มนุษยสัมพันธ์เป็นกระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีความ

การเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์

มนุษย์สัมพันธ์  หมายถึง  ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์  ซึงทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน  การจูงใจคนอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบข่ายของมนุษย์สัมพันธ์  จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์  การจูงใจตนเองและผู้อื่น  การติดต่อสื่อสาร ความเข้าใจระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่ม

ความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

1.มนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลมากกว่าเครื่องจักรกล

2.มีส่วนช่วยจูงใจบุคคลเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น

3.เป็นพื้นฐานของการทำงานร่วมกันเป็นทีม

ปรัชญาของมนุษยสัมพันธ์

1.ทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเท่าเทียมกัน

2.มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ

3.การไม่เบียดเบียนกันและกันของมนุษย์

จุดมุ่งหมายของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

1.เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

2.เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา  เชื่อถือ ไว้วางใจ

3.เพื่อส่งเสริมและดำรง  ไว้ซึงความสัมพันธ์อัดีต่อกัน

4.เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงและบรรลุวัตถุประสงค์

5.เพื่อให้เกิดความรักใคร่  สามัคคีกลมเกลียว

6.เพื่อให้ก่อเกิดความสมัครสมานสมัคคีในการทำงาน

7.เพื่อนำความหวัง  ความตั้งใจของชีวิตไปสู่ความสำเร็จ

8.เพื่อให้เกิดความรัก  นิยม  นับถือ  เคารพ คนที่เราติดต่อด้วย

ประโยชน์ของมนุษย์สัมพันธ์

1.ทำให้เราเข้าใจธรรมชาตืของมนุษย์มากขึ้น

2.ทำให้เราตระหนัก  รับรู้  และเข้าใจตนเองมากยื่งขึ้น

3.ทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากยิ่งขึ้น  เกิดการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล

องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์

1.การเข้าใจตน  เป็นการรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ว่าตนเป็นใคร  มีความรู้  ความสารถ ทักษะ  ประสบการณ์ ความเก่งความไม่เก่งในด้านใด

2.การเข้าใจผู้อื่น  เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของคน ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด  โปรดปรานสิ่งใดเป็นพิเศษ

3.การเข้าใจสิ่งแวดล้อม  เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและบุคคลอื่น

ประเภทหรือรูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลในกลุ่ม

1.การสมานลักษณ์  2.การกลืนกลาย  3.การร่วมมือ  4.การเห็นพ้องต้องกัน 5.การแข่งขัน 6.ความขัดแย้ง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์

1.ทฤษฎีการจูงใจ การจูงใจคือ  เงื่อนไขหรือภาวะในอินทรีย์  ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม

2.ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์  มีความต้องการทางด้านร่างกาย  ความปลอดภัยมั่นคง  ทางด้านสังคม  เกียรติยศชื่อเสียง  ความสำเร็จตามความนึกคิด

3.ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฮิร์ชเบิร์ก  เป็นแนวคิดเกี่ยวกับตวามต้องการของบุคคลทั่ว ๆ ไป  เขาได้ทำการศึกษา  ค้นคว้าชีวิตการทำงานในหลาย ๆ อาชีพ  โดยลบล้างความเชื่อว่า  เงิน  เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้คนอยากทำงาน

4.ทฤษฎีการจูงใจ  แรงจูงใจมีอยู่  3  ประการคือ  1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล  2.ความต้องการความสัมพันธ์  3.ความต้องการอำนาจ

5.SRET  Law  เป็นหลักการสำหรับการสร้างสัมพันธภาพระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา

6.ทฤษฎ๊ว่าด้วยการยอมรับ  คือ  ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถที่จะเข้าใจคำสั่งนั้นได้  เป็นต้น

7.ทฤษฎี x และ y 

ทฤษฎี x คือ คนส่วนมากไม่ชอบทำงาน  เกียจคร้าน  ไม่มีความทะเยอทะยาน ไมชอบการรับผิดชอบ

ทฤษฎี y คือ การกระทำของคนไม่ใช่การบังคับ แต่เกิดจากความเต็มใจ  มีความรับผิดชอบ

8.หลักความสำพันธ์ระหว่างบุคคล  คือ  มีความจริงใจ ความเข้าใจ การยอมรับค่าของคน

ยุทธวิธีเสริมสร้างมนุษยสัมพันธื

1.การสื่อสารเพื่อความสัมพันธ์

2.การวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล

3.การสร้างความพึงพอใจในงาน

4.เรื่อง ศิลปการฟัง

5.การนำถ้อยคำที่ผู้อื่นชื่นชอบมาใช้

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว

1.การสร้างความสัมพันธ์กับบุตร

2.การสร้างความสัมพันธ์กับภรรยา

3.การสร้างความสัมพันธ์กับบิดามารดา

4.การสร้างความสัมพันธ์กับสามี

5.การสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าของบ้าน

การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลในองค์กร  มีดังนี้

1.การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลในองค์การ

2..การสร้างความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา

3.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผูบังคับกับผู้ใต้บังคับ

4.การสร้างความสัมพันธ์กับครู  อาจารย์

5.การสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียน  นักศึกษา

6.การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ  กับผู้ให้บริการ

7.การสร้างความสัมพันธ์กับคนที่อารมณ์อ่อนไหว

บุคคลทุกคนมักต้องมีกลุ่มมีพวก ตัวอย่างกลุ่ม หรือพวกของกลุ่มบุคคล เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง ทีมงาน สมาคม ชมรม ผู้ทำงานใน หน่วยงาน เดียวกัน หรือแม้กระทั่ง การทำงานในองค์การธุรกิจก็จัดว่า เป็นกลุ่ม หรือพวกประเภทหนึ่ง ประกอบด้วย คนจำนวนมาก มาอยู่ร่วมกัน และทำงานร่วมกันในบทบาทหน้าที่ต่างๆ กันไป ซึ่งแต่ละคน มักมีเพื่อนฝูงร่วมงาน ทั้งที่อยู่ใน ระดับที่เหนือกว่า เท่ากัน และเพื่อนร่วมงานที่ต่ำกว่า ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด บุคคลเหล่านี้ต้องทำงานเกี่ยวข้อง และติดต่อสัมพันธ์กัน
ถ้าหากบรรยากาศ ของความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี มักส่งผลให้บุคคลนั้นเป็นสุข เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความสุขส่วนใหญ่ ของชีวิตจึงมักขึ้นอยู่กับ มนุษยสัมพันธ์ ทั้งในแง่การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นเพื่อให้มีความสุข ในการอยู่ร่วมกับ บุคคลอื่น และทำงานร่วมกับผู้อื่น

ความหมายของมนุษยสัมพันธ

มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการ และทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการ หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็น ศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่า คนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้ อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อ หรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยาก จะเข้าใกล้ หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อ ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มีนักจิตวิทยาให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ดังนี้

อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์ อยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า การที่ มนุษย์มีสัมพันธ์กัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคม ดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคม ระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2525 : 402 )
ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะ หรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไปถึง วิธีการจูงใจ และประสานความต้องการ ของบุคคล และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหา เพื่อทำความเข้าใจ โดยการใช้ลักษณะรูปแบบการ ติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคลเป็นผล ก่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ผลสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์การ ของแต่ละบุคคล ที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง ( 2544: 99)

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจ ในทางเศรษฐกิจ และสังคม มนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ เพื่อใช้ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดี ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล ตลอดจนองค์กรต่อองค์กร David, Keith.1977

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์ และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่ง ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดี และให้ความ ร่วมมือร่วมใจ ทำงานด้วยความเต็มใจ

มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คน และกลุ่มคน มาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจน สามารถ ทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยการทำงาน เพื่อส่วนรวมนี้จะเป็น กระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วย ความเต็มใจ เต็มความสามารถ

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจในงาน และความสามารถ ทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้

มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจ ในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่ง พึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข