ติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ ราคาเท่าไหร่

ติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ (Cover Shield Paint Protection Film) เป็นการป้องกันสีตัวรถด้วยฟิล์ม (PU/TPU) เป็นเหมือนกับการติดฟิล์มกันรอยโทรศัพท์ โดยที่ฟิล์มจะถูกตัดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตรงตามรุ่นรถที่จะติดตั้ง ที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งตัวฟิล์มยังมี เทคโนโลยี self healing โดยฟิล์มจะซ่อมแซมตัวเองเมื่อเกิดรอย ซึ่งสามารถปกป้องสีรถยนต์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะไม่ทําให้สีรถเดิมเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังเพิ่มความเงางามให้กับสีรถเดิม และสามารถลอกออกได้โดยไม่ทิ้งรอย ไม่ทําลายสภาพสีรถเดิม และคงสภาพสีเดิมให้เหมือนใหม่

#ข้อดี

1. ป้องกันสีผิวจากแสงแดด และรังสี UV

2. ปกป้องสีรถจากคราบกรดในนํ้าฝน และคราบกรดจากฝุ่นละอองในอากาศ

3. ป้องกันรอยขีดข่วน รอยกระแทก รอยเล็บสัตว์ขนสัตว์รอยสะเก็ดหิน/สะเก็ดยางมะตอย

4. ป้องกันรอยขีดข่วนจากอุบัติเหตุเฉี่ยวชนเล็กๆน้อยๆ ที่อาจทําให้สีหรือตัวถังรถยนต์ได้รับความเสียหาย

5. มีความหนาถึง 180 ไมครอน

6. ความยืดหยุ่นที่สามารถติดได้อย่างเข้าถึงทุกมุมโค้งและแนบสนิทกับตัวถัง

7. อายุฟิล์มอยู่ได้ 2-3ปี

#ข้อเสีย

1. มีราคาสูง

2. ความเงางามสู้การเคลือบแก้วไม่ได้

ติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ ราคาเท่าไหร่

เคลือบแก้ว/ เคลือบเซรามิก (Quartz Glass Coating)

เคลือบแก้วหรือเซรามิก ก็เหมือนกับการที่เราดูแลรักษาผิวรถยนต์ ให้เงาใสคล้ายผิวกระจก เป็นชั้นเคลือบอยู่บนผิวแลคเกอร์เดิมของตัวรถ ทําให้สีของรถไม่ซีดลงคงสภาพเดิมราวกับป้ายแดง ปกป้องผิวแลคเกอร์รถจากริ้วรอยขนแมว รอยขีดข่วนต่างๆรอบๆคัน แต่การเคลือบนั้น ก็มีอยู่หลายแบบทั้งการเคลือบแก้ว การเคลือบแว็กซ์ และการเคลือบซิลิโคน ซึ่งข้อดี ข้อเสียของการเคลือบแก้วมีอะไรบ้างมาดูกันเลยครับ

#ข้อดี

1. เพิ่มความเงางามกับสีตัวรถ

2. ลดการเกาะตัวของฝุ่นละออง

3. ดูแลรักษา และทําความสะอาดได้ง่าย

4. ไล่นํ้าเกาะได้ดี เช็ดออกง่าย

5. ปกป้องสีรถให้เหมือนใหม่เสมอ

#ข้อเสีย

1. ป้องกันรอยขีดข่วน หรือกันสะเก็ดหินไม่ได้

2. ต้องกลับมาเคลือบนํ้ายาซํ้าอยู่ตลอดระยะเวลา 3-6 เดือน

** สรุป : ใครที่อยากให้รถยนต์มีความเงางามเหมือนใหม่อยู่เสมอ ขอแนะนําให้ทําการเคลือบแก้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการที่จะปกป้องสีรถยนต์ กันรอยของสะเก็ดหิน รอยขีดข่วนต่างๆ แนะนําให้ติดฟิล์ม กันรอย เพราะสามารถป้องกันรอยได้ดีกว่า การเคลือบแก้ว เขาเอาอยู่จริงๆครับ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะทําแบบไหนก็ล้วนแต่เป็นการปกป้องรถยนต์ที่คุณรักทั้งนั้น เลือกทําแบบที่ตอบโจทย์คุณ มากที่สุดจะรู้สึกว่าคุ้มค่ามากที่สุด #WrapACar #protectionfilm #glasscoating #ฟิล์มกันรอย #เคลือบแก้ว

Share

0

Related posts

ติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ ราคาเท่าไหร่

เอาใจคนรักรถสีขาว ด้วยวิธีการดูแลรักษารถสีขาวไม่ให้หมอง และอมเหลืองด้วยวิธีแบบมืออาชีพ

มกราคม 6, 2022

วิธีการรักษารถสีขาวไม่ให้หมอง และอมเหลืองด้วยวิธีง่ายๆ


Read more

ติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ ราคาเท่าไหร่

ฟิล์มใสกันรอยปกป้องสีและตัวถัง สามารถติดได้รอบคัน หมดปัญหาจุกจิกตลอดการขับขี่ เพิ่มความมั่นใจว่ารถของคุณจะได้รับการปกป้องจากรอยขีดข่วนต่างๆ ถึง 99.99 %

ที่ลามิน่า มีฟิล์มรถยนต์หลายรุ่น หลายแบบให้เลือก ตามสไตล์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มใส, ฟิล์มดำ, ฟิล์มทึบ, ฟิล์มปรอท, ฟิล์มเขียว อีกเพียบ ! ลองไปดู Series ต่าง ๆ ของเรากันได้เลย !

 

Lamina EV Boost ฟิล์มดิจิทัลบูสต์ @ AiCeramic+ 100% เพื่อยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

Lamina CM Icon Boost ฟิล์มดิจิทัลบูสต์ @ DigitalMatrix 100% เพื่อยานยนต์อัจฉริยะยุค 5G 

ติดฟิล์มรถยนต์ลามิน่า ราคาเริ่มต้นประมาณเท่าไหร่
ดูได้จากตารางด้านล่างนี้ครับ


* เป็นเพียงราคามาตรฐานเริ่มต้นเท่านั้น ท่านสามารถเชคราคาติดตั้งได้ที่ ร้านติดฟิล์มรถยนต์ หรือศูนย์ตัวแทนติดตั้ง Lamina และ Lamina Exclusive Shop ใกล้บ้านท่าน หรือโทร 02-422-2345 
  ขอแนะนำ  ระบบประเมิณราคาติดฟิล์มรถยนต์ลามิน่า (ไม่รวมค่าลอกกาว และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
 

ติดฟิล์มกันรอยรถยนต์ ราคาเท่าไหร่

 

สะดวกสบายสุดๆ !!! คุณสามารถประเมิณราคาติดตั้งฟิล์มลามิน่าบนรถยนต์ของท่านได้ด้วยตัวเองแล้ววันนี้ เพียงคลิ๊กที่  ประเมินราคาฟิล์มรถยนต์ ใส่รายละเอียด เลือกชื่อรุ่นรถ และรุ่นฟิล์มที่คุณต้องการ ระบบก็จะประเมินราคามาตรฐาน และนำคุณไปสู่การนัดหมายเพื่อติดตั้งกับทางร้านค้าภายในไม่กี่คลิ๊กครับ

 

ราคาฟิล์มรถ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง

ท่านผู้อ่านกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมละครับ ว่า “ติดฟิล์มรถยนต์ราคาต่างกัน เป็นเพราะอะไรกันแน่?” เรามาดูปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ราคาของฟิล์มแตกต่างกันได้เลยครับ

 

ปัจจัยในด้านของฟิล์ม

ชนิดของฟิล์มถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคาครับ โดยซึ่งเรียงลำดับจากราคาถูกไปจนถึงระดับราคาพรีเมียม ตามองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

1.ประเภทของฟิล์ม

1.1. ฟิล์มสี หรือฟิล์มย้อมดำ

เป็นฟิล์มที่มีแค่ชั้นฉาบหรือเคลือบสีเท่านั้น แม้จะมีราคาถูกที่สุด แต่เนื่องจากตัวฟิล์มไม่มีคุณสมบัติการกันร้อนแต่อย่างใด จึงไม่เหมาะกับการท้าแดดเมืองไทยเท่าไหร่ครับ

               

ใช้วัสดุโลหะในการเป็นตัวเคลือบฟิล์มเพื่อกันความร้อน ด้วยคุณสมบัติของโลหะที่มีความวาว, เงา ทำให้ฟิล์มประเภทนี้มีอีกชื่อเรียกว่า “ฟิล์มปรอท” นั่นเอง มีจุดเด่นที่สามารถกันร้อนได้ดี ในราคาที่ ไม่แพงมาก

 

 1.3. ฟิล์มชาโคล (หรือฟิล์มคาร์บอน)

ใช้ธาตุคาร์บอนเป็นวัสดุหลักในการดูดซับรังสีความร้อนที่จะเข้าสู่ห้องโดยสาร เป็นวัสดุที่มีต้นทุนไม่แพงมาก แต่ให้คุณสมบัติกันร้อนค่อนข้างดี ผ่านสัญญาณได้ จึงมีราคาปานกลาง เหมาะกับผู้ใช้รถทั่วไป

 

เป็นฟิล์มที่ใช้เซรามิคในการเป็นตัวกันความร้อน โดยคุณสมบัติเด่นของฟิล์มชนิดนี้คือ ป้องกันรังสี UV ได้สู ถึง 99% และมีความโดดเด่นในเรื่องมืดนอก สว่างใน และผ่านทุกสัญญาณดิจิทัล 

 

ฟิล์มประเภทนี้เป็นฟิล์มชนิดพิเศษที่มีความใสกว่าฟิล์มประเภทอื่นๆ แต่ยังคงมีคุณสมบัติกันความร้อนดีเยี่ยม มักใช้วัสดุกันร้อนระดับพรีเมียมผนึกลงในเนื้อฟิล์ม เช่น เซรามิค โลหะเงินบริสุทธิ์ เป็นต้น จึงมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับฟิล์มรุ่นทั่วไป

 

เป็นฟิล์มกรองแสงระดับพรีเมียมที่ใช้กรรมวิธีพิเศษ ผนึกชั้นฟิล์ม 2 ชั้น จนได้ความหนามากกว่าฟิล์มทั่วไป 2 เท่า (4 mil. หรือ 100 ไมครอน) จึงสามารถป้องกันการแตกกระจายของเศษกระจกจากอุบัติเหตุ หรือการทุบโจรกรรมได้อย่างดี (ทำความรู้จักเพิ่มเติมได้ที่ ฟิล์มนิรภัย)

 

ฟิล์มยุคใหม่เพื่อรองรับชีวิตยุค Digital คุณสมบัติเด่นของเนื้อฟิล์มประเภทนี้ คือการที่ฟิล์มไม่ปิดกั้นการวิ่งผ่านของสัญญาณดิจิทัลแต่อย่างใด
ไม่ว่าจะเป็น 5G, WiFi, Radar, Lidar ฯลฯ ที่ส่งผลต่อการทำงานของรถ Smart Car ทั้ง ADAS, OTA Update ทำงานได้อยากเต็มประสิทธิภาพ เป็นฟิล์มกรองแสงระดับพรีเมียมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการผลิตครับ

 อ่านถึงตรงนี้ยังไม่เห็นภาพใช่ไหม… 

เราได้เห็นประเภทต่าง ๆ ของฟิล์มกันไปแล้วใช่ไหมครับ มาดูอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาฟิล์มรถยนต์กันต่อได้เลย กับในเรื่องของ “เทคโนโลยีในการผลิตฟิล์ม” ซึ่งความต่างในกรรมวิธีการผลิตนี้เองที่ส่งผลต่อความยาก-ง่ายในการผลิต จึงทำให้ส่งผลทั้งในด้านคุณภาพของฟิล์มที่ผลิตได้ และส่งผลตามไปถึงราคาของฟิล์มรถยนต์ด้วยครับ ตามไปดูกันต่อดีกว่าว่าเทคโนโลยีในการผลิตฟิล์ม จะมีวิธีอะไรบ้าง

 

2. เทคโนโลยีในการผลิตฟิล์ม 

 

เทคโนโลยีในการผลิตฟิล์มกรองแสง มีเยอะแยะมากมายที่พัฒนาตั้งแต่สมัยก่อน จนมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอย่างในปัจจุบัน ส่งผลให้การติดฟิล์มรถยนต์ ราคาจึงแตกต่างกัน เป็นเพราะต้นทุนในการผลิตที่ต่างกันนั่นเอง เราขอสรุปให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ดังนี้ครับ

 

2.1. การฉาบสีฟิล์ม (Color Coating Film) 

ผลิตด้วยการนำกาวมาผสมกับสี และนำไปฉาบบนเนื้อฟิล์ม ต้นทุนการผลิตจึงต่ำ ประสิทธิภาพเองก็ต่ำตามมา ฟิล์มชนิดนี้จึงมีราคาที่ถูกมาก ตัวอย่างฟิล์มของประเภทนี้ก็คือ ฟิล์มย้อมสี นั่นเองครับ (ที่ Lamina เราไม่มีฟิล์มชนิดนี้นะครับ) 

 

2.2. การย้อมฝังสีฟิล์มด้วยไอร้อน (Deep Dyeing Film)

ผลิตด้วยการใช้ไอร้อนทำให้สีระเหยกลายเป็นไอแล้วลอยขึ้นไปติดที่แผ่นฟิล์ม ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้โรงงานที่มีมาตรฐาน มีการผลิตที่ซับซ้อนกว่าฟิล์มชนิดแรก ราคาจึงมีราคาสูงขึ้น ตัวอย่างฟิล์มของประเภทนี้ จะเป็นฟิล์มย้อมสีเช่นกันครับ แต่มีคุณภาพความทนทานมากกว่าฟิล์มชนิดแรก (ที่ Lamina เราไม่มีฟิล์มชนิดนี้นะครับ) 

 

2.3. การเคลือบสารด้วยไอร้อน (Thermal Evaporation Coating)

ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้จะเป็นการนำสารกันความร้อนอย่าง โลหะ (เช่น อลูมิเนียม, ทอง, อัลลอย ฯ) หรืออโลหะที่มีจุดเดือดต่ำ มาอยู่ในห้องสุญญากาศ (Vacuum Chamber) และทำความร้อนให้เกิดการระเหิดกลายเป็นไอไปผนึกฝังในเนื้อฟิล์ม ฟิล์มชนิดนี้จึงมีความทนทานและคุณภาพที่ดีขึ้นมาจาก 2 วิธีแรกที่ได้อธิบายไป โดยตัวอย่างของฟิล์มที่ผลิตด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นฟิล์มโลหะ

 

2.4. การเคลือบฟิล์มด้วยวิธีสปัตเตอริง (Magnetron Sputtering Coating)

เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและซับซ้อนที่สุดในอุตสาหหรรมฟิล์มกรองแสงยุคนี้ โดยเป็นการใช้วิธี Sputtering หรือการยิงประจุอิเล็กตรอนภายใต้สนามแม่เหล็ก ไปกระทบอนุภาคของสารกันความร้อนที่ใช้เคลือบฟิล์ม (มักเป็นสารอโลหะ อย่าง Carbon หรือ Ceramic) ทำให้สารนั้นแตกตัวในระดับอะตอม ลอยไปตามแรงผลักของกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า จนผนึกฝังเข้าไปในเนื้อฟิล์ม ทำให้ได้ฟิล์มกรองแสงที่มีความบริสุทธิ์สูงสุด (ฟังแล้วล้ำดีใช่ไหมล่ะ !?) ฉะนั้น ฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีนี้จึงมีราคาค่อนข้างสูง (แพงสุดในบรรดาเทคโนโลยีทั้งหมด แต่ได้คุณภาพที่เลิศสุด ๆ เลยครับ)

 

* สำหรับ Carbon และ Ceramic เป็นอโลหะที่มีจุดเดือดสูงกว่าจุดเดือดของโลหะถึง 4-5 เท่า โดยจุดเดือดของ Carbon และ Ceramic สูงถึงกว่า 2,000°C (อ้างอิงข้อมูลจาก Wikipedia : Ultra-high-temperature ceramics ที่กล่าวถึงข้อมูลของ Ceramic) ส่วนจุดเดือดของโลหะ อยู่ที่ประมาณ 250°C (อ้างอิงข้อมูลจาก textbooks.elsevier.com ที่ได้กล่าวถึงเรื่องจุดเดือนของ Ceramic และโลหะทั่วไป)

   

รับชมกรรมวิธีการผลิตฟิล์มจากโรงงาน Eastman ได้ที่นี่เลยครับ


 เกร็ดน่ารู้ : ความแตกต่างระหว่างสารกันความร้อนแบบโลหะ และแบบที่ไม่ใช่โลหะ


สารที่เป็นโลหะจะส่งผลต่อการสะท้อนของสัญญาณต่าง ๆ ที่ผ่านกระจกเข้ามา อย่างเช่น สัญญาณโทรศัพท์, สัญญาณ  อินเตอร์เน็ต, สัญญาณระบบ GPS, สัญญาณเซ็นเซอร์ Easy Pass หรือสัญญาณที่ต้องใช้ภายในรถยนต์

ดังนั้น ถ้าเป็นฟิล์มที่มีใช้วัสดุกันความร้อนอื่น เช่น คาร์บอน, เซรามิก สัญญาณต่าง ๆ ก็จะสามารถทะลุผ่านได้ดีกว่า

ปัจจัยในด้านของรถยนต์

รถแต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่น มีขนาดของตัวรถ, ขนาดและจำนวนของกระจกที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความยาก-ง่ายในการติดฟิล์มและปริมาณของฟิล์มกรองแสง (ปริมาณ) ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง

  1. ยี่ห้อ (Brand) และรุ่น (Car Model) ของรถยนต์
  2. ขนาดของรถ (Car Size)
 

สำหรับทั้งสองปัจจัยนี้ ทาง Lamina Films ได้แยกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ Size S, M, L, XL, XXL ตัวอย่างเช่น

  • Size S : Toyota Yaris / Toyota Vios / Honda City / Honda Jazz / Ford Fiesta / Nissan March / Mazda2
  • Size M : Honda Civic / Toyota Altis / Audi Q3 / Mitsubishi Lancer / MG3 / Nissan Juke / Honda HRV / Honda CHR
  • Size L : Honda Accord / Toyota Camry / Honda CRV / Toyota Fortuner / BMW Series 3 / Ford Everest / Mazda CX5 / Isuzu Mu-X / Mitsubishi Pajero / MG6 / Mercedes Benz C-Class / Porsche 911
  • Size XL : Lamborghini Aventador / Ferrari California / Lexus LS400 / Mercedes Benz S-Class / Porsche Cayenne
  • Size XXL : Honda Stepwagon Spada / Hyundai H1 / Toyota Alphard
 

ตัวอย่างโบรชัวร์ Lamina Films Digital Series : CERAMATRIX

 

การคิดราคาในการติดฟิล์มรถยนต์

การติดฟิล์มรถยนต์ สามารถแยกส่วนในการติดได้ด้วยนะครับ อย่างเช่น บางคันอาจติดฟิล์มที่กระจกด้านข้างรอบคันออกสีมืด แต่ติดฟิล์มที่กระจกหน้าออกโทนสว่าง โดยส่วนใหญ่จะแบ่งการคิดราคาในการติดฟิล์ม ดังนี้

  • ราคาสำหรับ กระจกบานหน้า
  • ราคาสำหรับ กระจกบานข้าง-กระจกบานหลัง (เรียกสั้นๆ ว่า รอบคัน ก็ได้เช่นกัน)
  • ราคาสำหรับ Sunroof (จำเป็นต้องสอบถามกับทางร้านค้า)
 

ตัวอย่างรถยนต์ที่ติดฟิล์มลามิน่า กระจกหน้า คนละแบบกับกระจกข้าง-กระจกหลัง

 

ก่อนเลือกซื้อฟิล์ม ควรรู้จักการอ่านค่าต่าง ๆ เหล่านี้ก่อน !

ถ้าคุณได้มีโอกาสหยิบโบรชัวร์ฟิล์ม หรือใบสเปคฟิล์มขึ้นมาดูสักใบ จะเห็นได้ว่า ข้อมูลที่แสดงภายในหน้ากระดาษนั้น จะมีทั้งข้อมูลบรรยายเกี่ยวกับความโดดเด่นของฟิล์มรุ่นนั้น ๆ และอาจจะเห็นตารางบางอย่าง ที่แสดงตัวเลขรุ่น Series กับค่าต่าง ๆ เยอะแยะเต็มไปหมด … แล้วแต่ละค่ามันคืออะไร? หมายถึงอะไร? … ตามมาดูเฉลยกันเลยครับ

ตัวอย่างตารางสเปกฟิล์มจาก Lamina Films : Lamina POP Series

รุ่นฟิล์มสี% การลดความร้อน
จากแสงแดด% การลดความร้อน
จากสปอตไลท์% แสงส่องผ่าน% การลดรังสี UV% การสะท้อนแสงPOP05NSRPSสีนิวทรัลเข้ม7088129932POP05BKSRPS สีดีพ แบล็ค607710998POP05BKSRPS สีชาโคลเข้ม59769998POP20RBBSRPS สีนิวทรัล บรอนซ์577420997POP20RBGSRPS สีนิวทรัล กรีน567220998POP20CSRPS สีชาโคลเข้ม486021998POP20NSRPSสีนิวทรัลดีพ6077279925POP35BKSRPS สีไลท์ แบล็ค5165349910POP35NSRPS สีนิวทรัลเอิร์ท5368359922POP50NSRPS สีนิวทรัลไลท์4154509913POP50SISRPS Silver5267489928

POP05NSRPSสี สีนิวทรัลเข้ม% การลดความร้อนจากแสงแดด70% การลดความร้อนจากสปอตไลท์88% แสงส่องผ่าน12% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง12POP05BKSRPS สีสีดีพ แบล็ค% การลดความร้อนจากแสงแดด60% การลดความร้อนจากสปอตไลท์77% แสงส่องผ่าน10% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง8POP05BKSRPS สีสีชาโคลเข้ม% การลดความร้อนจากแสงแดด59% การลดความร้อนจากสปอตไลท์76% แสงส่องผ่าน9% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง8POP20RBBSRPS สีสีนิวทรัลบรอนซ์ % การลดความร้อนจากแสงแดด57% การลดความร้อนจากสปอตไลท์74% แสงส่องผ่าน20% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง8POP20RBGSRPS สีสีนิวทรัลกรีน % การลดความร้อนจากแสงแดด56% การลดความร้อนจากสปอตไลท์72% แสงส่องผ่าน20% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง8POP20CSRPS สีสีชาโคลเข้ม % การลดความร้อนจากแสงแดด48% การลดความร้อนจากสปอตไลท์60% แสงส่องผ่าน21% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง8POP20NSRPSสีสีนิวทรัลดีพ % การลดความร้อนจากแสงแดด60% การลดความร้อนจากสปอตไลท์77% แสงส่องผ่าน27% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง25POP35BKSRPS สีสีไลท์ แบล็ค % การลดความร้อนจากแสงแดด51% การลดความร้อนจากสปอตไลท์65% แสงส่องผ่าน34% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง10POP35NSRPS สีสีนิวทรัลเอิร์ท % การลดความร้อนจากแสงแดด53% การลดความร้อนจากสปอตไลท์68% แสงส่องผ่าน35% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง22POP50NSRPS สีสีนิวทรัลไลท์ % การลดความร้อนจากแสงแดด41% การลดความร้อนจากสปอตไลท์54% แสงส่องผ่าน50% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง13POP50SISRPS สีSilver % การลดความร้อนจากแสงแดด52% การลดความร้อนจากสปอตไลท์67% แสงส่องผ่าน48% การลดรังสี UV99% การสะท้อนแสง28

= สัญลักษณ์แสดงถึงรุ่นฟิล์มที่ผ่านการทดสอบการใช้งานสัญญาณ Easy Pass

1. ค่าการลดความร้อนจากแสงแดด

หรือในชื่อภาษาอังกฤษ คือ Total Solar Energy Rejected (TSER) เป็นค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจากแสงแดดโดยตรง คือกันได้ท้ังความร้อนจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet),  ความร้อนจากแสงสว่าง (Visible Light) และความร้อนจากรังสีอินฟราเรด (Infrared) ดังนั้น หากตัวเลขค่านี้ยิ่งสูง ยิ่งหมายถึงว่าฟิล์มกรองแสงสามารถกันความร้อนโดยรวมได้ดี (อ่านเพิ่มเติมเรื่องของ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์)
 

2. ค่าการลดความร้อนจากสปอตไลท์

เป็นค่าที่ทดสอบการลดความร้อนของฟิล์มกับแสงจากสปอตไลท์ ซึ่งมีส่วนประกอบของรังสีที่ให้ความร้อนต่างจากแสงอาทิตย์อย่างสิ้นเชิง โดยมีสัดส่วนของรังสีอินฟราเรด (IR) มากกว่า จึงทำให้ตัวเลขค่าการลดความร้อนจากสปอตไลท์มักจะสูงมาก ๆ ระดับ 80 - 90%  ถึงแม้จะเป็นค่าที่ให้ตัวเลขกันร้อนเย้ายวนใจ แต่ต้องไม่ลืมว่า เราขับรถใต้แสงอาทิตย์ ไม่ใช่แสงสปอตไลท์นะครับ

ภาพตัวอย่าง หลอดไฟสปอตไลท์ ที่ใช้วัดค่า IR (Infrared Radiation)

 

3. แสงส่องผ่าน

 Visible Light Transmitted (VLT) คือ ตัวเลขที่บอกถึงปริมาณแสงสว่างที่สามารถส่องผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามาได้ ถ้า % ยิ่งน้อย หมายถึง สีฟิล์มจะเข้มมากขึ้น แสงสว่างก็จะยิ่งผ่านเข้ามาได้น้อยครับ (Lamina ไม่แนะนำให้ติดตั้งฟิล์มที่มีค่าแสงส่องผ่านน้อยกว่า 30% ที่กระจกบานหน้า สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาหรือขับรถเวลากลางคืนบ่อยๆ นะครับ)

4. การลดรังสี UV

UV Light Rejected (UVR) เป็นค่าที่บ่งบอกว่าฟิล์มกรองแสงรุ่นนี้กันรังสี UV ได้มากน้อยแค่ไหน โดยที่หากค่าตัวเลขยิ่งมาก หมายถึงยิ่งกันรังสี UV ไม่ให้เข้าสู่ห้องโดยสารได้มากนั่นเองครับ

5. การสะท้อนแสง

Visible Light Rejected (VLR) เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการสะท้อนแสงของฟิล์ม ยิ่งสะท้อนมาก ความเงาของฟิล์มกรองแสงก็จะยิ่งมาก แต่ถ้าค่า % การสะท้อนแสงน้อย ก็จะหมายถึง ฟิล์มที่มีความเงาต่ำ ไม่สะท้อนคล้ายกระจกเงาเมื่อมองจากภายนอกนั่นเอง (Lamina ไม่แนะนำให้ติดตั้งฟิล์มที่มีค่าสะท้อนแสงสูงกว่า 20% บนกระจกบานหน้า เนื่องจากจะสะท้อนเงาคอนโซลในเวลากลางคืนค่อนข้างชัด ส่งผลต่อทัศนวิสัยและความปลอดภัยในการขับขี่ครับ)

รู้หรือไม่!?


 ฟิล์มที่มีค่าสะท้อนแสงสูง มักจะกันความร้อนจากแสงแดดจริงได้ดี แต่ก็แลกมากับการที่ฟิล์มจะมีความเงามาก (เงาเหมือนปรอท) ในอดีตเป็นที่นิยมมาก แต่ปัจจุบันตลาดถูกทดแทนด้วยฟิล์มเซรามิค ที่ถึงแม้จะสะท้อนแสงต่ำแต่ยังกันร้อนดีเยี่ยมไม่แพ้ฟิล์มโลหะ

 

สรุป

ติดฟิล์มรถยนต์ราคาเท่าไหร่? ขึ้นอยู่กับปปัจจัยทั้งในด้านของฟิล์มเอง ว่าเป็นฟิล์มประเภทไหน? มีเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มมาอย่างไร? และปัจจัยในด้านของตัวรถยนต์ ว่าเป็นรถยนต์แบรนด์อะไร? รุ่นอะไร? ขนาดเท่าไหร่? เพราะจะส่งผลกับความยากง่ายในการติดตั้งและปริมาณแผ่นฟิล์มที่ต้องใช้ในการติดตั้งนั่นเอง สำหรับที่ลามิน่าฟิล์มของเรา มีฟิล์มกรองแสงรถยนต์ให้เลือกหลากหลายประเภท หลากหลายราคาเลยครับผม ถ้าสนใจรุ่นไหน สามารถติดต่อมาสอบถามทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลยครับ