หนังสือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน เป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของที่ดินทำขึ้นเพื่อมอบให้กับผู้แทน ไปดำเนินการเรื่องการขายให้ โดยการมอบอำนาจโอนที่ดิน จะทำให้ผู้แทนมีสิทธิ์และอำนาจเสมือนกับเจ้าของไปดำเนินการด้วยตนเอง ดังนั้น กรมที่ดินได้ทำแบบฟอร์ม หนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21 เพื่อรายละเอียดที่ชัดเจนและความถูกต้องของเอกสาร ซึ่งการมอบอำนาจจะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

 

เอกสารใช้สำหรับมอบอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีดังนี้

1. หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21)

2. สำเนาบัตรประชาชน

3. สำเนาทะเบียนบ้าน

4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล

 

 

” กรณีไถ่ถอนจากจำนอง ผู้มอบอำนาจจะต้องเซ็นต์ชื่อ ให้เหมือนกับเอกสารจำนองที่เคยทำไว้ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น “

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจที่ดิน

หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน เป็นเอกสารที่มอบสิทธิ์และอำนาจให้ตัวแทนทำธุรกรรมแทน ดังนั้นจำเป็นจะต้องรู้จักข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจที่ดินให้ครบด้วนด้วย ดังนี้

  1. กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น บ้าน ตึก เรือน ให้ชัดเจน
  2. ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจน มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ไถ่ถอนจำนอง ซื้อขาย เป็นต้น ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  3. ไม่กรอกข้อความให้ต่างลายมือ หรือถ้าใช้พิมพ์ข้อความในแบบฟอร์ม ก็ควรจะพิมพ์ข้อความทั้งหมด ไม่ผสมการเขียนข้อความด้วยลายมือ
  4. ถ้ามีการขูดลบ เพิ่มเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
  5. ก่อนกรอกหรือพิมพ์ข้อความครบถ้วน อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเพื่อยืนยันว่าถูกต้องตามประสงค์แล้ว หรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
  6. มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มีอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยาน 2 คน โดยพยานต้องเซ็นต์ชื่อ จะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
  7. สำหรับหนังสือมอบอำนาจที่ดินที่ทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือ Notary Public (อ่านว่า โนตารีปับลิก หมายถึง เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่รับสาบานและรับรองเอกสารบางอย่างโดยการลงลายมือชื่อและประทับตรา เพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือและใช้ยืนยันในต่างประเทศได้) รับรองเอกสารด้วย

ที่มา : DDProperty

แบบฟอร์ม ตัวอย่าง หนังสือ มอบอํานาจที่ดิน

  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม หนังสือ มอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21)
  • ตัวอย่าง หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ท.ด.21)
  • ตัวอย่าง หนังสือมอบอำนาจเรื่อง ขายที่ดิน

  • ตัวอย่าง หนังสือมอบอำนาจเรื่อง ซื้อที่ดิน

  • ตัวอย่าง หนังสือมอบอำนาจเรื่อง ไถ่ถอนจากจำนอง

  • ตัวอย่าง หนังสือมอบอำนาจเรื่อง รับโอนมรดก

 

เมื่อจำเป็นจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจ สิ่งสำคัญมากควรศึกษาตัวอย่างการเขียนมอบอำนาจ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และถูกต้องตามที่สำนักงานที่ดินกำหนดด้วย เพราะถ้าทำไม่ถูกต้อง สำนักงานที่ดินจะต้องให้แก้ไข จะทำให้เสียเวลาในการแก้ไขเอกสารและการเดินทางด้วยครับ  

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน (ผู้ซื้อ)

  ไม่ว่าจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างก็ใช้เอกสารเหมือนกัน ต่างกันที่สำหรับห้องชุดจะต้องมีใบปลอดภาระหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลของอาคารชุดนั้นๆและในการเตรียมเอกสารเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เพราะไปสำนักงานที่ดินทีนึงใช้เวลาค่อนข้างเยอะ และต่างคนต่างเดินทางมาจากคนละที่หากเตรียมมาไม่ครบจะทำให้เสียเวลาทั้งวัน หรืออาจทำให้ไม่ได้โอนกันเลยทีเดียว และโดยเฉพาะการมอบอำนาจในการขายมักจะเป็นปัญหามากที่สุดกรณีที่ลายเซ็นต์ของเจ้าของเดิมเซ็นต์ไม่เหมือนกับที่มอบอำนาจมา ก็จะทำให้ไม่สามารถโอนได้เพราะทางที่ดินจะรักษาสิทธิ์และผลประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์ เนื่องจากว่าการขายเป็นการทำให้เจ้าของทรัพย์เสียผลประโยชน์ ส่วนการซื้อไม่เท่าไหร่ เพราะว่าผู้ซื้อได้ประโยชน์ไป ดังนั้นเรามาดูรายละเอียดของเอกสารทั้งกรณีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลกันเลยครับโดยแยกเป็นผู้ซื้อและผู้ขาย

เอกสาร ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ สำหรับบุคคลธรรมดาไทย (ผู้ซื้อ)

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ และคู่สมรส (ถ้ามี) และเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ หรือคู่สมรส (ถ้ามี)

3. หนังสือยินยอมคู่สมรส (ถ้ามี)

4. สำเนาใบทะเบียนสมรส (ถ้า มี)

5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)

6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์ สำหรับบุคคลธรรมดาต่างด้าว (ผู้ซื้อ)

1. สำเนาหนังสือเดินทาง
2. หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (ธ.ต.3) หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในประเทศ (ธ.ต.40) หรือหนังสือรับรองจากธนาคารที่รับรองการโอนเงิน หรือหลักฐานการแลกเปลี่ยนเงินเป็นเงินบาท หรือหลักฐานแบบสำแดงเงินตราต่างประเทศผ่านกรมศุลกากร หรือหลักฐานการถอนเงินบาทจากบัญชีเงินฝากในประเทศ (จากสมุดเงินฝาก)หรือ
3. สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าว (ซื้อห้องชุดได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการโอนเงิน หรือแสดงบัญชีเงินฝากธนาคาร) หรือ
4. สำเนาใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ (RESIDENCE PERMIT) (ซื้อห้องชุดได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการโอนเงิน หรือแสดงบัญชีเงินฝากธนาคาร) หรือ
5. บัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือเอกสารการได้รับการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลง ทุน
6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบ อำนาจ

หมายเหตุ บุคคลธรรมดาต่างด้าว เป็นบุคคลที่สามารถซื้อได้เฉพาะห้องชุดเท่านั้น สำหรับที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถซื้อได้

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์ สำหรับนิติบุคคลไทย (ผู้ซื้อ)

1. หนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 1 เดือน
2. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อายุไม่เกิน 1 เดือน และรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องมีบุคคลต่างด้าว ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนไม่ถึงร้อยละ 40 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
3. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อ และแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ซื้อ
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
5. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์ สำหรับนิติบุคคลต่างด้าว (ผู้ซื้อ)

1. หนังสือรับรองของนิติบุคคลต่างด้าว (กรณีนิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในต่างประเทศ)
2. หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ (กรณีนิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในประเทศไทย)
3. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (นิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในประเทศไทยอายุไม่เกิน 1 เดือน) (นิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในต่างประเทศไม่จำกัดอายุ)
4. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อ และแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ซื้อ
5. สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ
6. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
7. หนังสือรับรองรายการหนังสือรับรอง หนังสือมอบอำนาจ และลายมือชื่อกรรมการ จากโนตารีพลับบลิค (นิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในต่างประเทศ)
8. หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (ธ.ต.3) หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในประเทศ (ธ.ต.40) หรือหนังสือรับรองจากธนาคารที่รับรองการโอนเงิน หรือหลักฐานการแลกเปลี่ยนเงินเป็นเงินบาท หรือหลักฐานแบบสำแดงเงินตราต่างประเทศผ่านกรมศุลกากร หรือหลักฐานการถอนเงินบาทจากบัญชีเงินฝากในประเทศ (จากสมุดเงินฝาก) หรือ
9. เอกสารการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
10. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
11. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ : นิติบุคคลต่างด้าวเป็นบุคคลที่ซื้อได้เฉพาะห้องชุดเท่านั้น สำหรับที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถซื้อได้