ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของภาพ raster

ไฟล์ราสเตอร์คือรูปภาพที่สร้างขึ้นจากสี่เหลี่ยมมีสีเล็กๆ ที่เรียกว่าพิกเซล ซึ่งพิกเซลจำนวนมากสามารถรวมตัวกันเป็นรูปภาพที่มีรายละเอียดสูงอย่างภาพถ่ายได้ยิ่งรูปภาพมีพิกเซลมากเท่าไร ก็ยิ่งมีคุณภาพมากเท่านั้น และยิ่งมีน้อย คุณภาพก็ยิ่งต่ำลงทั้งนี้ จำนวนพิกเซลในรูปภาพจะขึ้นอยู่กับประเภทของไฟล์ (เช่น JPEG, GIF หรือ PNG)

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ประเภทราสเตอร์

ไฟล์เวกเตอร์คืออะไร

ไฟล์เวกเตอร์ใช้สมการคณิตศาสตร์ เส้น และเส้นโค้งพร้อมกับจุดที่กำหนดไว้บนตารางในการสร้างรูปภาพทั้งนี้ ไฟล์เวกเตอร์จะไม่มีพิกเซลอยู่สูตรคณิตศาสตร์ของไฟล์เวกเตอร์จะนำเอารูปทรง เส้นขอบ และการถมสีมาสร้างรูปภาพเนื่องจากสูตรคณิตศาสตร์สามารถปรับเปลี่ยนให้มีขนาดใดก็ได้ คุณจึงสามารถขยายหรือย่อรูปภาพเวกเตอร์ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของรูปภาพ 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ประเภทเวกเตอร์

ไฟล์ราสเตอร์และไฟล์เวกเตอร์แตกต่างกันอย่างไร

ไฟล์ราสเตอร์และเวกเตอร์ต่างก็เป็นรูปแบบไฟล์ยอดนิยมที่ใช้สำหรับเนื้อหาภาพ แต่ไฟล์ทั้งสองประเภทนี้แสดงรูปภาพด้วยวิธีที่ต่างกัน จึงมีหลายเรื่องที่คุณควรพิจารณาเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะใช้ไฟล์ประเภทไหนความแตกต่างหลักๆ ระหว่างราสเตอร์กับเวกเตอร์ ได้แก่

ความละเอียด

หนึ่งในความแตกต่างหลักๆ ระหว่างไฟล์ราสเตอร์และเวกเตอร์ก็คือความละเอียด ความละเอียดของไฟล์ราสเตอร์จะเรียกเป็นหน่วย DPI (จุดต่อนิ้ว) หรือ PPI (พิกเซลต่อนิ้ว)หากคุณซูมเข้าไปดูหรือขยายขนาดรูปภาพแบบราสเตอร์ คุณจะเริ่มเห็นพิกเซลแต่ละพิกเซล 

ไฟล์ราสเตอร์แสดงสีได้หลากหลายกว่า ทำให้แก้ไขสีได้ดีกว่า รวมถึงแสดงแสงและเงาได้ละเอียดกว่าเวกเตอร์ แต่เมื่อปรับขนาดจะทำให้รูปภาพสูญเสียคุณภาพวิธีง่ายๆ ในการระบุว่ารูปภาพนั้นเป็นแบบราสเตอร์หรือเวกเตอร์ก็คือการขยายขนาดรูปภาพหากรูปภาพเบลอหรือแตกเป็นพิกเซล ไฟล์ดังกล่าวก็น่าจะเป็นไฟล์ราสเตอร์

ส่วนไฟล์รูปภาพแบบเวกเตอร์นั้นไม่มีปัญหาเรื่องความละเอียดของภาพคุณสามารถปรับขนาด ปรับสัดส่วน หรือปรับรูปทรงของเวกเตอร์ได้อย่างไม่จำกัดโดยไม่ทำให้รูปภาพเสียคุณภาพไฟล์เวกเตอร์เป็นที่นิยมสำหรับรูปภาพที่ต้องปรากฏในหลากหลายขนาด เช่น โลโก้ที่ต้องอยู่ทั้งในนามบัตรและบนป้ายโฆษณา

การใช้งาน

ภาพถ่ายดิจิทัลโดยทั่วไปเป็นไฟล์ราสเตอร์ กล้องดิจิทัลจำนวนมากจะถ่ายและบันทึกภาพถ่ายเป็นไฟล์ราสเตอร์โดยอัตโนมัติ และรูปภาพที่คุณเห็นบนโลกออนไลน์ก็มักจะเป็นแบบราสเตอร์เช่นกันนอกจากนี้ ไฟล์ราสเตอร์ยังเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไปสำหรับการแก้ไขรูปภาพ ภาพถ่าย และกราฟิกอีกด้วย

ส่วนไฟล์เวกเตอร์นั้นเหมาะสำหรับภาพประกอบดิจิทัล กราฟิกที่มีความซับซ้อน และโลโก้มากกว่าเนื่องจากเวกเตอร์จะยังมีความละเอียดคงเดิมเมื่อมีการปรับขนาด จึงเหมาะสำหรับสิ่งพิมพ์หลากหลายรูปแบบ

บางโครงการอาจต้องใช้รูปภาพทั้งแบบราสเตอร์และเวกเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น โบรชัวร์อาจใช้กราฟิกเวกเตอร์สำหรับโลโก้บริษัทแต่มีภาพถ่ายเป็นไฟล์ราสเตอร์ เป็นต้น

ขนาดไฟล์

โดยปกติแล้ว ไฟล์ราสเตอร์จะมีขนาดใหญ่กว่าไฟล์เวกเตอร์ไฟล์ราสเตอร์สามารถเก็บพิกเซลได้เป็นล้านๆ พิกเซลและมีรายละเอียดมากจนน่าเหลือเชื่อ ซึ่งไฟล์ขนาดใหญ่อาจส่งผลต่อพื้นที่เก็บข้อมูลของอุปกรณ์และทำให้โหลดหน้าเว็บได้ช้าลงอย่างไรก็ตาม คุณสามารถบีบอัดไฟล์ราสเตอร์เพื่อการจัดเก็บและปรับให้เหมาะสมกับเว็บได้ ซึ่งจะทำให้คุณแชร์ไฟล์ได้รวดเร็วและง่ายดายขึ้น

ไฟล์เวกเตอร์นั้นมีขนาดเบากว่าไฟล์ราสเตอร์มาก เนื่องจากมีเพียงสูตรทางคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวกำหนดการออกแบบเท่านั้น

ความเข้ากันได้และการแปลงไฟล์

คุณสามารถเปิดไฟล์ราสเตอร์ได้ในแอปและเว็บเบราว์เซอร์มากมาย คุณจึงสามารถดู แก้ไข และแชร์ไฟล์ประเภทนี้ได้ง่ายส่วนไฟล์เวกเตอร์นั้นไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเท่ากับไฟล์ราสเตอร์ ไฟล์เวกเตอร์หลายๆ ประเภทต้องอาศัยซอฟต์แวร์เฉพาะทางในการเปิดและแก้ไขไฟล์อย่างไรก็ดี คุณก็สามารถแปลงไฟล์เวกเตอร์เป็นราสเตอร์หรือแปลงไฟล์ราสเตอร์เป็นเวกเตอร์ได้เมื่อต้องการ แม้จะยุ่งยากไปบ้างก็ตาม

ประเภทและนามสกุลไฟล์

โดยปกติแล้ว ซอฟต์แวร์ของคุณจะระบุประเภทไฟล์ว่าเป็นราสเตอร์หรือเวกเตอร์ซึ่งไฟล์ราสเตอร์และเวกเตอร์ต่างก็มีหลากประเภทหลายนามสกุล โดยแต่ละประเภทก็มีฟีเจอร์เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทไฟล์บางส่วนที่พบได้บ่อย

1. ภาพแบบราสเตอร์ (Raster)

      การ ประมวลผลแบบ Raster หรือแบบ บิตแมป(Bitmap) หรือเรียกว่าเป็นภาพแบบ Resolution Dependent โดยหลักการทำงาน คือ จะเป็นการประมวลแบบอาศัยการอ่านค่าสีในแต่ละพิกเซล ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Bitmap ซึ่งจะเก็บค่าของข้อมูลเป็นค่า 0 และ 1 และในแต่ละพิกเซลจะมีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง ลักษณะสำคัญของภาพประเภทนี้ คือ จะประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว ตามการสร้างภาพที่มีความละเอียดแตกต่างกันไป ภาพแบบ Bitmap นี้ มีข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องละเอียดและสวยงามได้ง่าย ข้อจำกัดคือ เมื่อมีพิกเซลจำนวนคงที่ นำภาพมาขยายให้ใหญ่ขึ้น ความละเอียดก็จะลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด และถ้าเพิ่มความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ และเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำมาก
      ไฟล์ ของรูปภาพที่เกิดจากการประมวลผลแบบ Raster คือ ไฟล์พวกที่มี นามสกุล เป็น .BMP .PCX .TIF .JPG .GIF .MSP .PNG .PCT โดยโปรแกรมที่ใช้จัดการกับภาพประเภทนี้ คือ โปรแกรมประเภทจัดการภาพ ตกแต่งภาพ ซึ่งปัจจุบันนี้มีโปรแกรมมากมายให้เราได้ใช้กัน เช่น Photoscape , Paint , Photoshop , และอีกมากมาย
ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของภาพ raster

ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ Raster

2. ภาพแบบเวคเตอร์ (Vector)

      ภาพแบบ เวกเตอร์ หรือ Object-Oriented Graphics หรือ เรียกว่า เป็นรูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่มีลักษณะของการสร้างจากคอมพิวเตอร์ที่มีการสร้างให้แต่ละส่วนของ ภาพเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรง หรือ ส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรืออาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน ฉะนั้นไม่ว่าจะมีการเคลื่อนย้าย หรือย่อขยายขนาดของภาพ ก็จะไม่เสียรูปทรง และความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง จึงทำให้ภาพยังคงชัดเจนเหมือนเดิม แม้ขนาดของภาพจะมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงก็ตาม แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถใช้เอฟเฟคในการปรับแต่งภาพได้เหมือนกับภาพแบบ Raster
      การ ประมวลผลภาพแบบ Vector ได้แก่ภาพที่มี นามสกุล .AI, .DRW, .CDR , .EPS, .PS ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพก็มีมากมายหลายโปรแกรม เช่น Illustrator, CorelDraw และ ภาพ .WMF ซึ่งเป็นภาพคลิปอาร์ตในโปรแกรม Microsoft Word และภาพ .DWG ในโปรแกรมการออกแบบ AutoCAD เป็นต้น

ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของภาพ raster

ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ Vector