หน่วยรากฐาน (base units) มีกี่หน่วย

ในปี พ.ศ. 2503  ได้มีการประชุมร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์ จากหลาย ๆ ประเทศเพื่อตกลงให้มีระบบการวัดปริมาณต่าง ๆ เป็นระบบมาตรฐาน ที่เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ (International System of Unit หรือ System - International d' Unit) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า "SI" หรือ หน่วย เอสไอ (SI Unit)  เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์


หน่วยระบบ SI ประกอบด้วย    1.หน่วยฐาน (Base units)      2  หน่วยอนุพัทธ์ (Derived units)   มีรายละเอียดดังนี้

1. หน่วยฐาน (Base Units)

เป็นหน่วยวัดที่หน่วยวัดอื่นๆ ทั้งหมดสามารถสอบกลับมาได้  มีอยู่ทั้งสิ้น 7 หน่วย ดังนี้

1) ความยาว (Length)

หน่วยวัดความยาวในระบบหน่วยเอสไอ คือ เมตร (Metre : m) มีนิยามว่า เมตร คือ ระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา 1/299,792,458 วินาที

2) มวล (Mass)

หน่วยวัดมวลในระบบหน่วยเอสไอ คือ กิโลกรัม (Kilogram : kg) มีนิยามว่า กิโลกรัม คือ หน่วยของมวล ซึ่งเท่ากับมวลของกิโลกรัมต้นแบบระหว่างประเทศ เป็นทรงกระบอกทำจากโลหะผสมระหว่างแพลทินัมกับอิริเดียม ที่เก็บไว้ที่ BIPM ณ ชุมชน Sèvres ประเทศฝรั่งเศส

3) เวลา (Time)

หน่วยวัดเวลาในระบบหน่วยเอสไอ คือ วินาที (Second : s) มีนิยามว่า วินาที คือ ระยะเวลาเท่ากับ 9,192,631,770 รอบ ของการแผ่รังสีที่สมนัยกับการเปลี่ยนระดับไฮเพอร์ไฟน์สองระดับของอะตอม Caesium-133 (Cs133) ในสถานะพื้น (Ground State)

4) กระแสไฟฟ้า (Electric Current)

หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าในระบบหน่วยเอสไอ คือ แอมแปร์ (Ampère : A) มีนิยามว่า แอมแปร์ คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดแรงขนาด 2 x 10^-7  นิวตันต่อความยาว 1 เมตร  ระหว่างเส้นลวด 2 เส้นที่มีความยาวอนันต์ มีพื้นที่ภาคตัดขวางเล็กมาก จนไม่ต้องคำนึงถึง วางขนานกันด้วยระยะห่าง 1 เมตรในสุญญากาศ

5) อุณหภูมิ (Thermodynamic Temperature)

หน่วยวัดอุณหภูมิในระบบหน่วยเอสไอ คือ เคลวิน (Kelvin : K) มีนิยามว่า เคลวิน คือ หน่วยของอุณหภูมิทางอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเท่ากับ 1/273.16 ส่วนของอุณหภูมิอุณหพลวัตของจุดร่วมสามสถานะของน้ำ

6) ความเข้มของการส่องสว่าง (Luminous Intensity)

หน่วยวัดความเข้มของการส่องสว่างในระบบหน่วยวัดเอสไอ คือ แคนเดลา (Candela : cd) มีนิยามว่า แคนเดลา คือ ความเข้มของการส่องสว่างในทิศทางหนึ่ง ที่กำหนดให้ของแหล่งกำเนิดแสงเอกรงค์ ซึ่งแผ่รังสีเดียวที่ความถี่ 540 x 10^12 เฮิรตซ์ ด้วยความเข้มของการแผ่รังสีขนาด 1/683 วัตต์ต่อสตีเรเดียนในทิศทางเดียวกันนั้น

7) ปริมาณของสาร (Amount of Substance)

หน่วยวัดปริมาณสารในระบบหน่วยวัด เอสไอ คือ โมล (Mole : mol) มีนิยามว่า โมล คือ หน่วยของปริมาณสารของระบบ ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบมูลฐาน ซึ่งมีจำนวนเท่ากับจำนวนอะตอมของ C12  มวล  0.012  กิโลกรัม

2  หน่วยอนุพัทธ์ (Derived units) 

คือหน่วยที่เกิดจากการรวมกันของหน่วยฐานเอสไอโดยการคูณหรือหาร เพื่อใช้ในเรื่องการวัดและการแสดงปริมาณต่างๆ ซึ่งหน่วยอนุพัทธ์สามารถมีได้มากมายไม่จำกัด เนื่องการปริมาณต่างๆในโลกนี้ที่คนเราอยากรู้ก็ไม่สามารถจำกัดได้ เพียงแต่เลือกหน่วยพื้นฐานมาประกอบเข้าด้วยกันให้ถูกต้อง

เมื่อคำในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพัทธ์น้อยหรือมากเกินไป  เราอาจเขียนคำนั้นให้อยู่ในรูป  ตัวเลข คูณด้วย ตัวพหุคูณ ( ตัวพหุคูณ  คือ  เลขสิบยกกำลังบวกหรือลบ) ได้

หน่วยฐาน (base unit) เป็นปริมาณหลักของระบบเอสไอ (International System of Units หรือ SI units) และยังเป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่น ๆ ทั้งหมดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ปริมาณ ได้แก่ มวล ความยาว เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิอุณหพลวัต ความเข้มของการส่องสว่าง และปริมาณสาร  โดยมีสัญลักษณ์ปริมาณ หน่วยฐาน และตัวย่อหน่วยฐาน ดังภาพ

ในสมัยก่อนหน่วยที่ใช้สำหรับวัดปริมาณต่าง ๆ  มีหลายระบบ เช่น ระบบอิมพีเรียล ระบบเมตริก หรือ ระบบของไทย เป็นต้น ทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ต่อมาในปีพ.ศ. 2503 จึงมีการจัดทำหน่วยวัดรูปแบบใหม่ของระบบเมตริกขึ้นในที่ประชุม CGPM (General Conference on Weights and Measures) ซึ่งหน่วยวัดรูปแบบใหม่นี้มีชื่อว่า ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศหรือระบบเอสไอ (International System of Units หรือ SI units) นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ทั้งในวงการค้าและวงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้ ระบบเอสไอ เช่นกัน

แม้ว่าจะมีการจัดทำหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศแล้วก็ตาม แต่ทว่าแต่ละประเทศยังคงใช้ระบบหน่วยวัดเดิมร่วมด้วย ซึ่งสามารถพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ในการระบุขนาดความกว้างและความยาวของสิ่งของด้วยหน่วยฟุตหรือนิ้วแทนการใช้หน่วยเมตร การชั่งมวลสิ่งของต่าง ๆ ยังพบเจอการใช้หน่วยปอนด์แทนการใช้หน่วยกิโลกรัม เป็นต้น

นิยามของหน่วยฐานมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับตามการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ทำให้สามารถออกแบบและสร้างการทดลองที่แสดงพฤติกรรมที่คงที่ เหมาะสมกับการนำมาใช้นิยามหน่วยฐาน กล่าวคือ สะดวกในการใช้งาน และมีสภาพทวนซ้ำได้สูง 

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการชั่ง ตวง วัด (The General Conference on Weights and Measures, CGPM) ครั้งที่ 26 ณ เมืองแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติให้ยกเลิกนิยามของหน่วยฐานทั้ง 7 หน่วยที่ใช้อยู่ ณ วันประชุม และกำหนดค่าเชิงตัวเลข (numerical value) ให้กับค่าคงตัวทางฟิสิกส์ (physical constant) ทั้ง 7 ตัว โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

ถือเป็นการปรับเปลี่ยนปรัชญา หรือแนวคิดในการนิยามหน่วยฐานครั้งใหญ่และสำคัญยิ่ง เป็นการนำความรู้จากฟิสิกส์เชิงควอนตัมและทฤษฎีสัมพันธภาพมาประยุกต์ทั้งระบบ

หน่วยฐาน7หน่วย มีอะไรบ้าง

หน่วยฐาน (base unit).
กิโลกรัม (kilogram, kg).
เมตร (metre, m).
วินาที (second, s).
แอมแปร์ (ampere, A).
เคลวิน (kelvin, K).
แคนเดลา (candela, cd).
โมล (mole, mol).

หน่วยมูลฐาน เวลามีหน่วยเป็นอะไร

เวลา มีหน่วยเป็นวินาที (second) ใช้สัญลักษณ์ s.

หน่วยมูลฐาน (base unit) ของระบบ SI ในประเทศไทย มีกี่หน่วย?

หน่วยฐาน (base unit) เป็นปริมาณหลักของระบบเอสไอ (International System of Units หรือ SI units) และยังเป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่น ๆ ทั้งหมดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ปริมาณ ได้แก่ มวล ความยาว เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิอุณหพลวัต ความเข้มของการส่องสว่าง และปริมาณสาร โดยมีสัญลักษณ์ปริมาณ หน่วยฐาน และตัวย่อหน่วย ...

ปริมาณมูลฐานมีกี่อย่างอะไรบ้าง

นิยามโดยละเอียดของหน่วยกำกับหน่วยฐานในระบบหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ.