เสาชิงช้า จอดรถที่ไหน 2565

กรุงเทพ--28 ต.ค.--สำนักงานเขตกทม.
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วันที่ 27 ต.ค. 40 ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม. กำลังพิจารณาจัดระเบียบบริเวณศาลาว่าการกทม. (เสาชิงช้า) ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น โดยจุดแรกที่บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าศาลาว่าการกทม. ได้พิจารณาจัดเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกายของประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้นจึงขอให้นำรถออกจากบริเวณดังกล่าวก่อนเวลา 18.00 น. ซึ่งได้มีการปิดประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่นำรถออกจากลานอเนกประสงค์หลังเวลา 18.00 น. กทม. มีความจำเป็นจะต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจล็อคล้อรถยนต์ หรือเคลื่อนย้ายรถยนต์ออกจากบริเวณดังกล่าว ส่วนในวันเสาร์-อาทิตย์ กทม.ไม่อนุญาตให้จอดรถบริเวณลานอเนกประสงค์ตลอดเวลา นอกจากนี้จะติดตั้งรั้วกั้นให้มีความสวยงามด้วย
รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนว่า มีการเรียกเก็บเงินค่าจอดรถบริเวณโดยรอบศาลาว่าการกทม. นั้น กทม.จะขอความเห็นชอบผู้ว่าฯ กทม. และตำรวจสน.ท้องที่ เก็บค่าจอดรถ โดยจะกำหนดเก็บเป็นบางเวลา คือ นอกเวลาราชการ ทั้งนี้ตนได้มอบหมายให้สำนักงานการคลังศึกษาว่าในการดำเนินการดังกล่าวจะต้องออกเป็นประกาศ หรือข้อบัญญัติหรือไม่--จบ--


21 มิถุนายน 2565 นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมหารือพิจารณากำหนดที่จอดรถในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดระเบียบการจอดรถ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ครั้งที่ 1/2565 แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ โดยมี นายปิยะ  พูดคล่อง ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้แทนกองบังคับการตำรวจจราจร  สถานีตำรวจนครบาลพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องเจ้าพระยา ชั้น 1 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า เขตพระนคร 

รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การประชุมหารือในวันนี้เกิดขึ้นจากกรุงเทพมหานครจะมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม กรณีเปลี่ยนแปลงขอบเขตที่จอดรถของบัญชีกำหนดที่จอดรถท้ายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดระเบียบการจอดรถ พ.ศ. 2564 เนื่องจากปัจจุบันการใช้เส้นทางการจอดรถของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของพื้นที่ จึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมหารือความเหมาะสมของการใช้พื้นที่ถนนเป็นที่จอดรถ พร้อมจัดระเบียบเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่กีดขวางเส้นทางจราจร และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน รวมถึงการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดรถในที่จอดให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมตามอัตราที่กฎหมายกำหนด  โดยในวันนี้ได้มีการพิจารณาที่จอดรถเพิ่มเติม 16 เส้นทาง แบ่งเป็น 2 กรณี  ดังนี้

1. กรณีเปลี่ยนแปลงขอบเขตที่จอดรถ มี 1 เส้นทาง ได้แก่ ถนนบ้านหม้อ จากตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด ถึงแยกถนนเจริญกรุง และ

2. กรณีกำหนดที่จอดรถเพิ่มเติม มี 15 เส้นทาง ได้แก่ (1) ถนนศิริพงษ์  ตั้งแต่คลองวัดราชนัดดา ถึงคลองราชบพิธ (2) ถนนหลังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เลียบคลองวัดราชนัดดา) ตั้งแต่แยกถนนดินสอ ถึงแยกถนนศิริพงษ์ (3) ถนนพญาไม้ ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา (4) ถนนอังรีดูนังต์ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนพระรามที่ 1 (5) ถนนตรีมิตรตั้งแต่แยกถนนเยาวราช ถึงแยกถนนทรงวาด (6) ถนนราชบพิธ ตั้งแต่แยกถนนตีทอง ถึงแยกถนนเฟื่องนคร  (7) ซอยท่าน้ำศาลเจ้าเก่า ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา (8) ซอยสวนมะลิ 1 ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนหลวง (9) ซอยสวนมะลิ 2 ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงวงเวียนสวนมะลิ

(10) ซอยสวนมะลิ 3ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนหลวง (11) ถนนเฉลิมเขต 1 ตั้งแต่แยกซอยสวนมะลิ 2 ถึงแยกถนนพลับพลาไชย (12) ถนนเฉลิมเขต 2 ตั้งแต่แยกซอยสวนมะลิ 2 ถึงแยกถนนพลับพลาไชย (13) ถนนเฉลิมเขต 3 ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย ถึงแยกถนนยุคล 3 (14) ถนนเฉลิมเขต 4  ตั้งแต่แยกถนนยุคล 2 ถึงแยกถนนยุคล 1 และ (15) ถนนวงเวียนสวนมะลิ

“โดยพิจารณาจากถนนที่ขึ้นทะเบียนกับกรุงเทพมหานครหรือที่สำนักงานเขตดูแล ซึ่งปัจจุบันมีรถจอดอยู่จริงและเกิดข้อร้องเรียนกรณีมีบุคคลภายนอกมาจัดเก็บค่าจอดรถ กรุงเทพมหานครจึงได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าสำรวจ พร้อมจัดระเบียบเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยจะกำหนดช่วงเวลาจัดเก็บช่วง 09.00 – 15.00 น. เพื่อไม่ให้ขัดต่อ พ.ร.บ.จราจร ที่มีข้อบังคับห้ามจอดตามช่วงเวลา ทั้งนี้ก่อนจะดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียม กรุงเทพมหานครจะมีการลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ก่อน” รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าว

รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับจัดระเบียบการจอดรถได้ มีจำนวน 7 เส้นทาง ประกอบด้วย 1. ถนนอรุณอมรินทร์ ตั้งแต่แยกถนนพรานนก ถึงเชิงสะพานคลองมอญ และตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ใต้สะพานพระราม 8) ถึงเชิงสะพานคลองมอญ 2. ถนนราชินี ตั้งแต่แยกถนนพระอาทิตย์ ถึงแยกถนนมหาราช และ 3. ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ 4. ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ 5. ถนนตีทอง ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนเจริญกรุง เป็นเส้นทางระบายรถ 6. ถนนลาดหญ้า ตั้งแต่แยกสำนักการศึกษา ถึงวงเวียนใหญ่ และ 7. ถนนอุณากรรณ ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนบำรุงเมือง เนื่องจากกระทบกับการจราจรโดยรวมของกรุงเทพมหานคร และถนนบางเส้นกำหนดเป็นพื้นที่ห้ามจอด ตาม พ.ร.บ.จราจร

“กรุงเทพมหานครมีความห่วงใยในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน ซึ่งในการหารือดังกล่าวเพื่อเป็นการจัดระเบียบพื้นที่การจราจรให้เกิดความเท่าเทียม และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง ซึ่งจะนำข้อหารือนี้เสนอสภากรุงเทพมหานครเพื่อกำหนดเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป” รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าว

📌 #ข้อมูลร้าน บ้านขนมปังขิง เสาชิงช้า ☕🍰 1. ร้านเปิดทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เปิด 11.00-20.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เปิด...

Posted by บ้านขนมปังขิง เสาชิงช้า on Tuesday, December 10, 2019