Metabolic alkalosis สาเหตุ

ความหมาย เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสูญเสีย H+ หรือมีระดับ HCO3- เพิ่มขึ้นในเลือดหรือน้ำนอกเซลล์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญทำให้เลือดมีฤทธิ์เป็นด่าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

Metabolic alkalosis สาเหตุ

สาเหตุ เกิดจากมีการสูญเสียกรดจากการอาเจียน มีอัลโดสเตอโรนมากผิดปกติ การได้รับยาขับปัสสาวะ ได้รับยาสเตียรอยด์ จากภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ หรือเกิดจากการได้รับด่างเพิ่มจากการรับประทานยาลดกรด การดื่มนมจำนวนมาก การได้รับเลือดจำนวนมาก การได้รับสเตียรอยด์ และเกิดจากโรคหลอดเลือดแดงที่ไตตีบ

พยาธิสรีรภาพ เมื่อไบคาร์บอเนตในเลือดสูงขึ้น กลไกการควบคุมภาวะกรด-ด่างของร่างกายคือ บัพเฟอร์ทางเคมีซึ่งอยู่ในและนอกเซลล์จะเข้าจับ HCO3- ทันที ซึ่งในระยะนี้จะไม่พบความผิดปกติใดๆ ต่อเมื่อ HCO3- มากเกินกว่าที่บัพเฟอร์จะจับได้หมด pH ของเลือดจะสูงขึ้น เมื่อ pH > 7.45 หรือ HCO3- > 26 mEq/L จะมีผลไปกดการทำงานของ Chemoreceptor ในเมดัลลาทำให้หายใจช้าลงเพื่อให้มีการคั่งของ CO2 และเมื่อ CO2 + H2O จะได้กรดคาร์บอนิก (H3CO2) ทำให้ pH ของเลือดลดลง การหายใจที่ช้าลงจะทำให้มีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำลง หาก HCO3- > 28 mEq/L โกลเมอรูลัสของไตจะไม่ดูดซึม HCO3- กลับ และขับออกทางปัสสาวะในรูปของ NaHCO3 มากที่สุด ส่วนน้อยในรูปของโซเดียมซิเตรต โซเดียมไฮโปฟอสเฟต เกลือโซเดียมของกรดไตรคาร์บอซิลิก โปแตสเซียมไบคาร์บอเนต ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อขับโซเดียมออกไปจะทำให้น้ำถูกดึงออกไปด้วย ผู้ป่วยจะปัสสาวะมากและทำให้ปริมาณเลือดไหลเวียนลดลง มีอาการกระหายน้ำและปากแห้ง นอกจากนี้ไตยังขับคลอไรด์ออกเพิ่มขึ้นทำให้ปัสสาวะมีคลอไรด์สูง เมื่อ H+ ในเลือดต่ำจะทำให้ H+ ในเซลล์เคลื่อนออกจากเซลล์แลกเปลี่ยนกับ K+ เพื่อรักษาสมดุลของประจุไฟฟ้า จึงทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำได้ ในภาวะเลือดเป็นด่าง H+ ในเลือดต่ำจะทำให้แคลเซียมมีการแตกตัวเป็นอิออนลดลงซึ่งมีผลให้เซลล์ของระบบประสาทยอมให้โซเดียมผ่านผนังเซลล์ได้มากขึ้น กระตุ้นการนำกระแสประสาทไวกว่าปกติทั้งของประสาทส่วนปลายและระบบประสาทส่วนกลาง

อาการ ชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เป็นตะคริว หากมีภาวะเลือดเป็นด่างอย่างรุนแรง (HCO3- มากกว่า 40 mEq/L) ผู้ป่วยจะไวต่อสิ่งเร้า บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง สับสน เพ้อคลั่ง กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ไม่รู้สึกตัว การหายใจถูกกดทำให้หายใจตื้นช้า หาก pH > 7.6 จะเกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้หัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติโดยเฉพาะเมื่อมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำร่วมด้วย ความดันเลือดจะต่ำลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะเปลี่ยนแปลง และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ลำไส้เคลื่อนไหวลดลงหรือหยุดเคลื่อนไหว เมื่อไตทำหน้าที่ขับไบคาร์บอเนตและคลอไรด์เพิ่มขึ้นระยะนี้ปัสสาวะจะออกมาก

การวินิจฉัยโรค จากประวัติเคยมีภาวะสูญเสียกรดหรือได้รับด่างเกิน ตรวจร่างกายพบอาการกระสับกระส่าย ไวต่อสิ่งเร้า สับสน กล้ามเนื้อกระตุก รีเฟล็กซ์ไวกล่าปกติ หายใจ ตื้นและช้า คลื่นไส้ อาเจียน ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยหรือไม่ได้ยินเสียง ท้องอืด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำลง ตรวจเลือดหาการวิเคราะห์ค่าความดันก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas; ABG) พบ pH > 7.45, HCO3- > 26 mEq/L, Base excess > +2, ตรวจเลือด ได้ค่าโปแตสเซียมและคลอไรด์ต่ำ pH ในปัสสาวะ > 7 คลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ T และ U wave

การรักษา มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขสาเหตุ เช่น ควบคุมการอาเจียน และแก้ไขภาวะด่าง เช่น ให้โซเดียมคลอไรด์ทางหลอดเลือดดำเพื่อเร่งการขับไบคาร์บอเนตออกทางปัสสาวะให้ไดอะม็อก (Diamox หรือ Acetazolamide) 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2-4 ครั้ง เพื่อขับไบคาร์บอเนตออกทางปัสสาวะ ในรายที่รุนแรงให้แอมโมเนียมคลอไรด์หรือกรดไฮโดรคลอริกผสมในน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มไฮโดรเจนอิออนและคลอไรด์อิออน ควรให้หยดเข้าทางหลอดเลือดดำใหญ่ช้าๆ ในระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง หรือให้ทางสายสวนกระเพาะอาหาร ให้ยาลดการหลั่งกรดในรายที่ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การพยาบาล ดูแลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน โดยดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา บันทึกสัญญาณชีพทุก 1-8 ชั่วโมง จังหวะการเต้นของหัวใจ ลักษณะการหายใจ ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas; ABG) ให้มีภาวะสมดุลของกรด-ด่าง โดยดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือทางปาก ดูแลให้มีความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ โดยดูแลให้

ผู้ป่วยได้รับโปแตสเซียมทดแทน เมื่อมีภาวะขาดโปแตสเซียม อาจให้ผสมในสารน้ำและหยดอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอัตราเร็วตามแผนการรักษา ดูแลให้ได้รับแคลเซียมกลูโคเนตในรายที่มีอาการชักกระตุก ดูแลให้ได้รับแอมโมเนียมคลอไรด์ตามแผนการรักษา โดยให้ในอัตราเร็ว 1 ลิตรนานไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง หากให้เร็วเกินไปจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต ป้องกันอุบัติเหตุโดยระวังอาการชัก ยกไม้กั้นเตียงขึ้น แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นสาเหตุ


11 แหล่งข้อมูล

กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

Physiology, Metabolic Alkalosis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482291/)

Metabolic Alkalosis: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/metabolic-alkalosis)

Causes of metabolic alkalosis. UpToDate. (https://www.uptodate.com/contents/causes-of-metabolic-alkalosis)

Metabolic Alkalosis: Practice Essentials, Pathophysiology, Etiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/243160-overview)

MedlinePlus, Alkalosis https://medlineplus.gov/ency/article/001183.htm).

Tentori F, et al. (2013). Association of dialysate bicarbonate concentration with mortality in the dialysis outcomes and practice patterns study (DOPPS). DOI: (https://dx.doi.org/10.1053%2Fj.ajkd.2013.03.035)

Soifer JT, et al. (2014). Approach to metabolic alkalosis. DOI: (https://doi.org/10.1016/j.emc.2014.01.005)

Mehta A, et al. (2018). Treatment of metabolic alkalosis. (https://www.uptodate.com/contents/treatment-of-metabolic-alkalosis/print)

Jain N, et al. (2017). Acid/base disorders: Metabolic alkalosis. (https://www.renalandurologynews.com/nephrology-hypertension/acidbase-disorders-metabolic-alkalosis/article/616248/)

Emmett M. (2017). Clinical manifestations and evaluation of metabolic alkalosis. (https://www.uptodate.com/contents/clinical-manifestations-and-evaluation-of-metabolic-alkalosis)

Emmett M. (2017). Causes of metabolic alkalosis. (https://www.uptodate.com/contents/causes-of-metabolic-alkalosis)

ดูแหล่งข้อมูลเพิ่ม


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ข้อใดเป็นสาเหตุของ metabolic alkalosis

ส่วนอัลคาลอซิสแบบเมแทบอลิก (Metabolic alkalosis) นั้นอาจเกิดจากการอาเจียนซ้ำ ๆ (repeated vomiting) ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียกรดไฮโดรคลอริกจากสารในกระเพาะ, ยาขับปัสสาวะ (diuratics) และโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคคูชิง กลไกการทดแทน (compensatory mechanism) ในกรณีของอัลคาลอซิสแบบเมแทบอลิกมีส่วนในการทำให้หายใจช้าลง ...

Metabolic acidosis เกิดจากสาเหตุใด

ภาวะ metabolic acidosis เป็นความผิดปกติ ของสมดุลกรด-ด่างชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ในผู้ป่วยที่ได้รับ สารพิษ หรือได้รับยาเกินขนาด เนื่องจากร่างกายมีการ สร้างกรดมากเกินไป การขับกรดออกจากร่างกายน้อย ลง หรือมีการสูญเสียความเป็นด่างในร่างกาย โดยอาการ และอาการแสดงของภาวะนี้มักไม่จ าเพาะเจาะจง แต่ผล arterial blood gas มักมีค่า ...

Alkalosis คืออะไร

แอลคาโลซิส (alkalosis) เป็นภาวะที่เลือดมีค่าพีเอชสูงกว่าค่าพีเอชปกติของเลือด คือ 7.4 หรือมีสภาพเป็นด่างมากกว่าปกติ เนื่องจากสูญเสียกรดออกจากร่างกายมากเกินไป

เมื่อเกิดภาวะ metabolic alkalosis ร่างกายมีการปรับดุลย์ อย่างไร

ภาวะ Metabolic Alkalosis ค่า [HCO3] จะสูงขึ้น ร่างกายจะปรับตัวโดย ลดการหายใจลง (hypoventilation) โดยทั่วไป ระดับ PaCO, ก็จะเพิ่มขึ้น แต่สูงสุดไม่เกิน 50-55 มม.ปรอท โดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 แบบได้แก่ 1) Chloride – responsive metabolic alkalosis: กลุ่มนี้หากตรวจระดับ chloride ในปัสสาวะจะมีค่าน้อย