จริยธรรมในการใช้ระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์มีกี่ประการ

 จริยธรรมคอมพิวเตอร์

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์  หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนักทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย

              ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว  คอมพิวเตอร์ก็อาจจะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม  ในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดจริยธรรม ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม  เช่น
– การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำราญ
– การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
– การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
– การละเมิดลิขสิทธิ์

โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)


การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องหมายก่ออาชญากรรม

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)

อาชญากรรม คอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการ ปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม

                เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม

             การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย

             การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล

             การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ

             การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)

                การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์

              การ ควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิด พลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)

 การควบคุมอินพุท

 การควบคุมการประมวลผล

 การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)

 การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)

 การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)

 การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)

การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)

   การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ

  การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ

  แผนการป้องกันการเสียหาย

  ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)

การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)

     ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)

    การแปลงรหัส (Encryption)

    กำแพงไฟ (Fire Walls)

    การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)

    การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)

    * การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)


คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายอาชญากรรม

คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม

            1)  การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวข้อมกับคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาต การเข้าถึงอาจใช้วิธีการขโมยรหัสส่วนตัว (Personal Identification Number : PIN) หรือการเข้ารหัสผ่าน (Password)

            2)  การก่อกวนหรือทำลายข้อมูล เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปปั่นป่วนและแทรกแซงการทำงานของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

            –  ไวรัส (Virus) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น โดยทั่วไปไวรัสคอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

            (1) ไวรัสที่ทำงานบน Boot Sector หรือบางครั้งเรียก System Virus

            (2) ไวรัสที่ติดที่แฟ้มงานหรือโปรแกรม

            (3)  มาโครไวรัส (Macro Virus)

–  เวิร์ม (Worm) เป็นโปรแกรมความพิวเตอร์ที่กระจายตัวเองเช่นเดียวกับไวรัส แต่แตกต่างที่ไวรัสต้องให้มนุษย์สั่งการเรียกใช้งาน ในขณะที่เวิร์มจะแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยผ่านทางอีเมลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

–  ม้าโทรจัน 

(Trojan Horse)

 เป็นโปรแกรมท่แตกต่างจากไวรัสและเวิร์มที่ม้าโทรจันจะไม่กระจายตัวมันเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แต่จะแฝงตัวอยู่กับโปรแกรมอื่นๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล เช่น 

zipped files.exe

และเมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์

–  ข่าวหลอกลวง (Hoax) เป็นการส่งข้อความต่างๆ กันเหมือนจดหมายลูกโซ่เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด โดยอาศัยเทคนิคทางจิตวิทยา เช่น “Virtual Card for You” “โปรดอย่างดื่ม….” “โปรดอย่าใช้มือถือยี่ห้อ…

3)  การขโมยข้อมูลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

            1)  การใช้ 

Username หรือ User ID

 และรหัสผ่าน (Password)

            2)  การใช้วัตถุใดๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ

            3)  การใช้อุปกรณ์ทางชีพวภาพ (Biometric Devices)

            4)  การเรียกกลับ (Callback System)

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์

วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์

  • การใช้ username หรือ user ID และ รหัสผ่าน (password) ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในภายหลัง และควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่ แฮกเกอร์สามารถเดาได้
  • การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ ซึ่งรหัสผ่านไม่ควรใช้ปีเกิด หรือจดลงในบัตร
  • การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
  • ระบบเรียกกลับ (callback system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทำงาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอาจต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า

จาก พรบ. ดังกล่าว สามารถสรุปได้ย่อๆ ดังนี้คือ แบ่งเป็น 10 ข้อห้าม และ 10 ข้อที่ควรกระทำ

10 ข้อห้าม

1. ห้ามเจาะ ข้อมูลคนอื่นที่ตั้ง Password เอาไว้
2. ห้ามเอา Password หรือระบบรักษาความปลอดภัยมั่นคงผู้อื่นไปเปิดเผย
3. ห้ามล้วงข้อมูลคนอื่นโดยยังไม่ได้รับอนุญาต
4. ห้ามดัก e-mail ส่วนตัวคนอื่นขณะทำการส่ง e-mail
5. ห้ามแก้ไข ทำลายข้อมูลคนอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม
6. ห้ามก่อกวน ระบบคนอื่นจนระบบล่ม
7. ห้ามส่ง ฟอร์เวิร์ดเมลล์รบกวนคนอื่น จนก่อให้เกิดความเดือดร้อน
8. ห้ามรบกวน ระบบโครงสร้างทางด้านสาธารณูปโภคและความมั่นคงของประเทศ
9. ห้ามเผย โปรแกรมที่ใช้ในการทำผิด
10. ห้ามส่งต่อ ภาพลามกและเนื้อหาที่ทำลายความมั่นคงของประเทศ

10 ควรกระทำ

1. เปลี่ยน…Password ทุกๆ 3 เดือน
2. ไม่แชร์…Password กับผู้อื่น
3. ใช้ Password เสร็จต้องออกจากโปรแกรมทันที
4. ตั้งระบบป้องกันการเจาะข้อมูล
5. ควรเก็บรักษาข้อมูลของตนอย่างดีและต้องไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับผู้อื่น
6. ควรอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดก่อนดาวน์โหลดโปรแกรม
7. ควรแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพบเจอการกระทำความผิด
8. ควรบอกต่อคนใกล้ชิด เช่น เพื่อน คนในครอบครัว ให้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างระมัดระวัง
9. ควรไม่ใช้ โปรแกรมที่ผิดกฎหมาย
10. ควรไม่หลงเชื่อโฆษณาหรือเนื้อหาในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม จนอาจถูกหลอกได้


การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายจรรยา

จริยธรรมในการใช้ระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์มีกี่ประการ

          ในระบบเครือข่ายนั้นมีผู้ร่วมใช้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายควบคู่กันไป สิ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบเครือข่ายก็คืออาชญากรรมทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกัน เช่น พวกที่คอยดักจับสัญญาณผู้อื่นโดยการใช้เครื่องมือพิเศษจั๊มสายเคเบิลแล้วแอบบันทึกสัญญาณ พวกแฮกเกอร์ (Hackers) ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวังในการก่อกวน หรือทำลายข้อมูลในระบบการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมีวิธีการกระทำได้หลายวิธีคือ

  • การระมัดระวังในการใช้งาน การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต
  • หมั่นสำเนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้องกันการสูญหายและถูกทำลายของข้อมูล
  • ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส วิธีการนี้ สามารตรวจสอบ และป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการป้องกันได้ทั้งหมด เพราะว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
  • การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) ไฟร์วอลล์จะทำหน้าที่ป้องกันบุคคลอื่นบุกรุกเข้ามาเจาะเครือข่ายในองค์กรเพื่อขโมยหรือทำลายข้อมูล เป็นระยะที่ทำหน้าที่ป้องกันข้อมูลของเครือข่ายโดยการควบคุมและตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) การใช้รหัสผ่านเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นแรกที่ใช้กันมากที่สุด เมื่อมีการติดตั้งระบบเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านหากเป็นผู้อื่นที่ไม่ทราบรหัสผ่านก็ไม่สามารถเข้าไปใช้เครือข่ายได้หากเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็ควรมีการเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

     

จริยธรรมในการใช้ระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์มีกี่ประการ

          องค์กรจำนวนมากได้สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในองค์กร มีการใช้มาตรฐานเดียวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราเรียกเครือข่ายเฉพาะในองค์กรนี้ว่า อินทราเน็ต อินทราเน็ตเชื่อมโยงผู้ใช้ทุกคนในองค์กรให้ทำงานร่วมกัน มีการกำหนดการทำงานเป็นทีมที่เรียกว่า Workgroup  แต่ละทีมมีระบบข้อมูลข่าวสารของตน มีสถานีบริการข้อมูลที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ การทำงานในระดับ Workgroup  จึงเน้นเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เช่น ทีมงานทางด้านการขาย ทีมงานทางด้านบัญชี การเงิน การผลิต ฯลฯ

           อินทราเน็ต ได้รวมทีมงานต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขององค์กร มีการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกัน ใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ร่วมกัน มีระบบการทำงานที่เรียกว่า เวอร์กโฟล์ว (workflow)

           อย่างไรก็ดี การทำงานขององค์กรมิได้กำหนดขอบเขตเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น หลายองค์กรนำเครือข่ายอินทราเน็ตของตนเองเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้ การทำงานร่วมกับองค์กรอื่นเป็นหนทางของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อความรวดเร็ว ความสะดวกสบายในการทำงาน องค์กรจำนวนมากมีโฮมเพ็จของตนเองเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ มีการรับใบคำสั่งซื้อจากภายนอก หรือให้บริการหลังการขายโดยตรงทางเครือข่าย เมื่อนำเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายสาธารณะ ย่อมมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร การรักษาความปลอดภัยจึงเป็นระบบที่ต้องคำนึงถึง ถึงแม้ว่าจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายของระบบก็จำเป็นต้องทำ เพราะหากเกิดปัญหาในเรื่องข้อมูลข่าวสารหรือการรั่วไหลของข้อมูลแล้ว ความสูญเสียจะมีมากกว่า

            ระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่มีในขณะเรียกเข้าหาระบบคือ Username กับ Password  ในการ Login เข้าสู่ระบบ เช่น เรียกใช้เซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต้องทราบว่าใครเป็นผู้เรียกเข้าหา โดยให้ผู้เรียกป้อน Username กับ Password ผู้ใช้ทุกคนจะมีรหัสเฉพาะของตน จำเป็นต้องให้ผู้ใช้กำหนดรหัสที่ยากต่อการถอดโดยผู้อื่น โดยหลักการพื้นฐานควรกำหนดรหัสนี้ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ควรให้มีการผสมระหว่างตัวอักขระพิเศษและตัวเลขด้วย เช่น UhdE@726!  ไม่ควรนำเอาคำศัพท์ในพจนานุกรม หรือใช้ชื่อ ใช้วันเกิดเพราะรหัสเหล่านี้ง่ายต่อการถอด อย่านำรหัสนี้ให้กับผู้อื่น และควรเปลี่ยนรหัส เมื่อใช้ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง

           Firewall มีหน้าที่ในการจัดการบริหารที่เป็นทางผ่านเข้าออก เพื่อป้องกันการแปลกปลอมของแฮกเกอร์ภายนอกที่จะเจาะเข้าระบบ และยังควบคุมการใช้งานภายใน โดยกำหนดสิทธิ์ของแต่ละบุคคลให้ผ่านออกจากระบบได้ ดังนั้นเมื่อมีการนำเอาเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต ระบบ Firewall เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัย

           โดยปกติมักใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็น Firewall เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมีการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสองด้าน ด้านหนึ่งเชื่อมกับอินทราเน็ต อีกด้านหนึ่งเชื่อมกับ อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงเป็นเสมือนยามเฝ้าประตูทางเข้าออก เพื่อตรวจสอบการเข้าออกของบุคคล

           Firewall จะควบคุมสิทธิ์ และติดตามการใช้งาน เช่น กำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ได้ในกรอบที่จำกัด และเมื่อเข้ามาก็จะติดตามการใช้งาน หากมีความพยายามจะใช้เกินสิทธิ์ เช่น การ ล็อกออนไปยังเครื่องที่ไม่มีสิทธิ์ก็จะป้องกันไว้ ขณะเดียวกันอาจเป็นตัวตรวจสอบเอกสารหรือข้อมูลบางอย่าง เช่น จดหมาย หรือแฟ้มข้อมูล ระบบของ Firewall มีหลายระดับ ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น เราเตอร์ทำหน้าที่เป็น Firewall เพื่อควบคุมการติดต่อสื่อสาร หรือป้องกันผู้แปลกปลอม จนถึงขั้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ Firewall อันทรงประสิทธิภาพ

            การสร้างกฎระเบียบและวินัยของบุคลากรในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นหนทางให้ใช้งานได้สะดวก แต่ก็เป็นเส้นทางที่ผู้แปลกปลอมจะใช้เป็นทางเข้าเพื่อเจาะเครือข่ายในองค์กรได้ง่ายด้วยเช่นเดียวกัน

            IT Digit Serve มีความยินดีให้บริการปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อเลือก Solution สำหรับลูกค้าที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดตลอดจนถึงบริการติดตั้งระบบ Firewall อันทรงประสิทธิภาพ เพื่อปกป้องธุรกิจของคุณ


จรรยาบรรณในการใช้งานคอมพิวเตอร์

ความหมายจรรยาบรรณ
หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบการอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษา และส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม้ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติของบุคคลในแต่ละกลุ่มอาชีพ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

จรรยาบรรณพนักงานคอมพิวเตอร์
1.มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
2.ไม่ละทิ้งงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3.ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับกับผู้อื่น
4.มีความจงรักภัคดีต่อองค์กร
5.อุทิศตนให้กับวิชาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
6.ไม่ทุจริตและคอรัปชั่น
7.มีความรักและความศรัทธาต่อวิชาชีพ

จรรบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ท
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ต้องไม่สอดแนมหรือ แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธ์
7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ

อาชญากรรม 6 ประเภท
1.การเงิน
2.การละเมิดลิขสิทธ์
3.การเจาะระบบ
4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์
5.ภาพอนาจารทางออนไลน์
6.ภายในโรงเรียน

สรุป
ในการทำงานทุกอาชีพย่อมจะต้องมีจรรยาบรรณที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมใช้เป็นหลักยึดถือในการปฎิบัติงานตามหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ปราศจากอคติและข้อครหาใดๆในการทำงาน


จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท

υ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะ ตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย υ 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) υ 2.ความถูกต้อง (Accuracy) υ 3.ความเป็นเจ้าของ (Property) υ 4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่ประเด็น

จริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ในลักษณะตัวย่อว่า PAPA. •1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) •2.ความถูกต้อง (Accuracy) •3.ความเป็นเจ้าของ (Property) •4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

ดังนั้น จริยธรรมของนักสารสนเทศ จึงสรุปความหมายได้ว่า การที่ บุคคลนั้นมีการประพฤติปฏิบัติที่ดี คิดดี ท าดีต่อการน าสารสนเทศไปใช้ รวมถึง การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลได้

จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย คือข้อใด

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร