หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ธอส

การยื่นกู้ (14)

กรณีที่มีปัญหาข้อมูลเครดิตและต้องการขอสินเชื่อกับธนาคารนั้น ปัจจุบันสถานะบัญชีต้องปกติ ไม่อยู่ระหว่างถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างประนอมหนี้ แนะนำให้ผู้กู้ไปตรวจสอบเครดิตกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ก่อน จากนั้นนำเอกสารดังกล่าวพร้อมเอกสารการปิดบัญชีเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารต่อไป

กรณีไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิบเงินเดือน ให้ลูกค้าเตรียมเอกสาร ดังนี้
-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-เอกสารการรับเงินเดือน หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ)
-เอกสารนำส่งเงินประกันสังคม ย้อนหลัง 12 เดือน

แนะนำให้ลูกค้าเตรียมเอกสาร

-สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-หลักฐานอื่น อาทิค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต
เข้ามาติดต่อสาขาที่สะดวก เพื่อขอคำปรึกษาและให้เจ้าหน้าที่ทำการประเมินวงเงินกู้เบื้องต้น จากนั้นจึงมองหาบ้านในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ก่อนยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารอีกครั้ง

สามารถติดต่อได้ที่ธอส.ทุกสาขา หรือ www.ghbanksmart.com

ผู้กู้ทำการเพิ่มชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดก่อนทำการยื่นขอสินเชื่อหรือให้เจ้าของโฉนดมาเป็นผู้กู้ร่วมด้วย (ก่อนโอนกรรมสิทธิ์หรือเพิ่มชื่อฯ แนะนำให้ลูกค้าเตรียมเอกสารส่วนตัวและเอกสารแสดงรายได้มาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการประเมินวงเงินกู้เบื้องต้นก่อนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหากกู้ไม่ได้ลูกค้าจะได้ไม่เสียเงินฟรี)

หลักประกันที่จะซื้อหรือปลูกสร้างต้องมีลักษณะเป็น โฉนดที่ดิน(นส.4จ) หรือ นส.3ก หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด(อช.2) ธนาคารไม่รับพิจารณาหลักประกันเป็นที่ดิน สปก. และที่ดินเขตป่าสงวน

กรณีกู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองผู้กู้จะต้องมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันของบ้านที่จะทำ ทั้งนี้หลักประกันต้องมีศักยภาพในการใช้เป็นที่อยู่อาศัย คือมีทางสาธารณะตัดผ่าน สาธารณูปโภคครบเช่นไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง

เอกสารส่วนตัว

– บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
– ทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ (หากมี)
– สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส(หากมี)

เอกสารแสดงรายได้

กรณีอาชีพประจำ

– หนังสือรับรองเงินเดือน/หนังสือรับรองสิทธิสวัสดิการ
– สลิบเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน
– Statement เงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
– หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)

กรณีอาชีพอิสระ

-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)
-สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนบริษัท/ทะเบียนนิติบุคคล
-หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
-ภาพถ่ายกิจการ 3-4 ใบ
-สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
-สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสั่งซื้อสินค้า
-หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)

เอกสารหลักประกัน

– สำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะแห่งชาติ และหนังสือรับรองยอดคงเหลือ (กรณีกู้ซื้อ)
– สำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน และสำเนาสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินเดิม (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ)
– ใบเสร็จการผ่อนชำระ หรือบัญชีหมุนเวียน ย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ)
– หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
– สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
– สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า (กรณีซื้อทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน)
– ใบอนุญาตปลูกสร้าง/ต่อเติม
– แบบแปลน/พิมพ์เขียว
– ใบประมาณการปลูกสร้าง/สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการยื่นกู้ มีรายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ กู้ใหม่และกู้เพิ่ม
– วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท ไม่เก็บค่าธรรมเนียม
– วงเงินกู้เกิน 500,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม

ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาหลักประกัน
– วงเงินขอกู้ไม่เกิน 500,000.- ค่าธรรมเนียม 1,900.- / แห่ง
– วงเงินขอกู้ 500,001-3,000,000.- ค่าธรรมเนียม 2,800.- / แห่ง
– วงเงินขอกู้เกิน 3,000,000.- ค่าธรรมเนียม 3,100.- / แห่ง

ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม(คิดเหมา) ค่าธรรมเนียม 1,000.- / ราย

ค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน ค่าจดจำนอง ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้

ค่าโอนกรรมสิทธิ์ร้อยละ 2.5 ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย โดยใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ค่าอากร ร้อยละ 0.5 ตามราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน

ธนาคารจะพิจารณาจากเกณฑ์รายได้ หลักประกัน LTV ภาระหนี้สินที่มี รวมถึงประวัติข้อมูลเครดิตต้องปกติ

40 ปี แต่ระยะเวลาการกู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

-กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไปพิจารณาวงเงินให้กู้ไม่เกิน 85% ของราคาประเมิน และราคาซื้อขาย

-กรณีลูกค้าสวัสดิการ พิจารณาวงเงินให้กู้ไม่เกิน 90-100% ของราคาประเมิน และราคาซื้อขาย

  • อายุ 20 ปี ขึ้นไป
  • อายุงาน 1 ปี ขึ้นไป
  • มีรายได้แน่นอนเพียงพอต่อการผ่อนชำระเงินกู้
  • เงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้สุทธิ
  • มีหลักฐานแสดงรายได้ที่น่าเชื่อถือ
  • ผู้กู้ร่วมได้แก่ บิดา-มารดา คู่สมรส บุตร พี่-น้อง และ/หรือบุคคลอื่นได้ไม่เกิน 1 คน
  • ต้องมีรายได้เพียงพอในการผ่อนชำระ และร่วมพักอาศัยจริง
  • ประวัติข้อมูลเครดิต ต้องเป็นสถานะปกติ

ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่าได้ แต่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคารในคราวเดียวกันได้

ธอส. ให้สินเชื่อเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดินหรือห้องชุด
  • ซื้อที่ดินเปล่าพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • เพื่อปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเอง
  • เพื่อต่อเติมขยาย ซ่อมแซมอาคาร
  • เพื่อชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • เพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น
  • เพื่อซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องในการอยู่อาศัย
  • สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ
  • สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ

สินเชื่อ (6)

ธนาคารใช้วิธีการคำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือ คูณด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้(%) คูณจำนวนวันในเดือน (30 หรือ 31 วัน) หารด้วยจำนวนวันในหนึ่งปี (365 หรือ 366 วัน)

ลูกค้ารายย่อยสามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระได้ หลังจากผ่อนชำระครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยต้องมีประวัติการผ่อนชำระสม่ำเสมออย่างน้อย 24 เดือน และไม่อยู่ระหว่างประนอมหนี้

ลูกค้าสวัสดิการ สามารถขอเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หลังจากครบกำหนดการใช้ดอกเบี้ยปีที่ 2

แต่ต้องตรวจสอบจากบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินอีกครั้ง เนื่องจากบางโครงการจะกำหนดข้อห้ามเช่น ห้ามปิดบัญชี หรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยภายในระยะเวลากี่ปี

ไม่แตกต่าง อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับโครงการที่ลูกค้าเลือกใช้

กรณีขอเลขที่บ้านใหม่

-ใบคำขอเลขที่บ้าน
-ใบอนุญาตปลูกสร้าง
-เอกสารการขอใช้น้ำ-ไฟฟ้า

กรณีปลูกสร้างอาคารทดแทนหลังเดิมแต่ไม่ต้องการเปลี่ยนเลขที่บ้าน(กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินเป็นของบุคคลอื่นและไม่ได้กู้ร่วม)

-ใบรับรองอนุญาตปลูกสร้าง ทด.13 หรือ ทด.14 (ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานเขตหรืออบต.ในพื้นที่ ไม่สามารถใช้เฉพาะเอกสารขออนุญาตรื้อถอนได้)

ธนาคารจะจ่ายเงินงวดให้แก่ลูกค้าก่อนมีผลงานการก่อสร้าง แต่ธนาคารจะบวกดอกเบี้ยเพิ่มร้อยละ 0.50 ต่อปี จนกว่าจะรับเงินงวดสุดท้ายแล้วเสร็จ

ธนาคารจะจ่ายเงินงวดให้แก่ผู้กู้ โดยต้องมีผลงานการก่อสร้างอย่างน้อย 20%

Refinance (3)

กรณีไถ่ถอนมายังธอส.ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น กรณีเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล หรือเพื่ออุปโภคบริโภค ไม่สามารถไถ่ถอนมายังธอส.ได้

การไถ่ถอนจำนองมายังธอส. ต้องเป็นการไถ่ถอนจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต หรือสถาบันการเงินอื่น การเคหะแห่งชาติ บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) หรือบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ บตท. เท่านั้น

หากเป็นกรณีทำสัญญาขายฝากต้องมีการทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดินด้วย

กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายสถาบันการเงินมายัง ธอส. วัตถุประสงค์เดิมต้องเป็นการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น ธนาคารจะพิจารณาจากประวัติการกู้ย้อนหลัง 24 เดือน โดตยต้องมีสถานะบัญชีปกติจากสถาบันการเงินเดิม เพื่อประกอบการพิจารณาค่ะ

การประนอมหนี้ (3)

ผู้กู้ร่วมคนใด คนหนึ่ง สามารถเข้ามาติดต่อขอประนอมหนี้ได้

หากไม่มีผู้กู้ร่วมสามารถมอบอำนาจได้ โดยให้ญาติที่อยู่ในเมืองไทยเข้ามาติดต่อกับทางธนาคาร โดยใช้หนังสือสอบมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เข้ามาติดต่อธนาคาร

1. เอกสารส่วนบุคคล
– บัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณะบัตร (แล้วแต่กรณี)

2. เอกสารรายได้ (เพื่อพิจารณาความสามารถในการประนอมหนี้)
2.1 อาชีพประจำ หนังสือรับรองเงินเดือนตัวจริง สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
2.2 อาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือ ค้าขาย หนังสือจดทะเบียนบริคณห์สนธิ หนังสือจดทะเบียนการค้า บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน หรือ เอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบของตนเอง เช่น สัญญาเช่าแผง เช่าร้าน ตัวอย่างใบสั่งสินค้า

3. เอกสารแสดงภาระหนี้ต่างๆ เช่น ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สัญญากู้เงินต่างๆ

-กรณีทรัพย์หลักประกันอยู่ในเขต กทม.และปริมณฑล สามารถติดต่อได้ที่ งานบริหารหนี้ ฝ่ายบริหารหนี้ กทม.และปริมณฑล (ธอส.สำนักงานใหญ่) หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-1770-5

-กรณีทรัพย์หลักประกันตั้งอยู่ในเขตต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่งานบริหารหนี้สาขา สาขาในจังหวัดที่ทรัพย์ตั้งอยู่ หรือ ฝ่ายบริหารหนี้ภูมิภาค (ธอส.สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2 หมายเลขโทรศัพท์ 02-202-1742-3 ค่ะ

การชำระเงินงวด (2)

ผู้กู้สามารถชำระเงินงวดได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขา ตู้รับชำระหนี้เงินกู้(LRM) ตู้ ATM เครื่องชำระหนี้เงินกู้ไร้เงินสด(QR Non Cash Payment) และ Mobie Application GHB ALL

หักเงินงวดจากบัญชีเงินฝาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารไทยพาณิชย์

ชำระเงินงวดผ่านตัวแทนรับชำระหนี้เงินกู้โดยใช้บัตร GHB Pay Card หรือใบเสร็จรับเงินที่มีแถบบาร์โค๊ด อาทิ

– เคาน์เตอร์เซอร์วิส
– pay @ post เคาน์เตอร์ที่ทำการไปรษณีย์
– เทสโก โลตัส
– ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
– เอ็มเปย์ สเตชั่น
– เคาน์เตอร์ Big C
– TOT
– ทรู มันนี่ เอ็กซ์เพลส
– Cenpay เคาน์เตอร์ เซ็นทรัล, B2S ,แฟมิลี่มาร์ท,Top Supermarkets , ร้านมัทซึโมโตะ, ร้านไทวัสดุ, ออฟฟิชเมท, เพาเวอร์บาย, โรบินสัน, และร้านซุปเปอร์สปอร์ต

ผู้กู้จะต้องชำระเงินงวดไม่ต่ำกว่าที่ธนาคารกำหนดตามสัญญากู้เงินเป็นประจำทุกเดือน หากเดือนใดไม่ได้ชำระเดือนถัดมาผู้กู้จะต้องชำระเงินงวดพร้อมกัน 2 ยอด งวด คือ เงินงวดในเดือนที่ผ่านมาและเงินงวดเดือน

ปัจจุบัน กรณีเดือนใดผู้กู้ชำระเงินงวดเกินกว่าที่ธนาคารกำหนด เงินส่วนที่เกินจะถูกนำไปตัดชำระเงินต้นทั้งจำนวน ไม่ถือเป็นชำระเงินงวดของเดือนถัดไป

  • กรณีมีจำนวนวันค้างขำระ (DPD) ไม่เกิน 30 วัน ถือว่าสถานะบัญชีปกติ
  • กรณีมีจำนวนวันค้างชำระ (DPD) ตั้งแต่ 31 วันขึ้นไป ธนาคารจะมีหนังสือแจ้งเตือนเพื่อให้ชำระหนี้
  • กรณีจำนวนวันค้างชำระ (DPD) ตั้งแต่ 91 วันขึ้นไป (สำหรับผู้กู้ที่กู้เงินก่อนวันที่1 มี.ค. 2564) และจำนวนวันค้างชำระ (DPD) เกิน 45 วัน (สำหรับผู้กู้ที่กู้เงินหลังวันที่ 1 มี.ค 2564) ธนาคารจะมีหนังสือแจ้งการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัด (ปัจจุบันเท่ากับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ XXX บาท บวกเพิ่มร้อยละ 3 ต่อปี )
  • กรณีจำนวนวันค้างชำระ (DPD) ตั้งแต่ 91 วันขึ้นไป (สำหรับผู้กู้ที่กู้เงินก่อนวันที่ 1 มี.ค. 2564) และจำนวนวันค้างชำระ (DPD) ตั้งแต่ 61 วันขึ้นไป (สำหรับผู้กู้ที่กู้เงินหลังวันที่ 1 มี.ค 2564) ธนาคารมีความจำเป็นต้องมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง

คนไทยในต่างประเทศ (1)

ผู้กู้ร่วมคนใด คนหนึ่ง สามารถเข้ามาติดต่อขอประนอมหนี้ได้

หากไม่มีผู้กู้ร่วมสามารถมอบอำนาจได้ โดยให้ญาติที่อยู่ในเมืองไทยเข้ามาติดต่อกับทางธนาคาร โดยใช้หนังสือสอบมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เข้ามาติดต่อธนาคาร

Load More