วิธีลงทะเบียน microsoft team

เราสามารถนำ Microsoft Teams มาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัยได้ฟรีเนื่องจากมหาวิทยาลัยใช้งาน Microsoft 365 

วิธีลงทะเบียน microsoft team

Microsoft 365 username ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้อย่างไร

Microsoft 365 username ก็คือ PSU Passport username ของมหาวิทยาลัย เมื่อ Sign-in ให้เขียนเป็นรูปแบบดังนี้ username ต่อท้ายด้วย @psu.ac.th ตัวอย่างเช่น username คือ naikor.n ก็เขียนว่า [email protected] เป็นต้น (เริ่มใช้รูปแบบนี้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)

Microsoft 365 password ก็คือ รหัสผ่านอันเดียวกับ PSU Passport password

  • ถ้าคนที่ลง Microsoft Teams แล้ว Sign-in (login) ไม่ผ่าน ต้องลงทะเบียน Microsoft 365 ก่อนที่ link นี้ https://passport.psu.ac.th/index.php?content=365&action=active
  • ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป การทำ Microsoft 365 Sign-in (login) จะมีขั้นตอนเพิ่ม หลังจากตรวจสอบ Username และ Password ผ่านแล้ว จะต้องยืนยัน Code ด้วย Microsoft Authenticator 

ประโยชน์ที่จะได้

  1. นำมาใช้ทดแทน โทรศัพท์ที่โต๊ะทำงาน ของบุคลากร เพราะเราสามารถเลือกรายชื่อ PSU Passport แล้วโทรหากันได้ โดยไม่ต้องรู้เบอร์โทรอีกแล้ว ทำให้ไม่ว่าเราจะอยู่ในเครือข่าย LAN หรือ 4G ก็คุยกันได้ ไม่ต้องสนใจว่าเมื่อมีการบำรุงรักษาโทรศัพท์จะติดต่อไม่ได้ รวมทั้งในมุมของคณะ/หน่วยงาน จะประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไป ออฟฟิศจะดูโล่งขึ้น มหาวิทยาลัยไม่ต้องลงทุนใหม่ ลดโทรศัพท์ตั้งโต๊ะ ต่อไปก็เหลือเฉพาะเบอร์โทรสำนักงานเท่านั้น ทำให้โทร private ได้ทั้ง 5 วิทยาเขต หรือ โทร เป็น กลุ่ม ได้สะดวก แม้ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงาน
  2. การโทรหากันของบุคลากรในมหาวิทยาลัย จำชื่อ ง่ายกว่า จำเลขโทรศัพท์ โดยการพิมพ์ค้นหาชื่อในโปรแกรม ดีกว่า Line หรือ Social Apps อื่น ๆ เพราะเรามีรายชื่อ PSU Passport ครบอยู่แล้ว นักศึกษาค้นหาด้วย รหัสนักศึกษา หรือชื่อภาษาไทย บุคลากรค้นหาด้วยชื่อภาษาอังกฤษจะสะดวกกว่าชื่อภาษาไทย ส่วนการติดต่อคนนอกหรือส่วนตัวก็ให้ใช้อย่างอื่นไป
  3. นำมาใช้ทดแทน Line ได้ เพราะสามารถ คุย (chat) ได้ โทร (call) ได้ ส่งไฟล์ (attach file) ได้และเก็บรายการไฟล์เป็น Tab เพื่อค้นหาได้ง่ายกว่า และยังมี featured ทำ Video Call ได้ แบบสองต่อสอง และแบบกลุ่ม
  4. ในส่วน Video Call นำมาใช้ในการประชุมแบบ Meetings ได้ สามารถเปิด share desktop หรือ share application เดียว เพื่อให้อีกฝั่งดูได้ ใช้สอนงาน คุยงานที่เขียนไว้ในไฟล์เอกสารได้
  5. การ chat สามารถสร้างเป็น channel ย่อยได้ เช่น ตั้งชื่อกลุ่มทำงาน หน่วยงาน และ หน่วยงานย่อย ได้ ทำให้แยกคุย private ของแต่ละ channel ผู้ใช้งานก็จะเห็นเฉพาะที่เราเป็นสมาชิกในกลุ่ม การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มก็ง่ายมาก เลือกชื่อจากช่องค้นหารายชื่อได้ทันที ไม่ต้องไปถามชื่อ ID กันอีก

วิธีลงทะเบียน microsoft team

Microsoft Teams ใช้งานได้กับอุปกรณ์อะไรบ้าง

  1. ใช้งานได้บน Smart Phone ที่เป็น iOS และ Android โดยติดตั้งโปรแกรมผ่าน App Store และ Play Store
    สำหรับ Android https://play.google.com/store/apps/details?id=com.microsoft.teams&hl=en

    สำหรับ iOS https://apps.apple.com/us/app/microsoft-teams/id1113153706

  2. ใช้งานได้บน ระบบปฏิบัติการ Windows โดยติดตั้งโปรแกรม Microsoft Teams for Windows ทำให้โปรแกรมเปิดทำงานพร้อมกับ Windows ได้ที่ที่ https://teams.microsoft.com/downloads
  3. ใช้งานได้บน Web Browser เช่น Google Chrome ได้ด้วย โดยเข้าไปที่ URL: https://teams.microsoft.com และ Sign-in ด้วย Microsoft 365 username กับ password ทำให้รองรับผู้ใช้งานที่ใช้ Windows และ Linux น่าจะรวมถึง Mac ด้วย แม้ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม

 

นอกจากแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ Google Meet และ Zoom แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม ที่หลาย ๆ คนเลือกใช้งานสำหรับการเรียน หรือการประชุมแบบออนไลน์ ซึ่งก็คือ Microsoft Teams นั่นเอง และถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะใช้งานจนคล่องดีแล้ว สำหรับใครที่เปลี่ยนที่เรียนหรือเปลี่ยนงานใหม่และยังไม่คุ้นกับ Microsoft Teams มากนัก เราก็มีวิธีสมัคร และใช้งานมาฝากกัน แบบละเอียดกันเลย

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

Microsoft Teams คือบริการแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ จากค่าย Microsoft ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยกันได้ผ่านการแชทและวิดีโอคอล ทั้งยังสามารถเปิดแก้ไขไฟล์ร่วมกันขณะประชุมได้แบบเรียลไทม์ ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว หรือหากต้องการเชื่อมต่อระบบเข้ากับกำหนดการในปฏิทินและโน๊ตต่าง ๆ ก็ทำได้เช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นบริการที่สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุม

วิธีลงทะเบียน microsoft team

ภาพจาก : https://www.microsoft.com/en-us/microsoft-teams/group-chat-software

โดยสำหรับการใช้งานเพื่อประชุมทางไกลก็รองรับการประชุมร่วมกันสูงสุดถึง 100 คน นานสูงสุด 60 นาทีต่อครั้งเลยทีเดียว หรืออัปเกรดการใช้งานเป็น Microsoft Teams สำหรับองค์กรหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็จะสามารถรองรับการประชุมร่วมกันสูงสุดถึง 1,000 คนกันเลยทีเดียว

หรือถ้าหากเปิดใช้งานในรูปแบบงานอีเวนท์เสมือน (Virtual Event) ก็สามารถที่จะรองรับผู้ชมสูงสุดถึง 10,000 คนนานสูงสุดถึง 24 ชั่วโมง ทั้งยังสามารถอัดวิดีโอการประชุมเก็บไว้ดูภายหลังได้อีกด้วยเลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านั้น การใช้งาน แพลตฟอร์ม Microsoft Teams นี้ยังรองรับทั้งการใช้งานเว็บไซต์ (ผ่าน โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์), โปรแกรมที่ติดตั้งบนเครื่อง PC รวมไปถึง แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่าง ๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

ดาวน์โหลดโปรแกรมและแอป Microsoft Teams

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใช้งาน Microsoft Teams ผ่านโปรแกรมบนเครื่อง PC ก็สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งบนตัวเครื่องได้เลย หรือหากต้องการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Microsoft Teams ได้ทั้งจาก App Store และ Google Play Store ตามลิ้งก์ต่าง ๆ ดังนี้

ดาวน์โหลดโปรแกรม Microsoft Teams บน PC

ดาวน์โหลดแอป Microsoft Teams บนระบบปฏิบัติการ iOS

ดาวน์โหลดแอป Microsoft Teams บนระบบปฏิบัติการ Android

สมัครใช้งานแอป Microsoft Teams ด้วย Microsoft Account

สำหรับใครที่ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งาน (User Account) ของ Microsoft ก็ให้ สมัครอีเมลใหม่ ให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยสามารถเลือกสร้างอีเมลได้ทั้ง Hotmail และ Outlook (https://signup.live.com/signup) จากนั้นก็จะสามารถลงทะเบียนเพื่อเปิดใช้งาน Microsoft Teams ได้แล้ว

ส่วนคนที่มีบัญชีของ Microsoft อยู่แล้ว (ทั้งของ Hotmail และ Outlook) ก็สามารถ เปิดการใช้งาน Microsoft Teams ได้ผ่านช่องทางดังนี้

โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ให้ผู้ใช้กดที่ "ปุ่ม Sign Up" แล้วกรอกอีเมลลงไป
  • จากนั้นเลือกประเภทของการใช้งาน (สำหรับผู้ใช้ทั่วไปให้เลือกที่ "เมนู For Friends and Family") ก็จะสามารถใช้งาน Microsoft Teams ได้แล้ว
  • หรือหากใช้อีเมลของที่ทำงานหรือสถานศึกษาต่าง ๆ ที่สมัครบริการ Microsoft Teams อยู่แล้วก็สามารถล็อกอินบัญชีนั้น ๆ เพื่อเปิดใช้งาน Microsoft Teams ได้เลย

เข้าสู่ระบบ Microsoft Teams

หลังจากที่สมัครเข้าใช้งาน Microsoft Teams เรียบร้อย ระบบก็จะทำการล็อกอินเข้าใช้งานโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับการใช้งานครั้งถัดไป หรือการเข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชันและการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนนั้นผู้ใช้ก็สามารถกรอกอีเมลและรหัสผ่านลงไปได้เลย รวมทั้งยังสามารถกด "เลือก Always Sign In" ให้คงการเข้าสู่ระบบไว้ตลอดเพื่อประหยัดเวลาการล็อกอินเข้าใช้งานได้อีกด้วย

สร้างห้องประชุมบน Microsoft Teams และการแชร์ห้อง

การสร้างห้องประชุมสำหรับผู้ใช้ทั่วไป

ในส่วนของการสร้างห้องประชุมบนเว็บ Microsoft Teams นั้น สำหรับผู้ใช้ทั่วไปให้ทำดังนี้

  • กดไปที่หน้าแชทแล้วเลือก "ประชุมในตอนนี้"
  • ตั้งชื่อการประชุมแล้วกดรับลิงก์เพื่อแชร์ หรือกด เริ่มต้นการประชุม เพื่อทำการ Video Call ได้เลย
  • จากนั้นก็จะสามารถส่งคำเชิญให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมได้ทั้งการ
    • แชร์ลิงก์ เพื่อส่งตามโปรแกรมแชทอย่าง
    • แชร์ผ่านอีเมล
    • แชร์ผ่าน Outlook Calendar
    • แชร์ผ่าน Google Calendar

แต่หากถูกเพิ่มเป็นสมาชิกทีมในองค์กร (เพิ่มเป็น Guest) แล้วก็จะสามารถเข้าไปในทีมที่ถูกเชิญและสร้างห้องประชุมได้เหมือนกับการใช้งาน Microsoft Team ในองค์กร แต่จะใช้งานได้เฉพาะฟังก์ชันที่อนุญาตให้เข้าถึงได้เท่านั้น

เมนูของบัญชี Microsoft Teams ที่เป็นสมาชิกนอกองค์กร (Guest) จะเห็นได้ว่ามีเมนูทีมและไฟล์ขึ้นมาแทนที่ปฏิทินและแอปฯ ของการใช้งานแบบทั่วไป

การสร้างห้องประชุมสำหรับองค์กร

ส่วนการใช้งาน Microsoft Team สำหรับองค์กรก็จะมีเมนูทีม (Teams) เพิ่มขึ้นมา ซึ่งผู้ใช้สามารถกดที่ "ปุ่ม Create a team" เพื่อสร้างกลุ่มสำหรับการประชุม โดยจะสามารถเลือกตั้งการประชุมได้ทั้ง

  • การสร้างกลุ่มขึ้นเอง (From Scratch)
  • การสร้างกลุ่มการประชุมร่วมกับสมาชิกในองค์กร (From a group or team)

หรือหากต้องการสร้างกลุ่มการประชุมสำหรับการคุยงานประเภทต่าง ๆ ก็มี Template ให้เลือกใช้งานพร้อมแอปพลิเคชันที่จำเป็นกับการประชุมนั้น ๆ

เมื่อเลือกกลุ่มการประชุมที่ต้องการได้แล้วก็ให้

  • เลือกประเภทกลุ่ม โดยจะแบ่งออกเป็น
    • กลุ่มแบบเปิด (ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าร่วมประชุมได้)
    • กลุ่มแบบปิด (เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาต)
  • จากนั้นตั้งชื่อกลุ่ม กดสร้างกลุ่มแล้วเชิญผู้ใช้คนอื่น ๆ เข้าร่วม (สามารถกด Skip และเพิ่มสมาชิกทีหลังได้)

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็จะมีกลุ่มปรากฏขึ้นใน "เมนู Teams"

หลังจากสร้างกลุ่มเรียบร้อยก็จะสามารถเปิดห้องประชุมได้ด้วยการกดไปที่ "ปุ่ม Meet" ที่อยู่ด้านบน ในขั้นตอนนี้ก็จะสามารถแก้ไขชื่อการประชุม เปิดใช้งานกล้อง และเลือกประเภทการใช้งานเสียงได้ตามต้องการแล้วกด "ปุ่ม Join Now" และเมื่อเปิดห้องประชุมเป็นที่เรียบร้อยก็จะสามารถคัดลอกลิงก์เชิญ, เพิ่มผู้เข้าร่วมประชุม และส่งคำเชิญผ่านอีเมลได้ ส่วนการแชร์โค้ดการประชุมจะต้องกดสร้างโค้ดก่อนเปิดห้องประชุม

หรือหากต้องการตั้งเวลาประชุมล่วงหน้าก็สามารถกดเมนูเพิ่มเติมด้านข้าง "ปุ่ม Meet" แล้วเลือกที่ "เมนู Schedule a meeting" แล้วค่อยเลือกวันเวลากำหนดชั่วโมงการประชุมได้ตามต้องการเช่นกัน

เข้าห้องประชุม Microsoft Teams

การเข้าร่วมประชุม Microsoft Teams ก็สามารถ กดลิงก์ที่ Host การประชุมส่งมา ผ่านทางอีเมลหรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อร่วมประชุม หรือกรอกรหัสคำเชิญจาก Host เพื่อเข้าร่วมประชุมได้เลย (เฉพาะการประชุมภายในองค์กรเท่านั้น Guest ไม่สามารถใช้โค้ดเชิญเข้าห้องได้)

วิธีการใช้งาน Microsoft Teams เบื้องต้น

สำหรับวิธีการใช้งาน Microsoft Teams ในเบื้องต้นก็คล้ายกับบริการ Video Conference อื่น ๆ ที่ผู้ใช้จะสามารถเลือกเปิด - ปิดไมค์หรือกล้องเพื่อพูดคุยได้อย่างอิสระ โดยการใช้งานผ่านโปรแกรมบน PC จะสามารถปรับการตั้งค่าต่าง ๆ ได้ที่แถบเมนูด้านบน ส่วนการใช้งานผ่านเว็บไซต์จะเป็นเมนูแบบ Pop-up ที่จะปรากฏขึ้นเมื่อผู้ใช้เลื่อนเมาส์

โดยเมนูสำหรับ การใช้งานบนเว็บไซต์ จะมีดังต่อไปนี้

  • เปิดใช้งานกล้อง
  • ไมค์
  • แชร์หน้าจอ
  • เมนูเพิ่มเติม
  • ยกมือ
  • การแชท
  • กดดูผู้เข้าร่วมประชุม
  • วางสาย

วิธีลงทะเบียน microsoft team

ส่วนเมนูบน โปรแกรมที่ติดตั้งบนเครื่อง PC จะเป็นเมนูดังนี้

  • ผู้เข้าร่วมประชุม
  • การแชท
  • ยกมือ
  • เมนูเพิ่มเติม
  • การใช้งานกล้อง
  • ไมค์
  • แชร์หน้าจอ
  • วางสาย (หรือปิดการประชุม)

วิธีลงทะเบียน microsoft team

เปลี่ยนภาพพื้นหลังการประชุม (Changing Background)

การเปลี่ยนภาพพื้นหลังก็ทำได้ง่าย ๆ ทั้งการเปลี่ยนภาพพื้นหลังก่อนเข้าประชุมและเปลี่ยนพื้นหลังขณะประชุม โดยจะต้องทำการเปลี่ยนภาพพื้นหลังบนโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเท่านั้น การใช้งานผ่านเว็บไซต์จะไม่สามารถเปลี่ยนภาพพื้นหลังได้

เปลี่ยนภาพพื้นหลังก่อนเข้าประชุม

หากต้องการเปลี่ยนพื้นหลังก่อนประชุมก็ทำได้ดังนี้

  • กดไปที่ "Backgrounf Filter" ข้าง ๆ "ปุ่มเปิด - ปิดไมค์"
  • จากนั้นก็จะสามารถกดเลือกรูปพื้นหลังภายในโปรแกรมมาใช้งานได้แล้ว
    • ถ้าต้องการเบลอพื้นหลังก็กดที่ "Blur" ได้เลย
    • ส่วนการอัปโหลดภาพเพื่อใช้งานเป็นพื้นหลังก็สามารถทำได้โดยการกดไปที่ "+ Add New" แล้วเลือกรูปที่ต้องการได้เลย (รองรับไฟล์ .JPG, .PNG และ .BMP เท่านั้น)

เปลี่ยนพื้นหลังขณะประชุม

สำหรับใครที่ลืมเลือกพื้นหลังก่อนกดประชุมหรืออยากเปลี่ยนภาพพื้นหลังอีกรอบหลังเข้าประชุมก็ทำได้ดังนี้

  • กดไปที่ "เมนูเพิ่มเติม (...)" บนแถบเมนู
  • กดเลือกที่ "ปุ่ม Apply Background Effects"
  • จากนั้นก็จะสามารถเลือกเปลี่ยนรูปพื้นหลังได้ตามต้องการ
  • หากต้องการทดลองดูการแสดงผลภาพพื้นหลังก็สามารถกดที่ Preview ก่อน
  • เมื่อเลือกรูปที่ต้องการได้แล้วให้กด "ปุ่ม Apply" เพื่อเปลี่ยนพื้นหลังได้เลย

การแชร์หน้าจอการนำเสนอ (Presentation Screen Sharing)

การแชร์หน้าจอการนำเสนอก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • กดไปที่ "ไอคอน Share Screen" ที่แถบเมนู
  • จากนั้นเลือกหน้าต่างที่ต้องการ หรืออัปโหลดไฟล์ที่ต้องการได้เลย
  • หากต้องการเรียกใช้ไวท์บอร์ดเพื่อเขียนหรือพิมพ์ข้อความร่วมกันในหน้าการประชุมก็สามารถทำได้โดยการกดเลือกที่ Whiteboard 

 

วิธีลงทะเบียน microsoft team
วิธีลงทะเบียน microsoft team

นอกจากนี้ การแชร์สไลด์ ของ โปรแกรม Microsoft PowerPoint บน Microsoft Teams ก็จะสามารถปรับมุมมองการนำเสนอและโอนย้ายสิทธิการเลื่อนสไลด์ต่าง ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ส่วนการใช้งาน Whiteboard เพื่อจดโน้ตร่วมกันก็สามารถทำได้ทั้งการเขียน, พิมพ์ข้อความ และแทรกรูปต่าง ๆ ก็ให้คลิกที่ Whiteboard เพื่อเรียกใช้ได้เลย

 

วิธีลงทะเบียน microsoft team
วิธีลงทะเบียน microsoft team

การสร้างห้องประชุมแยก (Breaking Room)

สำหรับองค์กรใหญ่หรือการเรียนในคลาสที่ต้องการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย โฮสต์ห้องก็สามารถกดที่ "ปุ่ม Breaking Room (ข้างปุ่มยกมือ)" เพื่อสร้างห้องแยกสำหรับการประชุมส่วนตัวได้เลย โดยหลังจากกำหนดจำนวนห้องแยกและจำนวนสมาชิกภายในห้องแล้วก็จะทำได้ทั้งการจัดกลุ่มแบบสุ่มและการจับกลุ่มแบบกำหนดผู้เข้าร่วมเอง

และสามารถกำหนดจำนวนห้อง, ผู้เข้าร่วมประชุม และจัดกลุ่มได้อย่างอิสระ ซึ่งเมื่อกดสร้างห้องเรียบร้อยก็ให้กดเปิดห้องเพื่อเริ่มการประชุมย่อยได้เลย ส่วนผู้ที่ได้รับคำเชิญให้ร่วมประชุมในห้องแยกก็สามารถกด Join เพื่อเข้าร่วมประชุมได้ และหลังจากจบประชุมย่อยก็สามารถกด "ปุ่ม Join" เพื่อกลับไปที่ห้องประชุมหลักได้ด้วย

การบันทึกวิดีโอการประชุม (Record Meeting)

ในส่วนของการบันทึกวิดีโอการประชุมนั้นจะใช้งานได้เมื่อใช้บัญชีขององค์กร, สถานศึกษา หรือสมัครแพ็กเกจ Microsoft Teams เท่านั้น ผู้ใช้ทั่วไป (ฟรี) จะไม่สามารถเข้าถึงฟีเจอร์นี้ได้ โดยให้ผู้ใช้กดไปที่เมนูเพิ่มเติมแล้วเลือกที่ "เมนู Start Recording" ก็จะสามารถอัดวิดีโอการประชุมได้แล้ว (เมื่อกดบันทึกการประชุมก็จะมีการแจ้งเตือนไปยังผู้เข้าร่วมประชุมว่าขณะนี้การประชุมกำลังถูกบันทึกการสนทนาอยู่) และหากต้องการหยุดบันทึกก็ให้ไปที่เมนูเดิมแล้วกด Stop Recording แล้วกดหยุดบันทึก

สำหรับไฟล์การประชุมที่กดอัดเอาไว้ก็สามารถเข้าไปกดดูได้ที่ "เมนู Teams > Files" หรือไปที่ "เมนู Files → Microsoft Teams" ก็จะเห็นว่ามีวิดีโอการประชุมปรากฏขึ้น โดยจะสามารถเลือกกดดูหรือดาวน์โหลดลงเครื่องไว้ได้ตามต้องการ

 

วิธีลงทะเบียน microsoft team
วิธีลงทะเบียน microsoft team

การสร้างโค้ดสำหรับเข้าห้องประชุม (Generate Team Code)

โค้ดการเข้าห้องประชุมของ Microsoft Teams นั้นจะใช้งานได้เฉพาะผู้ใช้ที่เข้าใช้งานบัญชีขององค์กรและสถานศึกษาเท่านั้น โดยสามารถเข้าไปเปิดการใช้งานโค้ดการประชุมได้ภายในทีมที่สร้างขึ้นได้ดังนี้

  • กดเลือกที่เมนูเพิ่มเติม (...) แล้วไปที่ Manage team
  • จากนั้นกดที่ "เมนู Setting → Team Code"
  • กดที่ "ปุ่ม Generate" เพื่อเปิดการใช้งานโค้ดการประชุม

เมื่อได้โค้ดการประชุมแล้วก็สามารถคัดลอกโค้ดเพื่อส่งต่อให้คนอื่น ๆ ในองค์กรหรือในห้องเรียนได้เลย หรือหากต้องการปิดการใช้งานโค้ดก็ให้เลือกที่ "ปุ่ม Remove" และเปลี่ยนโค้ดการประชุมใหม่ได้ที่ "ปุ่ม Reset" เท่านี้ผู้ที่มีโค้ดเดิมก็จะไม่สามารถเข้าใช้งานในห้องเดิมได้แล้ว

การเปิดไฟล์ Microsoft Office เพื่อแก้ไข(Edit Microsoft Office Files)

แน่นอนว่าจุดเด่นอีกอย่างของ Microsoft Teams นั้นก็ได้แก่ความสามารถในการเปิดใช้งานและแก้ไขไฟล์งาน Microsoft Office บนโปรแกรม Microsoft Teams ได้อย่างง่ายดาย โดยไปที่ "เมนู Teams → File" จากนั้นเลือกอัปโหลดไฟล์ที่ต้องการขึ้นบน Microsoft Teams หรือหากต้องการสร้างไฟล์ใหม่ก็สามารถเลือกสร้างได้ทั้งไฟล์ของ

สรุปการสมัคร Microsoft Teams พร้อมวิธีใช้เบื้องต้น

จะเห็นว่าการสมัครและใช้งาน แพลตฟอร์ม Microsoft Teams นี้ก็ไม่ยุ่งยากมากมายอะไร แถมฟีเจอร์การทำงานก็มีมาให้อย่างครบครันทีเดียว ถึงแม้ว่าสำหรับการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ฟรีนั้นจะมีความสามารถที่ค่อนข้างจำกัด แต่หากเข้าร่วมเป็นสมาชิกในทีมของผู้ที่สมัครใช้งาน Microsoft Teams แล้วก็สามารถใช้งานฟีเจอร์หลาย ๆ อย่างได้ง่าย ๆ เลย