หนี้สิน ล้นพ้น ตัว ทํา ไง ดี

Tip การออม : วิธีการจัดการเพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้

  • เพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ โดยการเพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีส่วนต่างของภาระหนี้และความสามารถในการชำระหนี้จำนวน 1,000 บาท (7,000 – 6,000) จึงสามารถเลือกใช้วิธีการหารายได้เพิ่มอีกเดือนละ 1,000 บาท หรือ ลดค่าใช้จ่าย 1,000 บาท เพื่อให้มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้ในแต่ละเดือน กรณีนี้จะชำระหนี้หมดได้ภายในกำหนด
  • เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อลดจำนวนเงินชำระหนี้ต่อเดือนและขยายระยะเวลาชำระหนี้ เช่น ขอลดจำนวนเงินชำระหนี้ต่อเดือนจาก 5,000 บาทของธนาคาร B เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าธนาคาร A เหลือเดือนละ 4,000 บาท เพื่อให้ภาระหนี้ที่ต้องชำระเท่ากับความสามารถในการชำระหนี้พอดี แต่กรณีนี้จะทำให้ภาระหนี้ที่ชำระต้องขยายระยะเวลาออกไปนานกว่าที่กำหนดไว้และต้องชำระดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากเดิม

“เป็นหนี้” ถือว่าเป็นปัญหาหนักที่สุดสำหรับเรื่องการเงิน ยิ่งถ้าใครเป็นหนี้ชนิดที่แทบจะหมดเนื้อหมดตัวจริง บอกได้เลยว่าแก้ปัญหายากจริง ๆ แต่ ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้เลย


รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หนี้สิน ล้นพ้น ตัว ทํา ไง ดี

หนี้สิน ล้นพ้น ตัว ทํา ไง ดี

เรื่องการ เป็นหนี้ พี่ทุยว่าเป็นปัญหาหนักที่สุดสำหรับเรื่องการเงินแล้วล่ะ แล้วยิ่งถ้าใครเป็นหนี้ชนิดที่แทบจะหมดเนื้อหมดตัวจริง ๆ พี่ทุยก็บอกได้เลยว่าแก้ปัญหายากจริง ๆ แต่ !! ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้เลยนะสำหรับคนที่เป็นหนี้ อย่างแรกเลยพี่ทุยว่าเราต้องตั้งสติให้ดีก่อน คิดไว้เสมอว่าการเป็นหนี้เราไม่ได้ฆ่าใครตาย ทุกปัญหามีทางออกเสมอ แต่ห้ามหันไปหาทางออกง่าย ๆ อย่างหาเงินก้อนอื่นมาโปะหนี้เก่าโดยเฉพาะหนี้นอกระบบเพราะจะยิ่งทำให้หนี้เราเพิ่มเร็วหนักกว่าเก่าแน่ ๆ

สิ่งที่เราควรทำอย่างแรกก็คือ เริ่มไปเจรจากับคนที่ให้เรากู้เงิน จริง ๆ แล้วเวลาที่ เป็นหนี้ อยู่ สามารถเดินเข้าไปหาเจ้าหนี้แล้วขอประนอมหนี้ได้ส่วนหนึ่ง เพราะเจ้าหนี้ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือว่าบริษัทบัตรเครดิตต่าง ๆ ก็ตาม เค้าอยากได้เงินของเค้าคืนอยู่แล้ว แม้จะได้ดอกเบี้ยน้อยลงก็ตาม ดีกว่าปล่อยให้เป็นหนี้เสียไปเลย ลองเจรจาให้หมดกับเจ้าหนี้ทุกเจ้าที่เรามีเลย

จากนั้นลองแยกหนี้ดี กับ หนี้เลว ออกจากกัน เริ่มจัดการหนี้เลวที่มี โดยจัดการจากหนี้เลวที่มีต้นทุนหรือดอกเบี้ยที่สูงที่สุดก่อน ซึ่งเงินที่เราจะหามาปิดหนี้พวกนี้พี่ทุยว่าเราอาจจะต้องตัดใจขายสินทรัพย์บางอย่างออกมา เพราะส่วนนึงที่เราจะเป็นหนี้ เชื่อว่าน่าจะมาจากการที่เราเอาเงินไปซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ โทรศัพท์มือถือต่าง ๆ ถ้ามาถึงจุดนึงที่รายได้ไม่พอรายจ่ายของดอกเบี้ยจริง ๆ เราอาจจะต้องขายเพื่อไปปิดหนี้ก่อน เพื่อให้ภาระดอกเบี้ยลดลง แล้วพอสถานการณ์ดีขึ้นค่อยกลับไปซื้อใหม่ก็ยังไม่สาย เผลอ ๆ ได้ของรุ่นใหม่กว่าเดิมอีก

ข้อควรระวัง ก็คือ ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีสินทรัพย์อย่างพวกที่อยู่อาศัยแน่ ๆ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะสามารถหาเงินมาผ่อนจ่ายได้จริง ๆ หรือเปล่า ห้ามเอาที่ดินหรือบ้านไปค้ำเพื่อเคลียร์หนี้เด็ดขาด เพราะว่าถ้าเราเอามาคืนไม่ได้จริง ๆ บ้านเราจะโดนยึดเข้าไปอีก ปัญหาจะยิ่งหนักมากกว่าเดิม ยังไงห้ามเอาบ้านเราไปหมุนเป็นเงินออกมาเด็ดขาด !

พอเราเริ่มลดภาระเรื่องหนี้ได้ระดับนึง พี่ทุยเชื่อว่าปัญหาน่าจะเบาขึ้นเยอะเลยทีเดียว ทีเนี้ยเราก็ต้องมาจัดการตัวเองที่เป็นต้นตอปัญหาก่อน เพราะการเป็นหนี้มันเกิดจากที่เราหาเงินได้ไม่เท่ากับรายจ่ายที่จ่ายออก ทำให้เราต้องไปหยิบยืมเงินจากที่อื่นเพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เรามี

ดังนั้นช่วงที่สถานการณ์ยังไม่ดีนัก อาจจะต้องเหนื่อยขึ้นแน่นอน ลองหาทางเพิ่มรายได้ง่าย ๆ เช่น การทำโอทีหรือหางานพาร์ทไทม์ช่วงเสาร์-อาทิตย์ เพื่อเพิ่มรายได้ของเรา พี่ทุยว่าเดือนนึงได้เพิ่มมา 10,000-20,000 บาท ก็ช่วงลดปัญหาได้เยอะแล้วนะ พี่ทุยเชียร์ให้ทุกคนสู้ ๆ เหนื่อยกายดีกว่าเหนื่อยใจที่ไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาจ่ายหนี้แน่ ๆ ล่ะ

หลังจากที่ผ่านช่วงชีวิตนี้มาได้ พี่ทุยเชื่อแบบสุดใจเลยว่า เราจะแกร่งขึ้นอีกเยอะ เพราะส่วนตัวพี่ทุยก็เคยเป็นหนี้หลายแสนเหมือนกันจากการลงทุนทำธุรกิจที่ผลลัพธ์มันไม่เป็นอย่างที่คิด ถามว่าเครียดมั้ย ตอบเลยว่ามากกกกกก ก็มีช่วงชีวิตที่ลำบากประมาณ 2 ปี กว่าหนี้จะหมด แต่หลังจากที่เราผ่านมาได้ก็ทำให้เราแกร่งขึ้นจริง ๆ นะ สู้งานมากขึ้น ประหยัดมากขึ้น เห็นค่าของเงินมากขึ้น พี่ทุยเป็นกำลังใจทุกคนที่กำลังสู้เพื่อปลดหนี้น้าาา 

  เป็นธรรมดาที่เราจะเสียดายทรัพย์สินหรือหลักประกันที่ครอบครองอยู่ อยากยื้อเอาไว้ไม่ปล่อย เพราะจะเก็บที่ดินไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน เก็บสลากออมทรัพย์ไว้ลุ้นรางวัลที่ 1 แต่หากชั่งน้ำหนักถึงข้อดีข้อเสียของการขายสิ่งของเหล่านี้แล้ว จะช่วยให้ดอกเบี้ยไม่พอกพูนไปเรื่อย ๆ ไม่ส่งภาระหนี้สินไปถึงลูกหลาน ไม่ถูกฟ้องร้อง โอกาสถูกรางวัลใหญ่มีไม่มากนัก และลดความเครียด แล้วทำใจหรือตัดใจขายได้ ก็จะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาและผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ส่วนทรัพย์สินที่ขายไปเรายังหาใหม่ได้เมื่อสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ

ในช่วงสถานการณ์ค่าครองชีพสูงในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนกำลังตกที่นั่งลำบาก รายได้ลด รายจ่ายมากขึ้น ทำให้การผ่อนจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก และเกิดความคิดที่หนักอก ไม่รู้จะเริ่มจัดการหนี้อย่างไร และทำอย่างไรให้หนี้ลดลง หรือผ่อนจ่ายต่อได้ไหว เพราะเชื่อว่าทุกคนอยากหาทางออก ไม่มีใครที่อยากจะถูกฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นแน่!

ทางออกสำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเยอะจนเริ่มจัดการไม่ไหว มีแนวทางที่ได้ผลจริง ดังนี้

1.จัดการหนี้สินด้วยตัวเอง : เริ่มจากการทบทวนตัวเองว่าที่ผ่านมามีหนี้สินอะไรบ้าง และมีการจัดลำดับความสำคัญของหนี้ เพื่อป้องกันการเสียเครดิตทางการเงินของตัวเอง และต่อมาก็เริ่มไล่ลำดับในการจัดการจ่ายหนี้จากก้อนเล็ก ๆ ก่อนที่จะไปถึงหนี้ก้อนใหญ่

- Advertisement -


2.มองหารายได้เสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม : เมื่อเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว นั่นอาจจะหมายความว่ารายรับที่ได้มาเป็นประจำอาจไม่เพียงพอต่อการจ่ายหนี้ และใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงควรมองหารายได้อื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น ขายของออนไลน์ เขียนนิยายลงพนแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นต้น

3.พักชำระหนี้กับสถาบันทางการเงิน : หากรู้สึกว่าไม่ไหวจริง ๆ ให้ปรึกษากับสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินจะมีมาตรการผ่อนปรน และบรรเทาช่วยเหลือลูกหนี้อยู่แล้ว โดยเราสามารถเข้าไปเพื่อขอเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อสอบถามแนวทางการประนอมหนี้ และการพักชำระหนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต ก็สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินที่เราทำเรื่องยื่นขอกู้สินเชื่อได้เลย

หากต้องการผ่อนปรน หรือพักชำระหนี้ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

เอกสารสำหรับส่วนบุคคล

-บัตรประชาชน

-สำเนาทะเบียนบ้าน

-สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณะบัตร (แล้วแต่กรณี)

เอกสารรายได้ (เพื่อพิจารณาความสามารถในการประนอม หรือพักชำระหนี้)

-กรณีที่เป็นอาชีพพนักงานประจำ

-หนังสือรับรองเงินเดือนตัวจริง

-สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน

-บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

-กรณีที่เป็นอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ

-หนังสือจดทะเบียนการค้า

-บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน

-เอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบของตนเอง เช่น สัญญาเช่าแผง เช่าร้าน ตัวอย่างใบสั่งสินค้า

เจรจาหนี้แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป? เมื่อพูดคุยกับสถาบันการเงิน สิ่งที่ควรทำเป็นลำดับต่อมาคือ “การวางแผนสำหรับการชำระหนี้” หลังจากที่เจราต่อรองกับสถาบันการเงิน ซึ่งส่วนนี้มักจะเป็นการวางแผนร่วมกัน โดยยึดตามหลักความเป็นจริง ซึ่งในสัญญาจะมีการระบุอย่างชัดเจนว่าจะมีการชำระหนี้ต่อเดือนเท่าไหร่ และจะสามารถยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไปได้กี่ปี หากเรายังผิดนัดชำระหนี้อีก ในครั้งต่อไปอาจมีการเสียค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ และมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดีได้

สุดท้ายนี้แม้ว่าเราจะไม่สามารถหนีจากการเป็นหนี้ได้ แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกอยู่เสมอ โดยสามารถมองหามาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ได้จากทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), คลินิกแก้หนี้ ที่พร้อมช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยกัน.

(ที่มา : เครดิตบูโร)

  • Tags
  • ทางออกคนมีหนี้

Business Todayhttps://businesstoday.co

Supporting Thailand's business communities./ FB Page: Business Today Thai/ Social: Business Today Thai (สำหรับ Twitter, YouTube, Telegram)/ LINE: @Business today/ เว็บที่เกี่ยวข้อง: Thailand Today: www.thailandtoday.co/ FB: Thailantoday.co (English)/ Thailand Today News: www.thailandtoday.news/ FB: Thailandtoday.news (Mandarin Chinese)