รัฐบาลใช้นโยบายการคลังในการแก้ปัญหาอย่างไร

นี่คือวิธีสำคัญที่ธนาคารกลางของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา หรือธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดอัตราเงินเฟ้อลงมา โดยเครื่องมือที่ว่าก็คือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครับ ซึ่งแต่ละธนาคารกลางนั้นจะมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่ไม่เหมือนกัน อย่างในกรณีของสหรัฐฯ ก็คือจะอยู่ในช่วงราว 2-2.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะอยู่ในช่วง 1-3 เปอร์เซ็นต์

การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ข้อมูลจาก Trading Economics ล่าสุดนั้นอยู่ที่ 7 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเกินเป้าของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อย่างมาก นั่นทำให้เจอโรม พาวเวลล์ ประธานของ Fed ต้องใช้นโยบายการเงินด้วยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และเร่งการทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวให้ไวขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่นักวิเคราะห์หลากหลายสถาบันการเงิน คาดไว้ว่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป

หลายคนอาจงงว่าทำไมการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อได้ยังไง นั่นเป็นเพราะว่า

  1. อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มแรงจูงใจทำให้คนออมเงิน แทนที่จะนำเงินมาใช้จ่าย แถมยังเป็นการลดสภาพคล่องในระบบอีกด้วย
  2. การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ลดความร้อนแรงในการกู้ยืมเงิน หรือแม้แต่การจับจ่ายไปจนถึงการขอสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
  3. เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่า ภาคการส่งออกจะได้ประโยชน์น้อยลง แต่ภาคการนำเข้าจะได้ประโยชน์มากขึ้น (ซึ่งการนำเข้าสินค้าเข้ามาเยอะๆ ก็จะกดอัตราเงินเฟ้อลงมาได้)

ความเสี่ยงในการใช้วิธีนี้ ถือว่ามีข้อจำกัดคือกว่าที่ผลของนโยบายนี้จะได้ผลต้องใช้เวลาพักใหญ่ๆ ขณะเดียวกันในช่วงของการปรับอัตราดอกเบี้ยนั้นอัตราเงินเฟ้อก็ยังสูงอยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางจะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้

เครื่องมือที่รัฐใช้แก้ปัญหา

สำหรับวิธีการของรัฐบาลแต่ละแห่งในการแก้ปัญหานั้นมีมากมายหลายรูปแบบครับ ไม่ว่าจะเป็น

แก้ปัญหาในเรื่องของอุปทาน (Supply Side)

วิธีนี้รัฐจะส่งเสริมให้ความสามารถในการผลิตสินค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้มีการลงทุนในภาคการผลิต อย่างเช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การผ่อนคลายในข้อกฎหมายต่างๆ ไปจนถึงการยกเลิกกฎระเบียบ หรือแม้แต่ทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามา นั่นจะทำให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีแรงจูงใจการแข่งขันซึ่งกันและกัน

ในการแก้ปัญหาในเรื่องของอุปทาน ไม่สามารถการันตีได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศทำลงไปจะเกิดผลดีในระยะยาวหรือไม่ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวยังไม่สามารถที่จะลดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากะทันหันได้อีกด้วย

การใช้นโยบายการคลัง

วิธีนี้รัฐบาลใช้วิธีในการลดเงินเฟ้อที่สูง นั่นก็คือ การเพิ่มภาษี หรือแม้การจัดเก็บภาษีใหม่ๆ รวมถึงลดการใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งนั่นจะทำให้ลดภาระหนี้ของรัฐบาล และนโยบายดังกล่าวยังสามารถนำมาใช้ได้ค่อนข้างไวอีกด้วยที่จะลดเงินเฟ้อลงมา

อย่างไรก็ดี การใช้นโยบายการคลังยังมีเหรียญอีกด้านด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การใช้วิธีดังกล่าวนั้นเหมือนกับเป็นการเหยียบเบรกเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทันที เนื่องจากจะทำให้การบริโภคของประชาชนนั้นลดลง ซึ่งเคยมีกรณีในประเทศญี่ปุ่นที่มีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่ 8 เปอร์เซ็นต์ ต่อมารัฐบาลปรับขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าในตอนนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความแข็งแกร่งมากขึ้นก็ตาม แต่ผลที่ตามมาคือการบริโภคของประชาชนหลังจากการเพิ่มภาษีนั้นลดลง และนั่นทำให้รัฐบาลหลายประเทศเองไม่ค่อยอยากใช้วิธีนี้เท่าไหร่ นอกจากว่าต้องการที่จะลดหนี้ของประเทศนั้นๆ ลงมา

เพิ่มค่าแรงจากภาครัฐ หรือผ่านกลไกตลาด

อีกหนึ่งในวิธีที่แก้ปัญหาเงินเฟ้อ นั่นก็คือการขึ้นค่าแรงตามที่ภาครัฐกำหนด ค่าแรงนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดอัตราเงินเฟ้อไม่น้อย และยังทำให้แรงงานมีค่าแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถนำรายได้ดังกล่าวไปใช้จ่ายได้มากขึ้น หรือกรณีแย่ที่สุดก็คือไม่โดนอัตราเงินเฟ้อดูดกินไปหมด

การขึ้นค่าแรงตามที่ภาครัฐกำหนด อาจมีผลเสียอีกด้านในแง่ของความเสี่ยงจากธุรกิจที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับค่าแรง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และนั่นทำให้เกิดการเลิกจ้างงานขึ้นมา (แต่แรงงานก็สามารถไปหางานที่อื่นที่ให้ค่าจ้างดีกว่าได้เช่นกัน) หรือไม่ก็ส่งผลกระทบกับกำไรของบริษัทบ้าง ถ้าหากเป็นบริษัทใหญ่

ถ้าหากเป็นการขึ้นค่าแรงตามกลไกตลาดเหมือนกับสหรัฐอเมริกา ณ เวลานี้ สาเหตุสำคัญคือจำนวนแรงงานไม่เพียงพอ ซึ่งตัวเลขล่าสุด เราจะเห็นว่าอัตราการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐอเมริกานั้นต่ำกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ ไปเป็นที่เรียบร้อย ทำให้เวลานี้เป็นเวลานี้เป็นเวลาของลูกจ้างที่สามารถเลือกงานในแต่ละบริษัทได้เลยว่าบริษัทไหนให้เงิน หรือว่าสวัสดิการมากกว่ากัน

ท้ายที่สุดแล้ว เราจะเห็นว่ามาตรการของแต่ละประเทศในการลดเงินเฟ้อนั้นแตกต่างกันออกไป หลายประเทศในเวลานี้นั้นใช้หลายมาตรการออกมาควบคู่กัน อย่างเช่น ใช้นโยบายของธนาคารกลางออกมา

ขณะเดียวกัน ก็หันมาส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ มาลงทุนในประเทศของตัวเองเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่อุตสาหกรรมการเกษตร ไปจนถึงอุตสาหกรรมไฮเทค เพื่อที่จะมีกำลังการผลิตที่มากพอที่จะกดตัวเลขเงินเฟ้อให้ต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวไปในตัว

อันที่จริง เราสามารถกล่าวได้ว่า ปัญหาเงินเฟ้อเป็นเกมวัดกึ๋นของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและประธานธนาคารกลางของแต่ละประเทศทีเดียว โดยเฉพาะหากรัฐบาลที่ไม่สามารถบริหารเรื่องนี้ได้ดี เพราะในประวัติศาสตร์ก็มีให้เห็นอยู่เสมอครับว่า ปัญหาปากท้องของประชาชน นับเป็นเรื่องคอขาดบาดตายที่สุดก็ว่าได้ครับ

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง