พร บ การรักษาความมั่นคง ปลอดภัย ไซเบอร์มี กี่ มาตรา

ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....

เหตุผล:

จากปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายทั้งต่อระดับปัจเจกชนและระดับประเทศ ซึ่งนานาประเทศต่างให้ความสำคัญในการดำเนินงานเพื่อรับมือกับปัญหาภัยคุกคามดังกล่าวอย่างมาก จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร:

  • ‐ ร่างฯ ที่ ครม. รับหลักการ
  • ‐ ร่างฯ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว
  • ‐ ร่างฯ ที่เสนอ สนช. วาระหนึ่ง
  • ‐ ผลการพิจารณาในวาระที่หนึ่ง
  • ‐ รายงานกรรมาธิการ
  • ‐ ร่างที่ สนช. เห็นชอบ
  • ‐ ข้อสังเกตคณะกรรมาธิการ
  • ‐ พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

กลับ

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
พร บ การรักษาความมั่นคง ปลอดภัย ไซเบอร์มี กี่ มาตรา
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันลงนาม24 พฤษภาคม 2562
ผู้ลงนามรับรองประยุทธ์ จันทร์โอชา
วันประกาศ27 พฤษภาคม 2562
วันเริ่มใช้28 พฤษภาคม 2562
ผู้รักษาการนายกรัฐมนตรี
การพิจารณาในสภานิติบัญญัติ
วาระที่สอง28 กุมภาพันธ์ 2562
วาระที่สาม28 กุมภาพันธ์ 2562
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
  • ประมวลกฎหมายอาญา

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 เป็นพระราชบัญญัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประกาศให้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 มีเหตุผลในพระราชบัญญัติว่า เพื่อป้องกันหรือรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกเสียงเห็นชอบให้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

กฎหมายมีใจความหลักคือ การตั้งหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ และการแบ่งประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์[1]

ผู้วิจารณ์กฎหมายนี้ให้เหตุผลว่า กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐค้น เจาะระบบทำสำเนา และสอดส่องข้อมูลแบบเรียลไทม์ (real time) ได้ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลในกรณีที่เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วนและเป็นภัยคุกคามร้ายแรง รวมทั้งสามารถยึดค้นคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศได้ ด้านสฤณี อาชวานันทกุล จากกลุ่มเครือข่ายพลเมืองเน็ต แย้งว่า กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ดีเพราะประเทศไทยตกเป็นเป้าของการโจมตีไซเบอร์ที่ผ่านมา แต่ไม่ดีเพราะกฎหมายออกมาในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และตั้งใจเขียนให้สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิด คือ กรณีที่เข้าข่ายปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง[2] สฤณียังเขียนว่ากฎหมายนี้ต่างจากกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ของยุโรปที่นิยามภัยคุกคามไซเบอร์อย่างกำกวม และสอดแทรกประเด็นความมั่นคงของรัฐเข้าไปด้วย[3] ด้านสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์วอช กล่าวว่า "เป็นส่วนสำคัญของวาระที่กองทัพ และเครือข่ายฝ่ายอนุรักษนิยมที่กุมอำนาจรัฐดำเนินความพยายามมากว่า 10 ปีในการที่จะหาทางสอดส่อง ตรวจสอบ ปิดกั้น และดำเนินคดีต่อเนื้อหาของการสื่อสารออนไลน์"[2]

ด้านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมชี้แจงว่า กฎหมายนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเฝ้าระวัง สอดส่องติดตาม ข้อมูล เนื้อหาในสื่อสังคม เพราะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คุ้มครองการหมิ่นประมาทบุคคลอยู่แล้ว ส่วนกฎหมายนี้จะใช้คุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลัก รวมทั้งไม่มีการขอดูข้อมูลประชาชนและละเมิดสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการเข้าไปในสถานที่ เพื่อตรวจค้น ยึดอุปกรณ์ และการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทุกกรณีต้องอาศัยคำสั่งศาล[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศแล้ว! 2กฎหมายฮอต'ไซเบอร์ซิเคียวริตี้-คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล'". ประชาชาติ. 28 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. ↑ 2.0 2.1 "พ.ร.บ. ไซเบอร์ : สนช. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ ประกาศใช้เป็นกฎหมาย". บีบีซีไทย. 28 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. ทอาชวานันกุล, สฤณี (4 มีนาคม 2019). "4ข้อเท็จจริงต้องรู้ "พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์" มุ่งป้องกันภัยคุกคาม-ไม่ได้ให้อำนาจส่องข้อมูลบุคคล". ไทยพับลิกา. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "4ข้อเท็จจริงต้องรู้ "พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์" มุ่งป้องกันภัยคุกคาม-ไม่ได้ให้อำนาจส่องข้อมูลบุคคล". โพสต์ทูเดย์. 06 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 01-06-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)