รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร

วิธีการแก้ไขปัญหา



2. การแก้ไขปัญหาในระยะยาว

รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร
การแก้ไขปัญหาระยะยาวยังจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการบริหารเศรษฐกิจมหภาคของภาครัฐเชิงลึกโดยเฉพาะเรื่องธรรมาภิบาล และความเป็นอิสระของหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระจากกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองต่างๆ รวมทั้งพยายามรักษาแนวทางการใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างรอบคอบรัดกุมโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวนโยบายบ่อยครั้งเพื่อลดความเสี่ยงให้กับภาคเอกชน และลดความผันผวนของรายได้ที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐในภูมิภาคละตินอเมริกา ทั้งนี้หลายประเทศในแถบละตินอเมริกาค่อนข้างมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงก่อนวิกฤตซึ่งเป็นผลให้วินัยของการใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคอ่อนแอลงโดยเฉพาะวินัยทางการคลัง

รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร
นอกจากวินัยทางการคลังแล้ว การรักษาวินัยทางการเงินก็มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในภูมิภาคละตินอเมริกาในระยะยาว เนื่องจากในช่วงก่อนวิกฤต นโยบายการเงินมักมีผลทำให้วงจรธุรกิจมีความผันผวนมากขึ้นโดยการช่วยเหลือรัฐบาลในการจัดหาเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยเฉพาะการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกลางแก่รัฐบาลทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และเป็นชนวนที่นำมาสู่วิกฤตค่าเงินและความขาดเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน

รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร
การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจระยะยาวอย่างเหมาะสมของประเทศแถบละตินอเมริกาภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจมีผลดีในการลดความผันผวนของวงจรธุรกิจ ผลผลิต ราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้อัตราการเติบโตเฉลี่ยของประเทศต่างๆในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น และมีผลปรับปรุงรูปแบบวงจรธุรกิจให้มีความยั่งยืนขึ้นเมื่อเทียบกับอดีตที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องมีช่วงเวลาค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ และมักตามมาด้วยความขาดเสถียรภาพทางการเงินและภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างลึก

รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร


ปัญหาของเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบให้กับหลายประเทศไม่น้อยเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังกลับมาแข็งแกร่งอย่างสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงประเทศที่ค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างประเทศไทยของเรา ซึ่งประชาชนจะได้พบกับปัญหาที่ไม่ได้เจอมานานในรอบหลายปี นั่นก็คือ ข้าวของต่างๆ มีราคาแพงขึ้นอย่างมากมาย

สำหรับปัญหาเงินเฟ้อในรอบนี้ถือว่ามีความซับซ้อนไม่น้อย เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ภาคการผลิตทั่วโลกเกิดปัญหาขึ้นมาทันที

ทางด้านประเทศจีนที่เราถือว่าเป็นโรงงานของโลก ในตอนแรกเคยมีการคาดการณ์ว่า จีนจะกลับมามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติ แต่กลับไม่เป็นไปตามคาด เนื่องจากจีนใช้นโยบาย Zero Covid ทำให้ภาคการผลิตของจีนก็เกิดปัญหาจนลามไปทั่วโลก

บทความนี้เราจะมาดูกันว่า รัฐบาลและธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะใช้วิธีอะไรในการแก้ปัญหาของเงินเฟ้อในรอบนี้ได้บ้างครับ

เพิ่มอัตราดอกเบี้ย

นี่คือวิธีสำคัญที่ธนาคารกลางของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา หรือธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดอัตราเงินเฟ้อลงมา โดยเครื่องมือที่ว่าก็คือ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครับ ซึ่งแต่ละธนาคารกลางนั้นจะมีเป้าหมายเงินเฟ้อที่ไม่เหมือนกัน อย่างในกรณีของสหรัฐฯ ก็คือจะอยู่ในช่วงราว 2-2.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะอยู่ในช่วง 1-3 เปอร์เซ็นต์

การรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ข้อมูลจาก Trading Economics ล่าสุดนั้นอยู่ที่ 7 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเกินเป้าของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อย่างมาก นั่นทำให้เจอโรม พาวเวลล์ ประธานของ Fed ต้องใช้นโยบายการเงินด้วยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย และเร่งการทำนโยบายการเงินแบบตึงตัวให้ไวขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่นักวิเคราะห์หลากหลายสถาบันการเงิน คาดไว้ว่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป

หลายคนอาจงงว่าทำไมการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อได้ยังไง นั่นเป็นเพราะว่า

  1. อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มแรงจูงใจทำให้คนออมเงิน แทนที่จะนำเงินมาใช้จ่าย แถมยังเป็นการลดสภาพคล่องในระบบอีกด้วย
  2. การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ลดความร้อนแรงในการกู้ยืมเงิน หรือแม้แต่การจับจ่ายไปจนถึงการขอสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
  3. เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่า ภาคการส่งออกจะได้ประโยชน์น้อยลง แต่ภาคการนำเข้าจะได้ประโยชน์มากขึ้น (ซึ่งการนำเข้าสินค้าเข้ามาเยอะๆ ก็จะกดอัตราเงินเฟ้อลงมาได้)

ความเสี่ยงในการใช้วิธีนี้ ถือว่ามีข้อจำกัดคือกว่าที่ผลของนโยบายนี้จะได้ผลต้องใช้เวลาพักใหญ่ๆ ขณะเดียวกันในช่วงของการปรับอัตราดอกเบี้ยนั้นอัตราเงินเฟ้อก็ยังสูงอยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางจะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้

เครื่องมือที่รัฐใช้แก้ปัญหา

สำหรับวิธีการของรัฐบาลแต่ละแห่งในการแก้ปัญหานั้นมีมากมายหลายรูปแบบครับ ไม่ว่าจะเป็น

แก้ปัญหาในเรื่องของอุปทาน (Supply Side)วิธีนี้รัฐจะส่งเสริมให้ความสามารถในการผลิตสินค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้มีการลงทุนในภาคการผลิต อย่างเช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การผ่อนคลายในข้อกฎหมายต่างๆ ไปจนถึงการยกเลิกกฎระเบียบ หรือแม้แต่ทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามา นั่นจะทำให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีแรงจูงใจการแข่งขันซึ่งกันและกัน

ในการแก้ปัญหาในเรื่องของอุปทาน ไม่สามารถการันตีได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศทำลงไปจะเกิดผลดีในระยะยาวหรือไม่ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวยังไม่สามารถที่จะลดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากะทันหันได้อีกด้วย

การใช้นโยบายการคลังวิธีนี้รัฐบาลใช้วิธีในการลดเงินเฟ้อที่สูง นั่นก็คือ การเพิ่มภาษี หรือแม้การจัดเก็บภาษีใหม่ๆ รวมถึงลดการใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งนั่นจะทำให้ลดภาระหนี้ของรัฐบาล และนโยบายดังกล่าวยังสามารถนำมาใช้ได้ค่อนข้างไวอีกด้วยที่จะลดเงินเฟ้อลงมา

อย่างไรก็ดี การใช้นโยบายการคลังยังมีเหรียญอีกด้านด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การใช้วิธีดังกล่าวนั้นเหมือนกับเป็นการเหยียบเบรกเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทันที เนื่องจากจะทำให้การบริโภคของประชาชนนั้นลดลง ซึ่งเคยมีกรณีในประเทศญี่ปุ่นที่มีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่ 8 เปอร์เซ็นต์ ต่อมารัฐบาลปรับขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าในตอนนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความแข็งแกร่งมากขึ้นก็ตาม แต่ผลที่ตามมาคือการบริโภคของประชาชนหลังจากการเพิ่มภาษีนั้นลดลง และนั่นทำให้รัฐบาลหลายประเทศเองไม่ค่อยอยากใช้วิธีนี้เท่าไหร่ นอกจากว่าต้องการที่จะลดหนี้ของประเทศนั้นๆ ลงมา

เพิ่มค่าแรงจากภาครัฐ หรือผ่านกลไกตลาด

อีกหนึ่งในวิธีที่แก้ปัญหาเงินเฟ้อ นั่นก็คือการขึ้นค่าแรงตามที่ภาครัฐกำหนด ค่าแรงนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดอัตราเงินเฟ้อไม่น้อย และยังทำให้แรงงานมีค่าแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถนำรายได้ดังกล่าวไปใช้จ่ายได้มากขึ้น หรือกรณีแย่ที่สุดก็คือไม่โดนอัตราเงินเฟ้อดูดกินไปหมด

การขึ้นค่าแรงตามที่ภาครัฐกำหนด อาจมีผลเสียอีกด้านในแง่ของความเสี่ยงจากธุรกิจที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับค่าแรง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และนั่นทำให้เกิดการเลิกจ้างงานขึ้นมา (แต่แรงงานก็สามารถไปหางานที่อื่นที่ให้ค่าจ้างดีกว่าได้เช่นกัน) หรือไม่ก็ส่งผลกระทบกับกำไรของบริษัทบ้าง ถ้าหากเป็นบริษัทใหญ่

ถ้าหากเป็นการขึ้นค่าแรงตามกลไกตลาดเหมือนกับสหรัฐอเมริกา ณ เวลานี้ สาเหตุสำคัญคือจำนวนแรงงานไม่เพียงพอ ซึ่งตัวเลขล่าสุด เราจะเห็นว่าอัตราการจ้างงานล่าสุดของสหรัฐอเมริกานั้นต่ำกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ ไปเป็นที่เรียบร้อย ทำให้เวลานี้เป็นเวลานี้เป็นเวลาของลูกจ้างที่สามารถเลือกงานในแต่ละบริษัทได้เลยว่าบริษัทไหนให้เงิน หรือว่าสวัสดิการมากกว่ากัน

ท้ายที่สุดแล้ว เราจะเห็นว่ามาตรการของแต่ละประเทศในการลดเงินเฟ้อนั้นแตกต่างกันออกไป หลายประเทศในเวลานี้นั้นใช้หลายมาตรการออกมาควบคู่กัน อย่างเช่น ใช้นโยบายของธนาคารกลางออกมา

ขณะเดียวกัน ก็หันมาส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ มาลงทุนในประเทศของตัวเองเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่อุตสาหกรรมการเกษตร ไปจนถึงอุตสาหกรรมไฮเทค เพื่อที่จะมีกำลังการผลิตที่มากพอที่จะกดตัวเลขเงินเฟ้อให้ต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวไปในตัว

อันที่จริง เราสามารถกล่าวได้ว่า ปัญหาเงินเฟ้อเป็นเกมวัดกึ๋นของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและประธานธนาคารกลางของแต่ละประเทศทีเดียว โดยเฉพาะหากรัฐบาลที่ไม่สามารถบริหารเรื่องนี้ได้ดี เพราะในประวัติศาสตร์ก็มีให้เห็นอยู่เสมอครับว่า ปัญหาปากท้องของประชาชน นับเป็นเรื่องคอขาดบาดตายที่สุดก็ว่าได้ครับ

ที่มา: Economics Help, Chicago Booth Review, Investopedia

รัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อภาวะเงินเฟ้อได้อย่างไรบ้าง

เศรษฐกิจอาจจะประสบกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อ มาตการทางการคลังที่จะช่วยแก้ไขหรือบรรเทาภาวะเงินเฟ้อ โดยจะมีผลต่อการลดการใช้ จ่ายหรือโดยการลดอุปสงค์รวม ได้แก่ ลดการใช้จ่ายของภาครัฐบาล ( Government Expenditure) ● การเพิ่มภาษีอากร ( Taxation) โดยอาจเพิ่มทั้งภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

รัฐบาลใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด ได้อย่างไร

การแก้ไขปัญหาเงินฝืด จะตรงกันข้ามกับการแก้ไข ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ 1. นโยบายการคลัง รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรให้น้อยลง เพิ่มการใช้จ่ายให้มากขึ้น ใช้งบประมาณขาดดุล เพื่อการจ้างงาน 2. นโยบายการเงิน ธนาคารกลางควรเพิ่มปริมาณเงินใน ระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน

รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซบเซา

ในกรณีที่เศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลควรกระตุ้นโดยด าเนินนโยบายขาดดุล ทางการคลัง คือ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือลดอัตราภาษี หรือทั้งสอง อย่างรวมกัน แต่หากเศรษฐกิจมีภาวะเฟื่องฟูหรือขยายตัวมากเกินไป จนเกิดภาวะเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ ต้องใช้นโยบายการเงิน แบบใด

นโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) คือ การที่ธนาคารกลางกำหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายไว้ล่วงหน้า แล้วจึงทำการปรับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยสร้างความโปร่งใสให้กับนโยบายการเงินของประเทศและทำให้ความรับผิดชอบของธนาคารกลางมีสูงขึ้น