การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด คือ

1. การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ต้องการให้สินค้ารู้จักเป็นวงกว้างในระยะเวลาสั้นๆ แนะนำสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในกรณี การสร้างความแตกต่าง สร้างภาพจำ หรือขยายฐานลูกค้าออกไป

2. การประชาสัมพันธ์ (Public Rotation’s) เป็นสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและเป็นการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคจดจำคุณลักษณะของตัวสินค้าได้ สร้างข้อแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ตอกย้ำจุดเด่นของสินค้าในการมัดใจผู้ซื้อ

3. การตลาดทางตรง (Direct Marketing Communication) เป็นการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง  อาจถูกนำมาใช้ก่อนการผลิตสินค้าจริง โดยการสอบถามหาข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือสร้างความพิเศษแบบตัวต่อตัว ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีความสำคัญ อาทิ การส่งเมลล์ส่วนตัว เป็นต้น

4. การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด (Sale Promotion Communication) เป็นกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้เร็วขึ้น อาทิเช่น ส่วนลดโปรโมชั่น สิทธิสมาชิกบัตร เรทราคาสินค้าส่งหรือถูกลงในการซื้อปริมาณมาก ทั้งนี้เพื่อหาลูกค้าใหม่ และรักษาฐานลูกค้าเก่าให้คงอยู่ และทำให้ขายได้มากขึ้นกว่าปกติ

5. สื่อสารแบบส่วนตัว (Personal Communication) เป็นการตลาดที่ต้องใช้พนักงานหรือตัวแทนสื่อสารกับลูกค้า มักถูกนำมาใช้กับกรณีสินค้านั้นมีรายละเอียดหรือมีความซับซ้อน เช่น ประกันชีวิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วึ่งในแต่ละบุคลก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างตามตัวบุคคล

6. การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด (Sponsorship and Event) คือ กิจกรรมที่กระตุ้นการขาย เพื่อสร้างการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น มักถูกนำมาในใช้กรณี ต้องการขายโดยพนักงาน PR สินค้าออกบูท หรือต้องการส่งเสริมการขายให้กับผู้ค้าปลีก เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด คือ


กิจกรรม การสื่อสารการตลาดต้องอาศัยการทำการบ้านที่ดี มีข้อมูลแม่นยำ นั่นก็เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย สินค้าครองใจผู้บริโภค และลดปัญหาค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

                             การส่งเสริมการตลาด

ความหมายของการส่งเสริมการตลาด
          การส่งเสริมการตลาด (promotion) หมายถึง กระบวนการทางด้านการติดต่อสื่อสารทางการตลาด ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการซื้อ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลชักจูงใจ หรือตอกย้ำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และตรายี่ห้อ รวมทั้งเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้สึก และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

          ดังนั้นการส่งเสริมการตลาดจึงเป็นการประสานงานของผู้ขายในการพยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อแจ้งข้อมูลและจูงใจ เพื่อขายสินค้าและบริการหรือส่งเสริมความคิด การส่งเสริมการตลาดถือเป็นหน้าที่หนึ่งของการตลาด เพื่อการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย โดยข่าวสารอาจจะเป็นข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ราคา หรือคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่ายก็ได้

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการตลาด
          1. เพื่อแจ้งข่าวสาร (to inform) เป็นการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสารแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
          2. เพื่อจูงใจ (to persuade) เป็นการสื่อสารเพื่อชักจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท
          3. เพื่อเตือนความทรงจำ (to remind) เป็นการสื่อสารทางการตลาดเพื่อย้ำเตือนกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการจดจำในตรายี่ห้อของสินค้าหรือบริการ

กระบวนการติดต่อสื่อสาร (communication process)
          1. สภาพของการสื่อสาร (communication context) คือ สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นหรือจำกัดการสื่อสารในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การสื่อสารนั้นเด่นชัดหรือคลุมเครือ
          2. แหล่งข่าว / ผู้ส่งสาร (source / sender) คือ ผู้ที่คัดเลือกสารต่าง ๆ แล้วทำการส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยองค์กรต่าง ๆ และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้รับสารเมื่อมีการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้น
          3. การเข้ารหัส (encoding) คือ กระบวนการของการแปลความคิดให้เป็นข้อความที่มีความหมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ดังนั้นผู้ส่งข่าวสารจะต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อนว่าควรจะสื่อสารอย่างไรผู้รับจึงจะเข้าใจ
          4. ข่าวสาร (message) กระบวนการเข้ารหัสนั้นจะนำไปสู่ การพัฒนาเป็น "ข่าวสาร" โดยข่าวสารนั้นจะประกอบไปด้วยสารสนเทศหรือความหมายที่แหล่งข่าวต้องการที่จะส่ง
          5. ช่องทางของการสื่อสาร (communication channel) หรือสื่อ (Medium) คือ สื่อกลางหรือวิธีการที่ใช้นำข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์ ภาพยนตร์ นิตยสาร จดหมาย เป็นต้น
          6. การถอดรหัส (decoding) คือ กระบวนการของผู้รับในการแปลความข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย ที่ผู้รับข่าวสารสามารถนำไปใช้ได้ โดยการถอดรหัสนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การรับรู้ ทัศนคติ และค่านิยมของผู้รับสาร นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรม สังคม บทบาท และฐานะก็ยังเป็นอีกตัวหนึ่งที่มามีอิทธิพลต่อการถอดรหัส
          7. ผู้รับสาร (receiver) หรือจุดหมายปลายทาง (destination) คือ บุคคลที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการให้ได้รับข่าว อาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ผู้รับสารต้องมีความสามารถในการฟังให้เข้าใจ อ่านให้รู้เรื่อง และคิดให้เป็นจึงจะสามารถรับข่าวสารและแปล
ความหมายของข่าวสารได้
          8. สิ่งรบกวน (noise) คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีผลกระทบต่อความมีประสิทธิผลของการสื่อสาร เช่น เสียงรถวิ่งไปมา ความแตกต่างด้านวัฒนธรรม การออกเสียงไม่ชัดเจน เป็นต้น
          9. การตอบสนอง (response) คือ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสารหลังจากที่ได้รับข่าวสาร
          10. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนอง คือการสื่อสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิผลของข่าวสารที่ส่งไป ที่จะบอกให้ผู้ส่งสารทราบว่าสารที่ผู้ส่งส่งไปนั้นเป็นที่เข้าใจของผู้รับมากน้อยเพียงใด

แหล่งที่มาhttp://classroom.hu.ac.th/courseware/Marketing/index37.html

นายประวิทย์ มณีจันทร์ สาขา การตลาด ปี 3 รหัส 5210125410044