กรุงไทย แอก ซ่า เงินออม 5 ปี

เบี้ยประกันภัยสำหรับแบบประกัน 12PL มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจำนวนสูงสุดที่กรมสรรพากรกำหนด
  • เงินปันผลตามกรมธรรม์เป็นผลประโยชน์ที่ไม่รองรับและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับผลการประกอบการของบริษัทฯ
    รายละเอียด แบบ 5 ปี แบบ 10 ปี แบบ 12 ปี แบบ 15 ปี อายุรับประกัน 20 – 59 ปี ระยะเวลาคุ้มครอง 5 ปี 10 ปี 12 ปี 15 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ 300,000 บาท งวดการชำระเบี้ยประกันภัย รายปี / ราย 6 เดือน / ราย 3 เดือน / รายเดือน วิธีการชำระเบี้ยประกันภัย เงินสด/ หักบัญชีเงินฝาก / บัตรเครดิต อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ทุนประกันภัย และแบบประกันที่เลือก ผลประโยชน์ของสัญญาประกันภัยกรณีการเสียชีวิต 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สัญญาเพิ่มเติมที่สามารถแนบได้ สามารถแนบสัญญาเพิ่มเติม AP, ECARE, MEA+, MEB ได้ การใช้สิทธิ์ตามกรมธรรม์
    • สิทธิ์ในการเปลี่ยนแบบกรมธรรม์
    • สิทธิ์ในการขอซื้อความคุ้มครองต่อเนื่อง
    สิทธิการลดหย่อนภาษี เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร สำหรับกรมธรรม์มีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
    รายละเอียด Life Retire 5 อายุรับประกัน 25 – 50 ปี ระยะเวลาคุ้มครอง ครบอายุ 85 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ 100,000 บาท งวดการชำระเบี้ยประกันภัย รายปี/ ราย 6 เดือน/ ราย 3 เดือน/ รายเดือน ตัวอย่างอัตราเบี้ยประกันภัย เพศชายอายุ 40 ปี : 521 บาท ต่อจำนวนเอาประกันภัย 1,000 บาท ผลประโยชน์ของสัญญาประกันภัย 1) กรณีการเสียชีวิตช่วงก่อนการรับเงินบำนาญ การเสียชีวิตก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้ขอเอาประกันภัยครบอายุ 60 ปี บริษัทจะจ่าย 350% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ หรือ 100% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า 2) กรณีการเสียชีวิตช่วงรับเงินบำนาญ 2.1) การเสียชีวิตภายในช่วงวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้ขอเอาประกันภัยครบอายุ 60-74 ปี บริษัทจะจ่ายเงินบำนาญที่ยังไม่ได้จ่ายตามตารางมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญ หรือ 100% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) หักด้วยจำนวนเงินบำนาญที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด แล้วแต่จำนวนใดมากกว่า
    2.2) การเสียชีวิตภายในช่วงวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยครบอายุ 75-85 ปี  บริษัทจะจ่าย 100% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) หักด้วยจำนวนเงินบำนาญที่จ่ายไปแล้วทั้งหมด 3) ผลประโยชน์การจ่ายเงินบำนาญ (อายุ 60 – 85 ปี) 3.1) กรณีเลือกรับเงินบำนาญรายปี : 15% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อปี
    3.2) กรณีเลือกรับเงินบำนาญรายเดือน : 1.26% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อเดือน (มีการรับรองการจ่ายเงินบำนาญ 15 ปี) การใช้สิทธิตามกรมธรรม์
    • สิทธิการเวนคืนกรมธรรม์
    • สิทธิการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต (Free look period) (ถ้ามีควรระบุให้ชัดเจน)
    • สิทธิการกู้เงินตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
    • สิทธิการแปลงกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ (RPU)
    หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย พิจารณารับประกันตามหลักเกณฑ์การรับประกันภัยปกติ (Full Underwriting) สิทธิการลดหย่อนภาษี เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

    ไม่จำเป็น ในกรณีที่ลูกค้ามีสุขภาพ, อายุ, อาชีพ, และวงเงินประกันในเกณฑ์ปกติ สามารถสมัครผ่านตัวแทนประกันที่มีใบอนุญาตขายประกันแบบไม่ตรวจสุขภาพได้ แต่ลูกค้าต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพ (เช่น โรคประจำตัว) ตามความเป็นจริง มิฉะนั้นสัญญาประกันชีวิตอาจถูกยกเลิกในภายหลังได้

    วัยเริ่มทำงานเป็นช่วงที่กำลังก่อร่างสร้างตัว ยิ่งวิถีมนุษย์เงินเดือนด้วยแล้ว การเก็บเงินแต่ละบาท แต่ละสตางค์ ยิ่งเป็นเรื่องยาก เพราะไหนจะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่พัก รวมถึงภาระรับผิดชอบต่างๆ กว่าจะหมุนเงินให้ชนเดือน ก็หืดขึ้นคอ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาเก็บกันล่ะ?...แต่ถ้าคุณมีเป้าหมายในการออมเงินที่ชัดเจน เช่น ออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ออมเงินเพื่อครอบครัว ออมเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณ หรือออมเงินเพื่อทำประกันชีวิต บอกเลยว่าการมีเงินเก็บหลักแสนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเรามี 3 วิธีง่ายๆ มาฝากแล้ว ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าการเก็บเงินให้ได้หลักแสน จะทำอย่างไรได้บ้าง?

    สิ่งแรกที่จะต้องมีในการออมเงิน คือเป้าหมาย ต้องตั้งเป้าหมายให้แน่ชัดว่า เราต้องการเก็บเงินจำนวนเท่าไหร่ เช่น 100,000 บาท/ปี เป็นต้น สิ่งต่อมาที่ต้องมี คือระเบียบวินัยในการใช้จ่าย แม้จะมีเงินเดือน 15,000 บาท/เดือน ก็สามารถออมเงินได้ แค่เราต้องมีความสม่ำเสมอในการออมเงิน และมีวินัยในการใช้จ่ายนั่นเอง ซึ่งวิธีออมเงินหลักแสนง่ายๆ 3 วิธี มีดังนี้

    วิธีที่ 1 ฝากประจำเดือนละ 9,000 บาท เป็นทางเลือกแรกที่ง่ายที่สุด เพราะเป็นการตัดเงินเข้าบัญชีไปเลยเดือนละ 1 ครั้ง และยังเป็นการสร้างระเบียบวินัยในการออมเงินอีกด้วย เนื่องจากการฝากประจำจะสามารถถอนเงินออกมาได้เมื่อถึงเวลาที่กำหนดเท่านั้น และยังได้เงินเพิ่มในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยอีกด้วย หากเราฝากเงินเดือนละ 9,000 บาท เป็นเวลา 12 เดือน จะได้เงินเก็บทั้งหมด 108,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.4% ต่อปี ก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นอีก 1,512 บาทเลยทีเดียว

    วิธีที่ 2 เก็บเงินให้ได้วันละ 300 บาท ถ้าใครที่ไม่อยากตัดเงินเป็นก้อนอย่างเช่นการฝากประจำดังวิธีแรก วิธีนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออมเงิน แต่ก็ต้องมีวินัย และทำเป็นประจำทุกวันเช่นกัน อาจจะเก็บเงินใส่กระปุกออมสิน หรือเก็บเงินให้เป็นที่เป็นทาง ซึ่งต้องทำให้ครบปีก็จะได้เงินเก็บหลักแสนขึ้นไปนั่นเอง

    วิธีที่ 3 หาแหล่งเก็บเงินทางเลือกใหม่ที่แตกต่างจากวิธีเดิม เพราะการฝากเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ หรือได้ดอกเบี้ยน้อยกว่าที่หวัง จึงต้องหาวิธีเก็บเงินกันใหม่ จะนำเงินไปลงทุนอย่างอื่น เช่น ซื้อกองทุนรวมก็ได้ เพราะผลตอบแทนก็ค่อนข้างมาก แต่ความเสี่ยงก็ย่อมมีมากเช่นกัน หรือการทำประกันสะสมทรัพย์ ที่จะมีคนช่วยวางแผนการออมเงิน* และเราสามารถเลือกระยะเวลาในการออมเงินได้ ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แนะนำ เนื่องจากมีมืออาชีพมาช่วย โดยที่เราไม่ต้องจัดการเอง และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย

    ซึ่ง 3 วิธีที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงเคล็ดลับหรือไกด์นำทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย คือการเก็บเงินหลักแสนของคุณ แต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าระหว่างทางคุณตั้งใจที่จะไปสู่เป้าหมายมากแค่ไหน ถ้าคุณตั้งใจ และมีระเบียบวินัยในการเก็บเงิน และควบคุมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนไปด้วย รับรองว่าเงินแสนอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน