เปลี่ยน เจ้าบ้าน กรณี เจ้าบ้าน เสียชีวิต ใช้ เอกสารอะไรบ้าง

1. การแจ้งเกิด

          แจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน  15  วัน  นับแต่วันเกิด  กรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลัง  แต่ต้องไม่เกิน  30  วัน  นับแต่วันเกิด

กรณีเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน            

          - แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท   

          - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบหมาย

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน          

          - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือหนังสือมอบหมายกรณีได้รับมอบหมาย

กรณีเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้          

           - แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีเกิดที่โรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านโรงพยาบาลซึ่งได้แก่ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ใดก็ตามที่มีชื่อ เป็นเจ้าบ้านโรงพยาบาลนั้นเป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในโรงพยาบาลในกรณีไม่อาจแจ้งการเกิดด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้ หนึ่งผู้ใด ไปดำเนินการเกิดแทนก็ได้เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิด และเพิ่มชื่อเด็กที่เกิดในทะเบียนบ้านกลางแล้ว บิดา มารดา หรือผู้ได้รับมอบหมายจะแจ้งการย้ายที่อยู่ของเด็กที่เกิดออกจากทะเบียนบ้านกลางโดยได้รับสูติบัตร และใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าต่อไปหรือ บิดา มารดา หรือผู้ได้รับมอบหมายจะดำเนินการแจ้งเกิด และแจ้งการย้ายที่อยู่ของเด็กได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด โดยใช้หลักฐาน          

          - ใบรับสูติบัตร          

          - บัตรประจำตัวบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบหมาย          

          - สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีย้ายเด็กเข้าทะเบียนบ้านในเขตเทศบาล)

การแจ้งเกิดเกินกำหนด          

          - เปรียบเทียบคดีความผิด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท          

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน          

          - บัตรประจำตัวฯ บิดา - มารดา (ถ้ามี)          

          - หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)          

          - สอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา          

          - พยานแวดล้อมกรณี           - ฯลฯ

          เกิดในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำเด็กนั้นไปส่ง และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่ตนพบเด็กนั้นโดยเร็ว          

          - เจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ได้รับตัวไว้ แล้วแจ้งการมีคนเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง          

          - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง          

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของสถานสงเคราะห์ และบันทึกการรับตัวเด็ก          

          - สอบสวนผู้แจ้ง และผู้ปกครองสถานสงเคราะห์

สูติบัตรสูญหาย         บิดา - มารดา หรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอคัดสำเนาสูติบัตรได้ ณ สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรนั้น    ใช้หลักฐานประกอบ คือ บัตรประจำตัวผู้ยื่นคำร้อง

2. การแจ้งตาย

กรณีเสียชีวิตในบ้าน

ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีผู้เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน  24  ชั่วโมงนับแต่พบศพ  (กรณีเสียชีวิตด้วยโรคชรา  บุคคลอายุ  70  ปีขึ้นไป  ส่วนผู้ที่อายุไม่ถึง  70  ปี  ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน)

หลักฐาน

          - สำเนาทะเบียนบ้าน  (ผู้เสียชีวิต)

          - บัตรประชาชนผู้แจ้ง

          - หนังสือรับรองการตาย

กรณีเสียชีวิตด้วยโรคหรือชราภาพ

          - หนังสือรับรองการตายจากแพทย์ใบประกอบโรคศิลป์ และบัตรประจำตัวของแพทย์ (กรณีมีแพทย์รักษาก่อนตาย)

          - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)

กรณีเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง อุบัติเหตุ

          - ให้ผู้แจ้ง แจ้งต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่มีผู้เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อออกใบชัณสูตรพลิกศพ

          - สถานีตำรวจจะส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชวิทยาเพื่อหาสาเหตุการตาย และออกใบรับรองสาเหตุการตายจากสถาบัน ฯ

          - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)

          - หากไม่แจ้งตายภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีเสียชีวิตในโรงพยาบาล

          - บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย

          - หนังสือรับรองการตาย

          - สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้เสียชีวิตมีชื่อ (คนในพื้นที่ตายในโรงพยาบาล)

          - นำหลักฐานไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่

กรณีเสียชีวิตนอกบ้าน

ให้บุคคลที่ไปกับผู้เสียชีวิตหรือผู้พบศพ แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาเสียชีวิต หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจก็ได้                     - บุคคลที่ไปกับผู้เสียชีวิต หรือผู้ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่เสียชีวิตหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก          

          - แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาเสียชีวิตหรือพบศพ          

          - หากไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท            

การแจ้งเสียชีวิตเกินกำหนดเวลา     

หมายถึง การที่ไม่ได้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาเสียชีวิต หรือเวลาพบศพ          

          - ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งตายนำหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสียชีวิตไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เสียชีวิต          

          - นายทะเบียนจะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท           

          - นายทะเบียนจะสอบสวนพยานบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณารับแจ้งตายเกินกำหนด

การแจ้งตายในการประสบอุบัติเหต          

          - ให้ผู้ที่ไปกับผู้เสียชีวิต หรือผู้พบศพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแห่งท้องที่ที่เสียชีวิต หรือพบศพก่อน หรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาเสียชีวิต หรือพบศพเพื่อออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน           

          - นำศพส่งสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตายและออกใบแจ้งการตาย            - นำหลักฐานใบแจ้งการตาย และใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลไปแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่พบศพ เพื่อประกอบหลักฐานออกใบมรณบัตร ต่อไป          

มรณบัตรสูญหาย               

ให้บิดา - มารดา หรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอคัดสำเนามรณบัตรได้ ณ สำนักทะเบียนที่ออกมรณะบัตรนั้น หลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้ยื่นคำร้อง

3. การย้ายที่อยู่

          ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง (พิจารณาจากทะเบียนบ้านว่าได้มีการระบุให้ผู้ใดทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน) ผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่เข้า-ออกจากบ้าน ให้แจ้งการย้ายเข้า-ออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายเข้า-ออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท           

การย้ายเข้า   

ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท           

กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง          

          - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน          

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน          

          - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2

กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน   ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ          

          - บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว          

          - บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย          

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน          

          - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2

การย้ายออก

กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง          

          - บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ พนักงานองค์การของรัฐ)          

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน           

กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน          

1. ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน          

          - บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานนะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรอง สำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว ฯ          

          - บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย          

2. ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน          

          - นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มา แจ้งย้ายที่อยู่แทน           

การแจ้งย้ายออกโดยไม่ทราบที่อยู่ (ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง)

          เจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นใคร หรือไปอยู่ที่ใดให้แจ้งการย้ายออกภายใน 30 วัน นับแต่วันครบ 180 วัน โดยไม่ทราบที่อยู่          

          - บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน          

          - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน          

          - บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมาย และให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว และบัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย พร้อมหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านกรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้มาดำเนินการแทน           

การย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง  ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ (ถูกย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง) ประสงค์ที่จะย้ายออก (ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียน ที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้ บุคคลที่มีรายการในทะเบียนบ้านกลางไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอคัดและให้นายทะเบียนรับรองสำเนารายการ เพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธ์ต่างๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้)

          1. กรณีผู้ร้อง (เจ้าตัว) มาดำเนินการเอง          

          - บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ ฯ หรือพนักงานองค์การของรัฐ          

          - ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย ต้องมีใบแจ้งบัตรหาย (แจ้ง ณ สำนักทะเบียน) พร้อมทั้งหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายมาแสดงด้วย อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ฯ บัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา ส.ด.8, ส.ด.43 หนังสือเดินทาง

          2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการย้าย          

          - หนังสือมอบหมายของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก          

          - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก          

          - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการย้ายออก          

          3. กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ          

                    3.1 สูติบัตร          

                    3.2 บิดาหรือมารดา จะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเอง พร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย          

                    3.3 กรณีไม่ปรากฏตามข้อ

                    3.4 ต้องดำเนินการสอบปากคำมาแจ้งย้ายด้วย          

          4. กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดงด้วย           

การย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ

เช่นเดียวกับการย้ายออกกรณีที่