ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

สะพานข้ามแม่น้ำแคว (อังกฤษ: The Bridge of the River Kwai) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายบอกทางชัดเจน

ประวัติ

สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

  สะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำเหล็กจากมลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและโครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจนสะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มีการยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

Circa : 1960
Credit : Getty Images
กลุ่ม ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์



ทางรถไฟสายมรณะ

   ทางรถไฟสายมรณะ หรือ ทางรถไฟสายพม่า หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองทันบูซายัด ประเทศพม่าทางรถไฟสายมรณะมีความยาวจากหนองปลาดุกถึงสถานีทันบูซายัดรวม 415 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟอยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 37 สถานี ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ - น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะหรือถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำแควน้อยยาวประมาณ 400 เมตร

   ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นขอยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกรื้อทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทางรถไฟสายนี้ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น เนื่องจากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง เป็นของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

 

เหตุที่ทางรถไฟสายนี้ได้ชื่อว่า ทางรถไฟสายมรณะ ก็เพราะว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย อีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งกำลังพล เพื่อจะไปโจมตีพม่าและอินเดียต่อไป ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ เส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัยตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2486 และเปิดใช้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปีเดียวกัน

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

  หลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้ จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก โดยอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน  เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามด้วย

การท่องเที่ยว

  ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถไฟขบวนปกติ ธนบุรี - น้ำตก ทุกวัน และจัดขบวนพิเศษสายกรุงเทพ - น้ำตกไทรโยคน้อย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

 ตารางเดินรถไฟ จาก สถานีกาญจนบุรี (สถานีดอนรัก) - สถานีปลายทางน้ำตก (น้ำตกไทรโยคน้อย)

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

ตารางเดินรถไฟ จาก สถานีปลายทางน้ำตก (น้ำตกไทรโยคน้อย) - สถานีกาญจนบุรี (สถานีดอนรัก)

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org


สะพานข้ามแม่น้ำแคว

  ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ เป็นสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดบนเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า แต่ความโด่งดังของสะพานแห่งนี้ ได้มาจากภาพยนตร์ที่สร้างตามนวนิยาย มากกว่าจะเป็นความสำคัญจริง ๆ ของมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

  สะพานแห่งนี้ซึ่งทอดข้ามแม่น้ำแควใหญ่ในกาญจนบุรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2485-86 โดยเชลยสงครามชาวอังกฤษที่ประจำอยู่ที่ท่ามะขาม ตัวสะพานประกอบด้วยคานสะพานเหล็กจำนวน 11 คานที่ตั้งอยู่บนเสาคอนกรีตรับน้ำหนัก วัสดุที่ใช้สร้างสะพานนำมาจากชวา และสะพานนี้เป็นสะพานเหล็กเพียงแห่งเดียวที่สร้างโดยฝ่ายญี่ปุ่นในประเทศไทย

  ความโด่งดังของสะพานนี้ ได้มาจากภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2500 เรื่อง สะพานข้ามแม่น้ำแคว โดย เดวิด ลีน ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเค้าโครงมาจากนวนิยายฝรั่งเศสของปิแอร์ บูลเล ซึ่งประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2495 ตัวเอกของเรื่องคือ ผู้บัญชาการเชลยสงครามชาวอังกฤษ ร้อยเอกนิโคลสันผู้บ้าคลั่ง (แสดงโดย อเล็ค กินเนส) เขามีความหยิ่งทะนงในความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคของอังกฤษมากเสียจนยอมร่วมมือกับผู้บัญชาการทหารฝ่ายญี่ปุ่น ไซโต ในการสร้างสะพานไม้ขนาดมหึมา เมื่อหน่วยคอมมานโดของฝ่ายพันธมิตร (นำโดยวิลเลียม โฮลเดน) พยายามลอบทำลายสะพาน นิโคลสันเกือบจะขัดขวางปฏิบัติการนี้ได้สำเร็จ แต่ในที่สุดสะพานแห่งนี้ก็ถูกทำลายลง เมื่อนิโคลสันซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงต่อสู้กันระหว่างฝ่ายญี่ปุ่นกับฝ่ายคอมมานโด ล้มลงทับที่จุดระเบิด ส่งผลให้ทั้งสะพานและรถไฟซึ่งกำลังแล่นข้ามสะพานพังทลายลงสู่ผืนน้ำด้านล่างพร้อมกัน

  โครงเรื่องของหนังเป็นเรื่องแต่งทั้งหมด แม้ว่าตัวนิโคลสันอาจมีต้นแบบมาจากนายทหารชาวอังกฤษ พันเอก ฟิลลิป ทูซี ผู้ซึ่งประจำอยู่ที่ท่ามะขาม

  สะพานที่ปรากฏในภาพยนตร์ก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสะพานเหล็กที่กาญจนบุรี ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสะพานใดเลยที่สร้างข้ามแม่น้ำแควในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลานั้น แม่น้ำที่ ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ ทอดผ่าน ชื่อว่า แม่น้ำแม่กลอง (แม่คลอง)

  อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในระดับนานาชาติ – โดยได้รับรางวัลออสการ์ถึงเจ็ดรางวัล – จนทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย เพื่อตามหา ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ ในปี พ.ศ. 2503 เมืองกาญจนบุรีได้เปลี่ยนชื่อของแม่น้ำแม่กลองที่อยู่ในบริเวณของสะพานแห่งนี้ ไปเป็นแม่น้ำแควใหญ่ (แปลว่า แม่น้ำสายย่อยขนาดใหญ่)

  ด้วยเหตุนี้ ‘สะพานข้ามแม่น้ำแคว’ จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพลงที่บรรดาเชลยสงครามผิวปากเป็นทำนองในภาพยนตร์ ซึ่งมีชื่อว่า โคโลเนล บูกี มาร์ช (Colonel Bogey’s March) นั้น ยังคงขับร้องโดยนักดนตรีข้างถนนบนสะพานแห่งนี้

 

ห่างออกไปทางปลายน้ำประมาณหนึ่งร้อยเมตร มีสะพานแห่งที่สองตั้งอยู่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานแห่งนี้ทำจากไมซึ่งสามารถรองรับรถบรรทุกดีเซลขนาดเล็กที่วิ่งบนรางรถไฟเพื่อขนส่งวัสดุก่อสร้างในระหว่างการสร้างสะพานหลัก

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ
แม่น้ำแควใหญ่ สีสดใสดังมรกต
Circa : 1945
Colourised by Paul Reynolds
 

  สะพานทั้งสองแห่งนี้ถูกโจมตีทิ้งระเบิดโดยฝ่ายพันธมิตรอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2488 คานสะพานของสะพานเหล็กถูกทำลายหลายจุด สะพานไม้ ซึ่งสามารถซ่อมแซมได้ง่ายกว่า ถูกนำมาใช้ทดแทนในระดับหนึ่ง

  การทิ้งระเบิดนี้ทำให้ประชาชนชาวไทยและเชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรที่ท่ามะขามต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย การโจมตีที่ร้ายแรงที่สุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ซึ่งทำให้เชลยสงครามเสียชีวิตสิบเก้าคน และบาดเจ็บอีกหกสิบแปดคน ต่อมา มีเชลยอีกสิบห้าคนบาดเจ็บจากการโจมตีในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 จากนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงเคลื่อนย้ายเชลยไปที่ช่องไก่ ซึ่งอยู่เลยออกไปทางปลายน้ำ

  ในปัจจุบัน สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก และเป็นศูนย์กลางกิจกรรมการค้าที่หนาแน่น

  อนุสรณ์สงครามและหัวรถจักรซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางร้านขายของนานาชนิด เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของฝาก ของที่ระลึก ของกระจุกกระจิก และรูปถ่ายสมัยสงครามอันเลือนราง นักท่องเที่ยวสามารถ ‘นั่งรถไฟตามเส้นทางรถไฟสายมรณะ’ ไปยังสถานีน้ำตก หรือนั่งรถไฟเด็กเล่นเป็นระยะทางสั้น ๆ แค่ข้ามสะพานไปและกลับ

  ความทรงจำในช่วงสงคราม ถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สินค้าเชิงพาณิชย์’ ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี มีการจัดแสดงแสงสีเสียงเพื่อรำลึกถึงการทิ้งระเบิดทำลายสะพานในช่วงปี พ.ศ. 2487-88 ในการแสดงนี้ สะพานถูกระเบิดอีกครั้ง – แต่กลายเป็นดอกไม้ไฟแทนในครั้งนี้ โดยมีรถจักรไอน้ำเปิดหวูดดังสนั่น แล่นข้ามสะพานหายไปในความมืด

  การทิ้งระเบิดที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ยังถูกนำมาสร้างเป็นจิตรกรรมฝาผนังและภาพศิลปะสามมิติในพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 และพิพิธภัณฑ์อักษะเชลยศึกที่ตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน

  ในปัจจุบัน ไม่หลงเหลือร่องรอยของค่ายเชลยท่ามะขามแล้ว ลานจอดรถหลังตลาดบนถนนแม่น้ำแคว เป็นสิ่งเดียวที่ระบุให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งค่ายมาก่อน ในสมัยสงคราม ตัวเมืองกาญจนบุรีมีอาณาเขตสิ้นสุดที่ประมาณห้ากิโลเมตรจากสะพานไปทางทิศใต้

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

เส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า

  ทางรถไฟสายไทย-พม่าสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2485-86 เพื่อที่จะเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ให้แก่กองกำลังญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศพม่า และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการการขนส่งทางทะเล เนื่องด้วยกองทัพเรือญี่ปุ่นมีความอ่อนแอลงจากการทำยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล และเกาะมิดเวย์ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2485 เมื่อทางรถไฟเสร็จสมบูรณ์ ฝ่ายญี่ปุ่นได้วางแผนไว้ว่าจะเข้าโจมตีฝ่ายอังกฤษในอินเดีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนและลานบินที่ฝ่ายพันธมิตรใช้เพื่อส่งเสบียงให้กับจีนซึ่งอยู่เหนือเทือกเขาหิมาลัย

    ทางรถไฟเริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2486 มีความยาว 415 กิโลเมตรจากหนองปลาดุกในประเทศไทยและเมืองตานพยูซะยะในประเทศพม่า (ปัจจุบันคือ เมียนมาร์)การเชื่อมทางรถไฟระหว่างประเทศไทยกับพม่านั้นมีการเสนอโครงการมาตั้งแต่หลายทศวรรษก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2423-2432 ฝ่ายอังกฤษได้ทำการสำรวจเส้นทางที่อาจเป็นไปได้ แต่ก็ได้ละทิ้งโครงการไปเนื่องจากปัญหาและความท้าทายอันมากจากป่าอันรกทึบ โรคระบาด และการขาดแคลนถนน

   ฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้ทำการสำรวจเช่นเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2463-2472 และหลังจากที่ทำการสำรวจอีกครั้งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2485 ก็ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการต่อในเดือนมิถุนายน โดยใช้แรงงานกลุ่มใหญ่จากเชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรที่มีอยู่ในขณะนั้น ในเวลานี้ ฝ่ายวิศวกรของญี่ปุ่นได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มเชลยเล็ก ๆ จำนวนไม่มากในการทำตำแหน่งและถากถางเส้นทางของทางรถไฟอย่างคร่าว ๆ ก่อนฝ่ายญี่ปุ่นนั้นเมื่อมีเป้าหมายที่จะสร้างทางรถไฟให้เสร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงได้ตัดสินใจใช้เชลยฝ่ายพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียหรือที่เรีกว่า โรมุฉะ จำนวนมหาศาล ทางรถไฟก่อสร้างโดยหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่ตลอดความยาวทั้งหมดของเส้นทางมากกว่าที่จะเป็นจากปลายสายของแต่ละฝั่ง

  ลักษณะพื้นดินที่ทางรถไฟพาดผ่านนั้น เป็นเหตุให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง อย่างไรก็ดี เส้นทางของทางรถไฟก็ไม่ได้เป็นป่ารกทึบและไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยไปเสียทั้งหมดอย่างที่คนนิยมจินตนาการกัน สุดสายปลายทางของแต่ละฝั่ง ทั้งในประเทศไทยและพม่า รางรถไฟพาดผ่านไปยังภูมิทัศน์อันเรียบโล่ง ก่อนที่เข้าสู่ป่ารกชัฎและภูเขาที่อยู่ตรงชายแดนระหว่างสองประเทศ

   เมื่อรางรถไฟมาถึงวังโพ ซึ่งอยู่ราว 112 กิโลเมตรจากสถานีปลายทางของฝั่งไทย มันก็จะเริ่มขึ้นสู่เนินเขาที่เกิดจากหินปูนแสนจะขรุขระ สลับกับลำธารและห้วย ระหว่างฤดูมรสุม ผืนดินจะปริ่มไปด้วยน้ำและไม่มั่นคง สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาสำหรับการก่อสร้างเช่นเดียวกับการขนส่งและเสบียง

  รางของรถไฟสร้างโดยค่อยเพิ่มความลาดชันทีละน้อยให้ไปได้ไกลสุดเท่าที่จะทำได้ อันเนื่องจากว่ารถไฟที่ใช้ไอน้ำจะไต่ความสูงชันได้เพียงทีละน้อยเท่านั้น เมื่อถึงจุดที่ทางรถไฟมาถึงเนินเขาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จะมีการตัดภูเขาเพื่อให้เส้นทางรถไฟดำเนินต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งที่เส้นทางตัดโผล่ขึ้นมาจากการตัดภูเขาระดับลึกมาพบกับเนินกองดินและสะพานอีกหลายจุด โดยทั้งหมดแล้ว มีการสร้างสะพาน 688 แห่งตลอดเส้นทางรถไฟ ยิ่งไปกว่านั้น มีการสร้างสถานีกว่าหกสิบแห่งเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันได้ และเป็นจุดให้เติมเชื้อเพลิงและน้ำ

 เชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรกว่า 60,000 คนถูกนำมาใช้งานในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ได้แก่เชลยจากกองทัพจักรวรรดิอังกฤษ กองทัพดัตช์และอาณานิคมจากเนเธอร์แลนด์ อีสต์ อินดีส์ และกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวนเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง เชลยสงครามราว 13,000 คนเป็นชาวออสเตรเลีย  นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นยังได้ล่อลวงหรือบีบบังคับกรรมกรชาวเอเชีย (โรมุฉะ) อีกราว 200,000 คนให้เข้ามาทำงานสร้างทางรถไฟ คนเหล่านี้ได้แก่ ชาวพม่า ชาวชวา ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬและชาวจีน

  เชลยสงครามฝ่ายพันธมิตรกว่า 12,000 คนเสียชีวิตระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นชาวออสเตรเลียกว่า 2,700 คน มีชาวญี่ปุ่นราว 1,000 คนเสียชีวิต ส่วนโรมุฉะนั้นเป็นเรื่องยากที่จะบอกให้ชัดเจนว่าเสียชีวิตไปเท่าใดกันแน่ เนื่องจากการเก็บบันทึกทำได้ไม่ดี มีการประมาณว่ามีราว 75,000 ถึง 100,000 คน  

  ถึงแม้ว่าทางรถไฟสายไทย-พม่าจะถูกทิ้งระเบิดซ้ำ ๆ จากฝ่ายพันธมิตร แต่ก็ยังสามารถเปิดใช้งานได้อย่างทางรถไฟที่ปฏิบัติการได้เต็มหน้าที่หลังจากที่สร้างเสร็จแล้ว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 ได้มีการลำเลียงอาหารและอาวุธกว่า 50,000 ตันไปยังพม่า เช่นเดียวกับที่กองทัพจากหน่วยรบสองหน่วยของฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อการบุกเข้าสู่อินเดีย การโจมตีครั้งนี้ซึ่งเป็นหนึ่งในการโจมตีครั้งสุดท้าย ต้องพ่ายแพ้แก่กองกำลังของอังกฤษและอินเดีย ในขณะที่ทางรถไฟถูกใช้งานเพื่อสนับสนุนฝ่ายญี่ปุ่นในพม่าจนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง เชลยสงครามและโรมุฉะก็ยังคงทำภารกิจซ่อมบำรุงต่อไปหลังจากที่การก่อสร้างทางรถไฟเสร็จลง


ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

ขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก http://hellfire-pass.commemoration.gov.au


ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ

ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาษา อังกฤษ