วิธี การดูแลสุขภาพ ระหว่าง ตั้ง ครรภ์

ซึ่งสาเหตุของแต่ละคนเวลามาพบคุณหมอ ปกติคุณหมอจะซักประวัติและตรวจเชคหาความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มต้น แต่จากทั้งสามสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และมีความเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากตัวคุณแม่มากที่สุด แต่สาเหตุก็อาจจะแตกต่างกันไป ปัจจุบันคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ก็จะมีปัญหาความเสี่ยงสูงเนื่องจากอายุมากเป็นส่วนใหญ่

ระหว่างตั้งครรภ์ หากพบความผิดปกติแบบไหน…ควรรีบปรึกษาแพทย์

คุณหมอขอแบ่งความผิดปกติเป็น 3 ช่วงเวลา ที่ต้องหมั่นคอยสังเกตและต้องระวังเป็นพิเศษ คือ

- ช่วงไตรมาสที่ 1ส่วนใหญ่จะพบความผิดปกติที่เกิดจากคุณแม่ที่แพ้ท้องมาก มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มากๆ จนกินไม่ได้ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อย หรือคนที่เคยทำเด็กหลอดแก้ว ก็อาจจะมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
- ช่วงไตรมาสที่ 2 กลุ่มที่มีเลือดออกจากช่องคลอด มีน้ำเดินก่อนกำหนด หรือมีอาการปวดท้องน้อย
- ช่วงไตรมาสที่ 3 คนที่มีเลือดออกจากช่องคลอด มีน้ำเดินก่อนกำหนดคลอด มีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ลูกดิ้นน้อย หรือ อาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ คืออาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว และจุกลิ้นปี่ ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีอาการชักและเป็นอันตรายทั้งแม่และลูกได้

ระหว่างที่ตั้งครรภ์ถ้าคุณแม่ท่านไหนพบอาการผิดปกติที่ว่าก็ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้ เพราะหากมาพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่นๆ ก็ยังมีโอกาสสามารถรักษาได้ทัน เพราะฉะนั้นไปปรึกษาคุณหมอเป็นการด่วนจะดีที่สุด

วิธีการป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง

คุณหมอบอกว่าจริงๆ แล้วต้องบอกว่า หลังจากตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว ก็แบ่งเป็นสิ่งที่ป้องกันได้และสิ่งที่ป้องกันไม่ได้ สิ่งที่ป้องกันได้ เช่น คนที่มีโรคประจำตัว ถ้าตั้งใจว่าจะตั้งครรภ์ในอนาคตแน่ๆก็ควรทำให้โรคที่เป็นอยู่นั้นสงบก่อน และการใช้ยารักษาอาการให้สงบก็ต้องเลือกที่ปลอดภัยและไม่ตกค้างก่อนการตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นหากคิดจะมีลูก และมีโรคประจำตัวอยู่ ก็ควรวางแผนกับคุณหมอตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะโรคประจำตัวของคุณแม่อาจจะเป็นอันตรายกับลูกอย่างโรคที่พบบ่อยๆ เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ก่อนท้อง ถ้าควบคุมไม่ดีเวลาที่ท้องแล้วก็อาจจะมีโอกาสแท้งหรือลูกพิการค่อนข้างสูงทำให้ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติก่อนที่จะตั้งครรภ์ หรือถ้าท้องไปแล้วก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลอย่างจริงจัง ซึ่งปกติก็จะมีการฉีดอินซูอินเพื่อควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในเด็กได้ เพราะถ้าไม่ควบคุมให้ดีจนมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดจากคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน อาจจะตัวใหญ่หรือมีภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด แต่ในอนาคตก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวานสูง หรือเด็กอาจจะมีภาวะตัวเหลือง ซึ่งถ้าเป็นระดับต้นๆ ก็รักษาได้ไม่มีปัญหาอะไร คุณหมอก็แค่ส่องไฟ แต่ถ้าเด็กมีภาวะตัวเหลืองมากๆ ก็จำเป็นจะต้องถ่ายเลือด เพราะถ้าทิ้งไว้นานๆ เด็กก็มีโอกาสชักได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะดูและใกล้ชิดเป็นระยะตั้งแต่หลังลอด ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรงอะไร นอกจากนั้นถ้าคุณแม่มีอาการความดันโลหิตสูง ก็ต้องควบคุมให้ดีก่อน และเปลี่ยนยารักษาเป็นยาที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ เพราะยาบางตัวมีผลต่อความพิการของเด็ก ทางที่ดีที่สุดคือควรป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

นอกจากนี้คนที่มีเนื้องอกในมดลูก ถ้าตรวจพบตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง ถ้าขนาดเนื้องอกไม่ใหญ่และไม่เยอะก็ไม่ค่อยเป็นอะไรมาก แต่คนที่มีเนื้องอกก้อนใหญ่และมีจำนวนมากก็อาจจะทำให้มีโอกาสแท้งสูงขึ้น หรือถ้าท้องแล้วก็อาจจะทำให้เนื้องอกไปกดทับอวัยวะของลูกได้ ทำให้ลูกเป็นโรคเท้าปุก ( Club Foot ) คือมีการบิดเบี้ยวของอวัยวะ ซึ่งสามารถดัดได้หลังคลอด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้องอกด้วยว่าจะทำให้เกิดอันตรายกับเด็กหรือไม่ และไม่ใช่ทุกคนที่มีเนื้องอกในมดลูกแล้วจะทำให้ลูกเกิดอันตราย นานๆ ถึงจะเจอเคสแบบนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเนื้องอกก้อนไม่ใหญ่คุณหมอก็จะแนะนำให้ตั้งท้องต่อได้ เพราะถ้าไปผ่าตัดออกก่อน เวลาตั้งครรภ์อาจจะทำให้มดลูกแตกง่าย ก็จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครั้งแรกว่าจะปลอดภัยมั้ย มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรให้คลอดลูกน้อยออกมาอย่างปลอดภัยที่สุด วันนี้เรามี 5 วิธีสำหรับบำรุงครรภ์มาฝากคุณแม่ทั้งหลายกัน ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้นมาอ่านกันได้เลยครับ

วิธี การดูแลสุขภาพ ระหว่าง ตั้ง ครรภ์

5 วิธีบำรุงครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่

1. ทานอาหารที่มีประโยชน์

การเลือกรับประทานอาหารนั้นจำเป็นสำหรับคุณแม่มือใหม่เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ปวดเมื่อยตัวง่ายแล้ว ยังทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้คลอดออกมาด้วยสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย โดยอาหารที่คุณแม่ควรรับประทานนั้นต้องอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญเหล่านี้

  • ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีน, วิตามิน A, B1, B2, D, แคลเซียม และธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยในการบำรุงสมอง, ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด, ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (หากทานในปริมาณที่เหมาะสม) โดยเฉพาะไข่เป็ดควรรับประทานวันละ 1 ฟอง เพื่อเพิ่มโปรตีนบำรุงไข่ให้แข็งแรง
  • น้ำเต้าหู้ อุดมไปด้วยโปรตีน ช่วยเสริมเนื้อเยื่อในร่างกาย, บำรุงผิวพรรณสดใส, บำรุงสมอง, เพิ่มความจำ นอกจากนี้ยังเสริมโปรตีนให้ทารกและลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้นมวัวด้วย
  • งาดำ การทานงาดำวันละ 3-4 ช้อนชา นอกจากจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายแล้ว ยังบำรุงสมอง, แก้โรคนอนไม่หลับในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายพักผ่อนเต็มที่ และฮอร์โมนในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงไข่และมดลูกให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการแท้งลูก
  • เนื้อสัตว์และโปรตีนไขมันต่ำ อุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็ก ช่วยลดความเสี่ยงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
  • เนื้อปลา นอกจากจะเป็นอาหารที่ย่อยง่ายช่วยไม่ให้คุณแม่ท้องอืดแล้ว ยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ที่เสริมสร้างพัฒนาการร่างกาย, กล้ามเนื้อ และสมองให้แก่ลูกน้อยด้วย ตัวอย่างปลาที่นิยมนำมารับประทาน ได้แก่ ปลาทู, ปลาแซลมอน, ปลาสวาย, ปลาทับทิม, ปลาสลิด เป็นต้น
  • ผักใบเขียว อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิด โดยเฉพาะกรดโฟลิกและแคลเซียม ช่วยให้คุณแม่ขับถ่ายง่าย นอกจากนี้ยังเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยโดยเฉพาะเสริมสร้างเซลล์สมองและไขสันหลังให้แข็งแรง แถมยังลดโอกาสเสี่ยงต่อความผิดปกติตั้งแต่เกิดด้วย
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด อุดมไปด้วยใยอาหาร, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, กรดโฟลิก, วิตามิน B และ E ป้องกันการขาดสารอาหารในคุณแม่ตั้งครรภ์

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารสำเร็จรูปเนื่องจากมีโซเดียมปริมาณสูง หากรับประทานเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีขนมหวานและอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากอาจทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะน้ำหนักเกิน ส่งผลให้คุณแม่น้ำหนักเกินเกณฑ์ นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย

2. ออกกำลังกายแต่พอดี อย่าหักโหมเกินไป

หลายคนอาจกลัวว่าการออกกำลังกายจะทำให้แท้งลูก แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณแม่มีร่างกายสดชื่น ไม่ปวดตัวง่ายเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเพราะลูกน้อยในครรภ์, คลอดลูกง่าย, ฟื้นตัวหลังคลอดเร็วขึ้น, ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งก่อน-หลังคลอด แถมยังลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอีกด้วย โดยท่าที่คุณแม่สามารถออกกำลังกายได้ ได้แก่ Pelvic Curl, Kneeling Push-up, Squatting, Side Lying Leg Lifts, Shoulder Press และ Push Up One Leg Lift

3. หากิจกรรมทำแก้เครียด

เนื่องจากคุณแม่ส่วนใหญ่อาจวิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ทั้งตัวลูกน้อยเอง หรือแม้แต่อนาคตที่จะเกิดขึ้นหลังคลอด อันเป็นผลมาจากฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ ส่งผลให้คุณแม่มีอารมณ์สวิงเป็นครั้งคราวตลอดการตั้งครรภ์ อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ได้เช่นกัน ทั้งนี้ควรหากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียดขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคนในครอบครัวเป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและคลายความกังวล, พยายามคิดบวกอยู่เสมอ, หากิจกรรมที่ชอบทำ เช่น วาดรูป, ฟังเพลง, ออกกำลังกาย, จัดดอกไม้ รวมถึงนั่งสมาธิด้วย

4. ดูแลตัวเองให้เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ

นอกจากจะช่วยให้ดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกน้อยที่คลอดออกมามีสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดร่างกายให้สดชื่น, ใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย, ทำความสะอาดช่องปากเป็นประจำ, พักผ่อนให้เพียงพอ 8-14 ชม./วัน (หากไม่มีข้อห้ามจากคุณหมอ) สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วยท่วงท่าที่เหมาะสม นอกจากนี้ไม่ควรทำงานหรือออกกำลังกายหนักหน่วงเกินไป

5. ฝากครรภ์

การฝากครรภ์เป็นการตรวจเช็กสุขภาพร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ว่ามีความผิดปกติตรงไหนมั้ย โดยคุณหมอจะให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และให้วิตามินสำหรับบำรุงครรภ์ รวมทั้งวางแผนการดูแลสุขภาพคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะนัดติดตามสุขภาพตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ หากพบความผิดปกติขึ้นระหว่างตั้งครรภ์คุณหมอจะให้คำแนะนำและทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ทั้งนี้หากพบความผิดปกติเล็กน้อย ไม่ควรชะล่าใจและรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลกนั้นมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงครบถ้วน อย่างที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอยากให้เป็นตามที่หวังนั่นเอง

การดูแลสุขภาพหลังตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด.
งานบ้าน สามารถทำงานบ้านเบา ๆ เช่น กวาดบ้าน เช็ดถูโต๊ะ ฯลฯ ส่วนงานหนักที่ควรงดเว้น เช่น ยกของ ฯลฯ.
การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่และผักผลไม้ที่มีกากใยเพื่อป้องกันอาการท้องผูก.
การดูแลแผล ... .
การพักผ่อน ควรพักผ่อนให้มาก ๆ.

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองยังไง

ได้แก่ การรักษาความสะอาดร่างกาย ควรอาบน้ำให้ร่างกายสะอาดสดชื่น แต่ถ้าอากาศเย็นควรอาบน้ำอุ่น และให้ความอบอุ่นกับร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากช่องปากไม่สะอาดอาจติดเชื้อและส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ด้านเสื้อผ้าการแต่งกายต้องปรับให้เหมาะสม ไม่แน่น หรืออึดอัดเกินไป อีกทั้งรองเท้าควรเลี่ยง ...

การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร สุขศึกษา

การตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิแล้วได้ตัวอ่อนเกิดขึ้น ในการตั้งครรภ์ที่ปกติ ตัวอ่อนจะไปฝังที่เยื่อบุโพรงมดลูก จากนั้นตัวอ่อนซึ่งมีเซลล์เดียว ก็จะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ และ เจริญเป็นทารกต่อไป ซึ่งโดยทั่วไป ในผู้หญิงปกติที่มีประจำเดือนทุกๆประมาณ 4 สัปดาห์จะมีอายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ ...

คนท้องต้องระวังอะไรบ้าง

1. ห้ามสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ... .
2. ห้ามเครียด ... .
3. ห้ามรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ... .
4. ห้ามดื่มนมมากกว่าวันละ 1 แก้ว ... .
5. ห้ามทานยาพร่ำเพรื่อ ... .
6. ห้ามออกกำลังกายรุนแรง ... .
7. ห้ามยืนและนอนเป็นเวลานาน ... .
8. ห้ามลดน้ำหนัก.