เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา ชนิดน้ำ

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา ชนิดน้ำ

[[ คลิกเปิดไฟล์สื่อวีดิทัศน์ ]]

การใช้ไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืช
ความยาว: 5.12 นาที
ข้อมูล : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เรียบเรียงเนื่อหา/จัดทำสื่อ : งานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีผลิต 2565

รายละเอียด
วิดีทัศน์แนะนำแนวทางการป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ “ไตรโคเดอร์” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรคพืช ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรได้อย่างปลอดภัย ได้แก่ การคลุกเมล็ด , การรองก้นหลุม , การผสมกับวัสดุปลูก และ การผสมน้ำฉีดพ่น รวมถึงข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ที่ควรทราบ เพื่อลดความเสียหายทั้งสารพิษตกค้างในผลผลิต สิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้งาน รวมทั้งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสัตว์เลี้ยงทั่วไป และสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์  

ถอดองค์ความรู้

ไตรโคเดอร์ม่า

ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในดิน เศษซากพืช ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ และบริเวณระบบรากพืช ซึ่งบางสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถหาอาหารได้มาก ส่งผลให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี 

ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ ที่มีคุณสมบัติ และศักยภาพสูงในการควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืชได้ หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราที่อยู่ในดิน เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคเน่าคอดิน โรคใบไหม้ใบจุด โรคแอนแทรคโนส ในพืชผัก เช่น พริก แตงกวา มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดขาว มันฝรั่ง เป็นต้น 

แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ 

ในประเทศไทยมีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ ทั้งรูปแบบเชื้อสด เชื้อสำเร็จรูปในรูปแบบผงแห้ง และชนิดน้ำ โดยมีแนวทางในการใช้งานเชื้อราไตรโคเดอร์ชนิดเชื้อสด ดังนี้

  •  การคลุกเมล็ด โดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า 1-2 ช้อนแกง หรือประมาณ 10-20 กรัม ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม คลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก โดยอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้ไตรโคเดอร์ม่าเคลือบติดเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น
     
  •  การรองก้นหลุม รองก้นหลุมก่อนปลูกโดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า อัตรา 10-100 กรัมต่อหลุม ขึ้นกับขนาดหลุม หรือ ใช้เชื้อไตรโครเดอร์ม่า ผสมรำละเอียด และปุ๋ยหมัก สำหรับรองก้นหลุม ในอัตรา 1 : 5 : 40 หรือโรยรอบทรางพุ่ม ในอัตรา 80-100 กิโลกรัม ต่อไร่
     
  • การผสมกับวัสดุปลูก ใช้ไตรโคเดอร์ม่า ผสมกับวัสดุปลูกใน อัตรา 1 : 4 ก่อนใช้เพาะเมล็ดหรือเพาะกล้า 
     
  • การผสมน้ำฉีดพ่น ใช้ไตรโคเดอร์ม่า ในอัตตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยมีวิธีการเตรียมดังนี้
    • เชื้อสด 1 กิโลกรัม นำมากวนล้างสปอร์ในน้ำ โดยใช้ถุงกรอง
    • ทำการกรองเอาเฉพาะสปอร์เทลงถังฉีดพ่น 
    • ผสมสารจับใบ 5 มิลลิลิตร และเติมน้ำจนครบ 100 ลิตร  กวนให้เข้ากัน
    • ฉีดพ่นในแปลงและบริเวณโคนต้นพืช 

ข้อควรระวัง 

  • ไม่ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี และพื้นที่ที่ใช้สารกำจัดวัชพืช 
  • การฉีดพ่นควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อนในช่วงเวลาเย็น
  • เชื้อสดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1 เดือน หากกรองเอาสปอร์ผสมน้ำแล้ว ควรเก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 7 วัน

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา ชนิดน้ำ

          เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่งมีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวางโดยเส้นใยจากไตรโคเดอร์มาจะเจริญเติบโตแทรกเข้าไปเพื่อไม่ให้การเจริญเติบโตของเชื้อราที่ทำลายโรคพืชได้

          ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา     ช่วยลดกิจกรรมของเชื้อโรคพืช ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคพืช ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืช และช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช สามารถควบคุมราที่ทำให้เกิดโรคพืชได้หลายชนิด เช่น

1.เชื้อราพิเทียม ทำให้เกิดรากเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าของต้นกล้าในพืชไร่  

2.เชื้อราไฟท็อปเทอร่า ทำให้เกิดรากเน่าโคนเน่าในไม้ผล 

3.เชื้อสคลอโรเทียม หรือราเม็ดผักกาดทำให้เกิดโรคกล้าไหม้ โรคเหี่ยวในพืชผัก  

4.เชื้อราฟิวซาเรียม ทำให้เกิดโรคเหี่ยวในพืชผัก  

5.เชื้อราไรซ็อกโตเนีย ทำให้เกิดโรคเน่าคอดินในพืชผัก

ขั้นตอนการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา ชนิดน้ำ
เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา ชนิดน้ำ
เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา ชนิดน้ำ

Post Views: 5,587

แนะแนวเรื่อง