โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

ป้ายกำกับ:DNA, NIPT, NIPT Test, Panorama NIPT, Pattern, ตรวจคัดกรอง, ตรวจดาวน์, ตรวจดาวน์ซินโดรม, ตรวจโครโมโซม, ตั้งครรภ์, ฝากครรภ์, อัลตราซาวด์, เจาะน้ำคร่ำ, เจาะเลือด, โครโมโซม, โรคพันธุกรรม

โดยปกติมนุษย์เรามีจำนวนโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ หรือ 46 โครโมโซมด้วยกันค่ะ ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมอาจเกิดได้หลายลักษณะ เช่น มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy), ขาดไป 1 แท่ง (Monosomy) หรือมีการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซม (Microdeletion)

ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมที่สามารถพบได้บ่อยก็จะเป็นโครโมโซมในคู่ที่ 13, 18 และ 21 นั่นเอง

โดยโครโมโซมทั้ง 3 คู่นี้ เมื่อมีความผิดปกติจะสามารถบ่งบอกความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนได้ ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์เข้ารับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม

มาดูกันค่ะว่าหากโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21 ผิดปกติไปจะส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง?

1. ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง คือ กลุ่มอาการพาทัวร์ (Trisomy 13) ส่งผลให้ทารกปากแหว่งเพดานโหว่ ตาเล็ก ใบหูต่ำ นิ้วมือนิ้วเท้าเกิน หูหนวก สมองพิการ

2. ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง คือ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Trisomy 18) ส่งผลให้ทารกมีศีรษะและขากรรไกรเล็ก ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติ อาจมีปากแหว่งเพดานโหว่ นิ้วมือและเท้าบิดงอผิดรูป มีหัวใจและไตพิการ ปอดและทางเดินอาหารผิดปกติ ไอคิวต่ำ

3. ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง คือ กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21) ส่งผลให้ทารกจะมีศีรษะค่อนข้างเล็กและแบน หางตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน หูเกาะต่ำกว่าปกติ ปากเล็ก อาจมีผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว พัฒนาการช้า มีไอคิวค่อนข้างต่ำ

ในการทำ ICSI หรือ เด็กหลอดแก้วนั้น มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Testing : PGT) ซึ่งตามปกติแล้วมักจะทำในตัวอ่อนระยะ Blastocyst โดยในระยะนี้สามารถดึงเซลล์ตัวอ่อนเพื่อไปตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมได้

โดยเราจะเลือกตัวอ่อนที่มีความปกติของพันธุกรรมเท่านั้น ก่อนที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของทารก และหลีกเลี่ยงการยุติการตั้งครรภ์ภายหลังได้

ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ

เทอร์เนอร์ ซินโดรม (Turner syndrome, XO)

 เป็นภาวะที่พบว่ามีความผิดปกติของโครโมโซมที่มีผลต่อการพัฒนาในเพศหญิง โดยมีการขาดหายไปของโครโมโซมเพศ จำนวน 1 แท่ง (XO) ซึ่งอัตราการพบนั้นอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 2,500-3,000 ของการเกิด โดยลักษณะอาการที่พบมากที่สุดของความผิดปกตินี้ คือ มีรูปร่างแคระแกร็น มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 140 ซม. มีความบกพร่องในการทำงานของรังไข่ ซึ่งรังไข่จะมีพัฒนาการตามปกติในตอนแรก แต่เซลล์ไข่มักจะตายก่อนเวลาอันควร และจะมีพัฒนาการผิดปกติอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

ไคลน์เฟลเตอร์ ซินโดรม (Klinefelter syndrome ,XXY)

 เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่มีผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย โดยมีโครโมโซมเพิ่มขึ้นมา 1 แท่ง (XXY) ลักษณะอาการที่พบ คือ มีอัณฑะขนาดเล็ก ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศชาย มีความบกพร่องในการเรียนรู้และการพัฒนาภาษาพูดที่ล่าช้า อย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่ามีสติปัญญาที่ปกติ แต่มักจะมีความสูงมากกว่าคนปกติทั่วไป

ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ ซินโดรม (Triple X syndrome, XXX)

 โรค Triple X syndrome เรียกอีกอย่างว่า trisomy X หรือ 47, XXX โดยมีโครโมโซม X เพิ่มขึ้นมาจำนวน 1 แท่ง (XXX) ทั้งนี้หญิงที่เป็นโรคนี้จะมีส่วนสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไป และมีความเสี่ยงสูงที่มีความพิการทางสติปัญญาและการพัฒนาทักษะการพูดที่ล่าช้า รวมถึงมีโอกาสพบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมและความผิดปกติด้านอารมณ์

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

จาค็อบส์ซินโดรม (Jacob syndrome, XYY)

เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่มีผลต่อเพศชาย โดยเพศชายที่พบความผิดปกติดังกล่าว จะมีโครโมโซม 47 แท่ง โดยมีโครโมโซม Y เพิ่มขึ้นมา 1 แท่ง (XYY) อัตราการพบนั้นอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 1,000 ของการเกิด ซึ่งความผิดปกติทางกายภาพที่พบมากที่สุดคือความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยจะสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่ออายุประมาณห้าหรือหกปี เด็กชายที่มีอาการโรค XYY มักจะมีสติปัญญาปกติ แต่อาจพบว่ามีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่ล่าช้า เช่น พัฒนาการทางด้านภาษา

สาระน่ารู้

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกาย​

เป็นโรคที่เกิดจากความ ผิดปกติของโครโมโซมในทารกแรกเกิด

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

8 Microdeletion

8 กลุ่มอาการผิดปกติของทารกที่ตรวจพบเจอ

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ

เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่มีผลต่อการพัฒนาทางร่างกายในทารกแรกเกิด

โครโมโซมที่ผิดปกติ มีกี่คู่

ข้อจำกัดการตรวจ NICE TEST

การตรวจ cell free fetal ของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาด้วย NICE เป็นการตรวจคัดกรอง (SCREENING TEST) ที่มีความแม่นยำสูงแต่ไม่ใช่การตรวจวินิจฉัย (DIAGNOSTIC TEST)