ยาคุมฉุกเฉินกินได้เดือนละกี่เม็ด

         

ยาคุมฉุกเฉินกินบ่อยไม่ดีต่อร่างกาย แต่ที่บอกว่าห้ามกินยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งในชีวิต เรื่องนี้จริงหรือมั่ว !

ยาคุมฉุกเฉินกินได้เดือนละกี่เม็ด

วิธีคุมกำเนิดแบบ emergency ที่คิดออกเป็นอันดับแรก ๆ ก็ต้องยาคุมฉุกเฉิน แต่เอะอะจะมากินยาคุมฉุกเฉินพร่ำเพรื่อก็คงไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะว่ากันว่ายาคุมฉุกเฉินกินเกิน 2 ครั้งในชีวิตจะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายมากขนาดเป็นข้อห้ามของสาว ๆ เลยทีเดียว แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ...ข้อมูลนี้จริงแค่ไหน มาศึกษาให้รู้ชัด ๆ ไปเลยดีกว่า


ยาคุมฉุกเฉินห้ามกินเกิน 2 ครั้งในชีวิต จริงไหม ?

ต้องบอกว่ายาคุมฉุกเฉินไม่ควรกินบ่อย แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นข้อห้ามว่าอย่ากินยาคุม 2 ครั้งในชีวิต เพราะจริง ๆ แล้วก็ยังไม่มีรายงานทางการแพทย์ถึงผลข้างเคียงในการกินยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งในชีวิตแต่อย่างใด ทว่าด้วยความที่ยาคุมฉุกเฉินประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำให้กินยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกวิธี กล่าวคือ ควรกินยาคุมฉุกเฉินในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด หรือกรณีถูกข่มขืน เป็นต้น

ยาคุมฉุกเฉินกินได้เดือนละกี่เม็ด

         

โดยวิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้องคือควรกินยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือพลาดในการป้องกัน และควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินเม็ดที่ 2 หลังจากรับประทานยาเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่หากอาเจียนหลังจากกินยาคุมฉุกเฉินภายใน 2 ชั่วโมง ต้องกินยาคุมฉุกเฉินแผงใหม่ทันที ทว่าก็ไม่แนะนำให้รับประทานยาคุมฉุกเฉินเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน เพราะการกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ ก็ไม่ดีต่อสุขภาพของสาว ๆ นะคะ

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อันตรายแค่ไหน

ยาคุมฉุกเฉินกินได้เดือนละกี่เม็ด

         

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินในระยะสั้น ๆ มักจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น ปวดท้อง  มีเลือดออกกะปริบกะปรอย คลื่นไส้ ประจำเดือนมาเร็วหรือมาช้ากว่าปกติ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาแต่อย่างใด

          ทว่าหากกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ หรือกินยาคุมฉุกเฉินติดต่อกันนาน ๆ อาจได้รับผลข้างเคียง เช่น เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก รวมไปถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะท้องนอกมดลูกถึง 2% เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนขนาดสูงนั่นเอง

          ส่วนประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดนั้น ยาคุมฉุกเฉินจะคงประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้มากที่สุดก็ต่อเมื่อรับประทานยาได้เร็วที่สุด (หลังมีเพศสัมพันธ์) และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะลดหลั่นกันมาตามช่วงเวลา ดังนั้นหากต้องการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยา ควรเลือกใช้ยาคุมกำเนิดแบบปกติ ร่วมกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย จะปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพมากกว่า

ยาคุมฉุกเฉินกินได้เดือนละกี่เม็ด


ยาคุมฉุกเฉินกินได้เดือนละกี่เม็ด

การคุมกำเนิดในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่ต้องอาศัยหัตถการทางการแพทย์ เช่น การทำหมัน ใส่ห่วงคุมกำเนิด แต่ในบางครั้งวิธีเหล่านี้ค่อนข้างยุ่งยาก และอาจทำให้ไม่สามารถกลับมามีลูกได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ การใช้ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนและยาคุมฉุกเฉินจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ป้องกันการตั้งครรภ์มากขึ้น แต่บางคนอาจเคยได้ยินข้อมูลที่ว่า “กินยาคุมฉุกเฉินมากเกินไป อันตรายต่อร่างกาย” แล้วเกิดความกังวล ซึ่งความจริงแล้วการกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อันตรายจริงไหม ? อย่างไร ? หาคำตอบได้จากบทความนี้

ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉิน

“ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” (Emergency Contraception Pill) สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 80 – 95% ซึ่งคำว่าฉุกเฉินในที่นี้อาจหมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ทั้งยินยอมและไม่ยินยอมโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือถุงยางอนามัยมีการฉีกขาด รั่วซึม รวมถึงกรณีที่ขาดการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนติดต่อกันเกินกว่า 3 วัน โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงตามระยะเวลาการใช้ยา และไม่ได้มีผลทำให้แท้งในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ไปแล้ว

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายเพียงชนิดเดียว มีทั้งรูปแบบรับประทาน 1 เม็ด ประกอบด้วย Levonorgestrel 1.50 มิลลิกรัม และรูปแบบรับประทาน 2 เม็ด Levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัม ทางองค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลไว้ว่าสามารถทานได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปนานที่สุด 5 วัน แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ควรรับประทานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่เกิน 72 ชั่วโมงหรือ 3 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งนั้น ๆ เพื่อให้การคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพสูงสุด 

สำหรับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มี 2 เม็ด ใน 1 กล่อง ให้รับประทานเม็ดที่ 2 ห่างจากรับประทานเม็ดแรกไป 12 ชั่วโมง ตัวยาจะเข้าไปป้องกันหรือยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีเลือดออกกะปริดกะปรอย รอบประจำเดือนเปลี่ยน หรือบางคนอาจมีอาการคัดตึงเต้านมได้

ยาคุมฉุกเฉิน กินบ่อย ๆ ไม่ดีจริงหรือ ? 

หลายคนตั้งคำถามว่า “กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ ไม่ดีจริงหรือ” คำตอบคือ จริง แม้ว่ายาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ แต่หากการรับประทานบ่อยเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเกิน 2 กล่องต่อเดือน ควรใช้ยามจำเป็นเท่านั้น 

นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินยังไม่สามารถป้องกันการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย 

ขอบคุณข้อมูลจาก who.int / pharmscphub.com 

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • จริงหรือมั่ว ? กินยาคุมแล้วเสี่ยงมะเร็ง
  • คุมกำเนิดแบบไหน ปลอดภัยสุด ?
  • ยาคุมกำเนิด 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร ?
  • ความเชื่อยาคุมฉุกเฉิน ตอน 1: กินแล้วไม่ท้อง จริงเหรอ ?

ยาคุมฉุกเฉินปี1กินได้กี่ครั้ง

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินคือการรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีขนาดฮอร์โมนเพศหญิงในปริมาณที่สูงหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ จะได้ผลดีที่สุดเมื่อรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ ถ้ากินเลยจากนี้ ประสิทธิภาพจะได้ไม่ถึงตามที่กล่าวกันไว้คือประมาณ 85-95% ไม่ได้มีข้อกำหนดว่ากินยาคุมฉุกเฉินได้ไม่เกินกี่ครั้งต่อปี ...

ยาคุมฉุกเฉินกินห่างกันกี่เดือน

วิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน ยาเม็ดฮอร์โมนเดียวโพรเจสโตเจน (0.75 mg) 2 เม็ด ทานห่างกัน 12 ชั่วโมง เม็ดแรกทันทีหรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยี่ห้อที่มีขายในประเทศไทย เช่น Madonna, Postinor, Mary Pink หรือรับประทาน levonorgestrel 1.5 mg ครั้งเดียวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์และอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน

คนเรากินยาคุมฉุกเฉินได้กี่ครั้ง

และโดยปกติ ไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งต่อเดือน เพราะอาจทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติ และประจำเดือนมาผิดปกติได้ และในบางรายงานอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีผลต่อภาวะการมีบุตรยาก หรือต่อการเกิดโรคของอวัยวะสืบพันธ์ุต่างๆ

กินยาคุมฉุกเฉิน 3ครั้งใน 1 เดือน จะเป็นอะไรไหม

การกินยาคุมฉุกเฉินหลายๆครั้งในรอบเดือนเดียวกัน อาจลดประสิทธิภาพของยาและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนไปได้ด้วย