หลักธรรม 10 ประการ ศาสนาพุทธ

บัญญัติ 10 ประการ

        บัญญัติ 10 ประการ คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ไบเบิล ที่กล่าวโดย โมเสสบนยอดเขา Sinai และสลักไว้ในแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการเป็นที่รู้จักสำหรับคริสต์ศาสนา และ ลัทธิยูดาห์

        บัญญัติ 10 ประการ หมายถึงพันธสัญญาที่พระองค์ทรงกระทำกับพวกเขา บัญญัติสิบประการเป็นบัญญัติที่สำคัญสำหรับชาวคริสต์ด้วย แม้ว่าบัญญัติสำคัญที่สุดคือบัญญัติแห่งความรัก แต่บัญญัติสิบประการเป็นหลักการที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน แม้ว่าจะเป็นหลักการที่กว้างก็ตาม บัญญัติสิบประการมีดังนี้

[แก้ไข] หลักบัญญัติ 10 ประการ

1.จงนมัสการพระเจ้าแต่ผู้เดียว

2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมควร

3.วันพระเจ้าให้ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์

4.จงนับถือบิดามารดา

        การนับถือบิดารมารดาและบรรพบุรุษเป็นหน้าที่สำคัญเพราะพวกเขาคือผู้ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันประกอบด้วยคุณค่า ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อการดำเนินชีวิตในทุก ๆ ด้าน บุตรคือผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่าง ๆ ด้วยการรับและปฏิบัติตาม ซึ่งก็อาจมีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของกาลเวลา การเน้นความเคารพต่อบิดามารดาเป็นการตอกย้ำความสำคัญของอุดมคติ คุณธรรมและคุณค่าต่าง ๆ ของอดีต เพื่อไม่ให้ลืมอดีต ลืมรากฐานชีวิตดั้งเดิมของตนเอง หันไปหาสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่มีคุณค่า ที่แท้จริงและไม่อาจต่อเนื่องกับประเพณีเดิมได้ ดำเนินชีวิตไปอย่างไม่มีรากเหง้า


5.อย่าฆ่าคน

        อย่าฆ่าคน บัญญัติข้อนี้มาจากความเชื่อที่ว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดแก่ชีวิตมนุษย์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าของและมีสิทธิ์ เหนือชีวิตนี้ชีวิตมีค่าสูงสุดซึ่งมนุษย์ยอมสละทุกสิ่งเพื่อจะได้อยู่ยืนาน เมื่อลมหายใจเข้าออกมาจากพระเจ้า ทุกขณะในชีวิต จึงเป็นชีวิตในพระเจ้า


6.อย่าล่วงประเวณี

7.อย่าลักทรัพย์

        อย่าลักทรัพย์ บัญญัติข้อนี้ไม่ได้หมายถึงแต่การขโมยของผู้อื่น แต่รวมถึงการเบียดเบียน การกดขี่ การเอาเปรียบผู้อ่อนแอกว่า ผู้ที่ยากจนกว่า หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเนื่องเกี่ยวกับความยุติธรรม ส่วนที่เกี่ยวกับการลักทรัพย์โดยตรง พระคัมภีร์กล่าวถึงความโลภในทรัพย์สินของผู้อื่นและของโลกโดยทั่วไป การลักทรัพย์มีโทษหนักเบาตามกรณี หนังสือห้าเล่มแรกได้กำหนดกฎเกณฑ์และการลงโทษเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก เกี่ยวกับบัญญัติข้อนี้มีเรื่องที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีแม้ว่าในท้ายที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นของพระเจ้า พระเจ้าตรัสว่า "เจ้าจะขายที่ดินของเจ้าให้ขาดมิได้ เพราะว่าที่ดินนั้นเป็นของเรา เพราะเจ้าเป็นแขกเมือง และเป็นผู้อาศัยอยู่กับเรา"


8.อย่าขโมย

        อย่านินทาว่าร้าย ซึ่งรวมถึงการมุสาการเป็นพยานเท็จทำให้ผู้อื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง การหลอกลวงทุกชนิดทั้งด้วย การปฏิบัติและคำพูด "คนไร้ค่าคือคนชั่วร้ายที่เที่ยวไปด้วยวาจาคดเคี้ยว ตาของเขาก็ขยิบ เท้าของเขาก็ขยับ นิ้วของเขาก็ชี้ไป ประดิษฐ์ความ ชั่วร้ายด้วยใจตลบแตลงหว่านความแตกร้าวอยู่เรื่อยไป "

        การกล่าวเท็จโยงไปถึงจิตใจและความคิดที่ชั่วร้ายความอิจฉาริษยา ความมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ดังตัวอย่างของกาอินที่ฆ่าอาแบล น้องชายพระเจ้าทรงถามถึงอาแบล กาอินก็โกหกว่าไม่ทราบ หรือพี่น้องของโยเซฟที่อิจฉาโยเซฟและขายให้กับ พ่อค้าอียิปต์แล้วไปโกหกยากอบผู้บิดาว่า โยเซฟถูกสัตว์ป่ากัดกิน และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งได้รับการกล่าวโทษและประฌาม เช่นเดียวกับที่ พระเยซูทรงประฌามพวกฟาริสี คัมภีราจารย์ เพราะความหน้าซื่อใจคดของพวกเขา พระองค์เปรียบเทียบคนเเหล่านี้กับหลุมศพที่ งดงามแต่ภายนอก คนเหล่านี้ไม่พูดความจริงและไม่ปฏิบัติ "จริง" เซนต์ปิเตอร์สอนว่า

        "ที่ท่านทั้งหลายได้ชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์แล้วด้วยการเชื่อฟังความจริง จนมีใจรักเพื่อนพี่น้องอย่างจริงใจ ท่านทั้งหลายจงรักกันมากด้วยน้ำใสใจจริง" ทั้งนี้เพราะพวกเขาเชื่อในพระเยซูผู้ทรงเป็น "หนทางความจริง และชีวิต"


9.อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้านของเจ้า

10.อย่าโลภอยากได้เรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภมากอยากได้เมียของเพื่อนบ้าน หรือทาสของเขา โค ลา ของเขา หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดของเพื่อนบ้านนั้น

หลักธรรม 10 ประการ ศาสนาพุทธ

บัญญัติสิบประการ ภาษาฮิบรู

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กรมการศาสนา

วิกิพิเดียไทย

Skip to content

วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)

หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมาก เชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
  2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
  3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
  4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
  5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
  6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
  7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
  8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
  9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
  10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

ดังนั้น พระสูตรนี้ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ แต่ให้เชื่อด้วยมีปัญญาประกอบด้วย มิฉะนั้นความเชื่อต่างๆ จะไม่พ้น “ความงมงาย” และไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ แต่พึงเข้าใจว่า แม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่า.. เป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้ดีก่อน

.. แล้วสิ่งอื่น คนอื่นเราจะต้องคิดต้องพิจารณา ระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน??

หลักธรรม 10 ประการ ศาสนาพุทธ

ที่มา : หนังสือ “พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์” จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ (หน้า 41-42), หนังสือ “พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิกฉบับบาลี 45 เล่ม” (หน้า 510) จัดทำโดย สุชีพ ุญญานุภาพ, หนังสือ “ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก” (หน้า 620 – 621) เรียบเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ
รวบรวมข้อมูลโดย : งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด