วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

วิชาประวัติศาสตร์ ป.5 เรื่องการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น

คำชี้แจง

ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่องการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น แล้วทำแบบฝึกหัดลงในสมุด

(แบบฝึกหัดอยู่ท้ายสุดครับ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น

การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร


    วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จทางประวัติศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ รวบรวมเรียบเรียงเพื่ออธิบายและวิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง มีเหตุผล ดังนั้นวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีการที่ผู้ศึกษาจะได้ตรวจสอบหลักฐานว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือ แล้วนำมาเรียบเรียงด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เขียนตามหลักฐานข้อมูลที่มีอยู่ และต้องไม่ตัดสินเหตุการณ์ในอดีตด้วยความคิดปัจจุบัน เพราะช่วงสมัยที่แตกต่างกันย่อมมีสภาพแวดล้อมและความคิดไม่เหมือนกัน
    เราสามารถศึกษาประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตนเองได้ โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา ดังนี้
     1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา
        ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขตการศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น

  •  ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค
  •  สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
  •  บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค

     2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูล ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
     - หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ จดหมาย บันทึก เอกสารทางราชการ เป็นต้น

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

รูป หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

     - หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่เป็นตัวหนังสือ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนในสมัยต่าง ๆ วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

รูป หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

    3. ตรวจสอบหลักฐาน  ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐานที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบเทียบจากข้อมูลหลาย ๆ ฉบับว่าเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว
   4. การเลือกและจัดลำดับข้อมูล เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือแล้ว นักเรียนต้องนำข้อมูลมาแยกประเภทโดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลัง จัดเหตุการณ์เรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการเรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล
   5. การนำเสนอ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียงเพื่อตอบคำถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็นที่ต้องการศึกษาโดยใช้หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ มาอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล การนำเสนอมีหลายวิธี เช่น การเขียนเรียงความ รายงาน จัดนิทรรศการ เป็นต้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่คนรู้จักประดิษฐ์อักษร

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

ได้แล้วและใช้ตัวหนังสือเขียนบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้เราสามารถเข้าใจชีวิตความเป็นอู่ของคนในอดีตได้ชัดเจนมากขึ้น หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่พบในท้องถิ่น เช่น บันทึกเรื่องราวในใบลานหรือสมุดไทยที่พบในท้องถิ่นต่าง ๆ หรือการเขียนเรื่องพระเวสสันดรบนผ้าในงานบุญมหาชาติของคนภาคอีสาน เป็นต้น

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

    2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง หลักฐานที่ไม่มีการจดบันทึกหรือเขียนตัวอักษร เช่น ภาพถ่าย โบราณสถาน โบราณวัตถุ คำบอกเล่า โครงกระดูกมนุษย์ เป็นต้น หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่พบในท้องถิ่น เช่น ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

    นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังแบ่งออกได้เป็นตามช่วงเวลาที่เกิดหลักฐาน คือ
    - หลักฐานชั้นต้น หรือ หลักฐานปฐมภูมิ หมายถึง หลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น หรือจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง เช่น ภาพถ่าย เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์โบราณ บันทึกประจำวัน จดหมาย คูน้ำคันดินของเมืองโบราณ ศิลาจารึก เป็นต้น
    -หลักฐานชั้นรอง หรือ หลักฐานทุติยภูมิ หมายถึง หลักฐานที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์นั้น หรือรวบรวมเรียงขึ้นจากหลักฐานชั้นต้น เช่น ตำนานท้องถิ่นที่เล่าสืบต่อกันมาช้านานแล้วนำมาเขียนขึ้นภายหลัง อนุสาวรีย์วีรบุรุษ – วีรสตรี หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ เป็นต้น

แหล่งข้อมูลสำคัญในท้องถิ่น
    แหล่งข้อมูล หมายถึง ที่ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยหลักฐานนั้นอาจเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งแหล่งข้อมูลในท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

    1. พิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุที่สำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น พระพุทธรูป เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ เป็นต้น ซึ่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีอยู่มามาย เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
    2. แหล่งโบราณคดี เป็นแหล่งที่ค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้คนในสมัยก่อน ทำให้ทราบว่าผู้คนในยุคสมัยนั้นมีความเจริญในระดับใด แหล่งโบราณคดีท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
    3. โบราณสถาน เป็นสถานที่หรือสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
    4. ห้องสมุด เป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

ได้เป็นอย่างดีและใกล้ตัวที่สุด เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประจำจังหวัด ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดเฉพาะของหน่วยงานราชการ เป็นต้น
    5. ศูนย์วัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวมสิ่งของและเรื่องราวสำคัญของชุมชนผลงานต่าง ๆ ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาค รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาของท้องถิ่น เช่น ศูนย์คชศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์ ศูนย์ทอผ้าขาวม้าร้อยสี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
    6. วัด วัดหลายแห่งในภูมิภาคต่าง ๆ ได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ของวัด โดยรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้โบราณวัตถุต่าง ๆ ไว้ เช่น พระพุทธรูป ตู้พระธรรม เป็นต้น
    7. ผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่น ผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่นสามารถบอกเล่าข้อมูลท้องถิ่นในอดีตได้

แบบฝึกหัด

ให้นักเรียนทำคำถามพัฒนากระบวนการคิด บทที่ 1 หน้าที่ 19

ทั้งหมด 10 ข้อ

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิชาประวัติศาสตร์ ป.5 เรื่องการตั้งคำถามและความจริงกับข้อเท็จจริง

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

เรื่องการตั้งคำถามและความจริงกับข้อเท็จจริง การตั้งคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นมาของ ท้องถิ่น          นักเรียนได้เรียนมาแล้วว่าการสอบถามเป็นวิธีการหนึ่งของการสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยนักเรียนต้องเตรียมตัวเป็นผู้ถามที่ดี โดยคำนึงว่าจะถามใครถามอะไรและถามเมื่อไร การตั้งคำถามทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพราะเป็นการนำไปสู่การหาคำตอบและเป็นแนวทางในการสืบค้นเรื่องราวของท้องถิ่นในอดีตได้ชัดเจน ความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น ความจริง          หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงสามารถตรวจสอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันและยืนยันได้ว่าเป็นจริงหรือมีอยู่จริง ข้อเท็จจริง           หมายถึง ข้อมูลที่รวบรวมได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือความจริง ข้อมูลใดเป็นข้อมูลเท็จซึ่งอาจเกิดจากผู้สร้างหลักฐานไม่มีความรู้หรือความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องนั้น หรืออาจจงใจปกปิดข้อมูลจริง เพราะมีผลประโยชน์ร่วมอยู่         การสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่น เมื่อนักเรียนรวบรว

วิชาพระพุทธศาสนา ป.5 เรื่องพุทธประวัติ

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างไร

คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่องพุทธประวัติแล้วทำแบบฝึกหัดลงในสมุด (แบบฝึกหัดอยู่ท้ายสุดครับ) พุทธประวัติ   พระพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า  "สิทธัตถะ"  หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ            ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)           ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า  "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"  แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้