ครูสอนกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ ของข้าราชการครู กศน.

ก.ค.ศ. ได้กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของ ขรก.ครู กศน. ไว้เมื่อปี 2553 โดยกำหนดจำนวนชั่วโมง “ภาระงานสอน” ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์


( ผู้ที่ทำผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าระบุภาระงานสอนต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะไม่ผ่าน )

แต่ภาะงานสอนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น “การสอน” อย่างเดียว แต่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ


1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
2) ภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
3) ภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

ข้อ 2) กับ 3) จะเป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมกับ 1) แล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
.
ท่านหัวหน้าหน่วย ศน. Pong Angkana บอกว่า ที่นิเทศมาพบว่าส่วนใหญ่ ขรก.ครูไม่เคยทราบเรื่องการเทียบเคียงการสอนที่ไม่ใช่การสอนในห้องเรียนนี้ ไม่เข้าใจและกังวล

ซึ่ง แม้แต่

ข้อ 1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงการสอนทั้งหมดที่มีตารางกำหนดเวลา เช่น การสอน การฝึกอบรม การสาธิต การเป็นวิทยากรในการจัดประชุมสัมมนาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดนิทรรศการ การจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ การเผยแพร่ความรู้ การแนะแนว การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน
ทั้งหมดนี้คือชั่วโมงสอนตามตารางสอน ซึ่งต้องรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนข้อ 2) กับ 3) คืออะไร
ดูรายละเอียดพร้อมหนังสือแจ้ง ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/1090140…/…/teachwork.pdf

                คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ที่มี นายสมชาย   วงศ์สวัสดิ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธาน  ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ตามกรอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้  ข้าราชการครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ  โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551  ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความสนใจ แม้บางท่านอาจจะพอทราบแล้ว  แต่คงมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบ  เพื่อให้ท่านที่ยังไม่ส่ง วฐ.1 (รุ่นสุดท้ายนี้) ได้ทราบจะได้เปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่ผ่านมา (แม้ตอนนี้วิธีการประเมินและเครื่องมือประเมินในรายละเอียดตามแนวทางใหม่ยังไม่ออกมาก็ตาม)โดยมีสาระสำคัญที่ควรทำความเข้าใจดังนี้

                1. ด้านคุณสมบัติผู้ขอรับการประเมิน

                                1.1  ไม่กำหนดคุณสมบัติด้านเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ขอรับการประเมิน

                                1.2  กำหนดภาระงานของผู้ขอรับการประเมินสายงานการสอน กำหนด 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ สำหรับสายงานบริหารและสายงานนิเทศการศึกษาต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา ทั้งนี้ การนับจำนวนชั่วโมงสอน 18 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์  เฉพาะในปีการศึกษา 2551 ให้สามารถนับชั่วโมงปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์  และ  ชั่วโมงปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนตามที่ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายอีก 6 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์  รวมเป็น 18 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์ ได้

                                1.3  ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งสายงานการสอนซึ่งผันแปรตามคุณวุฒิ  กำหนดคงเดิม  และให้สามารถนำประสบการณ์ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการสอนทั้งในสายงานการศึกษาของรัฐและเอกชนมานับรวมได้  หากประสบการณ์การดำรงตำแหน่งครูไม่ครบตามหลักเกณฑ์  มีการปรับประสบการณ์ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ที่ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการเป็น 2 ปีเท่ากันทุกสายงาน  ยกเว้นสายงานการสอนคงเดิมคือ

·       ปริญญาตรี 6 ปี ปริญญาโท 4 ปี และปริญญาเอก 2 ปีให้สอดรับกับผลงานย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน ณ วันที่ยื่นคำขอ(เดิมกำหนด 1 ปี)

·       วิทยฐานะชำนาญการเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  กำหนด 2 ปี

·       วิทยฐานะชำนาญการพิเศษเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ กำหนด 3 ปี เพื่อให้สอดรับกับตำแหน่งวิชาการ ในตำแหน่งรองศาตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและ

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ กำหนด 2 ปี

2.กำหนดการประเมิน 3 ด้าน

                2.1  การประเมินด้านวินัย  คุณธรรม  จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ  ห้ามผู้ที่

ขอรับการประเมินที่มีผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือจรรยาบรรณวิชาชีพถึงที่สุดแล้วถูกลงโทษหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์  ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ  เว้นแต่ได้พ้นจากระยะเวลาที่โทษกำหนดไว้จะประเมินพิจารณาจากการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนประวัติ(ก.พ.7)  ข้อมูลจากฐานข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)  หรือส่วนราชการ  สำนักงานก.ค.ศ. และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา(เมื่อผ่านการประเมินด้านที่ 1 แล้วจึงประเมินด้านที่ 2 และด้านที่ 3)

                2.2  การประเมินด้านคุณภาพการปฏิบัติงานแต่ละสายงานจะพิจารณาจากประจักษ์พยานและรายงานการประเมินตนเอง (SAR : Self Assessment Report) ด้านการเรียนการสอน  หรือด้านการบริหารสถานศึกษา  หรือด้านการบริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้านการนิเทศการศึกษา โดยผู้ขอรับประเมินทุกวิทยฐานะต้องจัดส่งเอกสารดังกล่าว

                                2.3 การประเมินด้านผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่จะเน้นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในเชิงพัฒนาการเป็นสำคัญ  รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นต่อคุณภาพการศึกษา  ผลต่อการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ  ผลต่อชุมชนและสังคม โดยพิจารณาจากผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอก  ของสถานศึกษา ผลการทดสอบระดับชาติ O-net, A-net, NT ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนรายบุคคล  กรณีหน่วยงานการศึกษาที่ไม่มีการทดสอบ O-net, A-net, NT  ให้ใช้ผลการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพหรือมาตรฐานการศึกษาตามที่ส่วนราชการ  หรือหน่วยงานการศึกษานั้นกำหนด  อาทิ ผลการทดสอบของสถาบันการพลศึกษา  กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                นอกจากนี้ พิจารณาจากเอกสารรายงานการวิจัยปฏิบัติการสำหรับสายผู้สอน  หรือรายงานที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ปกติที่ได้นำไปใช้แล้ว โดยกำหนดให้จัดส่งตั้งแต่วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญต้องเสนอรายงานการวิจัยและนวัตกรรม  และรายงานการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้แล้วจนเกิดผลดี  เป็นแบบอย่างได้สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ  ต้องเป็นรายงานวิจัยและนวัตกรรม  รายงานการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้แล้วจนเกิดผลดียิ่ง  เป็นความรู้ใหม่  และเป็นแบบอย่างได้

                ในกรณีที่มีการโอนหรือย้ายผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเดิม  สามารถนำมาใช้ในการประเมินใหม่ได้  ยกเว้นกรณีการเปลี่ยนสายงาน

                3.วิธีการประเมิน

                    กำหนดเป็น 2 วิธีคือ

·       การประเมินด้วยวิธีปกติ  มีกรรมการประเมิน 3 คน เป็นกรรมการจากบุคคล

ภายใน 1 คน  กรรมการจากบุคคลภายนอก 2 คนและ

·       การประเมินด้วยวิธีพิเศษมีการประเมิน 5 คน เป็นกรรมการจากบุคคลภายนอก

ทั้งหมด

                ในการประเมินด้วยวิธีพิเศษ จะทำให้ผู้มีความรู้  ความสามารถได้มีความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด (Fast Track)กำหนดให้เริ่มขอรับการประเมินได้เมื่อมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการแล้ว

                สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก.ค.ศ. กำหนด แต่มีผลงานดีเด่นเป็นพิเศษและเป็นที่ยอมรับเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถและมีผลงานดี รวมทั้งดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้าสู่วิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา  ทั้งนี้สามารถจะขอประเมินข้ามวิทยฐานะและหรือไม่ข้ามวิทยฐานะก็ได้  ประเมินโดย ก.ค.ศ. เป็นผู้พิจารณาและตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการประเมินจำนวน 5 คน

                4.เกณฑ์ผ่านการประเมินแต่ละวิทยฐานะต้องเป็นเอกฉันท์ในแต่ละด้าน ดังนี้

ด้านวินัย  คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

·       วิทยฐานะชำนาญการ  และวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ อยู่ในเกณฑ์ผ่าน

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ อยู่ในเกณฑ์ผ่านและเป็นแบบอย่างที่ดี

ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน

·       วิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

·       วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ด้านผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

·       วิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

·       วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

5.เงื่อนไขการพัฒนาก่อนการแต่งตั้ง

กำหนดเฉพาะวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  โดยให้ไปเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่

ก.ค.ศ.กำหนด เพื่อพัฒนางานในหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง หรือจำนวนหน่วยการพัฒนาที่กำหนดตามหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง
                                        ***********************************************

ครูต้องสอนกี่คาบต่อสัปดาห์

จำนวนชั่วโมงสอนในวิชาแกนหลักสอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้หรือไม่ ไม่ได้ ตามเกณฑ์ของมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดเทียบกับการศึกษาในวุฒิปริญญาทางการศึกษาต้องสอนไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพื่อที่จะได้เพียงพอต่อการสอน 210 ชั่วโมง/ปี โดยเฉลี่ย

เป็นครูสอนกี่คาบ

จำนวนชั่วโมงสอนในรายวิชาที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เรียน ใช้ชั่วโมงตามตารางสอน ไม่น้อยกว่าจำนวน 15 คาบ/ สัปดาห์ (ชั่วโมงสอนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชา เพิ่มเติม, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการสอนซ่อมเสริม กิจกรรมลูกเสือ, กิจกรรมชุมนุม) งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

การสอนปฐมวัยกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู จำแนกเป็น ๓.๑ ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ระดับปฐมวัย ไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ ๓.

ผอ สอนกี่คาบ

#ผอ. รอง ผอ. ต้องมีชั่วโมงสอน ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ และตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์