การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


Show

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ 


การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค

โนรา
  
           เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้  มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า   มโนห์รา

            ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลายตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และจังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน

  จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น  ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่ามัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง  ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย

            ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย  เพราะการทรงตัว  การทอดแขน  ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว  ดังนี้

            ช่วงลำตัว     จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ     หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า     ไม่ว่าจะรำท่าไหน  หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ

           ช่วงวงหน้า   วงหน้า  หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ

            ช่วงหลัง      ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย

           การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  การรำโนรานั้น  ลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจาก   ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย

           วิธีการแสดง  การแสดงโนรา   เริ่มต้นจากการลงโรง   (โหมโรง)กาดโรงหรือกาดครู  (เชิญครู)  “พิธีกาดครู”  ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก  ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู  เชิญครูมาคุ้มกันรักษา  หลายตอนมีการรำพัน  สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา  เป็นต้น

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


 ลิเกป่า

            เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้  เดิมเรียกว่า  ลิเก  หรือ ยี่เก  เมื่อลิเกของภาคกลางได้รับการเผยแพร่สู่ภาคใต้จึงเติมคำว่า  ป่า  เพื่อแยกให้ชัดเจน  เมื่อประมาณ  ๓๐  ปีที่ผ่านมาลิเกป่าได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง  แถบพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะจังหวัดกระบี่  ตรัง พังงา  ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันออก     ที่เป็นแหล่งความเจริญก็มีลิเกป่าอยู่แพร่หลาย  เช่น อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อำเภอสะทิงพระ  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  ปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมลงจนถึงขนาดหาชมได้ยาก

            ลิเกป่า  มีชื่อเรียกต่างออกไป  คือ

            -  แขกแดง  เรียกตามขนบการแสดงตอนหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของลิเก คือ  การออกแขก“แขกแดง”  ตามความเข้าใจของชาวภาคใต้หมายถึงแขกอินเดีย  หรือแขกอาหรับ  บางคนเรียกแขกแดงว่า “เทศ”  และ    เรียกการออกแขกแดงว่า  “ออกเทศ”

            -  ลิเกรำมะนา  เรียกตามชื่อดนตรีหลักที่ใช้ประกอบการแสดงคือ  รำมะนา  ซึ่งชื่อนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากแสดงชนิดหนึ่งของมาลายูที่ใช้กลอง  “ราบานา”  เป็นหลักอีกต่อหนึ่งก็ได้

            -  ลิเกบก  อาจเรียกชื่อตามกลุ่มชนผู้เริ่มวัฒนธรรมด้านนี้ขึ้น  โดยชนกลุ่มนี้อาจมีสภาพวัฒนธรรมที่ล้าหลังอยู่ก่อน  เพราะ “บก”  หมายถึง  “ล้าหลัง”  ได้ด้วยลิเกบก  จึงหมายถึงของคนที่ด้อยทางวัฒนธรรม  ชื่อนี้ใช้เรียกแถบจังหวัดสงขลา
                    

  

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


 มะโย่ง

           เป็นศิลปะการแสดงละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม   กล่าวกันว่า มะโย่งเริ่มแสดงในราชสำนักเมืองปัตตานี  เมื่อประมาณ  ๔๐๐  ปีมาแล้ว  จากนั้นได้แพร่หลายไปทางรัฐกลันตัน

วิธีการแสดง    การแสดงมะโย่งเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยหัวหน้าคณะมะโย่งทำพิธีไหว้ครู  คือไหว้บรรพบุรุษผู้ฝึกสอนวิธีการแสดงมะโย่ง    เครื่องบูชาครูก็มีกำนัลด้วยเงิน ๑๒ บาท เทียน ๖ แท่ง

การไหว้ครูนั้นถ้าเล่นธรรมดา   อาจไม่ต้องมีการไหว้ครูก็ได้     แต่ถ้าเล่นในงานพิธี  หรือเล่นในงานทำบุญต่ออายุผู้ป่วยก็ต้องมีพิธีไหว้ครู   จะตัดออกไม่ได้

          โอกาสที่แสดง  ตามปกติมะโย่งแสดงได้ทุกฤดูกาล   ยกเว้นในเดือนที่ถือศีลอด  (ปอซอ)  ของชาวไทยมุสลิม   การแสดงมักแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น  งานฮารีรายอ

  

                        

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


 รองเง็ง

           การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ  เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่งเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ ๑๐ – ๑๕ นาที  ระหว่างที่พักนั้นสลับฉากด้วยรองเง็ง  เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็ง  ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง   เพื่อให้เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น   มีการเชิญผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย   ภายหลังมีการจัดตั้งคณะรองเง็งแยกต่างหากจากมะโย่ง  ผู้ที่ริเริ่มฝึกรองเง็ง  คือ ขุนจารุวิเศษศึกษากร ถือว่าเป็นบรมครูทางรองเง็ง  เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง  แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง  ๗  เพลงเท่านั้น

          วิธีการแสดง          การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ   ลำตัว  และลีลาการร่ายรำ   ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง  และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน

          การแต่งกาย   ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง   สวมหมวกไม่มีปีก    หรือใช้หมวกแขกสีดำ  นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน   สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า  ซอแกะ 

          เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง  มีเพียง  ๓  อย่าง คือ

๑.  รำมะนา   

๒.  ฆ้อง

๓.  ไวโอลิน

          โอกาสที่แสดง    เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่างๆ   ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง  เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ  ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ  เช่น  งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน




  การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง          ภาคกลางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำหลายสายเพมาะแก่การกสิกรรม  ทำนา  ทำสวน  ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์  จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆมากมาย  ทั้งตามฤดูกาล  และตามเทศกาล  ตลอดจนตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง         ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม  การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ  จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี  เช่น รำวง  เป็นต้น  และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง  ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด  แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือ  การร่ายรำที่ใช้มือ แขน  และลำตัว เช่นการจีบมือ  ม้วนมือ  ตั้งวง  การอ่อนเอียงและยักตัว  สังเกตได้จาก  รำลาวกระทบไม้  ที่ดัดแปลงมาจาก เต้นสาก  การเต้นเข้าไม้ของอีสานในการเต้นสากก็เป็นการเต้นกระโดดตามลีลาอีสาน แต่การรำลาวกระทบไม้ที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นใหม่นั้น  นุ่มนวลอ่อนหวาน กรีดกรายร่ายรำ แม้การเข้าไม้ก็นุ่มนวลมากรำวง (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});  เต้นกำรำเคียว             การแสดงพื้นเมืองภาคกลางมีหลายอย่าง เช่น รำวง  รำเหย่อย  เต้นกำรำเคียว  เพลงเรือลำตัด เพลงพวงมาลัย  ฯลฯ

การแสดงพื้นเมือภาคอีสาน


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี 


การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น




เซิ้งสวิง

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


        เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อ

ส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น   ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ   โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก  ในปี  พ.ศ. 2515

ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย   กรมศิลปากร    จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นนั้นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น

โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรีที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง จึงนับว่าเป็นศิลปะพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่งดงาม

แปลกตาออกไปอีกลักษณะหนึ่ง


การแต่งกาย

    ผู้ชาย          สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและสะเอว มือถือตะข้อง

    ผู้หญิง         นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะของผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอปลายแขน และขลิบ    ผ่าอกตลอดแนวด้วยฝ้าสีติดกัน   เช่น   สีเขียวขลิบแดงหรือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า   ห่มสไบเฉียงทับ   ตัวเสื้อสวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า (ลูกปัด)   ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะทัดดอกไม้  และ มือถือสวิง


เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง

        1. กลองยาว

        2. กลองเต๊ะ

        3. แคน

        4. ฆ้องโหม่ง

        5. กั๊บแก๊บ

        6. ฉิ่ง

        7. ฉาบ

        8. กรับ



ฟ้อนภูไท




การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค



      

ภูไท หรือผู้ไท  เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่รองลงมาจากไทยและลาว  ตามตัวเลขที่มีปรากฏรำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพวกผู้ไทอยู่ประมาณสองแสนคน  กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงและเทือกเขาภูพาน  ได้แก่ จังหวัดนครพนม  สกลนคร  เลย  และกาฬสินธุ์


                 ผู้ไทเป็นคนที่ทำงานขยันขันแข็ง  มัธยัสถ์ และโดยทั่วไปแล้วเจริญก้าวหน้ามากกว่าพวกไทย-ลาวที่อยู่ใกล้เคียง  เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พัฒนาได้เร็ว  นอกจากนี้ยังปรากฏว่าชาวผู้ไทยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของตนไว้ได้มากกว่าชนกลุ่มอื่นๆ  คนผู้ไทนั้นเป็นชาติพันธุ์ที่มีหน้าตาสวยงาม  ผิวพรรณดี  กิริยามารยาทแช่มช้อย  มีอัธยาศัยไมตรีดีด้วย


                 การฟ้อนภูไทนี้ เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไท  เดิมที่นั้นการร่ายรำแบบนี้เป็นการร่ายรำเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว  ต่อมาได้ใช้ในงานแสดงในงานสนุกสนาน รื่นเริงต่างๆด้วย


การแต่งกาย
          ชายนุ่งกางเกง  ใส่เสื้อคอกลม  มีผ้าขาวม้าคาดพุง  และมีผ้าพันศีรษะ  เป็นผู้เล่นดนตรีประกอบการฟ้อน  หญิงแต่งตัวแบบพื้นเมืองเดิม  เกล้ามวยผม  ใส่เล็บยาว  ผูกแถบผ้าสีแดงบนมวยที่เกล้าไว้


ดนตรี
          เครื่องดนตรีประกอบที่ใช้ในการเล่น  ประกอบด้วย กลองสั้น  กลองยาว  ตะโพน  ม้าล่อรำมะนา  แคน  ฉิ่ง  ฉาบ




เซิ้งกระติบข้าว

    

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค




       เซิ้งกระติบข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ ไม่มีท่าทางอะไร มีแต่กินเหล้ายกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ (มีผู้นิยามว่า ฟ้อนตามแบบกรมสรรพสามิต) โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม นอกจากให้เข้าจังหวะกลอง ตบมือไปตามเรื่องตามฤทธิ์เหล้าในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระบรมราชินีนาถต้องการการแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำจังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ไม่มีใครยอมห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร ? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่ากำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า "น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า "เซิ้งอีสาน" ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "เซิ้งกระติบข้าว"เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ขวาเครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้งอุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว 



    อุปกรณ์การแสดง
กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่งเรียกว่าก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ)
    ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรอง ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายหรือไนล่อนให้ติดกับตัวกระติบ 



    การแต่งกาย
ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียงไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้ 

   

    เครื่องดนตรี 

ที่ใช้ประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองแต๊ะ กลองยาว แคน ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ 




เซิ้งโปงลาง



การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค




      โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม 



    เครื่องแต่งกาย 

ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ 


     เครื่องดนตรี

การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น 






เซิ้งตังหวาย



การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค




 เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีขอขมาของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤษ์และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติของภาคอีสาน ครูนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ได้ประยุกต์และจัดกระบวนรำขึ้นใหม่ รวม 12 ท่า จากท่ารำแม่บทอีสาน


การแต่งกาย ห่มผ้ายมีดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูง


เครื่องดนตรี พื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ







เซิ้งกระหยัง



การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค



เซิ้งกระหยัง เป็นชุดฟ้อนที่ได้แบบอย่างมาจากเซิ้งกระติบข้าว โดยเปลี่ยนจากกระติบข้าวมาเป็นกระหยัง ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า เซิ้งกระหยังเป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวกาฬสินธุ์ โดยอำเภอกุฉินารายณ์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยดัดแปลงและนำเอาท่าฟ้อนจากเซิ้งอื่นๆ เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสาละวัน ฯลฯ เข้าผสมผสานกันแล้วมาจัดกระบวนขึ้นใหม่มีอยู่ 19 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น

ท่าไหว้ ท่าไท ท่าโปรยดอกไม้ ท่าขยับสะโพก ท่าจับคู่ถือกะหยัง ท่านั่งเกี้ยว ท่าสับหน่อไม้ ท่ายืนเกี้ยว ท่ารำส่าย ท่าเก็บผักหวาน ท่ากระหยังตั้งวง ท่าตัดหน้า ท่าสาละวัน ท่ากลองยาว ท่ารำวง ท่าชวนกลับ ท่าแยกวง ท่านั่ง ที่ได้ชื่อว่าเซิ้งกระหยังเพราะผู้ฟ้อนจะถือกระหยังเป็นส่วนประกอบในการแสดง


เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ หรือน้ำเงินขลิบขาว นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศีรษะ


เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานซึ่งประกอบด้วย กลองยาว ฉาบ และฉิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ ใช้แคน พิณ ปี่แอ้ เป็นเครื่องดำเนินทำนอง


อุปกรณ์การแสดง กระหยัง


การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


        เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อ

ส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น   ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ   โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก  ในปี  พ.ศ. 2515

ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย   กรมศิลปากร    จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นนั้นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น

โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรีที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง จึงนับว่าเป็นศิลปะพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่งดงาม

แปลกตาออกไปอีกลักษณะหนึ่ง


การแต่งกาย

    ผู้ชาย          สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและสะเอว มือถือตะข้อง

    ผู้หญิง         นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะของผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอปลายแขน และขลิบ    ผ่าอกตลอดแนวด้วยฝ้าสีติดกัน   เช่น   สีเขียวขลิบแดงหรือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า   ห่มสไบเฉียงทับ   ตัวเสื้อสวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า (ลูกปัด)   ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะทัดดอกไม้  และ มือถือสวิง


เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง

        1. กลองยาว

        2. กลองเต๊ะ

        3. แคน

        4. ฆ้องโหม่ง

        5. กั๊บแก๊บ

        6. ฉิ่ง

        7. ฉาบ

        8. กรับ


 

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ


         เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง

ฟ้อนเทียน 

 ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม   ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ  ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน  นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม   เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์     เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย   ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่  แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง                 

                การแต่งกาย            ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน    แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น   และความจำกัดของสถานที่  โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์  คือ  ถือเทียน ๑ เล่ม   การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้  ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ  คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม  และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก  แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม  แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย  มีอุบะห้อยศีรษะ

                โอกาสที่แสดง   ในงานพระราชพิธี   หรือวันสำคัญทางศาสนา  ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ   และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา 

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค

   

  

ฟ้อนเงี้้ยว

 ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่  ประกอบด้วย  ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่  แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่  การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม   จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน   หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ  มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน 

การแต่งกาย  จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง   โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก  นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า  หรือกางเกงขากว้างๆ   หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า  สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู

โอกาสที่ใช้แสดง      แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค


ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บ  เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เพราะการฟ้อนเล็บจะแสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ


การแต่งกายของผู้เล่นฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนนุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ ผมเกล้าแบบผมมวยสูง ติดดอกไม้ ห้อยอุบะ ปล่อยชายลงข้างแก้ม สวมเล็บยาวตรงนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ




กลองสะบัดชัย


กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทาให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้คนที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

บทบาทของกลองสะบัดชัย

อาจกล่าวได้ว่า การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ได้นาชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ล้านนา และบทบาทของกลองสะบัดชัยจึงอยู่ในฐานะการแสดงในงานวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น งานขันโตก งานพิธีต้อนรับแขกเมือง และขบวนแห่ ฯลฯ

แต่ในโอกาสในการใช้กลองสะบัดชัยแต่เดิมจนถึงปัจจุบันยังมีอีกหลายประการ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในวรรณคดีต่าง ๆ มากมาย สรุปได้ดังนี้

1. ใช้ตีบอกสัญญาณ

2. เป็นมหรสพ

3.เป็นเครืองประโคมฉลองชัยชนะ

4. เป็นเครืองประโคมเพือความสนุกสนาน

ประเภทของกลองสะบัดชัย

กล่าวโดยสรุปกลองสะบัดชัยในปัจจุบันนี้มี 3 ประเภทคือ

1. กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบที่มักเรียกว่า “กลองปูชา” แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่าง ๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทานองที่เรียกว่า “ระบ่า” ทั้งช้าและเร็ว บางระบามีฉาบและฆ้อง บางระบามีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว

2. กลองสองหน้า มีลูกตุบและคานหามซึ่งเป็นกลองที่จาลองแบบมาจากประเภทแรก เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งถือไม้ตีกลอง การตีลักษณะนี้อาจมีฉาบและฆ้องประกอบหรือไม่มีก็ได้ ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว ผู้ที่ตีได้และยังมีชีวิตอยู่ (2548) เท่าที่ทราบคือ ครูมานพ (พัน) ยารณะ ซึ่งเป็นศรัทธาวัดสันป่าข่อย อาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

3. กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ มีฉาบ ฆ้อง ประกอบจังหวะ และมักมีนาคไม้แกะสลักประดับซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายปัจจุบัน

กลองสะบัดชัยทั้ง 3 ประเภท ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูให้หวนกลับมาสู่ความนิยมอีก โดยประเภทแรกนอกจากจะมีการสอนให้ตีและมีบทบาทในวัด ก็ได้มีการนาเข้าสู่ขบวนซึ่งอาจมีการเคลื่อนย้ายโดยยกขึ้นค้างแล้วติดล้อเลื่อน ประเภทที่สองมีการเผยแพร่และกาลังเป็นที่นิยม สาหรับประเภทสุดท้ายก็ปรากฏแพร่หลายจนเกือบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลองล้านนา

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค





 ฟ้อนสาวไหม


ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการ เลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่ง          

 ฟ้อนสาวไหมเป็นฟ้อนทางภาคเหนือ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้ปรับปรุงสืบทอด มาจาก ครูพลอยศรี สรรพศรี ทั้งนี้ ครูพลอยศรีได้ถ่ายแบบรับท่ามาจากหญิงชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ชื่อ บัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ซึ่งคุณบัวเรียวก็ได้เรียนการฟ้อนนี้มาจากบิดาของตนอีกทีหนึ่ง


ผู้แสดง         ใช้ผู้หญิงแสดงจำนวนเท่าไรก็ได้ ปัจจุบันก็มีผู้ชายเข้ามาแสดงด้วยก็มี


การแต่งกาย  แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้


การแสดง     เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง  ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว


ดนตรี      ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมาครูนาฎศิลป์ได้เลือกสรรใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับการฟ้อนสาวไหมอย่างงดงามยิ่ง

การแสดงพื้นเมืองของไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค




การแสดงพื้นเมือง


การแสดงพื้นเมือง   หมายถึง การแสดงที่เกิดขึ้นตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ     การแสดงพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป     การแสดงพื้นเมือง เป็นการแสดงเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้

๑.      การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ

๒.    การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง

๓.     การแสดงพื้นเมืองของอีสาน

๔.     การแสดงพื้นเมืองของใต้

กล่าวได้ว่าการแสดงพื้นเมืองในแต่ละภาคจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของมูลเหตุแห่งการแสดง ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

๑.      แสดงเพื่อเซ่นสรวงหรือบูชาเทพเจ้า เป็นการแสดงเพือแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณที่ล่วงลับ

๒.    แสดงเพื่อความสนุกสนานในเทศกาลต่างๆ เป็นการรำเพื่อการรื่นเริง ของกลุ่มชนตามหมู่บ้าน ในโอกาสต่างๆ หรือเพื่อเกี้ยวพาราสีกันระหว่าง ชาย  หญิง

๓.     แสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการรำเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ หรือใช้ในโอกาสต้อนรับแขกผู้มาเยือน

๔.     แสดงเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมประเพณีเพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก