ความ รู้ เกี่ยว กับ สิทธิ เด็ก

Skip to content

‘สิทธิเด็ก’ เรื่องของเด็กตัวเล็กที่ไม่ควรมองข้าม

‘สิทธิเด็ก’ เรื่องของเด็กตัวเล็กที่ไม่ควรมองข้าม

ใช่แต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่มี ‘สิทธิ’ หากแต่ ‘เด็กตัวเล็กๆ’ ก็มีสิทธิเช่นกันด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงร่วมลงนามให้วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น ‘วันสิทธิเด็กสากล’ เพื่อให้ผู้ใหญ่ทุกคนหันมาใส่ใจและเคารพกับสิทธิของเด็กกันมากขึ้น…

วาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก อธิบายว่า ‘เด็ก’ ทุก คนไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน หรือเด็กที่ใดๆ ก็ตาม ก็ล้วนเป็น ‘มนุษย์’ เช่นเดียวกัน แต่ละคนจึงย่อมมีสิทธิเฉกเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จึงต้องส่งเสริมและคุ้มครองในสิทธิเด็กที่มีอยู่อย่างเคารพ โดยสิทธิฯ ดังกล่าวได้รับการรับร้องผ่านกฎหมายทั้งในระดับโลกและประเทศ

โดย หากกล่าวถึงสิทธิเด็กในแง่ทั่ว ไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสิทธิทั่วไปที่เด็กควรได้รับ และกลุ่มสิทธิสำหรับกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

กลุ่มสิทธิทั่วไปที่เด็กควรได้รับ คือ เด็กทุกคนต้องได้รับการส่งเสริมการพัฒนาให้เป็นไปตามช่วงวัยพัฒนาการ และจะต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

กลุ่มสิทธิเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เด็กที่ถูกทารุณ ได้รับความรุนแรง หรือเด็กที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ซึ่งกลไกของกฎหมายได้ให้สิทธิโอกาสในการพิจารณา และช่วยฟื้นฟูพฤติกรรมเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเปลี่ยนทัศนคติความคิดจนกลับมาอยู่ในสังคมได้โดยไม่ กลับเข้าไปกระทำความผิดอีก

ด้าน สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) ที่บังคับใช้ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่

  1. สิทธิในการมีชีวิต คือ สิทธิของเด็กที่คลอดออกมาแล้วจะต้องมีชีวิตอยู่รอดอย่างปลอดภัย อนุสัญญาฯ กำหนดว่ารัฐภาคีจะต้องรับรองว่าเด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวมาตั้งแต่เกิด และต้องประกันอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ให้มีการอยู่รอดและพัฒนาของเด็ก
  2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง เป็น สิทธิที่เด็กได้รับปกป้องคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ เช่น การทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ซึ่งรวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ หรือการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้าประเวณีเด็ก การขายเด็ก การนำเด็กไปใช้ขอทาน ไม่ว่าจะโดยบิดา มารดา หรือผู้ใดก็ตาม นอกจากนี้ เด็กที่ลี้ภัยจากอันตรายเข้ามาในประเทศของรัฐภาคี จะต้องได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือ สำหรับ ‘เด็กพิการ’ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตที่ดีอย่างมีศักดิ์ศรี และได้รับการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเองได้
  3. สิทธิในด้านพัฒนาการ เด็ก ทุกคนจะได้รับสิทธิให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ร่างกาย จิตใจ สังคม รวมถึงความพึงพอใจและความสุข เช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวในโรงเรียน หรือสังคมที่เด็กอยู่ได้อย่างมีความสุข มีโอกาสเล่น พักผ่อน รับข้อมูลข่าวสารอย่างมีอิสระในการคิดและแสดงออก โดยได้รับการกล่อมเกลาทางด้านจิตใจ ความรู้ ความคิดที่เหมาะสมกับวัย และที่สำคัญที่สุดก็คือเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
  4. สิทธิในการมีส่วนร่วม เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำของเด็ก ในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่อาศัยอยู่ รวมทั้งสิทธิในการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่เกิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของ เด็ก ด้วยการอนุญาตให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลอื่น

หากถามว่า เด็กในสังคมไทยปัจจุบันได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองเพียงพอหรือไม่ ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ให้คำตอบว่า ปัจจุบันสิทธิเด็กในสังคมไทยได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองมากขึ้น มีการตั้งหน่วยงานรัฐ มีกลุ่มและองค์การเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองมากขึ้น แต่หากมองในแง่เชิงคุณภาพยังคงต้องมีการปรับปรุงอีกหลายประเด็น อาทิ การศึกษา หรือเชื้อชาติของเด็กผู้ลี้ภัย เป็นต้น

“การรับรู้และเข้าใจเรื่องสิทธิเด็ก จึงเป็นไม่ใช่เรื่องที่ควรนิ่งเฉย แต่ผู้ใหญ่ทุกคนควรหันมาตระหนัก และให้ความสำคัญอย่างจริงจัง” วาสนากล่าวย้ำ

เพราะ แม้จะมีข้อบังคับออกมาคุ้มครองมากขึ้น แต่การส่งเสริมให้บริการเหล่านี้เข้าถึง ‘กลุ่มเด็ก’ ยังจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่อยู่รอบตัวเด็ก โดยเฉพาะ ‘พ่อแม่’ ผู้เป็นกลไกเริ่มต้นในการดูแลปกป้องบุตรของตน…

เรื่องโดย : กิดานัล กังแฮ Team Content www.thaihealth.or.th  / http://www.iamchild.org

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

Page load link

การคุ้มครองเด็ก

ไม่ควรมีเด็กคนใดต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดกลัว

  • พร้อมใช้งานใน:
  • English
  • ไทย

ปัญหาและความท้าทาย

เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกทำร้าย การถูกละเลยทอดทิ้ง และการถูกแสวงประโยชน์ ความรุนแรงสามารถส่งผลกระทบอย่างทันทีต่อพวกเด็กๆ ได้ตั้งแต่อาการบาดเจ็บทางกาย พัฒนาการ ความสามารถในการเรียนรู้ และผลการเรียนของเด็ก และอาจส่งผลเสียระยะยาวที่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่ ในประเทศไทย มีเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อาทิ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายทางกายหรือจิตใจ ถูกละเลยทอดทิ้ง หรือถูกแสวงประโยชน์ เฉลี่ย 52 คนต่อวัน หรือเฉลี่ย 2 คนในทุกๆ ชั่วโมง

ความรุนแรงทางร่างกาย เช่น การทุบตี ยังคงถูกมองว่าเป็นวิธีปกติในการสร้างวินัยให้กับเด็ก และแม้ว่าการลงโทษทางร่างกายจะถูกสั่งห้ามในโรงเรียนแล้ว แต่ก็ยังปฏิบัติกันอยู่อย่างแพร่หลาย

เด็กอายุ 1-14 ปี ประมาณ 3 ใน 4 คน ถูกสมาชิกในครอบครัวลงโทษทางร่างกายหรือจิตใจ อย่างน้อยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในเดือนที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น เด็กราว 4.2 คนในทุกๆ 100 คน มีแนวโน้มที่จะถูกลงโทษทางกายอย่างรุนแรง

พ่อแม่และผู้ดูและเด็กเกือบครึ่ง เชื่อว่าการลงโทษทางร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเลี้ยงดูหรืออบรมเด็ก

มีเด็กมากกว่า 10,000 คน ถูกกระทำรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นการกระทำรุนแรงทางเพศ

ในขณะเดียวกัน จำนวนเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม (One-Stop Crisis Center - OSCC) เปิดเผยว่าใน พ.ศ. 2558 มีเด็กกว่า 10,000 คน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐเนื่องจากความรุนแรง โดยประมาณสองในสามของเด็กเหล่านี้ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ ส่วนใหญ่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กหญิง และเนื่องจากการทำงานของระบบการคุ้มครองเด็กยังมีข้อจำกัด จึงเป็นไปได้ว่ายังมีการล่วงละเมิดอีกมากที่ไม่ได้รับรายงาน

นอกจากนี้ ปัญหาเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดยังคงน่าเป็นห่วง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเปิดเผยว่า ใน พ.ศ. 2558 พบเด็กจำนวน 33,121 คน มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

แนวทางการแก้ปัญหา

งานคุ้มครองเด็กของยูนิเซฟ มุ่งเน้นที่การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบคุ้มครองเด็ก เพื่อป้องกันและตอบสนองต่อความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิด การละเลย และการแสวงประโยชน์ต่อพวกเด็กๆ ซึ่งสร้างขึ้นจากความพยายามในการปฏิรูปและบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมทัศนคติที่ถูกต้องในประเด็นเรื่องความรุนแรง การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่บริการที่สำคัญและการฟื้นฟู และการเสริมสร้างทักษะให้แก่ครอบครัว ชุมชน ผู้ให้บริการ ฯลฯ

ยูนิเซฟมุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อ:

  • หาหลักฐานเพื่อใช้ในการผลักดันนโยบาย
  • ส่งเสริมการปฏิรูปกฎหมายและนโยบาย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงในระดับนานาชาติเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งรวมถึงข้อตกลงของประเทศไทยในการยกเลิกการลงโทษทางร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศใน พ.ศ. 2559, อายุขั้นต่ำของการรับผิดทางกฎหมายอาญา ฯลฯ
  • ติดตามการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก
  • พัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก
  • พัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก ซึ่งรวมถึง เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์, เจ้าหน้าที่พยาบาล, เจ้าหน้าที่กฎหมาย (ตำรวจ, อัยการ และ ผู้พิพากษา) ให้สามารถทำงานได้ทั้งแบบเป็นเอกเทศและแบบทีม
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบบริหารจัดการข้อมูลเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการเหตุและความสามารถในการวางแผล
  • ปรับเปลี่ยนความเชื่อและแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมการใช้ความรุนแรงต่อพวกเด็กๆ ทั้งหญิงและชาย โดยการใช้ต้นแบบของการเลี้ยงลูกเชิงบวกและการสร้างวินับเชิงบวก ผ่านการสื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสังคม

คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาได้ ด้วยการเป็นอาสาสมัครกับโครงการฉันคือยูนิเซฟ

ข้อมูลเพิ่มเติม