ชีพจรกับอัตราการเต้นของหัวใจเหมือนกันไหม

ชีพจร (Pulse) คือ อัตราการเต้นของหัวใจที่ส่งผ่านจากหลอดเหลือดแดงเส้นใหญ่ไปยังหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โดยอาศัยจังหวะแรงดันของหลอดเลือดแดงเส้นใหญ่ที่อยู่ใกล้กับหัวใจ เมื่อหัวใจมีการบีบตัว แรงดันก็จะส่งต่อไปยังหลอดเลือดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยที่เราสามารถจับชีพจรตามจุดหลอดเลือดแดงต่าง ๆ ของร่างกายได้ด้วยตนเอง เพื่อประเมินอัตราการเต้นของหัวใจคร่าว ๆ ว่า ขณะนี้มีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นอย่างไร ช้าไปไหม หรือว่าเร็วเกินกว่าปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีจับชีพจร แบบง่าย ๆ มาฝากค่ะ

วิธีจับชีพจร ทำอย่างไร

วิธีที่ 1 ชีพจรที่ข้อมือ (Radial Pulse)

ที่มาของคลิป: https://www.youtube.com/watch?v=vmVjnpTv_Nk

ชีพจร บริเวณนี้ จะเป็นชีพจรหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ (Radial Artery) โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • วางนิ้วชี้และนิ้วกลางไว้ที่ข้อมือด้านใน ในตำแหน่งล่างนิ้วหัวแม่มือ
  • เมื่อสัมผัสกับ ชีพจร ได้แล้ว ให้วัดอัตราการเต้นของชีพจรว่าเต้นกี่ครั้งภายในระยะเวลา 15 วินาที
  • นำตัวเลขที่ได้จากการวัดชีพจรในระยะเวลา 15 วินาทีมาคูณด้วย 4 เช่น ชีพจรเต้น 20 ครั้ง ภายใน 15 วินาที นำ 20 มาคูณกับ 4 จะได้อัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 80 ครั้งต่อนาที
  • ไม่ควรใช้นิ้วหัวแม่มือ เนื่องจากนิ้วหัวแม่มือก็มีจุดชีพจรด้วยเช่นกัน การใช้นิ้วหัวแม่มือวัดชีพจรจะทำให้จับชีพจรได้ยาก

วิธีที่ 2 ชีพจรข้างคอ (Carotid Pulse)

ที่มาของคลิป: https://www.youtube.com/watch?v=o7R28_k6i5E

ชีพจร บริเวณนี้ จะเป็นชีพจรหลอดเลือดแดงเส้นใหญ่ที่ลำคอ (Carotid Artery) โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • วางนิ้วชี้และนิ้วกลางไว้ที่บริเวณหลอดลมใต้กระดูกขากรรไกร ขยับนิ้วไปมาบริเวณใต้ขากรรไกรจนกว่าจะเจอจุดชีพจร
  • เมื่อสัมผัสกับ ชีพจร ได้แล้ว ให้วัดอัตราการเต้นของชีพจรว่าเต้นกี่ครั้งภายในระยะเวลา 15 วินาที
  • นำตัวเลขที่ได้จากการวัดชีพจรในระยะเวลา 15 วินาทีมาคูณด้วย 4 เช่น ชีพจรเต้น 20 ครั้ง ภายใน 15 วินาที นำ 20 มาคูณกับ 4 จะได้อัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 80 ครั้งต่อนาที

วิธีที่ 3 ชีพจรที่หลังเท้า (Pedal Pulse)

ที่มาของคลิป: https://www.youtube.com/watch?v=xvlaQDMbz-4

ชีพจร บริเวณนี้ จะเป็นการวัดหาจุดชีพจรที่บริเวณเท้า โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • วางนิ้วชี้และนิ้วกลางไว้ที่บริเวณด้านบนสุดของหลังเท้า ขยับนิ้วไปตามบริเวณกระดูกเท้าจนกว่าจะเจอจุดชีพจร
  • เมื่อสัมผัสกับ ชีพจร ได้แล้ว ให้วัดอัตราการเต้นของชีพจรว่าเต้นกี่ครั้งภายในระยะเวลา 15 วินาที
  • นำตัวเลขที่ได้จากการวัดชีพจรในระยะเวลา 15 วินาทีมาคูณด้วย 4 เช่น ชีพจรเต้น 20 ครั้ง ภายใน 15 วินาที นำ 20 มาคูณกับ 4 จะได้อัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 80 ครั้งต่อนาที

วิธีที่ 4 ชีพจรที่ศอก (Brachial Pulse)

ที่มาของคลิป: https://www.youtube.com/watch?v=AqCwoLgV1G0

ชีพจร บริเวณนี้ จะเป็นการวัดหาจุดชีพจรหลอดเลือดแดงของต้นแขน (Brachial Artery) เป็นวิธีจับชีพจรที่มักใช้ในเด็กเล็ก โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • งอแขนเข้าหาตัวเองเล็กน้อย ให้แขนด้านในหงายขึ้นเพดาน
  • วางนิ้วชี้และนิ้วกลางไว้ที่บริเวณข้อพับของข้อศอกด้านใน ขยับนิ้วไปมาจนกว่าจะเจอจุดชีพจร และจำเป็นต้องกดนิ้วให้แน่นเพื่อให้สามารถจับจุดชีพจรได้ง่ายขึ้น
  • เมื่อสัมผัสกับ ชีพจร ได้แล้ว ให้วัดอัตราการเต้นของชีพจรว่าเต้นกี่ครั้งภายในระยะเวลา 15 วินาที
  • นำตัวเลขที่ได้จากการวัดชีพจรในระยะเวลา 15 วินาทีมาคูณด้วย 4 เช่น ชีพจรเต้น 20 ครั้ง ภายใน 15 วินาที นำ 20 มาคูณกับ 4 จะได้อัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับ 80 ครั้งต่อนาที

ชีพจรปกติเป็นอย่างไร

ระดับชีพจรปกติควรจะอยู่ระหว่าง 60 – 100 ครั้งต่อนาที หากอัตราการเต้นหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที นั่นหมายความว่าคุณมีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) แต่ถ้าหากจับ ชีพจร แล้วพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที อาจหมายความว่าคุณกำลังมีภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) อย่างไรก็ตาม อัตราการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกัน อาจมาจากปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังนี้

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)

  • ชีพจร ที่ช้าอาจเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยารักษาโรคบางชนิด เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol) เมโทโพรลอล (Metoprolol)
  • การนอนหลับ
  • การออกกำลังกาย
  • หัวใจวาย
  • การติดเชื้อ
  • มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ไม่เต็มที่

หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia)

  • การออกกำลังกายอย่างหนักหรือรุนแรง
  • อาการประหม่า ตื่นเต้น
  • ความรู้สึกหวาดกลัว
  • การได้รับสารกระตุ้นอย่างคาเฟอีน หรือโคเคน
  • ตั้งครรภ์
  • การติดเชื้อ
  • ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ
  • ชีพจร ที่เร็วเกินไปอาจเป็นผลข้างเคียงจากยารักษาโรค เช่น อีพิเพน (EpiPen)
  • มีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก
  • โรคโลหิตจาง
  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด

ชีพจรแบบไหนเสี่ยงอันตราย

ชีพจร ที่เป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพ มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่

หากพบว่า ชีพจร ของคุณ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คุณควรไปพบคุณหมอ

  • วิงเวียนศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • หน้ามืดหรือเป็นลม
  • ไม่สามารถออกกำลังกายได้

หากพบว่า ชีพจร ของคุณ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย คุณควรไปพบคุณหมอ

  • อ่อนเพลีย
  • วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
  • ปวดศีรษะ
  • ใจสั่น
  • หัวใจเต้นแรงและเร็ว
  • หายใจถี่สั้น
  • มีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก

ออกกำลังกายแบบไหนดีต่อสุขภาพหัวใจ

ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของสุขภาพอย่างง่ายที่เราสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต มีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง และห่างไกลความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพหัวใจ สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ในทุก ๆ วัน คุณผู้อ่านสามารถเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. การออกกำลังกายแบบฮิต (HIIT workouts)

การออกกำลังกายแบบฮิต เช่น การวิ่ง การยกเวท การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน กระโดดเชือก เป็นการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่ามีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้มากกว่าการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นต่ำ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วน เสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ และดีต่อสุขภาพหัวใจ หากมีระดับ ชีพจร ต่ำ สามารถออกกำลังกายประเภทนี้ได้ หรือควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงความเหมาะสม

2. การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise)

จากผลการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน กระโดดเชือก มีส่วนช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง หากมีระดับ ชีพจร ต่ำ สามารถออกกำลังกายประเภทนี้ได้ หรือควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงความเหมาะสม

ชีพจร ไม่ใช่เรื่องไกลตัว การเช็กอัตราการเต้นหัวใจเบื้องต้น อาจช่วยให้คุณสามารถประเมินสัญญาณและความเสี่ยงของสุขภาพได้ ดังนั้น เพื่อดูแลให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับปกติ และมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง คุณควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การเต้นของชีพจรสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจหรือไม่ อย่างไร

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ ...

ค่าชีพจรปกติเท่าไร

อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ ขณะพักจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที กรณีที่หัวใจเต้นเร็วคือ สูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

ปกติชีพจรเด็กเต้นกี่ครั้งต่อนาที

เด็กเล็กหรือทารก ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 90-140 ครั้งต่อนาที หากเต้นช้าหรือมากกว่านี้ ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือน แสดงความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจได้

77 BPM ปกติไหม

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้หญิง อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที อายุ 56 – 65 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 77 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที