กรณี ใดที่ ทำให้ผู้ ค้ำประกัน หลุดพ้น ความรับผิด

    10.3.1  เจ้าหนี้ทำให้ลูกค้ำประกันรับช่วงสิทธิที่ไม่ได้

        กรณีตามปพพ. มาตรา 697 ด้วยหลักกฎหมายในมาตรา 693 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ค้ำประกันที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้เข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหลือลูกหนี้ได้

    10.3.2  การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้โดยผู้ค้ำประกันไม่ได้ตกลง

        กรณีตามปพพ. มาตรา 700 การผ่อนเวลาตามมาตราที่นี้มีความหมายว่ามีการกำหนดชำระหนี้ขึ้นใหม่ในลักษณะขยายเวลาออกไป หากมีการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้โดยผู้เข้ากันไม่ได้ตกลงด้วยผู้ค้ำประกันก็นำมาเป็นข้ออ้างได้ว่าต้น หลุดพ้นจากความรับผิดชอบไม่ต้องชำระหนี้ที่ประกันไว้

    10.3.3  ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระ

        กรณีตามปพพ. มาตรา 701 ในสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเลือกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดคือเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ไม่ชำระในมาตรา 701 ให้สิทธิแก่ผู้ค้ำประกันบางหว้าเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระไม่ต้องรอให้ลูกหนี้ผิดนัดผู้ค้ำประกันสามารถขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจากความรับผิดชอบ

เข้าใจกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ หรือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 หรือ กฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสิทธิของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 แน่นอนแล้วนั้น
การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ว่า
มีผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้ค้ำประกันรายย่อยหรือบุคคลธรรมดาจำนวนมาก ได้ไปค้ำประกันการกู้เงินให้แก่ครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้อง ซึ่งในกฎหมายเดิมได้ระบุว่า ผู้ค้ำประกันจะเป็นเสมือน “ลูกหนี้ร่วม” ทำให้ทางสถาบันการเงินจะเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้ ซึ่งถือว่าสิ่งนี้ไม่เป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันรายย่อย จึงทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา
“ปกติแล้วเจ้าหนี้ไปทวงเงินจากลูกหนี้ พอลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินก็ค่อยไปเอาเงินจากผู้ค้ำประกัน แต่ที่ผ่านมาหากเจ้าหนี้บอกว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องจ่ายเงินคืนเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วม ก็หมายความว่า เจ้าหนี้จะเรียกเก็บเงินจากใครก่อนก็ได้ แต่กฎหมายฉบับนี้ คือ ผู้ค้ำประกันจะไม่ต้องรับผิดชอบเหมือนเป็นลูกหนี้ร่วมแล้ว แม้ผู้ค้ำประกันจะยินยอมใช้หนี้ แต่ศาลก็จะไม่อนุญาต”
“ที่ผ่านมาปรากฏว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืมมักจะอาศัยความได้เปรียบในทางการเงิน กำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีนี้จึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา”
สามารถสรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20 ) พ.ศ.2557 โดยง่ายได้ดังนี้
(1) กฎหมายใหม่นี้จะเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป
(2) สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากไม่ความชัดเจน อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
(3) สัญญาค้ำประกันถ้ามีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น ข้อตกลงในส่วนนั้นจะตกเป็นโมฆะ (หมายความว่า ข้อตกลงนั้นใช้บังคับกันไม่ได้)
(4) ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ (ตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699) เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืน ข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน นี้ จะตกเป็นโมฆะ
(5) ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจน แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้ (กำหนดขั้นตอนการปฎิบัติของเจ้าหนี้)
(6) ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกันลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่น ให้ตกเป็นโมฆะและหากมีการตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่าเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ
(7) การจำนองที่จำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่
(8) กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน 1 ปี (โดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะฝ่ายผู้จำนองเป็นฝ่ายเร่งรัดเอง)

สืบค้นจาก : http://www.thanaiphorn.com/content.php?type=4&id=187