คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ. ภาษาอังกฤษ

       คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เป็นต้น โดยสถานประกอบกิจการควรมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

          ทั้งนี้ กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ และได้แบ่งจำนวนของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ตามจำนวนลูกจ้าง ดังนี้

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ. ภาษาอังกฤษ

1.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คนให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 1 คนเป็นกรรมการ
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คนเป็นกรรมการ
  • จป.เทคนิคขั้นสูงหรือ จป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ. ภาษาอังกฤษ

2.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100-499 คน ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คน ประกอบด้วย

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  •  ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 2 คนเป็นกรรมการ
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คนเป็นกรรมการ
  • จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ. ภาษาอังกฤษ

3.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 11 คน ประกอบด้วย

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 4 คนเป็นกรรมการ
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คนเป็นกรรมการ
  • จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

โดยกรรมการมีวาระ 2 ปี และหากคณะกรรมการมีมากกว่าขั้นต่ำ ให้เพิ่มกรรมการจากผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากันซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้นสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

>> ประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้เลย<<

>> ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง จะต้องมีการเลือกตั้งให้เป็นตามกฎหมายกำหนด<<

>> เลขานุการที่เป็น จป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้ตามความเหมะสม  กรณีไม่มีจป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างมาเป็น <<

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ. ภาษาอังกฤษ

        คณะกรรมการความปลอดภัยฯ จึงมีความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันอันตราย อุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน ส่งผลให้การประสบอันตรายลดลง และเกิดการร่วมมือของทุกภาคส่วนในองค์กรให้สามารถขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานอย่างจริงจังและยั่งยืน

เพราะเรื่องของความปลอดภัย เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร

ที่มา : กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

Call us: 02-3282110 | E-mail:

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คปอ. ภาษาอังกฤษ

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ.)

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ.)

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙

**** ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้น งดการอบรมชั่วคราว รอแนวทางตามกฎหมายใหม่ ***

รายละเอียดการอบรม

  • ตารางการอบรม
  • หัวข้อการอบรม
  • คุณสมบัติผู้อบรม
  • แผนที่ศูนย์ฝึกอบรม
**** ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้น งดการอบรมชั่วคราว รอแนวทางตามกฎหมายใหม่ ***

ค่าลงทะเบียน : 2,000 บาท/ท่าน

สถานที่ฝึกอบรม
อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

หลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ.) มีระยะเวลาการฝึกอบรม
12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา

หมวดวิชาที่ 1 การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) การพิจารณาแผนงานและโครงการความปลอดภัยในการทำงานและความปลอดภัยนอกงาน

หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
(ก) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง

หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน
(ก) การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงาน
(ข) การสำรวจความปลอดภัย
(ค) การจัดทำข้อบังคับ คู่มือและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
(ง) การวางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
(จ) การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
(ฉ) การประชุมและการติดตามงาน

– ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับบริหาร หรือนายจ้าง
– ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร และผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด

สถานที่ฝึกอบรม

ศูนย์ฝึกอบรม เทรนเนอร์ อิน ไทย ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 30 (ใกล้สวนหลวง ร.9)

[ ดาวน์โหลดแผนที่ศูนย์ฝึกอบรม เทรนเนอร์ อิน ไทย ]

รายละเอียดและใบสมัคร จองอบรม ขอใบเสนอราคา inhouse
Top