กรณี เจ้าบ้าน เสียชีวิต ใครเป็น เจ้าบ้าน

  • 27 ก.ค. 2560
  • 48.7k

บางคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกรรมสิทธิ์ อำนาจหน้าที่ของเจ้าบ้าน อันถูกปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ว่าสามารถมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารจัดการสมาชิกในบ้าน ซึ่งแท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเพียงหน้าที่อันถูกระบุไว้ในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 เท่านั้น

แยกแยะให้ออกระหว่าง "เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านกับเจ้าของบ้าน"
เวลานี้หลายคนเริ่มอาจสงสัยความหมายของคำว่าเจ้าของบ้านกับเจ้าบ้านที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้าน นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูเหมือนบางคนอาจจะเข้าใจผิดกับอำนาจกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 ได้อธิบายบทบาทของทั้ง 2 คำว่าไว้ดังนี้
เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยในกรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้าน ไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าของบ้าน
เจ้าของบ้าน หรือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย

ขอบข่ายหน้าที่ เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน 
เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่าเจ้าบ้านแล้ว มารู้บทบาทสิ่งที่คนเป็นเจ้าบ้านต้องทำ ซึ่งถูกบัญญัติไว้ตามพ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ว่า หากภายในบ้านมีเหตุการเกิดหรือตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่สำนักทะเบียนทุกครั้ง ในวันเวลาที่กำหนด หากแจ้งเกิดก่อน 30 วัน แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง และถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องเสียค่าปรับ 1,000 บาท รวมไปถึงกรณีย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านเกิดมีกิจธุระไม่สามารถมาแจ้งด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกภายในบ้านเข้ามาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะระบุว่าบุคคลอันได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้าน

กรณี เจ้าบ้าน เสียชีวิต ใครเป็น เจ้าบ้าน

ใครเป็นผู้มีสิทธิ? คัดชื่อคนในทะเบียนบ้านออก 
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า กรรมสิทธิ์ของชื่อเจ้าบ้านอันถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้านนั้น จะสามารถทำกิจการใดๆ ได้อย่างเต็มที่ โดยจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่จะไม่มีสิทธิครอบครองบ้าน ดังนั้นหากวันดีคืนดีเกิดไม่พอใจสมาชิกในบ้าน แล้วต้องการไล่ออกจากบ้าน พร้อมคัดชื่อออก กรณีนี้เจ้าบ้านไม่มีสิทธิทำได้ ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น

วันดีคืนดี เจ้าบ้านหายตัวหรือตายไป กรรมสิทธิ์เป็นของใคร?
หากเกิดเหตุการณ์เจ้าบ้านที่ปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ได้เกิดหายตัวหรือตายไปจนระยะเวลาล่วงเลยไปกว่า 180 วัน สามารถไปแจ้งสำนักงานเขตเพื่อแก้ไข โดยสามารถคัดชื่อเจ้าบ้านไปทะเบียนกลางได้ พร้อมคัดชื่อเจ้าบ้านใหม่ จากความเห็นชอบของสมาชิกในบ้าน

เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com
บทความข้างต้นเผยแพร่ครั้งแรกที่ DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์ ที่รวบรวม ข่าวอสังหาฯ คู่มือซื้อขาย และ รีวิวโครงการใหม่ ไว้กว่า 10,000 บทความ

หัวข้อกระทู้ : เจ้าบ้านตาย สามารถเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านคนใหม่ได้ไหม

เจ้าบ้านตาย สามารถเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านคนใหม่ได้ไหม

ลุงที่เป็นเจ้าบ้านตายแล้ว บุคคลในทะเบียนบ้านลุง มี แม่ผม(น้องสาวลุงแท้ๆ) ผม พี่ชาย และพี่สาว(ลูกของป้า)

ในกรณีนี้ ลุงตายแล้ว สามารถไปที่เขต ขอเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านเป็นแม่ผมได้ไหมครับ

แก้ไขครั้งล่าสุดโดย teyy : 11/04/2022 09:52:21

กรณี เจ้าบ้าน เสียชีวิต ใครเป็น เจ้าบ้าน
teyy

สมัครเมื่อ : 18 มีนาคม 2563

Reply : เจ้าบ้านตาย สามารถเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านคนใหม่ได้ไหม

ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ call center 1548

แก้ไขครั้งล่าสุดโดย teyy : 11/04/2022 09:52:19

การเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน กรณีเจ้าบ้านเสียชีวิต

บิดาผู้เป็นเจ้าบ้านและเป็นผู้ลงชื่อในการปลูกบ้านเสียชีวิต

บทความวันที่ 10 ต.ค. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 56024 ครั้ง


การเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้าน กรณีเจ้าบ้านเสียชีวิต

              บิดาผู้เป็นเจ้าบ้านและเป็นผู้ลงชื่อในการปลูกบ้านเสียชีวิต บุตรจึงไปแจ้งเขตเพื่อขอเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านจากบิดาเป็นมารดา แต่เขตให้ไปทำเรื่องที่ที่ดิน โดยที่ดินให้เสียค่าโอนบ้านด้วย หากยังไม่เสียค่าโอน ก็จะทำนิติกรรมใด ๆ ไม่ได้ จึงขอสอบถามว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ และอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายใด

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์          

ในกรณีที่เจ้าบ้านตาย ตามพรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 4 มีข้อกำหนดอันเป็นบทบัญญัติให้ถือว่า ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน ดังนั้น เมื่อมารดาเป็นบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะที่บิดาผู้มีชื่อเป็นเจ้าบ้านตายในขณะนั้นจึงถือว่ามารดาเป็นเจ้าบ้านโดยผลตามกฎหมายแล้ว

  • «
  • 1
  • 2
  • 3
  • »

แสดงความเห็น