ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

Cybersecurity

  • 16 ธ.ค. 64
  • ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร
    20959

มัลแวร์ คือ อะไร

“มัลแวร์” หรือ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” คืออะไร และจะส่งผลกระทบอะไรต่อคอมพิวเตอร์ของเรา

MALWARE (มัลแวร์)  นั้นย่อมาจาก MALicious และ SoftWARE หมายถึง โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูลหรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้

ประเภทของมัลแวร์ เช่น

  • Virus (ไวรัส) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านไฟล์ที่ส่งต่อกันระหว่างเครื่อง เมื่อมันแอบเข้ามายังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเข้าไปก่อกวนการทำงานจนทำให้เกิดผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนเวลาที่เราป่วยเพราะไวรัส ร่างกายของเราก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิม คอมพิวเตอร์เองก็เช่นเดียวกัน
  • Worm (เวิร์ม) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เองโดยอัตโนมัติ คล้ายกับตัวหนอนที่ชอนไชไปยังเส้นทางต่าง ๆ จนทำให้เครือข่ายล่มหรือใช้งานไม่ได้
  • Trojan (โทรจัน) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเราว่า มันเป็นโปรแกรมทั่วไปที่ไม่มีพิษภัย แล้วให้ผู้ใช้หลงเชื่อและนำไปติดตั้ง หลังจากนั้น มันก็จะสามารถเข้าไปเล่นงานระบบของเราได้ง่าย ๆ
  • Backdoor (แบ็กดอร์) มีความสามารถในการเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้และ สามารถทำอะไรก็ได้กับเครื่องของเรา เช่น สั่งลบหรือโอนย้ายข้อมูลของเราก็ได้
  • Spyware (สปายแวร์) คอยแอบดูพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ของเรา และยังสามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปได้ด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ

ระหว่างที่เราใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟน หรือแท็บเลต กำลังดูเว็บ อ่านอีเมล หรือคุยกับเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย เจ้าพวกมัลแวร์ จะพยายามเจาะเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยมันอาจจะหลอกล่อให้เราเปิดประตูให้ ด้วยการส่งไฟล์มาทางอีเมล  หลอกให้เราคลิกลิงก์แปลกปลอม หรืออาจจะเป็นการหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมบางอย่าง ซึ่งถ้าหากเราไม่ระวังตัว และกดตกลงเปิดไฟล์หรือติดตั้งโปรแกรมนั้น ๆ ลงไปในเครื่อง ก็เท่ากับเป็นการเปิดทางให้มัลแวร์บุกเข้ามาโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง

เมื่อเจ้ามัลแวร์เข้ามาได้สำเร็จ บางตัวก็อาจจะเข้ามาสอดส่องข้อมูลของเรา ก่อนที่มันจะส่งข้อมูลสำคัญของเรากลับไปยังเจ้านายของมัน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีตั้งแต่รหัสผ่านของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ เช่น Facebook  หรือ Twitter รหัสบัตรประชาชน บัญชีธนาคาร หรือรหัสบัตรเครดิตของเรา

เจ้าหัวขโมยนี้สามารถนำข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น เขาอาจจะนำรหัสบัตรเครดิตของเราไปทำบัตรเครดิตปลอมขึ้นมา แล้วก็จับจ่ายใช้สอยอย่างสบายใจ โดยที่เราไม่รู้เรื่องเลย กว่าเราจะรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นว่า เราจะต้องตามชำระค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแทนเจ้าหัวขโมยเสียแล้ว หรือมันอาจจะสวมรอยยึด Facebook ของเราเพื่อกลั่นแกล้ง หรือใช้ประโยชน์ตามใจชอบ หรืออาจจะเข้ามา แล้วทำให้คอมพิวเตอร์ของเราไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปก็เป็นได้

จะเห็นว่ามัลแวร์นั้นสามารถก่อให้เกิดปัญหาให้กับผู้ใช้ได้ไม่น้อยเลย ถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะสามารถป้องกันมัลแวร์ตัวแสบนี้ได้อย่างไรบ้าง

  1. มีด่านป้องกันโดยติดตั้งและอัปเดตแอนติไวรัสอยู่เสมอ เสริมสร้างพลังป้องกัน
  2. มีด่านป้องกันชั้นที่ 2 โดยอัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์
  3. หยุดการติดตั้งซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน ที่ไม่รู้จักหรือต้องสงสัย
  4. ไม่คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ในอีเมลที่น่าสงสัย ถ้าไม่ไว้ใจควรถามกลับไปยังผู้ส่งอีเมลโดยตรง โดยควรสอบถามไปทาง โทรศัพท์หรือแฟกซ์ แทนการส่งอีเมลกลับไป 
  5. สำรองข้อมูลอยู่เสมอ และควรเก็บข้อมูลสำรองเหล่านั้นไว้ ในอุปกรณ์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ ระบบเครือข่ายอื่น ๆ แม้ว่ามัลแวร์นั้นจะอันตราย

หากเราระวังและป้องกันตัวเอง ตามขั้นตอนแล้วล่ะก็ เท่านี้คอมพิวเตอร์ร สมาร์ตโฟน และแท็บเลตของเราก็จะมั่นคงปลอดภัยจากมัลแวร์แล้ว

มัลแวร์ตัวร้าย กับ 5 วิธีป้องกัน

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

          เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เป็นเครื่องมือและมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายได้

          การใช้งานไอทีโดยเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน ถ้าใช้งานไม่ระมัดระวัง อาจจะก่อให้เกิดปัญหาจากการคุกคาม การหลอกลวงผ่านเครือข่ายได้ ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานไอทีอย่างเหมาะสม และปลอดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

วิธีการคุกคาม

          ภัยคุกคามทางด้านไอที มีหลากหลายวิธี โดยมีตั้งแต่ใช้ความรู้ขั้นสูงด้านไอที ไปจนถึงวิธีวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคอะไรเลย อาทิ

          1. การคุกคามโดยใช้หลักจิตวิทยา เป็นการคุกคามที่ใช้การหลอกลวงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ เช่น การสร้างหน้าเว็บไซต์เลียนแบบเว็บไซต์ที่โด่งดัง เพื่อหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจผิด แล้วหลงให้รหัสผ่าน การป้องกันคือผู้ใช้ต้องมีความระมัดระวัง ตรวจสอบ URL ให้มั่นใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้หรือไม่ก่อนกรอกข้อมูลต่างๆ ลงไป

          2. การคุกคามด้วยเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ข้อมูลและเนื้อหาที่มีอยู่ในแหล่งต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบ และในบางแหล่งข้อมูลอาจมีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น การใช้ความรุนแรง ลามกอนาจาร การพนัน ดังนั้นผู้ใช้จึงควรมีวิจารณญาณ

          3. การคุกคามโดยใช้โปรแกรม เป็นการคุกคามโดยการใช้เครื่องมือทางด้านไอที เพื่อก่อปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นๆ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวเราเรียกว่า มัลแวร์ (Malicious Software: Malware) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

                   3.1 ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) เป็นโปรแกรมที่เขียนด้วยเจตนาร้าย อาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรำคาญ หรือเกิดความเสียหายต่อระบบของผู้ใช้ ไวรัสคอมพิวเตอร์มักติดมากับไฟล์งานต่างๆ และจะทำงานเมื่อมีการเปิดไฟล์งานนั้นๆ

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

                   3.2 เวิร์ม (Worm) มีการเรียกเป็นภาษาไทยว่า “หนอนอินเตอร์เน็ต” เป็นโปรแกรมที่สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเสียหาย การป้องกันอย่างหนึ่งสำหรับเวิร์ม คือ การอัปเดตโปรแกรมที่ใช้ทั้งหมดให้ทันสมัยอยู่เสมอ ข้อสังเกตว่าคอมพิวเตอร์ติดเวิร์มหรือไม่คือ คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง , คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ , ไม่สามารถติดต่อระบบเครือข่ายได้ , ไม่สามารถทำงานในระบบอินเตอร์เน็ตได้ เป็นต้น นอกจากนี้เรายังวิธีการป้องกันเบื้องต้นก็คือ การติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัสแบบ Real time และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดเมล์ที่เราไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจ

                   3.3 ม้าโทรจัน (Trojan Horse Virus) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ “ปฏิเสธการให้บริการ” (Denial of Services)

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

                   3.4 สปายแวร์ (Spyware) เป็นโปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้ผู้ใช้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเว็บไซต์ไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณาตลอดเวลา

                   3.5 โปรแกรมโฆษณา (Advertising Supported Software: Adware) คือโปรแกรมที่สามารถทำงาน แสดง หรือดาวน์โหลดสื่อโฆษณาโดยอัตโนมัติ ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งโปรแกรมชนิดนี้ไว้

                   3.6 โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (Ransomware) เป็นมัลแวร์ (Malware) ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกับมัลแวร์ประเภทอื่นๆ คือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ แต่จะทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆ ได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกเข้ารหัส ซึ่งการถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าจะต้องใช้คีย์ในการปลดล็อคเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา ผู้ใช้งานจะต้องทำการจ่ายเงินตามข้อความ “เรียกค่าไถ่” ที่ปรากฏ

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

รูปแบบการป้องกันภัยคุกคาม

          วิธีการหนึ่งที่ใช้สำหรับการป้องกันภัยคุกคามด้านไอที คือการตรวจสอบ และยืนยันตัวตนก่อนเริ่มใช้งาน โดยสามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบดังนี้

          1. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้ เช่น ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

          2. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

          3. ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้ เช่น การสแกนนิ้วมือ ใบหน้า เสียง เป็นต้น

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย คืออะไร

การตั้งรหัสผ่าน (password) ให้ปลอดภัย

          1. ตั้งให้เป็นเอกลักษณ์เว็บไหนเว็บนั้น อย่าใช้พาสเวิร์ดเดียวแต่ครอบคลุมทุกเว็บไซต์ เช่น ตั้งเอาไว้ว่า krui3dotcom แล้วใช้กับทุกบริการ ทุกเว็บไซต์ เพื่อความสะดวก การทำแบบนี้ถือว่าอันตรายอย่างมาก เพราะถ้ามีผู้ไม่หวังดีได้พาสเวิร์ดเราไป จะสามารถเอาไปลองได้กับทุกเว็บไซต์ และทุกบริการ

          2. อย่าใช้คำทั่วไปมาตั้งพาสเวิร์ด หากเราเป็นคนชอบดอกไม้ คนก็อาจจะเดาพาสเวิร์ดของเราว่า Flower เป็นต้น

          3. ยิ่งยาวยิ่งดี พาสเวิร์ดที่มีความยาว 10 ตัวอักษรนั้นเดายากกว่าพาสเวิร์ด 8 ตัวอักษรถึง 4 พันเท่า! ถ้าเดาพาสเวิร์ด 8 ตัวอักษรใช้เวลา 1 วัน เดาพาสเวิร์ด 10 ตัวอักษรก็ต้องใช้เวลา 4000 วัน! เว็บไซต์ในทุกวันนี้มักจะต้องการพาสเวิร์ดความยาว 8 ตัวอักษรเป็นขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยจริง ๆ 10 ตัวอักษรจะดีกว่า

          4. ผสมผสานทั้งตัวเลข เครื่องหมาย ตัวอักษรใหญ่ และตัวอักษรเล็ก เมื่อเราใช้ตัวอักษรใหญ่ เล็ก ตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ ลงในพาสเวิร์ด โอกาสที่จะเดาพาสเวิร์ดถูกจะมีแค่ 1 ในหลายแสนล้าน

          5. พิมพ์พาสเวิร์ดภาษาไทยด้วยคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น จะใช้พาสเวิร์ดว่า “ครูไอที” ก็จะพิมพ์ได้ว่า “8i^wvmu” เป็นต้น

กิจกรรม

          ให้นักเรียนสืบค้นข่าวที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามจากเทคโนโลยี แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน

อ้างอิง

Nat Berman, “Five Computer Viruses That Have Ruled 2017”, http://moneyinc.com/five-computer-viruses-ruled-2017/, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

Comnetsite.com, “ไวรัส Worm”, http://www.comnetsite.com/what-is-worm.php, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์)”, https://th.wikipedia.org/, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, “spyware คืออะไร”, http://ccs.sut.ac.th/2012/index.php/helpdesk/helpdesk-faqs/249-help-241105, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

itnews4u.com, “Spyware คืออะไร แตกต่างจากไวรัสอย่างไรมาดูกัน”, http://itnews4u.com/What-is-Spyware.html, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “แอดแวร์”, https://th.wikipedia.org, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

itnews4u.com, “Adware คืออะไร ส่งผลเสียอะไรต่อคอมพิวเตอร์ของเราบ้างมาดูกัน”, http://itnews4u.com/what-is-adware-on-a-computer.html, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “Ransomware คืออะไร?”, https://www.it.chula.ac.th/th/node/3351, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

Komentaru, “Majitel? iPhone hl?s? probl?m s Touch ID – po p?echodu na verzi iOS 9.1!”, http://applehelp.cz/2015/11/07/majitele-iphone-hlasi-problem-s-touch-id-po-prechodu-na-verzi-ios-9-1/, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

Luck_MThai, “5 เทคนิค การตั้ง password ให้ปลอดภัย”, https://tech.mthai.com/tips-technic/43045.html, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “รหัสผ่าน (Password) ตั้งค่าอย่างไรให้ปลอดภัย”, https://www.it.chula.ac.th/th/node/3348, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 หน้า 167

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการใช้งานระบบ แต่พยายามลักลอบเข้ามาใช้งานด้วย วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อโจรกรรมข้อมูล ผลกําไร หรือความพอใจส่วนบุคคลก็ตาม ความเสียหาย จากผู้บุกรุกเป็นภัยคุกตามที่หนัก

ภัยคุกคามโดยใช้โปรแกรมคืออะไร

3. การคุกคามโดยใช้โปรแกรม เป็นการคุกคามโดยการใช้เครื่องมือทางด้านไอทีเพื่อก่อปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นๆ ซึ่ง เครื่องมือดังกล่าวเราเรียกว่า มัลแวร์(Malicious Software: Malware) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

โปรแกรมมุ่งร้าย มีอะไรบ้าง

Malicious Software หรือที่เรารู้จักกันว่ามัลแวร์ (Malware) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของเหล่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส (Virus), วอร์ม (Worm), โทรจัน (Trojan), สปายแวร์ (Spyware) เป็นต้น ดังนั้น ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนควรรู้ลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของมั ...

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง

Malicious Code เป็นคนโปรแกรมอันตราย ที่มุ่งประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในบางครั้งอาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัลแวร์ ซึ่งประกอบด้วยภัยคุกคามหลากหลายด้วยกันอันได้แก่ไวรัส เวิร์ม ม้าโทรจันและหมด ไวรัส