ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด

สาเหตุของ “ออฟฟิศซินโดรม” เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น

Show
  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นต้น
  • สภาพร่างกายอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น

ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถแบ่งลักษณะอาการปวดได้ทั้งหมด 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. การปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวทั่วไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย มีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
  2. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึน งง หูอื้อ ตาพร่า
  3. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

   การรักษากลุ่มอาการ “ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome )” นั้นมีด้วยกันหลายวิธี ทั้ง การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพื่อรักษาการปวดหลังเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น

   อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจาก “Office Syndrome” ได้นั้น คือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

   ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้แนะนำวิธีการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ที่ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาการปวดกล้ามเนื้อ หลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น

1. การยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง

การยืดกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยให้เอ็นข้อต่อและเส้นใยกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการยืดเหยียดมีความยาวและมุมการเคลื่อนไหวที่ดี  ทำให้สามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2. การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด ด้วยอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมและทันสมัย

การทำกายภาพบำบัด มีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะกำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆไป

3. การนวดแผนไทย 

การนวด อาจกล่าวได้ว่าเป็นการรักษาอาการปวดวิธีแรกที่มนุษย์เรารู้จัดตั้งแต่โบราณกาล และเป็นวิธีทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ปวดตรงไหนก็ถู บีบนวดตรงนั้น ต่อมาจึงมีการสั่งสมประสบการณ์จนเป็นศาสตร์หนึ่งในการรักษา

4. การฝังเข็ม 

การฝังเข็ม อาศัยกลไกในการยับยั้งความเจ็บปวด ช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลางที่ระดับไขสันหลัง เพื่อช่วยระงับปวด ทำให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด ปรับสมดุลของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ

5.การรับประทานยา 

การรับประทานยา เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ดังนั้น ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง จำเป็นต้องอ่านฉลากยาอย่างละเอียด และปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

1. ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมอ

2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา

3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง

“ออฟฟิศซินโดรม”เป็นโรคที่พบได้ในคนจำนวนมาก เพราะด้วยการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความเร่งรีบ ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายๆคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือมีเวลาพักกล้ามเนื้อในส่วนที่มีการใช้งานบ่อยๆได้

หากเป็นออฟฟิศซินโดรมในระยะแรกเริ่ม ก็อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ปรับพฤติกรรมใหม่ หรือทำท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าหากเราเป็นออฟฟิศซินโดรมในระยะที่เริ่มรุนแรงจนไม่สามารถบริหารร่างกายได้ด้วยตนเองหล่ะ? การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลออฟฟิศซินโดรม อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้

ดังนั้น น้องสรีจะมาแชร์ข้อมูลดีๆ ว่าโดยปกติแล้วมีวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมยังไงบ้าง? และรักษาออฟฟิศซินโดรมโรงพยาบาลไหนดี? รวมไปจนถึงเรื่องต่างๆที่คุณควรรู้ ติดตามค้นหาคำตอบไปพร้อมๆกับน้องสรีได้ที่นี่เลย


วิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรม

ก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก เราควรรู้เสียก่อนว่า การรักษาออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรมกายภาพบำบัด ด้วยวิธีไหนบ้าง? ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มีวิธีการจากศาสตร์ทางสายสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา การนวด การฝังเข็ม แต่ในส่วนน้องสรีจะขอเล่าถึงวิธีการทางศาสตร์กายภาพบำบัด ซึ่งจะมีวิธีดังต่อไปนี้


การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation)

การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าเข้ามาช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีการคลายตัว ลดอาการเกร็ง ตึง หรือปวดได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของปลายเส้นประสาท ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น


คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)

คลื่นเหนือเสียง(Ultrasound) คือ การปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงกว่า 20,000 เมกะเฮิรตซ์ ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อนได้ เข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อลึกลงไปถึง 2-5 เซนติเมตร

ผู้เข้ารับบริการจะสัมผัสได้ถึงความอุ่นที่มาจากตัวคลื่น ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดภายในร่างกายดีขึ้น อัตราการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มากขึ้น จะทำให้อาการปวด บวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เยื่อหุ้มข้อในส่วนต่างๆลดลง รวมไปจนถึงยังสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในชั้นลึกได้อีกด้วย


คลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator : PMS)

คลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator : PMS) เป็นเครื่องที่ใช้ในการกระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อและเส้นประสาท โดยการที่นักกายภาพบำบัดจะนำเครื่องวางไว้ที่แขนหรือปลายขา และเคลื่อนไปยังส่วนที่ต้องการรักษา

วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ หรืออาการชาปลายนิ้วมือ ปลายเท้า ที่เกิดจากการทำงานของปลายประสาทผิดเพี้ยนไป และช่วยเร่งอัตราการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่ได้รับการบาดเจ็บอยู่ได้



คลื่นกระแทก (Shock wave)

คลื่นกระแทก (Shock wave) คือ คลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีแรงดันสูง สามารถลงลึกถึงเนื้อเยื่อได้มากกว่า 3.5 เซนติเมตร มักใช้ในการส่งคลื่นกระแทกสู่กล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งเรื้อรัง พังผืด และเส้นเอ็นอักเสบต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ลดอาการปวด การอักเสบ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีอัตราการเกิดโรคซ้ำน้อยกว่าวิธีอื่นๆ



เลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy)

การกายภาพบำบัดแบบใช้เลเซอร์กำลังสูง เป็นการปล่อยแสงเลเซอร์กำลังสูงตรงเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อ เพื่อให้เนื้อเยื่อถูกกระตุ้นและซ่อมแซมตนเอง ในบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งการใช้เลเซอร์กำลังสูง จะช่วยลดอาการปวดเกร็งเฉียบพลัน การอักเสบ หรือการปวดแบบเรื้อรังได้


การดึงคอและกระดูกสันหลัง (Electric Traction Machine)

การใช้เครื่องดึงคอและกระดูกสันหลัง เป็นการดึงเพิ่มช่องกระดูกคอและกระดูกสันหลัง เพื่อลดอาการปวด หรือชา จากการกดทับของเส้นประสาท เหมาะสำหรับบุคคลที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม มีภาวะกล้ามเนื้อคอ หลังเกร็งตัว มีภาวะหมอนรอบกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทหรือกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นต้น


วิธีเลือกสถานที่รักษาออฟฟิศซินโดรม ที่ไหนดี

“รักษาออฟฟิศซินโดรมที่ไหนดี?” การเลือกสถานที่เข้ารับบริการ ไม่ว่าจะเป็นคลินิก หรือโรงพยาบาล จะต้องพิจารณาจากหลายๆส่วนด้วยกัน เพื่อที่จะได้สถานที่ที่ดีที่สุด ที่เหมาะสมสำหรับเราออกมา ซึ่งน้องสรี มีเคล็ดลับในการเลือกสถานที่เข้ารับบริการดีๆมาฝาก โดยคุณควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1. ความเชี่ยวชาญของนักกายภาพบำบัด

นักกายภาพออฟฟิศซินโดรมจะต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านที่เราต้องการเข้ารับการรักษา ยกตัวอย่างเช่น ต้องการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง นักกายภาพบำบัดก็จะต้องมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง เพื่อที่จะได้รักษาได้อย่างตรงจุดและปลอดภัยนั่นเอง

ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ นักกายภาพบำบัดที่ดี จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถนำเลขที่ใบอนุญาต ชื่อ-นามสกุล มาตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นนักกายภาพบำบัดจริงๆ ได้ที่ สภากายภาพบำบัด(Physical Therapy Council)


2. อุปกรณ์และเครื่องมือกายภาพบำบัด

อุปกรณ์และเครื่องมือกายภาพบำบัดจะต้องได้มาตรฐาน มีการอัพเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีความสะอาด ปลอดภัย และจะต้องมีการตรวจเช็ค ซ่อมบำรุงเครื่องมือให้สามารถใช้งานได้ดี

โดยปกติแล้ว นักกายภาพบำบัดจะทำการเลือกเครื่องมือและวิธีการรักษา ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล คุณควรเลือกสถานที่เข้ารับบริการที่มีเครื่องมือหลากหลาย เพื่อที่จะได้สามารถตอบโจทย์ได้ตรงกับแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น


ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด



3. วิธีการเดินทาง

การเดินทางไปรักษาออฟฟิศซินโดรม จะต้องมีความสะดวกสบาย เช่น อยู่ติดกับเส้นถนนหลัก มีรถสาธารณะเข้าถึงได้ มีพื้นที่จอดรถให้สำหรับผู้ใช้บริการ มีการติดป้ายอย่างชัดเจน และตำแหน่งสถานที่จะต้องสามารถมองเห็นได้ง่าย


ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด



4. การบริการ

จะต้องมีการบริการอย่างเป็นระบบ ดูแลเอาใจใส่ มีความเป็นมิตร สุภาพ และจะต้องมีการแจ้งรายละเอียดการรักษาให้กับผู้รับบริการเสมอ


5. ค่าใช้จ่ายของการรักษา

ค่าใช้จ่ายรักษาออฟฟิศซินโดรมจะต้องมีความสัมพันธ์กับคุณภาพ การบริการ และการรักษา อีกทั้งควรมีการบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนเข้ารับการรักษาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้แก่กลุ่มผู้รับบริการ


กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรมที่สรีรารัก

วิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรมของสรีรารัก

ทางสรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด มีการรักษาหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญของเรา จะเป็นคนพิจารณาถึงวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นรายบุคคล ซึ่งวิธีการรักษาของเรา มีดังนี้

  • การให้คำแนะนำถึงการปรับพฤติกรรมที่ถูกต้อง เช่น ท่าทางการนั่ง การเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม ระดับองศาจอคอมพิวเตอร์ที่ควรปรับ ระดับความสูงของโต๊ะที่พอดีกับเก้าอี้ ฯลฯ

  • ฝึกสอนการทำท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ถูกวิธี เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการสามารถกลับไปใช้ที่บ้านต่อได้

  • ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือเข้ามาช่วยในการทำกายภาพบำบัด เช่น การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การใช้คลื่นเหนือเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นกระแทก เลเซอร์กำลังสูง เครื่องดึงคอและกระดูกสันหลัง เป็นต้น


ค่าใช้จ่ายของการรักษา โปรโมชั่น

โดยปกติแล้ว การรักษาออฟฟิศซินโดรมกับสรีรารักกายภาพบำบัด จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1,250 บาท ทั้งนี้คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกครั้ง เพื่อที่จะได้ไม่พลาดทุกข้อมูลการอัพเดทและโปรโมชั่นในแต่ละช่วงที่ทางสรีรารักได้จัดขึ้น


ความสะดวกในการสอบถามข้อมูล การนัดนักกายภาพบำบัด และการเดินทาง

สรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด สามารถเดินทางได้สะดวก เนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่ที่ ถนนแจ้งวัฒนะปากเกร็ด ซอย 47 ติดถนนหลัก ซึ่งคุณสามารถเดินทางได้ทั้งรถสาธารณะ และรถยนต์ส่วนตัว เนื่องจากทางคลินิกของเรามีที่จอดรถสำหรับผู้ใช้บริการถึง 10 ที่

อีกทั้งคุณยังสามารถมองหาสถานที่ตั้งคลินิกได้ง่าย เพราะคลินิกมีการติดป้าย ทั้งป้ายใหญ่บนตึก และป้ายบริเวณหน้าร้าน

ในส่วนของการนัดทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมก็ไม่ยาก เพียงแค่คุณจองคิวล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ เพื่อความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเคยเข้ารับการทำกายภาพบำบัดแล้ว หรือเพิ่งเคยมาครั้งแรกก็สามารถจองคิวล่วงหน้าได้เช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าหากคุณเริ่มสนใจทำกายภาพบำบัด สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 096-515-4692 หรือ Line id : @sarirarak ได้เลย


สรีรารักตอบโจทย์การรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

สรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด สามารถช่วยคุณจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้ เพราะทางเรามีนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่มากประสบการณ์ทางด้านการรักษาออฟฟิศซินโดรม คุณจึงสามารถมั่นใจได้ถึงการรักษาที่ตรงจุด

อีกทั้งเรายังมีอุปกรณ์ทางศาสตร์กายภาพบำบัดที่หลากหลาย ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้อย่างครอบคลุมในแต่ละรายบุคคลที่มีความแตกต่างกัน รวมไปจนถึงทางเรามีการวางแผนการรักษาแบบรายบุคคล เพื่อให้การรักษามีความเหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการมากที่สุด


สรุป


ที่สรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด เราพร้อมดูแลคุณด้วยนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาออฟฟิศซินโดรม และทางเรามีอุปกรณ์เครื่องมือที่สามารถเข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด รักษาได้ตรงจุด และมอบความปลอดภัย ความสะดวกสบายในการรักษาให้สำหรับคุณ

วิธีเข้ารับการรักษาก็ไม่ยาก เพียงแค่คุณสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ตรวจอุณหภูมิ ความดัน ออกซิเจนในเลือด ซักประวัติคัดกรองโควิด-19 จากนั้นคุณก็จะได้ลงทะเบียนประวัติ ซักถามอาการ และทำการเปลี่ยนเป็นชุดปลอดเชื้อ เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินร่างกาย และเข้ารับการรักษาตามวิธีที่นักกายภาพบำบัดพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมที่สุด