เมืองศรีสัชนาลัยเดิมชื่อว่า

เมืองศรีสัชนาลัยเดิมชื่อว่า

Show

                    เมืองสวรรคโลกเดิมตั้งอยู่ขึ้นไปทางทิศเหนือตามลำน้ำยม (บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน) ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงในนาม "เมืองศรีสัชนาลัย" ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาประมาณปี พ.ศ. 1994 พระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ได้ยกทัพมายึดเมืองศรีสัชนาลัย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็น "เมืองเชียงชื่น" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2017 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีเมืองเชียงชื่นคืนได้สำเร็จและทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงชื่นเป็น "เมืองสวรรคโลก" นับแต่บัดนั้น

                     ในสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสวรรคโลกนั้นถูกพม่าข้าศึกเข้ามาตีบ่อยครั้ง เจ้าเมืองสวรรคโลกจึงตัดสินใจย้ายที่ตั้งเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าชัย (ในเขตตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัยปัจจุบัน) ต่อมาราว พ.ศ. 2379 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมืองสวรรคโลกมีปลัดปกครองนามว่า "นาค" ได้นำงาช้างเนียมไปถวายพระเจ้าอยู่หัว เกิดความดีความชอบ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาสวรรคโลก มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิชิตภักดี (ต้นตระกูลวิชิตนาค) ได้ใช้บ้านพักหรือจวนที่บ้านวังไม้ขอน เป็นที่ว่าการเมืองสวรรคโลก ดังนั้นเมืองสวรรคโลกจึงย้ายมาจากบ้านท่าชัยมาตั้งที่บ้านวังไม้ขอนเป็นเมืองสวรรคโลกใหม่ (สวรรคโลกปัจจุบัน) นับแต่นั้นมา

                     ระหว่างปี พ.ศ. 2411-2435 เมืองสวรรคโลก มีเมืองอยู่ในความปกครองทั้งสิ้น 6 เมือง ได้แก่

  1. เมืองด้ง
  2. เมืองบางขลัง
  3. เมืองบางยม
  4. เมืองพิรามรงค์
  5. เมืองวิเศษไชยสัตย์
  6. เมืองศรีพนมมาศ

ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2459 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเมืองสวรรคโลกเป็น จังหวัดสวรรคโลก มีอำเภอในการปกครอง 2 อำเภอ คือ อำเภอสวรรคโลกและอำเภอศรีสัชนาลัย[2] และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบจังหวัดสุโขทัยให้มาอยู่ในความปกครองของจังหวัดสวรรคโลก จังหวัดสวรรคโลกจึงมีอำเภออยู่ในความปกครอง 5 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอสวรรคโลก
  2. อำเภอศรีสัชนาลัย
  3. อำเภอสุโขทัยธานี
  4. อำเภอศรีสำโรง
  5. อำเภอกงไกรลาศ
  6. กิ่งอำเภอคีรีมาศ
  7. กิ่งอำเภอบ้านด่านลานหอย

ราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2482 กระทรวงมหาดไทยสั่งยุบจังหวัดสวรรคโลกให้ไปตั้งจังหวัดสุโขทัย ฐานะของจังหวัดสวรรคโลกจึงถูกลดให้เป็น อำเภอสวรรคโลก นับแต่นั้นมา แต่ถึงแม้ว่าจังหวัดสวรรคโลกจะถูกยุบไปแล้วแต่ชื่อ "จังหวัดสวรรคโลก" ยังปรากฏกับสถานที่ราชการสองแห่งคือ ศาลจังหวัดสวรรคโลกและสำนักงานอัยการจังหวัดสวรรคโลก และชื่อ "เมืองสวรรคโลก" ก็ปรากฏกับสถานที่สองแห่งคือ เทศบาลเมืองสวรรคโลกและโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก

                     สรุปแล้ว นับแต่เมืองสวรรคโลกมีผู้ปกครองอย่างเป็นทางการคือ พระยาวิชิตภักดี ได้โยกย้ายเมืองสวรรคโลกมาที่สวรรคโลกปัจจุบันตั้งแต่ พ.ศ. 2379 ถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาทั้งสิ้น 173 ปี

              

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            ประวัติและข้อมูลของอำเภอศรีสัชนาลัย

เมืองศรีสัชนาลัยเดิมชื่อว่า

ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปรากฏหลักฐานทางพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์สุ้ง(ราว พ.ศ. 1503-1607) ได้บันทึกชื่อแคว้นๆ หนึ่งเรียกตามสำเนียงจีนว่า “เฉินหลิ่ง”
และพงศาวดารโยนก ได้กล่าวถึงพระเจ้าไชยศิริ ได้รี้พลอพยพมาจากนครไชยปราการหนีพวกมอญ และไทยใหญ่ ลงมาทางใต้ถึงแดนเฉลี่ยงและ”เฉินเหลียง”

                                                                                                                                                                                                         เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นชื่อ “เมืองเชลียง” ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย ตั้งขึ้นราว พ.ศ. ใดไม่ทราบแน่ชัด เพราะไม่ปรากฏหลักฐานใด

ในดินแดนราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรีเขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี เขาพนมเพลิงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีแม่น้ำและภูเขาเป็นปราการล้อมรอบ ไม่เฉพาะทำเลที่ตั้งเท่านั้นแต่ความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้มีชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้ตลอดมา

เมืองศรีสัชนาลัยเดิมชื่อว่า
       

มีหลักฐานเอกสารในโบราณของไทยและจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ได้กล่าวถึงเมืองโบราณแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างบริเวณเมืองสุโขทัย โดยเอกสารจีนโบราณราชวงศ์ซุง เรียกเมืองเฉินเหลียง พงศาวดารโบราณเรียกว่า

ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้นมีเหตุการณ์ที่ปรากฎในศิลาจารึกตำนานและพงศาวดาร ยืนยันว่าปรากฎมีเมืองโบราณ 2 เมือง
ในลุ่มแม่น้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับ เมืองเชลียง
พระมหากษัตริย์ไทยองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ผาเมือง เคยเป็นเจ้าเมืองเชลียงก่อนที่จะขึ้นคลองราชย์ที่สุโขทัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลงลำพงใช้กำลังยึดทั้งเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย
ต่อมาพ่อขุนผาเมืองโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถมร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวได้ยึดเมืองทั้งสองกลับมาได้จนในที่สุด พ่อขุนบางกลางหาวได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองสุโขทัย โดยมีพระราชนามว่า “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ “

ต่อมาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ส่งราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ต่อมาพ่อขุนบาลเมืองขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย แล้วพ่อขุนรามคำแหงจึงได้ปกครองเมือง ศรีสัชนาลัยซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่า “ เมืองลูกหลวง “ เมืองศรีสัชนาลัยคงดำรงความเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย
ต่อมาอีกหลายชั่วกษัตริย์แม้เมืองสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้นๆ ของการเสียอิสรภาพ เชื้อพระวงศ์ผู้สูงศักดิ์แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติปกครองดูแลเมือง ศรีสัชนาลัยอยู่ตามเดิมจนมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา
เมืองนี้กลายเป็นสมรภูมิการรบครั้งสำคัญและเป็นเมืองรับศึก ระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าติโลกนาถแห่งเชียงใหม
ชัยชนะของอยุธยาในศึกครั้งนี้ก่อให้เกิดวรรณคดีเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นชั้นเย่ยมของวรรณคดีคือ “ ลิลิตยวนพ่าย” ผลอันสำคัญหลังศึกยวนพ่าย คือเมืองศรีสัชนาลัยตกอยู่ในการควบคุมของอยุธยาอย่างจริงจัง

ต่อมาในราวปีพุทธศักราช 2,000 ราชอาณาจักรสุโขทัย เสื่อมอำนาจลงและกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นราชธานีของไทย เมืองศรีสัชนาลัย ลดความสำคัญลงมีสถานะเป็นเพียงเมืองกั้นระหว่างกรุงศรีอยุธยากับลานนา ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของเมือง “ศรีสัชนาลัย” ที่สำคัญได้แก่ แหล่งโบราณสถาน ประเทศศาสนสถาน และเตาเผาเครื่องถ้วยชามสังคโลก
ศาสนสถานมีโครงสร้างเป็นศิลาแลงที่ตัดมาจากศิลาแลงธรรมชาตินอกเมือง ฉาบผิวนอกและปั้นแต่งลวดลานด้วยปูนบางแห่งตบแต่งด้วยภาพจิตรกรรม สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเตาทุเรียง มีอยู่จำนวนมากว่า 300 แห่ง โครงสร้างของเตา เป็นทั้งอิฐและดินธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีแหล่งสาธารณูปโภค เช่น คลอง สระน้ำ บ่อน้ำ คูน้ำ เป็นต้น


ชนกลุ่มแรกๆของการก่อตั้งอำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน มี 2 กลุ่ม คือ ชาวไทยล้านนา และชาวไทยสยาม

ชาวพื้นเมืองของอำเภอศรีสัชนาลัย มีหลายกลุ่ม แต่จะมี  2 กลุ่มใหญ่ๆ  ดังนี้

1.ชาวไทยสยาม อาศัยอยู่บริเวณศรีสัชนาลัยตอนใต้  เช่น ตำบลหนองอ้อ ท่าชัย  ศรีสัชนาลัย    พูดสำเนียงไทยเหน่อ หรือ สำเนียงสุโขทัยนั่นเอง  เป็นชาวไทย เชื้อสายขอม  เสียม หรือ  สยามในอดีต  เป็นผู้สร้างวัด และสิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน ที่พบในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

2.ชาวไทยล้านนา อาศัยอยู่บริเวณตอนบนของศรีสัชนาลัย  เช่นตำบลบ้านตึก  ตำบลแม่สิน ตำบลแม่สำ (บางหมู่บ้าน) เป็นชาวไทยเชื้อสายล้านนา  พูดสำเนียงไทยเหนือ น่าจะอพพยมาจากทางเหนือ กลุ่มเดียวกับ คนอำเภอลับแล อุตรดิตถ์ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดๆกัน ส่วน ตำบลแม่สิน น่าจะอพยพมาจากทางจังหวัดแพร่

และต่อมาได้มีคนเชื้อสายอื่นๆมาอาศัยด้วยเช่นกัน  เช่น เชื้อสายลาว ไทพวน  จีน และชาวไทยภูเขา

ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งอดีตมีชายแก่คนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาถึงบ้านแห่งนี้ (บ้านตึกในปัจจุบัน “ เมื่อครั้งหมู่บ้านแหงนี้ยังไม่มีชื่อบ้านโดยมุ่งหน้าไปตั้งหลักฐานทำมา หากินในท้องที่อุดมสมบูรณ์ พอถึงหมู่บ้านแห่งนี้แล้วคิดว่าคงเดินทางไปไม่ได้อีกแล้วเพราะมีภูเขาล้อม รอบอยู่ข้างหน้าอีกด้วย
ประกอบกับเวลานั้นมีฝนตกชุกมากจึงได้เอ่ยขึ้นว่า “ ที่นี้ตึกแล้วฝนก็ตึ๊ก อย่างอื่นก็คงตึ๊กด้วย “ และจึงหยุดเดินทางและได้ตั้งหลักฐานมั่นคงอยู่ที่บ้านแห่งนี้ และต่อมาชาวบ้านแห่งนี้จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านตึ้ก “ ซึ่งต่อมาได้เรียกเพี้ยนมาเป็น “ บ้านตึก “ ในที่สุด (คำว่า “ ตึ๊ก “ มีความหมายว่า ที่สุดแล้ว เช่น อร่อยที่สุด ใหญ่ที่สุด ดีที่สุด ฯลฯ ประชาชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านตึ๊ก “ ในที่สุดและใช้อยู่จนปัจจุบัน)

คำว่าเมืองด้ง ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ. ๒๔๒๘ ใบบอกเมืองสวรรคโลก จ.ศ. ๑๒๔๗ แสดงว่าเมืองด้งคง จะได้รับการยกฐานะชุมชนบริเวณบ้านตึกขึ้นเป็นเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองมียศเป็นที่พระเมืองด้ง ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ชื่อเมืองด้งมีความเป็นมาดังนี้
- พ.ศ. ๒๐๐๓ – ๒๐๐๗ เป็นที่ตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นของเจ้าหมื่นด้ง เจ้านครลำปาง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ บ้านตึกได้ตั้งเป็นที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่บ้านปลายนา (หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่ออำเภอด้ง อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ปัจจุบันประมาณ ๑๒ กิโลเมตร โดยมีนายอำเภอ ๒ คน คือ คนที่ ๑ ชื่อพระเมืองด้ง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2441 บ้านตึกได้ตั้งที่ว่าการอำเภอครั้งแรก ตั้งอยู่ที่ บ้านปลายนา (หมู่ที่ 3 ต.บ้านตึกในปัจจุบัน) เดิมชื่อ “ อำเภอด้ง” อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ประมาณ 12 กม. สาเหตุที่ใช้ชื่อว่า “ อำเภอด้ง ”
เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของอำเภอเป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบเป็น รูปวงกลมคล้ายรูปกระด้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า อำเภอด้ง ซึ่งตั้งอยู่ได้นานถึง 12 ปี โดยมีนายอำเภอ 2 คน คือ พระเมืองด้ง หมื่นดงนคร แต่ประชาชนนิยมเรียกนายอำเภอว่า เจ้าพ่อเมืองด้ง หรือ เจ้าปู่เมืองด้ง

หลังจากได้ย้ายที่ว่าการอำเภอด้งมาอยู่ที่ หมู่บ้านหาดเสี้ยว (บ้านหาดเชี่ยว) แล้ว ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น “ อำเภอหาดเสี้ยว” ตามที่กล่าวมาข้างต้นจนถึง พ.ศ.2476 หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว คณะรัฐบาลสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาพิจารณาแล้วเห็นว่าควรจะนำปูชนียสถาน

————————————

ถิ่นฐานเดิมของชาวไทยพวน ตามประวัติศาสตร์ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า ชนชาติไทยเรานั้นมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในตอนใต้ของประเทศจีน แล้วได้ถอยร่นลงมาเป็นลำดับตามเหตุการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ ชาวไทยพวนก็เป็นคนไทยสาขาหนึ่ง ดังข้อความในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 หน้า 295 ซึ่งคุณถวิล เกษรราช นำมาลงไว้ในหนังสือประวัติผู้ไทยตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีคนไทยสาขาอื่น ๆ อีกหลายสาขาเช่น ผู้ไทย พวน และโซ่ง ซึ่งเป็นคนไทย สาขาหนึ่ง เดิม ผู้ไทย พวน และโซ่ง มีถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาว ทางแขวงซำเหนือ และแขวงเซียงขวาง พวกผู้ไทยมีอยู่ทางอีสาน มีจังหวัดสกลนคร และนครพนม เป็นต้น ส่วนพวกพวนและพวกโซ่งมีอยู่กระจัดกระจายเป็นแห่ง ๆ ทางภาคกลางมีจังหวัดสุโขทัย จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น ไทยทั้ง 3 พวกนี้มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกันมาก แทบจะกล่าวได้อย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นภาษาไทยสาขาเดียวกัน แม้ ชาวไทยพวนเอง เรียกพวกบ้านเดียวกันหรือต่างบ้าน ก็จะมีคำว่า “ไทย” กำกับด้วยเสมอ คล้ายกับประเทศพวกตนเองว่าเป็นคนไทยเช่น ไทยบ้านเหนือ ไทยบ้านกลาง ไทยบ้านใต้ ไทยบ้านหาดสูง ไทยบ้านใหม่ ไทยบ้านแม่ราก และเรียกคนต่างถิ่นว่าเป็นคนไทยด้วย เช่น ถ้าพบคนต่างถิ่น เมื่อต้องการทราบว่าเป็นคนบ้านไหนก็จะถามว่าท่านเป็นคนบ้านไหน (ภาษาไทยพวนว่า เจ้าเป็นไทยบ้านเลอ) ดังนั้น จึงเข้าใจว่าชาวไทยพวนคงจะมีถิ่นฐานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันด้วย

“พวน” ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อชาวไทยสาขาหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว มีความหมายว่ากระไร เหตุไรจึงเรียกชื่อว่า “พวน” การค้นคว้าได้ตั้งคำถามที่จะค้นคว้าไว้คือ “พวน , คนพวน , ชาวพวน, ไทยพวน, ลาวพวน ” หนังสือที่จะค้นคือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อัขรานุกรมภูมิศาสตร์ ปทานุกรม กระทรวงธรรมการซึ่งเลิกใช้แล้วแต่ก็ต้องผิดหวังเพราะไม่มีคำว่าพวน ซึ่งให้ความหมายเป็นชื่อเรียกคนเลย มีแต่ เชือกเกลียว, แนว, รวงข้าวที่นวดแล้ว หรืออ้อยซึ่งหีบครั้งที่สอง ” เมื่อความหมายไม่ตรงกับที่ผู้เรียบเรียงต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าต่อจากการศึกษาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม หรือการค้นคว้าจึงได้ความหมายว่าคำว่า “พวน” เป็นชื่อของคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า “ไทยพวน” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า “ลาวพวน” คำว่า “พวน” นี้เป็นสมญาของไทยสาขาหนึ่ง ก็คงทำนองเดียวกันเรียกชื่อกันตามถิ่นที่อยู่ ไทยสาขานี้ส่วนใหญ่อยู่ที่แขวง เชียงขวาง ประเทศลาว ถิ่นที่อยู่ของชาวไทยพวนนอกจากที่เชียงขวางแล้ว ยังกระจัดกระจายไปอยู่ที่อื่นอีกทั่วบริเวณ ลุ่มน้ำงึมในเขตประเทศลาว เช่น บ้านหาดสวนพันทอง ตาลเปี่ยว หาดเสี้ยว บุ่งพร้าว ตลิ่งชันบ้านเกิด ฯลฯ สมัยกรุงธนบุรี เมื่อประเทศลาวได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันกับประเทศไทยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินรัชกาลที่ 3

พลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงหลายท้องถิ่นด้วยกัน ทั้งภาคอีสาน และ ภาคกลาง คนไทยพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และได้กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้ง 2 ภาค ภาคอีสาน เช่น ที่อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี ภาคกลางเช่น จังหวัดพิชิต จังหวัดสุโขทัย ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และอื่น ๆ มีสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ คนเหล่านี้เมื่อถูกกวาดต้อนมาพร้อมกัน เช่น เมืองเรณูนคร เป็นต้นเฉพาะชาวบ้านหาดเสี้ยว คงเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตมาก นอกจากที่ตกค้างอยู่ในหมู่บ้านหาดเสี้ยวเดิมแขวงเมืองตุลาคมประเทศลาวแล้ว ยังมาอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เฉพาะที่อำเภอแก่งคอย มีทั้งบ้านหาดเสี้ยวและบ้านตาลเปี่ยว แต่บ้านตาลเปี่ยว เปลี่ยนชื่อเป็นตาลเดี่ยวรุปว่า “พวน”

เป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว ที่เรียกชื่อว่า เมืองพวนเพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าภูพวน จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองพวน แล้วเอาชื่อเมืองมาเรียก เป็นชื่อคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนั้นว่าคนพวนหรือชาวพวน เพื่อแก้ความข้องใจของคนบางคนซึ่งอาจมีขึ้นได้ว่าก็เมื่อภูเขาชื่อว่า ภูพวน เหตุไรจึงไม่ตั้งชื่อเมืองภูพวน เรียกชื่อคนว่าคนภูพวน หรือชาวภูพวนเล่าจึงขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้สักเล็กน้อยคือ เพิ่มเติมทีเดียวอาจเป็นไปไม่ได้ ต่อมาคำว่าภูก็ลบเลือนหายไปเรียกกันแต่เพียงว่าเมืองพวน อีกอย่างหนึ่ง คำว่าภูเขาชาวพวนกับชาวอีสาน ดูเหมือนจะใช้ตรงกันคือ คำสองคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ภูก็คือเขา เขาก็คือภู เวลาจะใช้ภูเขาก็ใช้แต่เพียงคำเดียวคือ คำว่าภูหรือเขา คำใดคำหนึ่ง ไม่ใช้สองคำรวมกัน เช่น ภูกระดึง ภูเขีย เขาพนมเพลิง เขาพลิ้ง เขาใหญ่ ถ้าเรียกตามภาษาภาคกลางก็เรียกว่า ภูเขากระดึง ภูเขาเขียว ภูเขาพนมเพลิง ภูเขาพลิ้ง ภูเขาใหญ่ ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่าการตั้งชื่อเมืองพวน ท่านอาจไม่เอาคำว่าภูหรือเขาตั้งด้วย เอาแต่เพียงชื่อภูเขามาตั้งก็เป็นได้ มีตัวอย่างที่ชาวไทยพวนได้ตั้งกันมาแล้วเช่น บ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อชาวไทยพวนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนแรก ก็ได้ตั้งชื่อว่า บ้านสนามแจง เพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าสนามแจง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟบ้านหมี่ ทั้งนี้ได้ทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านหาดเสี้ยวซึ่งมาเยี่ยมญาติบ้านสนามแจงเล่าให้ฟังว่า การตั้งชื่อบ้านก็เอาชื่อภูเขามาตั้งไม่ได้เอาภูหรือเขามาตั้งด้วย จึงเรียกแต่เพียงว่า “บ้านสนามแจง” ต่อมาจึงเรียกว่า บ้านหมี่

เมืองศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีสัชนาลัย ชาวบ้านเรียกว่าบ้านเมืองเก่า อยู่ทางทิศใต้ ของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ประมาณ 12 กิโลเมตร ทางกรมศิลปากร ได้กำหนดแนวทาง การอนุรักษ์เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเรียกว่า โครงการอุทยานประวัติศาสตร์

เมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อเดิมว่าอะไร

ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า บริเวณที่เรียกว่า แก่งหลวง เดิมชื่อว่า "เมืองเชลียง" ต่อมาในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียงจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "ศรีสัชนาลัย" ในบริเวณอุทยานฯ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง

เมืองศรีสัชนาลัยในสมัยอยุธยาเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร

เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้ เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก

เมืองศรีสัชนาลัยเคยมีชื่อเสียงในเรื่องใด

ศรีสัชนาลัย มีพัฒนาการมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ 2,300 – 1,500 ปีมาแล้ว โดยปรากฏชื่อควบคู่ไปกับเมืองสุโขทัยที่เป็นราชธานี สันนิษฐานว่าเมืองศรีสัชนาลัยมีความสำคัญในฐานะแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัยต่อเนื่องถึงสมัยอยุธยา หลักฐานจากแหล่งเรือจมในอ่าวไทย พบเครื่องสังคโลกจากเมืองศรีสัชนาลัย เป็นหลักฐาน ...

เมืองเชลียงเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร

จากเนื้อความข้างต้นแสดงว่าหลังจากที่ล้านนา ได้เมืองเชลียงไปครองแล้ว ก็เปลี่ยนชื่อเมืองเชลียง เป็นเมืองเชียงชื่น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในพระราช พงศาวดารอยุธยาไม่มีการบันทึกชื่อเมืองเชียงชื่น ไว้ในเอกสารเลย แม้แต่ช่วงเวลาที่อยุธยาได้เมือง เชียงชื่นคืนกลับมาในปี พ.ศ. 2017 ก็มีการระบุชื่อ ถึงชื่อเมืองเชลียงว่า “ศักราช 836 ...