ไตรโคเดอร์มาพ่นทางใบได้ไหม

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมกับน้ำ(ชนิดเชื้อสด)

การเตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาใช้ผสมกับน้ำ การผสมเชื้อรากับน้ำควรผสมในอัตราส่วน 100 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 250 กรัม(้เชื้อสด1ถุง) ต่อน้ำ 50 ลิตร 

ขั้นตอนการใช้เชื้อผสมน้ำ 

1.น้ำเชื้อสด 1 ถุง (250กรัม) เติมน้ำลงไปในถุงปริมาณ 300 ซีซี หรือพอท่วมเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าว ให้แตกออกจนเชื้อกระจายตัวไปทั่วถุง(มีสีเขียวเข้มทั่วถุง)

2.กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอยตาถี่ ล้างเชื้อที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่งก่อนนำไปใช้ให้ผสมน้ำเพิ่มเติมให้ครบ 50 ลิตร 

การฉีดเชื้อราไตรโคเดอร์มา

1.การฉีดพ่นลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงปลูก ในขณะที่ลงเมล็ดพันธุ์ หรือในระหว่างที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโต ฉีดลงบนวัสดุปลูกให้ชุ่ม หรือเปียกชื้นเสมอ

2.ฉีดพ่นเชื้อสดลงบนโคนต้นพืชและวิสดุปลูกบริเวณรอบโคนต้นพืชให้ชุ่ม

3.การฉีดลงบนแปลงปลูกต้นพืชควรใช้ปริมาณ น้ำเชื้อสดในอัตรา 10-20ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชโดยทันที 

ข้อควรระวัง
-การใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสด ไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดมีข้อจำกัดในเรื่องของความทนทานต่อสภาพแวดล้อมเพราะว่าเชื้อราชนิดเชื้อสดนั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมจะเจริญเติบโตได้ตลอดเวลา เมื่อเชื้อราเติบโตจะเกิดเส้นใยสีขาวขึ้นมาในส่วนของเส้นใยสีขาวนี้ จะอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อม และจะสูญเสียคุณสมบัติและประสิทธิภาพได้ง่ายกว่าเชื้อราในรูปของสปอร์สีเขียว เชื้อราชนิดสดควรจะนำไปใช้ในทันทีเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

-ถ้าดินบริเวณที่เพาะต้นกล้าแห้งเกินไปก่อนฉีดพ่นเชื้อไตรโคเดอร์มาควรให้น้ำกับดืนให้มีความชื้นมากพอที่เชื้อไตรโคเดอร์มาจะซึมลงไปในดินได้ 

หลังจากที่ทราบวิธีการเตรียมเชื้อไตรโคฯ กันแล้วหากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกเมล่อน หรือ สายพันธุ์คิโมจิ สอบถามได้ครับผม คลิ๊กได้เลยครับ

 สั่งซื้อเมล่อนคิโมจิและสินค้าอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ครับ

ติดตามเกี่ยวกับไตรโคเดอร์มาตอนที่ 1-3 คลิ๊กเลยครับ

เมื่อพูดถึงโรคพืชที่พบกันบ่อยๆ แน่นอนว่ามีมากมายหลายโรค โดยสาเหตุส่วนใหญ่ก็มักเกิดขึ้นจากเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นเหมือนต้นตอของการเกิดโรคพืชระบาดในพืชหลายตระกูล ซึ่งการที่จะดูแลและป้องกันพืชให้ปราศจากโรคร้ายได้นั้น ก็ต้องเริ่มจากการกำจัดจากต้นกำเนิด 

ในวันนี้ grotech จึงจะพาไปดูกันว่า โรคพืชจากเชื้อรานั้นมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร หน้าตาของโรคเป็นแบบไหน รวมถึงแนะนำวิธีการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคพืชได้อย่างเห็นผล และปลอดภัยทำให้การป้องกันโรคพืชจากเชื้อรานั้นหมดไปจากผลผลิตของเกษตรกรทุกคนได้แบบถาวร

โรคพืชจากเชื้อราที่พบบ่อย

ไตรโคเดอร์มาพ่นทางใบได้ไหม

สำหรับโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่พบได้บ่อย จะมีอยู่ด้วยกัน 8 โรค ดังนี้

  • โรครากและโคนเน่า (Root and Stem rot) 

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Phytophthora spp.,Sclerotium spp. หรือเห็ดราใน Class Ascomycetes หรือ Basidiomycetes

อาการ : สำหรับใบจะเขียวม้วนงอ เมื่อโดนแดด หลังจากนั้นใบจะมีสีเหลืองถึงเหลืองซีดจากเส้นกลางใบก่อน และจากโคนใบไปถึงปลายใบ ใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ และใบจะแห้งติดลำต้นไม่ร่วง กิ่งแห้งตาย ส่วนรากและลำต้นก็จะเปื่อยยุ่ยไปด้วย

  • โรคราดำ (Black mildew)

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Capnodium sp., Meliola sp.

อาการ : ลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีดำขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีดำ ลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉกๆ เมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น สามารถเกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง ยอด ช่อดอก และผลอ่อน และถ้าหากราดำขึ้นปกคลุมดอก จะไม่สามารถผสมเกสรได้

  • โรคราสนิม (Rust)

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น Maravaria pterocarpi (ราสนิมพะยูง) Olivea teetonae (ราสนิมสัก) เป็นต้น

อาการ : อาการเริ่มจากจุดขนาดเล็กสีเหลือง ต่อมาเกิดผลสีน้ำตาลปนส้มเหมือนสีสนิม และจะเริ่มรุนแรงขนเนื้อเยื่อพืชกลายเป็นสีเหลืองและน้ำตาลจนถึงดำ ใบหลุดร่วง ซึ่งสามารถเข้าทำลายใบ กิ่งก้าน ลำต้น ผลได้เลย

  • โรคใบจุด (Leaf spot)

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อราหลายชนิดเช่น เชื้อรา Cercospora sp.,Macrophoma sp.

อาการ : ใบเป็นแผลที่มีขอบเขต ขนาดรูปร่าง สี แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเชื้อสาเหตุ เช่น ทรงกลม รี เหลี่ยม โดยส่วนมากขอบแผลจะมีสีเข้มกว่าตรงกลางแผล 

  • โรคใบจุดนูนดำ (Tar spot)

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อรา เช่น Alternaria sp.,Phyllachora sp. เชื้อราในกลุ่ม Ascomycetes

อาการ : แผลเป็นจุดนูนสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ ลักษณะมันวาว เป็นวงค่อนข้างกลมเรียง ซ้อนๆ กันเป็นชั้นๆ พบได้ทั้งบนใบและใต้ใบ

  • โรคใบไหม้ (Leaf blight)

สาเหตุการเกิดโรค : ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น Pestalotropsis sp. เป็นต้น

อาการ : เกิดจากการตายของเซลล์พืชอย่างรวดเร็ว ทำให้บนใบไม้เป็นแผลไหม้ขนาดใหญ่กว่าอาการใบจุด และมีขอบเขตของแผลจะกว้างขวางกว่าใบจุด โดยอาการไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้

  • โรคราแป้ง (Powdery mildew)

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อรา เช่น Oidium sp.,Uncinula tectonas

อาการ : ลักษณะของอาการจะสังเกตได้จากบนใบจะมีผงแป้งสีขาวๆ เกาะติดที่ใบคล้ายๆ กับเอาแป้งไปโรย โดยจะขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่างๆของผิวใบ ก้านใบ และส่วนยอด ต่อมาใบจะ เหลืองและแห้งตาย

  • โรคเหี่ยว (Wilt)

สาเหตุการเกิดโรค : เกิดจากเชื้อรา เช่น เชื้อ Verticillium sp.,Fumsarium spp.,Selerotium sp. เป็นต้น

อาการ : จะแสดงอาการที่ใบแบบเด่นชัด โดยอาการค่อยๆ ลุกลามจากส่วนล่างขึ้นไปยังส่วนปลายยอด สังเกตได้จากใบจะเหี่ยวลู่ลงในขณะที่ใบก็ยังมีสีเขียวอยู่  หลังจากนั้นใบเหลืองก็จะเหี่ยวลู่ลง และร่วงหลุดจากต้นในที่สุด

วิธีใช้ไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

วิธีการป้องกันและกำจัดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชนั้นทำได้หลายวิธี แต่สำหรับวิธีที่ปลอดภัย และเป็นวิธีการแนวเกษตรอินทรีย์ที่ทำแล้วได้ผลเร็ว ก็คือวิธีใช้ไตรโครเดอร์มาในการป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่า ไตรโครเดอร์เดอร์มาคืออะไร ไตรโคเดอร์มา คือ ปรสิตสำหรับเชื้อราชนิดอื่นๆ โดยเชื้อราไตรโครเดอร์มาจะดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช และซากสัตว์ และแหล่งอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เกษตรกรจะนำเชื้อรานี้มาใช้งานในการกำจัดโรคพืช เพราะไตรโครเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีกลไกในการควบคุมเชื้อรา เช่น การสร้างสารปฏิชีวนะ การแข่งขัน การเป็นปรสิต และการชักนำให้เกิดความต้านทาน นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วย

ไตรโคเดอร์มาพ่นทางใบได้ไหม

ซึ่งวิธีการใช้ไตรโครเดอร์มานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ โดยเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงวิธีการใช้ที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นพืชได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะถ้าหากใส่ลงไปในดินที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญและการ เพิ่มปริมาณเชื้อ เช่น ดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัด เกินไป ดินมีความเค็มสูง โครงสร้างของดินหรือเนื้อดินมีลักษณะแน่นทึบ การระบายอากาศและความชื้นไม่ดี ดินมีอินทรียวัตถุต่ำ อาจทำให้การใช้ไตรโคเดอร์มาไม่ประสบผลสำเร็จได้ จึงมีข้อควรระวังดังนี้

  1. ควรพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มาในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็น จะทำให้ตัวเชื้ออยู่ในดินได้นานขึ้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่บริเวณซึ่งจะฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย ควรใช้วัสดุอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหว่านปกคลุมผิวดิน
  2. ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในบริเวณที่แฉะ แต่ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อนหรือให้น้ำทันทีหลังฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพอเชื้อซึมลงดินได้
  3. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเหมาะกับการใช้ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา และควรเป็นปุ๋ยที่ผ่านกระบวนการหมักโดยสมบูรณ์แล้ว (เย็นแล้ว) หรือเป็นปุ๋ยที่กองทิ้งไว้จนเก่าแล้ว ไม่ควรใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมด้วยปุ๋ยยูเรีย หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี และไม่ควรใช้ในพื้นที่ที่ใช้สารกำจัดวัชพืชด้วย
  4. กรณีที่ต้องการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มากับปุ๋ยอินทรีย์-เคมี (ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ) ทั้งชนิดผงหรือชนิดอัดเม็ดให้ผสมได้ แต่ต้องหว่านทันทีที่ผสมเสร็จ ห้ามผสมแล้วเก็บไว้ในกระสอบ หรือกองไว้ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาอาจได้รับอันตรายจากปุ๋ยเคมี
  5. เมื่อผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ให้ใช้หว่านทันที ห้ามบรรจุลงในกระสอบหรือกองทิ้งไว้ เพราะอาจเกิดความร้อนในกองปุ๋ยเป็นอันตรายต่อเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้ ดังนั้น จึงควรเตรียมส่วนผสมของเชื้อสด รำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ให้พอใช้ในแต่ละครั้ง
  6. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผสมรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์หว่านลงดินในช่วงของการเตรียมดินก่อนการปลูกพืช และใช้น้ำเชื้อสดฉีดพ่นลงดินบนแปลงปลูกหรือรอบโคนต้น หรือใต้ทรงพุ่มในระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตต่อเนื่องเป็นระยะๆ
  7. ถ้าผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์ (เก่าหรือหมักดีแล้ว) โดยไม่ใส่รำข้าว สามารถเก็บปุ๋ยไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยใส่กระสอบหรือกองไว้ในที่ร่มและเย็น และควรคลุมด้วยพลาสติกหรือกระสอบ เพื่อรักษาความชื้นในเนื้อปุ๋ยเอาไว้ให้อยู่ที่ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์
  8. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาหลังหว่านปูนโดโลไมท์ ปูนขาว หรือสารปรับสภาพดินไปแล้ว 5-7 วัน
  9. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
  10. ควรใช้เศษหญ้า เศษใบไม้ หรือวัสดุต่างๆ คลุมผิวดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินไว้ ซึ่งจะช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญได้ดี และมีชีวิตอยู่รอดในดินได้นานยิ่งขึ้น
  11. ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือวัสดุอินทรีย์ลงดินเป็นระยะๆ โดยแบ่งใส่ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับเชื้อราไตรโคเดอร์มา และเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

สรุป

ในปัจจุบันทิศทางของเกษตรอินทรีย์มาแรงและมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นทุกๆ ขณะ จึงนับว่า ไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อจุลินทรีย์มีประโยชน์อย่างยิ่งยวดในวงการเกษตรกรไทย แต่ก็ต้องศึกษาวิธีใช้ไตรโคเดอร์มาให้ดี เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญและการเพิ่มปริมาณเชื้อ เช่น ดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัดเกินไป ดินมีความเค็มสูง การระบายอากาศและความชื้นไม่ดี ดินมีอินทรีย์น้อย ไม่มีอาหารในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้การใช้ไม่ประสบผลสำเร็จได้

ไตรโคเดอร์มาพ่นทางใบได้ไหม
Farmer spraying biological trichoderma in salad fram.

ดังนั้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องในวิธีที่ถูกต้อง เช่น ใช้ก่อนปลูกพืชรุ่นใหม่ทุกครั้ง ในกรณีของการปลูกพืช ผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชไร่ หรือใช้อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน 

ในกรณีของไม้ผลยืนต้น (ใช้บ่อยๆ ไม่มีอันตรายต่อพืช) ถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต หรือเมื่อเชื้อโรคลดปริมาณลง เชื้อไตรโคเดอร์มาที่จะลดปริมาณลงตามไปด้วย จนอยู่ในสภาพสมดุลของธรรมชาติ หากดินมีความชื้นและอินทรียวัตถุอย่างพอเพียง ไตรโคเดอร์มาก็จะยังคงมีชีวิตอยู่ในดินได้ต่อไป แต่หากดินขาดอาหารและความชื้นเมื่อใด เชื้อก็จะตายลงในที่สุด

791