกและเมืองศรีสัชนาลัยเดิมนั้น ถูกกําหนดให้มีฐานะเป็นอําเภอสวรรคโลก และอําเภอศรีสัชนาลัยขึ้นอยู่กับจังหวัดสุโขทัยแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

ประวัติและความเป็นมาของงานโบราณคดีและการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์

พุทธศักราช 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ วางแผนและออกแบบการก่อสร้าง โดยให้หล่อ จําลององค์พระแบบพระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อครั้งเดือนพฤษภาคม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ขึ้นมาตรวจแก้พระพุทธรูป และได้ตรวจโบราณสถานในเขตเมืองสวรรคโลก ได้แก่ เตาทุเรียง วัดช้างล้อม วัดสุวรรณคีรีบรรพต วัดพนมเพลิง วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสมเด็จเจ้าพระยา (วัดนางพญา) และวัดพระปรางค์ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง) โดยทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก”

พุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดํารงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัยเพื่อสํารวจโบราณสถาน

พุทธศักราช 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพเสด็จไปตรวจโบราณ สถานที่เมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และได้ออกหนังสืออนุญาตให้นายเบี้ยว พานิชกิจทําการซื้อขาย โบราณวัตถุได้

“…เหตุที่ย้ายครั้งนี้ได้ความพระยาสวรรคโลกบอกว่า พระยาสวรรคโลกที่ชื่อนาคบ้านอยู่วัง ไม้ขร ได้เป็นพญาขึ้นว่าราชการอยู่ที่บ้านวังไม้ขร จึงเป็นเมือง…”

หลังจากย้ายที่ตั้งเมืองสวรรคโลกไปตั้งที่วังไม้ขรแล้วนั้น เมืองเก่าที่ศรีสัชนาลัยยังคงมี ชาวเมืองอาศัยต่อไปตามเดิม การที่หน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายปกครองโยกย้ายไปตั้งอยู่ ณ บริเวณเมืองใหม่ กลับเป็นผลดี ทําให้โบราณสถานบรรดาสิ่งก่อสร้างมาแต่เดิมยังคงสภาพอยู่ได้

ต่อมาเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองแผนใหม่ ให้การบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวงขึ้นอยู่ กับกระทรวงมหาดไทย และให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เมืองสวรรคโลกได้ถูกรวมเข้ากับบรรดาหัวเมืองเหนืออื่น ๆ คือ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย และเมืองสุโขทัย รวม ๕ เมืองเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก

ในปี พุทธศักราช 2459 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขการเรียกชื่อเมืองซึ่งเดิมเรียกว่า เมืองบ้างจังหวัดบ้าง ให้เป็นระเบียบเดียวกัน คือให้เปลี่ยนคําว่าเมืองเป็นจังหวัดให้หมด เมืองสวรรคโลก จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดสวรรคโลก ขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลกตามเดิม

เมื่อมีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินใหม่ใน พุทธศักราช 2476 จังหวัดสวรรคโลกก็ยังคงมีฐานะ เป็นจังหวัดต่อมา

จนกระทั่งปี พุทธศักราช 2482 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดสวรรคโลกเป็น จังหวัดสุโขทัย เมืองสวรรคโลกและเมืองศรีสัชนาลัยเดิมนั้น ถูกกําหนดให้มีฐานะเป็นอําเภอสวรรคโลก และอําเภอศรีสัชนาลัยขึ้นอยู่กับจังหวัดสุโขทัยแต่นั้นมาจนปัจจุบัน

ประวัติและความเป็นมาของงานโบราณคดีและการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์

พุทธศักราช 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ วางแผนและออกแบบการก่อสร้าง โดยให้หล่อ จําลององค์พระแบบพระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อครั้งเดือนพฤษภาคม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ขึ้นมาตรวจแก้พระพุทธรูป และได้ตรวจโบราณสถานในเขตเมืองสวรรคโลก ได้แก่ เตาทุเรียง วัดช้างล้อม วัดสุวรรณคีรีบรรพต วัดพนมเพลิง วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสมเด็จเจ้าพระยา (วัดนางพญา) และวัดพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง) โดยทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก”

พุทธศักราช 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดํารงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัยเพื่อสํารวจโบราณสถาน

พุทธศักราช 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพเสด็จไปตรวจโบราณ สถานที่เมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และได้ออกหนังสืออนุญาตให้นายเบี้ยว พานิชกิจทําการซื้อขาย โบราณวัตถุได้

พุทธศักราช 2485 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานจํานวน 34 แห่ง เช่น วัดช้างล้อม, วัดชมชื่น, วัดเจ้าจันทร์, วัดเจดีย์เจ็ดแถว, วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่และวัดราหู เป็นต้น โดยปัจจุบันโบราณสถานทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

พุทธศักราช 2499 กรมศิลปากรดําเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานในเมืองโบราณศรีสัชนาลัย

พุทธศักราช 2500 กรมศิลปากรเริ่มดําเนินการบํารุงรักษาโบราณสถานภายในกําแพง เมืองศรีสัชนาลัยด้วยการถากถางวัชพืชออกจากโบราณสถานและตรวจลักลอบขุดค้นภายในกําแพงเมือง และนอกกําแพงเมือง

พุทธศักราช 2514 กรมศิลปากรขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานภายในเมืองโบราณศรีสัชนาลัย จนแล้วเสร็จจํานวน ๑๔ แห่ง เช่น วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้วอุทยาน น้อยและวัดนางพญา เป็นต้น

พุทธศักราช 2525 กรมศิลปากรได้จัดทําโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยจัดอยู่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พุทธศักราช 2525-2529)

พุทธศักราช 2531 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย พื้นที่ 28,217 ไร่ ในเขตการปกครอง ตําบลศรีสัชนาลัย ตําบลหนองอ้อ ตําบลท่าชัย ตําบลสารจิต อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

กรมศิลปากรจัดทําแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นแผนการดําเนินงาน ในระยะยาว 7 ปี ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2533 – พุทธศักราช 2539

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2533

พุทธศักราช 2534 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกจากองค์การ UNESCO ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

พุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรจัดทําแผนแม่บทอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแผนการดําเนินงานในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2550-พุทธศักราช 2559

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช 2533

พุทธศักราช 2534 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกจากองค์การ UNESCO ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

พุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรจัดทําแผนแม่บทอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแผนการดําเนินงานในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2550-พุทธศักราช 2559

ศรีสัชนาลัย เมืองมรดกโลก

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย พร้อมด้วย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยาน ประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 15 เมื่อปี พุทธศักราช 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกําหนดและหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ด้วยหลักเกณฑ์ข้อที่ 1 และ ข้อที่ 3 ดังนี้

หลักเกณฑ์ข้อที่ 1: เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทําขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาดอันฉลาด

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3: เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าสาบสูญไปแล้ว