ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง

มาแล้ว…..ฉบับเต็ม อย่างเป็นทางการ ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลัง ข้าราชการครูฯ ผอ.และรองผอ.ต้องมีชั่วโมงสอน

ข่าวการศึกษามาแล้ว…..ฉบับเต็ม อย่างเป็นทางการ ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลัง ข้าราชการครูฯ ผอ.และรองผอ.ต้องมีชั่วโมงสอน

ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง
ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง
สื่อการสอนฟรี ดอทคอม เมษายน 23, 2021

0 919 Less than a minute

ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง
ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง
มาแล้ว.....ฉบับเต็ม อย่างเป็นทางการ ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลัง ข้าราชการครูฯ ผอ.และรองผอ.ต้องมีชั่วโมงสอน

มาแล้ว…..ฉบับเต็ม อย่างเป็นทางการ ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลัง ข้าราชการครูฯ ผอ.และรองผอ.ต้องมีชั่วโมงสอน

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ สื่อการสอนฟรีดอทคอม ขอนำเสนอ ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขียนโดยภารกิจนโยบายและระบบบริหารงานบุคคล

ก.ค.ศ.ปรับปรุงมาตรฐาน “ตำแหน่ง-วิทยฐานะ” ขรก.ครูฯ หวังจูงใจคนเก่งเข้าสู่ระบบการศึกษา ก้าวหน้าตามความสามารถจริง แก้เหลื่อมล้ำระหว่างสายงาน ด้าน “เลขาธิการ ก.ค.ศ.” แจ้งรายละเอียดเกณฑ์อัตรากำลังใน ร.ร.สังกัด สพฐ. กำหนดให้ ‘ผอ.-รอง ผอ.’ ต้องมี ชม.สอน

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อเร็วๆ นี้ มีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน 

โดยที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง

ซึ่งสืบเนื่องจากมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเดิม ใช้มานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ก.ค.ศ.จึงได้วิเคราะห์และพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเป็นต้องปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน

รวมถึงระยะเวลาที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะตามมาตรฐานตำแหน่ง ซึ่งยังมีความเหลื่อมล้ำในความก้าวหน้าระหว่างสายงาน (Career Path)

การปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะเป็นการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาสู่ระบบการศึกษา และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามความรู้ความสามารถจริง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ ศธ.ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ ซึ่งคุณภาพของครูคือกุญแจสำคัญ

มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะที่ปรับปรุงใหม่ มีสาระสำคัญดังนี้

มาตรฐานตำแหน่ง

1.กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงและหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนด

2.ปรับปรุงคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ส่งเสริมให้ทุกสายงานมีเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ ทั้งในสายงานของตนเองและสามารถเปลี่ยนตำแหน่งไปสู่สายงานอื่นได้ โดยคำนึงถึงการสั่งสมประสบการณ์ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตำแหน่งอื่น และประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา

มาตรฐานวิทยฐานะ

1.มุ่งเน้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ รวมทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

2.ปรับระยะเวลาการให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ กำหนดระยะเวลาเป็น 4 ปี เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวมีความเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

ประกอบกับหลักของวาระการดำรงตำแหน่งกำหนดให้อยู่ในวาระในวาระ 4 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการ

ทั้งนี้ จะสามารถลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือการดำรงวิทยฐานะจาก 4 ปี เหลือ 3 ปี ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1) เป็นผู้มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะเทียบกับเกณฑ์ผลการทดสอบ CEFR ที่คุรุสภาได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูฯ

2) เป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่เกาะ ภูเขาสูง พื้นที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ)

3) เป็นผู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (การได้รับวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น)

4) เป็นผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

นอกจากเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวแล้ว ต้องมีผลการประเมินการเลื่อนเงินเดือนระดับดีเด่น 4 รอบการประเมินติดต่อกันด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้กำหนดบทเฉพาะกาลว่า

1.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะ ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเดิมอยู่แล้ว ให้ใช้คุณสมบัติดังกล่าวได้อีก 1 ครั้ง ภายหลังจากหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานตำแหน่งฯใหม่มีผลบังคับใช้

2.มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ (เดิม) ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 17 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2548 ให้ใช้เฉพาะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานตำแหน่งฯใหม่ใช้บังคับเท่านั้น

และหากข้าราชการครูฯดังกล่าวมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของตำแหน่งใดในมาตรฐานตำแหน่งเดิม ก็ให้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นได้เช่นเดิม ทั้งนี้ เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลงให้ยกเลิกมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ (เดิม) ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 17 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2548

ผู้อำนวยการต้องสอนกี่ชั่วโมง

นอกจากนี้ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ได้ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 23 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 แจ้งปลัด ศธ., เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

เรื่อง “เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” 

โดยในการคำนวณอัตรากำลังสายงานบริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น

1.สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 40 คนลงมา ไม่กำหนดอัตรากำลังสายงานบริหาร ยกเว้น สถานศึกษาที่้ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย)

ในพื้นที่พิเศษเสี่ยงภัย ทุรกันดาร ชนกลุ่มน้อย เกาะ ภูเขา, พื้นที่ในเขตชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ตามประกาศรายชื่อสถานศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษ สังกัด สพฐ.)

โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ หรือโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) หรือโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล หรือโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ ให้กำหนดอัตรากำลังสายงานบริหารสถานศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 อัตรา

2.สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 41 คนขึ้นไป (ทุกพื้นที่) ให้กำหนดอัตรากำลังสายงานบริหารสถานศึกษา ดังนี้

จำนวนนักเรียน 41-119 คน ให้มี ผอ.สถานศึกษา 1 อัตรา ไม่มีรอง ผอ.สถานศึกษา, จำนวนนักเรียน 120-719 คน ให้มี ผอ.สถานศึกษา 1 อัตรา และรอง ผอ.สถานศึกษา 1 อัตรา, จำนวนนักเรียน 720-1,079 คน ให้มี ผอ.สถานศึกษา 1 อัตรา และรอง ผอ.สถานศึกษา 2 อัตรา

จำนวนนักเรียน 1,080-1,679 คน ให้มี ผอ.สถานศึกษา 1 อัตรา และรอง ผอ.สถานศึกษา 3 อัตรา และจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,680 คนขึ้นไป มี ผอ.สถานศึกษา 1 อัตรา และรอง ผอ.สถานศึกษา 4 อัตรา

กำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ และตำแหน่งรอง ผอ.สถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

สำหรับกลุ่มสถานศึกษาถือเป็นเพียงหนึ่งสถานศึกษา และกลุ่มสถานศึกษาที่มีนักเรียนตั้งแต่ 41 คนขึ้นไป ให้กำหนดอัตรากำลังสายงานบริหารสถานศึกษา ตามข้อ 2.

ทั้งนี้ สำหรับการคำนวณอัตรากำลังสายงานการสอน , กำหนดเวลาเรียนต่อสัปดาห์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับการคำนวณอัตรากำลังตามเกณฑ์อัตรากำลัง ดูรายละเอียดในหนังสือด้านล่าง

ผอ.ต้องสอนกี่ชั่วโมง

ในส่วนของสายงานบริหารสถานศึกษา นั้น ได้กำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง / สัปดาห์ และตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

ผอ สอนกี่คาบ

โดยกำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า ๕ ชั่วโมง/สัปดาห์ และตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า ๑๐ ชั่วโมง/สัปดาห์ ทั้งนี้ กลุ่มสถานศึกษา ถือเป็นเพียงหนึ่งสถานศึกษา และกลุ่มสถานศึกษาที่มีนักเรียนตั้งแต่ ๔๑ คนขึ้นไป ให้กำหนดอัตรากำลังสายงานบริหารสถานศึกษา ตามข้อ ๗.๑.๒

วPA สอนกี่ชั่วโมง

คุณครูการศึกษาพิเศษ ศึกษาสงเคราะห์และราชประชานุเคราะห์ จะต้องมีจำนวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวนชั่วโมงภาระงานขั้นต่ำ ไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

พนักงานราชการ สอนกี่คาบ

1 ใช้ชั่วโมงตามตารางสอน ไม่น้อยกว่าจำนวน 15 คาบ/ สัปดาห์ (ชั่วโมงสอนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชา เพิ่มเติม, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการสอนซ่อมเสริม กิจกรรมลูกเสือ, กิจกรรมชุมนุม) งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ตามปฏิบัติจริง | ตามปฏิบัติจริง ตามปฏิบัติจริง