เงินกินเปล่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าเช่า รวมถึงรายได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อหรือผิดซื้อขายเงินผ่อน ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(5)

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้

การหักค่าใช้จ่าย

ค่าเช่า

ถ้าคุณ เป็นเจ้าของทรัพย์สินให้เช่าเอง คุณสามารถเลือกหัก ค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือหักเหมา 10 – 30% (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) โดยแบ่งตามประเภทของทรัพย์สินที่ให้เช่าดังนี้

รายได้ค่าใช้จ่ายที่หักได้
  • ค่าเช่าบ้าน
  • ค่าเช่าอาคาร
  • ค่าเช่าตึก
  • ค่าเช่าสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
  • ค่าเช่าแพ
หักแบบเหมา 30% หรือหักตามจริงค่าเช่าที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรมหักแบบเหมา 20% หรือหักตามจริงค่าเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตรกรรมหักแบบเหมา 15% หรือหักตามจริงค่าเช่ายานพาหนะหักแบบเหมา 30% หรือหักตามจริงค่าเช่าทรัพย์สินอื่นๆ นอกเหนือจากนี้หักแบบเหมา 10% หรือหักตามจริง
ข้อสังเกต
  • กรณีให้เช่าสิ่งปลูกสร้าง และเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง คุณสามารถนำภาษีโรงเรือนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ด้วย
  • กรณีให้เช่า “สัตว์พาหนะ” ไม่นับเป็นการให้ “ยานพาหนะ” เพราะยานพาหนะต้องเป็น “พาหนะ” ที่ไม่มีชีวิต เช่น เกวียน รถม้า หรือรถเทียมวัว เป็นต้น

เช่าทรัพย์สินคนอื่นมาให้เช่าช่วงต่ออีกที?

ถ้าคุณ ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินให้เช่า แต่เช่าทรัพย์สินคนอื่นมาให้เช่าช่วงต่ออีกที กฎหมายจะอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายจากค่าเช่าที่คุณจ่ายให้เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ให้เช่าเท่าที่จ่ายจริงเท่านั้น

รายได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อหรือผิดซื้อขายเงินผ่อน

ถ้าคุณมีรายได้จากการที่มีคนผิดสัญญาเช่าซื้อหรือผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนกับคุณ คุณจะหักค่าใช้จ่ายได้วิธีเดียว คือ หักแบบเหมา 20%

รายได้ค่าใช้จ่ายที่หักได้
  • รายได้จากการที่มีคนผิดสัญญาเช่าซื้อ
  • รายได้จากการที่มีคนผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
หักแบบเหมา 20%

อะไรเป็นเงินได้ประเภทที่ 5 ได้บ้าง?

โดยทั่วไป เงินได้ประเภทที่ 5 จะเป็นค่าเช่าทรัพย์สินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นค่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ และครอบคลุมถึงค่าเช่าช่วงที่คุณได้รับจากการนำทรัพย์สินของคนอื่นมาให้เช่าช่วงต่ออีกทีด้วย

เงินได้ประเภทที่ 5 ยังรวมถึงรายได้จากการที่คนอื่นผิดสัญญาเช่าซื้อหรือผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนกับคุณด้วย เช่น ริบเงินค่างวด เป็นต้น

สิทธิแบ่งเฉลี่ยเงินกินเปล่า (ค่าเช่ารับล่วงหน้า) ที่ได้รับจากสัญญาเช่าระยะยาวตามจำนวนปีของอายุการเช่า

ในกรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่าล่วงหน้าระยะยาว เช่น สัญญาเซ้ง 30 ปี สามารถเลือกนำเงินกินเปล่าที่ได้รับไปยื่นภาษีได้ 2 วิธีดังนี้

  1. นำไปยื่นภาษีในปีที่ได้รับเงินทั้งจำนวนตามปกติ
  2. เฉลี่ยเงินกินเปล่าเป็นรายปี ตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้า เช่น รับเงินกินเปล่า 30 ล้านบาท สำหรับสัญญาเช่า 30 ปี สามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าเพื่อยื่นภาษีล่วงหน้าปีละ 1 ล้านบาท เป็นเวลา 30 ปี ได้ โดยยื่น ภ.ง.ด. 93 ล่วงหน้า 30 ปีจำนวน 30 ฉบับก่อน แล้วจึงนำเงินกินเปล่าที่ยื่นภาษีไปแล้วมายื่นภาษีอีกครั้งทีละปีไปเรื่อยๆ จนครบ 30 ปี

ตัวอย่างการใช้สิทธิเฉลี่ยเงินกินเปล่าเป็นรายปี กรณีรับเงินมากกว่า 1 ครั้ง

สัญญาเช่า 10 ปี ได้รับเงินกินเปล่าปีแรก 1 ล้านบาท และปีที่สามอีก 1 ล้านบาท หากต้องการใช้สิทธิเฉลี่ยเงินกินเปล่าเป็นรายปี ให้แบ่งเฉลี่ยดังนี้

  • เงินกินเปล่าที่ได้รับในปีแรก 1 ล้านบาท ให้แบ่งเฉลี่ยเป็นเงินได้ 10 ปีตามอายุสัญญาที่เหลือ เฉลี่ยปีละ 500,000 บาท
  • เงินกินเปล่าที่ได้รับในปีที่สาม 1 ล้านบาท ให้แบ่งเฉลี่ยเป็นเงินได้ 8 ปีตามอายุสัญญาที่เหลือ เฉลี่ยปีละ 125,000 บาท

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่มีรายได้อยู่ในเงินได้ประเภท 5 และต้องการที่จะมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี คุณสามารถเลือกเปรียบเทียบแผนลดหย่อนภาษีออนไลน์ได้ที่ iTAX shop เรารับรองว่า คุณจะได้เจอกับตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่คุณมองหาอย่างแน่นอน


อ้างอิง

  1. มาตรา 40(5) ประมวลรัษฎากร

  2. ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2), www.rd.go.th

    ด้วยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เพื่อปรับปรุง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ที่ได้ใช้บังคับเป็นเวลานานเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

    ตามประกาศกระทรางการคลังดังกล่าว มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ดังนี้  

    ด้วยปรากฏว่า มีบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำนวนมาก (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดก) ที่มีเงินได้หรือ ได้รับประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น นอกจากจะเรียกเก็บเงินค่าเช่าแล้ว ยังเรียกเก็บเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี ซึ่งผู้ให้เช่าจะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ แต่เนื่องจากผู้ให้เช่าต้องยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอาคารหรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน ถ้าผู้ให้เช่าจะต้องรับภาระการเสียภาษีเงินได้จากจำนวนเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้นทั้งหมดในปีเดียวกับที่ได้รับเงินหรือประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมจะเป็นภาระหนักแก่ผู้ให้เช่ามิใช่น้อย

    เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงการคลังจึงขอเรียนให้ทราบดังนี้

    1. ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น ตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าได้ เช่น ผู้ให้เช่าได้รับเงินกินเปล่าในการให้เช่าอาคารเป็นเงิน 30,000,000 บาท แต่ผู้ให้เช่าต้องผูกพันให้เช่าเป็นเวลา 30 ปี ดังนี้ ให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าจานวน 30,000,000 บาท นั้นออกเป็นรายปีจานวน 30 ปี โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะมี เงินได้ปีละ 1,000,000 บาท และผู้มีเงินได้ในกรณีนี้จะต้องยื่นรายการเงินได้ และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าของทุกปีที่เฉลี่ย ให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น

    2. กรณีผู้ให้เช่าซึ่งได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และ ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ แต่ได้ยื่นรายการเงินได้ และชาระภาษีเงินได้จาก เงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกำหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปี ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินแล้ว ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าเป็นรายปีตามจานวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นรายการเงินได้ และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

    3. กรณีผู้ให้เช่าซึ่งได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และ ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ยื่นขอใช้สิทธิชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่า ตามประกาศนี้ มิได้ยื่นรายการเงินได้ และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามปีภาษีของอายุการเช่า ให้เจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากรทำการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ ตามมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ต่อไป

    4. ประกาศนี้ให้ใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปีภาษี 2557 ซึ่งต้องยื่นรายการ ในปี 2558 เป็นต้นไป

    สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปพอสรุปได้ดังนี้

    ประการที่หนึ่ง ผู้มีเงินได้ในกรณีนี้จะต้องยื่นรายการเงินได้ (ภ.ง.ด.93) และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าของทุกปีที่เฉลี่ย จากเดิมที่มีแนวทางปฏิบัติให้ยื่นรายการเงินได้ เฉพาะของปีภาษีอื่นที่มิใช่ปีภาษีที่มีเงินได้เป็นการล่วงหน้าเท่านั้น

    ประการที่สอง ผู้มีเงินได้ต้องยื่นรายการเงินได้ (ภ.ง.ด.93) ให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น จากเดิมที่กำหนดให้ยื่นรายการให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น

    ประการที่สาม กรณีผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ (ภ.ง.ด.93) เมื่อพ้นกำหนดเวลา กล่าวคือ ยื่นรายการเงินได้ (ภ.ง.ด.93) ภายหลังเดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีที่ได้เงินได้ จะยังคงได้สิทธิในการเฉลี่ยเงินได้อยู่ต่อไปหากยอมเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียตามแบบ ภ.ง.ด.93 นั้น

    ในขณะเดียวกัน กรมสรรพากรได้วางแนวทางเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือได้รับกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือน หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกับเงินกินเปล่า จากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ โดยได้นำความตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มาใช้เป็นแนวทางในการออกคำสั่งดังต่อไปนี้ อนึ่ง บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 นี้แทน

    1. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าที่สามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าได้

    ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าที่สามารถเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า ได้แก่ ผู้ให้เช่าที่เป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ (ข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

    1.1 บุคคลธรรมดา

    1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

    1.3 ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และ

    1.4 กองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง

    2. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้มีสิทธินำมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า

    2.1 เงินกินเปล่า หรือเงินแป๊ะเจี๊ยะ

    2.2 เงินค่าปลูกสร้าง

    2.3 เงินค่าซ่อมแซม

    2.4 ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์

          กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 1/2526 ฯ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 วางแนวทางปฎิบัติสำหรับการคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ เพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

          “ข้อ 1 กรณีที่เจ้าของที่ดินทำสัญญาให้ผู้อื่นทำการปลูกสร้างอาคารหรือโรงเรือนบนที่ดินของตน โดยผู้ปลูกสร้างยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือโรงเรือนที่ปลูกสร้างนั้นให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ และเจ้าของที่ดินตกลงให้ผู้ปลูกสร้างเช่า หรือให้เช่าช่วงอาคารหรือโรงเรือน หรือตกลงให้ผู้ปลูกสร้างจัดหาผู้เช่าอาคารหรือโรงเรือนนั้นโดยตรงจากเจ้าของที่ดินเป็นการตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้คำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินตามจำนวนปีแห่งอายุการเช่าในอัตราร้อยละของมูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์ดังต่อไปนี้

                           จำนวนปีแห่งอายุการเช่า                 อัตราร้อยละของมูลค่าอาคารฯ

                                         1 ปี                                                  95.0

                                         2 ปี                                                  90.2

                                         3 ปี                                                  85.7

                                         4 ปี                                                  81.4

                                         5 ปี                                                  77.4

                                         6 ปี                                                  73.5

                                         7 ปี                                                  69.8

                                         8 ปี                                                  66.3

                                         9 ปี                                                  63.0

                                       10 ปี                                                  59.9

                                       11 ปี                                                  56.9

                                       12 ปี                                                  54.0

                                       13 ปี                                                  51.3

                                       14 ปี                                                  48.8

                                       15 ปี                                                  46.4

                                       16 ปี                                                  44.0

                                       17 ปี                                                  41.8

                                       18 ปี                                                  39.7

                                       19 ปี                                                  37.7

                                       20 ปีขึ้นไป                                         35.8

                คำว่า “มูลค่าอาคารหรือโรงเรือน” หมายความว่า ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ในกรณีดังกล่าว ราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับอาคารหรือโรงเรือนนั้นให้ถือราคาทุนที่แท้จริงของอาคารหรือโรงเรือนในวันที่ได้รับกรรมสิทธิ์

                ตัวอย่าง มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนในวันที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 1,000,000 บาท และมีอายุสัญญาเช่า 12 ปี เงินได้พึงประเมินของเจ้าของที่ดินจะเป็นเงิน 540,000 บาท (1,000,000 x 54.0/100 )

                มูลค่าอาคารหรือโรงเรือนดังกล่าว เป็นมูลค่าที่ได้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามจำนวนปีแห่งอายุการเช่าแล้ว จะนำมาหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับกรณีดังกล่าวซ้ำอีกไม่ได้

    2.5 เงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกับเงินกินเปล่า

    3. กรณีได้รับเงินกินเปล่าตั้งแต่ปีภาษี 2557 เป็นต้นไป

    กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าตั้งแต่ปีภาษี 2557 เป็นต้นไป โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 ฯ )

    3.1 นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) และชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

    3.2 นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.93) และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปี ตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้อง ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 ไปรวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี

          ตัวอย่าง

          ในปี พ.ศ. 2557 นายแดงได้นำที่ดินของตนเองไปให้ บริษัท ดำ จากัด เช่าเพื่อสร้างห้างสรรพสินค้า สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2586 โดย นายแดงได้รับเงินกินเปล่าในวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นเงินจำนวน 30 ล้านบาท และได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 5 นายแดงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ดังนี้

          3.2.1 นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 30 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจาปีภาษี 2557 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม 2558 โดย นายแดงมีสิทธินำภาษีเงินได้ที่ถูก บริษัท ดำ จากัด หัก ณ ที่จ่ายไว้ทั้งจำนวน มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในปีภาษี 2557 หรือ

          3.2.2 ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยนำเงินกินเปล่าจำนวน 30 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2557 ถึงปีภาษี 2586 จำนวน 30 ปี คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 30 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 30 ปี เป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม 2558 และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2557 ถึงปีภาษี 2586 นายแดงมีหน้าที่ต้องนำเงินกินเปล่าดังกล่าวมาคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น ทั้งนี้ นายแดงมีสิทธินำภาษีเงินได้ที่ บริษัท ดา จากัด ได้หักไว้ ณ ที่จ่ายทั้งจำนวน มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2557 ได้ด้วย 

                 ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตาม 3.2.1 และ 3.2.2 แต่ต่อมาได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกำหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป ตามข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 เรื่อง การเสียภาษีเงินกินเปล่าหรือเงินได้อื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/2385 ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561 https://www.rd.go.th/26848.html)  

          กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตาม 3.2.1 และ 3.2.2 ให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นรายการเป็นรายปีภาษี ตามข้อ 7 ต่อไป

          อนึ่ง แนวทางการเฉลี่ยเงินได้ตามตามส่วนแห่งจำนวนปีหรือเศษของปีของอายุการเช่าตามแนวคำตอบข้อหารือของกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/1684 ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ดังนี้

          กรณีที่ทำสัญญาให้เช่าที่ดินมีกำหนดเวลา 3 ปี เริ่มวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 อัตราค่าเช่า 1,200,000 บาทต่อปี และผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่าในคราวเดียว จำนวน 3,600,000 บาท เงินค่าเช่าที่ได้รับทั้งหมดเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินที่ได้รับล่วงหน้า ท่านมีสิทธินำค่าเช่าจำนวนดังกล่าวไปเฉลี่ยเป็นรายปีชำระตามส่วนแห่งจำนวนปีหรือเศษของปีของอายุการเช่าได้ แล้วยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.93 พร้อมภาษีเงินได้ที่คำนวณได้จากค่าเช่าที่นำมาเฉลี่ยดังกล่าวทั้งหมดภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยในปี 2560 ให้เริ่มเฉลี่ยตั้งแต่วันที่เริ่มระยะเวลาเช่าถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ส่วนปี 2561 ถึงปี 2562 ให้เฉลี่ยเต็มปี และปี 2563 ให้เฉลี่ยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเช่า ดังนี้

          (1) ปี 2560 เฉลี่ยค่าเช่า 4 เดือน   (1 ก.ย. – 31 ธ.ค. 60) เป็นเงินได้    400,000 บาท

          (2) ปี 2561 เฉลี่ยค่าเช่า 12 เดือน (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 61) เป็นเงินได้ 1,200,000 บาท

          (3) ปี 2562 เฉลี่ยค่าเช่า 12 เดือน (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 62) เป็นเงินได้ 1,200,000 บาท

          (4) ปี 2563 เฉลี่ยค่าเช่า 8 เดือน  (1 ม.ค. – 31 ส.ค. 63) เป็นเงินได้    800,000 บาท

          และเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี นาย ก มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินค่าเช่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.93 ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วจึงนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.93 แต่ละฉบับมาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวนได้ในแต่ละปีภาษี (https://www.rd.go.th/26592.html)

    3.3 กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตาม 2.1 และ 2.2 แต่ต่อมาได้นำเงินกินเปล่า มายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และชำระภาษี เงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกำหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป

               ตามตัวอย่างข้างต้น หากนายแดงได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 30 ฉบับ ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 นายแดงจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 30 ฉบับ เป็นจำนวน 2 เดือน (เมษายน - พฤษภาคม 2558) และจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สาหรับปีภาษี 2557 เพิ่มเติม โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนของปีภาษี 2557 ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ด้วย

    4. กรณีได้รับเงินกินเปล่าก่อนปีภาษี 2557  

    ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าก่อนปีภาษี 2557 โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 ปี 10 ปี หรือ 30 ปี จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

    4.1 นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

    4.2 นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้ จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 ไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี

           ตัวอย่าง

          ในปี พ.ศ. 2556 นายฟ้าได้นำที่ดินของตนเองไปให้ บริษัท เหลือง จากัด เช่าเพื่อสร้างอาคารโรงงาน สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ. 2565 โดยนายฟ้าได้รับเงินกินเปล่าในวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นเงินจำนวน 10 ล้านบาท นายฟ้ามีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ดังนี้

          3.2.1 นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 10 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจาปีภาษี 2556 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม 2557

                 หากนายฟ้าได้นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 10 ล้านบาท ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนพฤษภาคม 2557 จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย เป็นจำนวน 2 เดือนภาษี (เมษายน - พฤษภาคม 2557) หรือ

          3.2.2 ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยนำเงินกินเปล่าจำนวน 10 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2556 ถึงปีภาษี 2565 จำนวน 10 ปี คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 10 ปี เป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนธันวาคม 2556 และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2556 ถึงปีภาษี 2565 นายฟ้ามีหน้าที่ต้องนาเงินกินเปล่าดังกล่าวมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น

    4.3 กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตาม 4.1 และ 4.2 แต่ต่อมาได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และชำระภาษีเงินได้จาก เงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นวันสิ้นปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยให้คำนวณ เงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป

          อย่างไรก็ดี หากเป็นการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้สามารถยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการได้

          ตัวอย่างข้างต้น หากนายฟ้าได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 นายฟ้าจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 10 ฉบับ เป็นจำนวน 3 เดือน (มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2557) โดยนายฟ้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้ และเมื่อได้รับอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จะมีผลทำให้ นายฟ้าต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย

          อย่างไรก็ดี หากนายฟ้าได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 นายฟ้าจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 10 ฉบับ เป็นจำนวน 10 เดือน (มกราคม – ตุลาคม 2557) และจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2556 เพิ่มเติม โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนของปีภาษี 2556 ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ด้วย

    5. กรณีผู้มีเงินได้ให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน แล้วได้รับเงินกินเปล่าเป็นจำนวนหลายครั้ง   

    กรณีผู้มีเงินได้ให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือนเป็นระยะเวลานาน แล้วได้รับเงินกินเปล่าเป็นจำนวนหลายครั้ง เช่น ให้เช่า 10 ปี แล้วได้รับเงินกินเปล่าในปีที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ในปีที่ 3 จำนวน 1 ล้านบาท ผู้มีเงินได้จะต้องนาเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

    5.1 นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

    5.2 นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าตามจำนวนปีของอายุการเช่าที่เหลือ กล่าวคือ ได้รับเงินกินเปล่าในปีที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ให้เฉลี่ยเป็นจำนวน 10 ปี แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 10 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 10 ปีภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีที่ 2 ส่วนเงินกินเปล่าที่ได้รับในปีที่ 3 จำนวน 1 ล้านบาท ให้เฉลี่ยเป็นจำนวน 8 ปี แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 8 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 8 ปีภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีที่ 4 เป็นต้น

    6. สัญญาเช่าจะมีผลใช้บังคับเริ่มในปีอื่นที่มิใช่ปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน

    กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่าโดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าที่ดิน อาคาร หรือโรงเรือน เป็นระยะเวลานาน แต่สัญญาเช่าจะมีผลใช้บังคับเริ่มในปีอื่นที่มิใช่ปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ (ข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558)

    6.1 นำเงินกินเปล่าที่ได้รับทั้งจำนวนไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีภายใน เดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน หรือ

    6.2 นำเงินกินเปล่าไปเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 สาหรับปีที่สัญญาเช่าเริ่มมีผลใช้บังคับจนถึงปีที่ครบอายุสัญญาเช่า และชำระภาษีเงินได้จากเงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาในแต่ละปีภาษี ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินกินเปล่าตามส่วนที่ได้เฉลี่ยไว้ในแต่ละปีไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษี

           ตัวอย่าง

          ในปี พ.ศ. 2558 นายเขียวได้นำที่ดินของตนเองไปให้ บริษัท ขาว จากัด เช่าโดย ทำสัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี สัญญาเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับเงินกินเปล่าจากการทำสัญญาเช่าในวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นเงินจำนวน 3 ล้านบาท นายเขียวมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้

          6.2.1 นำเงินกินเปล่าทั้งจำนวน 3 ล้านบาท ไปถือเป็นเงินได้พึงประเมินประจาปีภาษี 2558 แล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559

          6.2.2 ขอใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยนำเงินกินเปล่าจำนวน 3 ล้านบาท ไปเฉลี่ยเป็นเงินได้พึงประเมินของปีภาษี 2560 ถึงปีภาษี 2562 คิดเป็นเงินได้พึงประเมินปีละ 1 ล้านบาท แล้วดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 3 ฉบับ และชำระภาษีเงินได้ของแต่ละปีภาษีทั้งหมด 3 ปี เป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2560 ถึงปีภาษี 2562 นายเขียวมีหน้าที่ต้องนำเงินกินเปล่าดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น

    6.3 กรณีผู้มีเงินได้มิได้ดำเนินการตาม 6.1 และ 6.2 แต่ต่อมาได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 โดยขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า และชำระภาษีเงินได้จาก เงินได้ที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการเช่าเมื่อพ้นกำหนดเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่า ผู้มีเงินได้ยังคงสามารถขอเฉลี่ยเงินกินเปล่าตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่าและ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ได้ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องชำระ โดยให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายปีภาษีตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินกินเปล่าเป็นต้นไป

          ตามตัวอย่างข้างต้น หากนายเขียวได้นำเงินกินเปล่ามายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 จำนวน 3 ฉบับ ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 นายแดงจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ทั้ง 3 ฉบับ เป็นจำนวน 12 เดือน (เมษายน พ.ศ. 2559 – มีนาคม พ.ศ. 2560) และเมื่อถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีภาษี 2560 ถึงปีภาษี 2562 นายเขียวมีหน้าที่ต้องนำเงินกินเปล่าดังกล่าวมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แล้วนำจำนวนภาษีที่ได้เสียไว้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาหักจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้ในแต่ละปีภาษีนั้น

    7. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่า แต่มิได้ยื่นรายการตามที่กำหนด

    ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินกินเปล่า แต่มิได้ยื่นรายการตามที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ของคำสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการเป็นรายปีภาษีตามมาตรา 60 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามประกาศกระทรวงการคลัง ฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

    8. บทสรุป

    โดยทั่วไปการรับรู้เงินได้พึงประเมินทั้งหลาย ให้ใช้ “เกณฑ์เงินสด” (Cash Basis) แต่สำหรับเงินได้ที่เป็นเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน ที่มีเงินได้หรือ ได้รับประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยยอมให้ผู้เช่าได้เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นระยะเวลานาน กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่า ถ้าผู้ให้เช่าจะต้องรับภาระการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากจำนวนเงินได้ดังกล่าวนั้นทั้งหมดในปีเดียวกับที่ได้รับเงินหรือประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมจะเป็นภาระหนักแก่ผู้ให้เช่ามิใช่น้อย ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย กระทรวงการคลังจึงอาศัยอำนาจในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ประกอบกับเจตนารมณ์ในการตราบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ออกประกาศกระทรวงการคลัง ฯ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยได้ปรับปรุงต่อเนื่องกันมาเป็นฉบับที่ 3 นับแต่ปี พ.ศ. 2499 ต่อด้วยฉบับปี พ.ศ. 2528 และฉบับล่าสุดดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นคุณต่อผู้มีเงินได้ที่เป็นเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม หรือค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ หรือเงินได้อื่นในลักษณะทำนองเดียวกันเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการจัดเก็บภาษีอากรดังกล่าว กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 151/2558 ฯ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ก่อให้เกิดความชัดเจนในการเสียภาษีเงินได้ในกรณีนี้เป็นอย่างยิ่ง