ศิลปากร อักษร ญี่ปุ่น เกณฑ์

[SHARE] ประสบการณ์เรียนภาษาญี่ปุ่นที่ ม.ศิลปากร ปี1 เทอม1

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

  • ·
  • ·
  • ·
  • ·
  • ·
  • ·

     สวัสดีครับ วันนี้พี่จะมาแชร์ประสบการณ์การเรียนภาษาญี่ปุ่น ตอนปี 1 เทอม 1 ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อยากให้น้อง ปี 1 และบุคคลที่สนใจได้อ่านดูนะครับ 
 

อยากเรียนเอกภาษาญี่ปุ่นจังเลยทำไงอะ ? 

     หลังจากสอบเข้าได้แล้ว ในวันรับน้องก็ได้เจอเพื่อนๆ หลายคน พูดคุยกันเรื่องเอกที่อยากเรียนอะไรแบบนี้ “แกอยากเรียนเอกอะไรหรอ” “เอกญี่ปุ่นอะแก” ตอนนั้นคือแบบตกใจมาก =[_]= ถามใครต่อใครส่วนใหญ่ก็ อยากเรียนเอกญี่ปุ่น เพื่อนที่อยากเรียนเอกญี่ปุ่นนี่ก็มีแบบหลากหลายเวอร์ “ลูกครึ่งญี่ปุ่น” “สายญี่ปุ่นมาตอน ม. ปลาย” “สอบวัดระดับผ่านแล้ว” ตอนนั้นนี่แก้วน้ำในมือมันสั่นไปหมด ฮ่าๆ พี่เริ่มตั้งคำถามว่า เราจะเรียนสู้คนพวกนี้ได้ไหม ตัวพี่เองจะเรียกว่ามีพื้นภาษาญี่ปุ่นก็เรียกไม่เต็มปาก เพราะเรียนด้วยตัวเอง เพื่อสอบ Pat7.3 เพื่อยื่นแอดมิชชั่นที่นี่เท่านั้นเอง พี่เป็นเด็กวิทย์-คณิต เพราะฉะนั้น น้องที่ไม่มีพื้นก็ไม่ต้องกลัวไปนะ เพราะพี่ทำได้ น้องก็ทำได้ คำพูดคุ้นๆ มะ 
     
หลังจากเข้าหอประชุมเพื่อฟังชี้แจงการเรียนเรื่องเอกโท เป็นชั่วโมงๆ ทำให้พี่สรุปออกมาได้สั้นๆ [สอบภาษาต่างด้าวให้ผ่าน > ทำเกรดปี 1 เทอม 2 และ ปี 2 เทอม 1 ในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นทุกตัวให้ได้ เกรด C ขึ้นไป ]  เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่า 

ภาษาต่างด้าวคืออะไร 
     
เนื่องจากคนที่อยากเรียนภาษาญี่ปุ่น มีจำนวนมาก ( หมายถึง มาก จริงๆ ) แต่ทางภาค ไม่สามารถรับคนได้ทั้งหมด ทำให้ต้องมีการสอบเพื่อคัดคนเข้าเรียน ( คุณภาพมะ? ฮ่าๆ ) ตอนปีพี่มีคนอยากเรียนเยอะมากจนห้องสอบล้นไปอีกห้องนึงเป็นร้อยๆคน สำหรับน้องๆที่กลัวข้อสอบนี้ขอบอกว่า “หายห่วงได้เลย เรากับคนที่มีพื้นฐานมาก่อน ไม่มีใครได้เปรียบเสียบเปรียบใครแน่นอน” เพราะว่าเป็นภาษาสมมติ  สิ่งที่เราต้องมีคือ “มีระบบความคิด การช่างสังเกต ความเร็ว” เพราะพี่ใช้แค่นี้จริงๆ 


     น้องๆหลายคน อาจจะเคยหาข้อมูล เกี่ยวกับการสอบภาษาต่างด้าวนี้มาแล้วแน่นอน พี่ก็เคยหาเหมือนกัน แต่เจออันที่พอเป็นแนวทางได้อยู่ 2-3 ตัวอย่าง ข้อสอบในแต่ละปีมีความคล้ายกันแต่ไม่ทั้งหมด ฉะนั้นถ้าใครเจอตัวอย่างใน internet ก็อย่าปักใจเชื่อ แค่ลองทำให้รู้เป็นแนวทางพอ เดี๋ยวมันจะไปปิดกั้นความคิดเรา  

      แต่มีพาทนึงที่พี่เห็นแล้วคล้ายใน internet คือ พาทแต่งประโยค กล่าวคือเค้าจะให้ประโยคเรามา ให้เราสังเกตการวาง S, V, O, Adj, Adv, เป็นต้น แล้วไปแต่งประโยคใหม่โดยใช้โครงสร้างแบบเดียวกัน หรือการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นคำนามพหูพจน์ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็จะเติม s,es,ies อะไรแบบนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องคิดแบบมีเหตุผล และต้องช่างสังเกต พี่ต้องขอโทษด้วยที่ไม่อยากยกตัวย่างเยอะ อย่างที่บอกทำสมองให้โล่งๆ และไปสู้ในห้องสอบดีกว่านะเออ

     ทำไมต้องทำเร็ว ? เรามีเวลาแค่ราวๆ 45 นาทีเท่านั้น (ถ้าจำไม่ผิด)  ในการทำข้อสอบ ขอบอก ณ ตรงนี้เลยว่า สำหรับพี่เวลาน้อยมาก และหลายๆคนก็บอกเหมือนกันว่าน้อยจริง ดังนั้น ถ้าเกิดตรงไหนที่ไม่เข้าใจให้ข้ามไปทำที่เหลือก่อน เพราะข้อสอบมีเยอะ 

     หลังจากประกาศผู้รอดชีวิต และต้องมีคนเสียน้ำตา (นี่ก็ดรามา 555 ) แล้วทุกอย่างเหมือนจะจบ แต่ไม่ใช่แบบนั้นนี่เป็นแค่ประตูบานที่ 2 ของการเข้าเอก (บานแรกคือ addmission ) เท่านั้น เรามาดูกันว่าประตูบานต่อไปคืออะไร ( แต่ตอนแรกก็แอบคิดจะหนีไปเยอรมัน หรือฝรั่งเศส ถ้าไม่ได้เรียนภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน แห่ะๆ )

เก็บขา ? คืออะไร
     หลายคนคงเคยได้ยินมาแล้วว่าจะเข้าเอกต้องเก็บขา เก็บขาคือ การเรียนวิชาสาขา และต้องทำเกรดในทุกตัวไม่ต่ำกว่า C (ยกเว้นตอนปี 1 เทอม 1) ในกระทู้นี้ขอกล่าวถึงแค่ภาษาญี่ปุ่นนะครับ ขาในภาษาญี่ปุ่นมี
 
       Basic Japanese I ( ปี1เทอม1 ) สำหรับวิชานี้ ไม่เก็บเกรดเข้าเอกแต่เก็บเกรดในผลการเรียนนะจ้ะ ถึงจะไม่เก็บเกรด แต่ถ้าไม่เกรดได้โอเคเราก็ต้องคิดทบทวนแล้วว่า เราจะเรียนต่อหรือพอแค่นี้ มีหลายต่อหลายคนที่เรียนต่อแล้วพัฒนา แต่ก็มีหลายคนที่ต้อง F หรือ D ไปอันนี้ก็น่ากลัวเหมือนกัน

       Basic Japanese II ( ปี1เทอม2 ) นี่สิ ! เริ่มแล้วของจริง เป็นการเก็บเกรด แต่เนื่องจากมันเป็นวิชาที่ต่อเนื่องกัน ถ้า BJ1 ไม่เข้าใจหรือพื้นฐานไม่แน่น แต่เรียน BJ2 แล้วยังทำตัวเหมือนเดิม จะเสี่ยง F,D,D+ มากบอกเลย เพราะว่า เรียนยากขึ้น และหลายๆคนก็พยายามมากขึ้น ถ้าหวังทำตัวเหมือนเดิมแล้วเกรดจะดีน้องก็ไม่ใช่ The Face ค่ะ เข้าห้องดำมาได้เลย ( ผิดรายการละเพ่ ! )

       Basic Japanese III ( ปี2เทอม1 )
      Japanese Listening And Speaking I ( ปี2เทอม1 )
สำหรับ วิชา Basic Japanse III / Japanese Listening And Speaking I พี่จะเรียนใน ปี พ.ศ. 2559 นี้ไว้เรียนเสร็จจะมารีวิวใหม่นะจ้ะ


เรียนยังไงถึงจะได้เกรดน่ารักฟรุ้งฟริ้ง
     การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หาอยากได้เกรดสวยๆ เราต้องเรียนให้เป็น ขั้นแรกเรามาดูคำอธิบายรายวิชาว่า จุดประสงค์ ของวิชานั้นๆ ต้องการอะไรจากเรา และต้องหมั่นสังเกตอาจารย์ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง รายวิชา Basic Japanese I เท่านั้นนะครับ ขั้นแรกเข้าเว็บคณะ ไปหาหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต และศึกษาคำอธิบายกัน มาดูสิเค้าเขียนอะไรไว้บ้าง “ การอ่านออกเสียงและการเขียนอักษรที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่น หลักไวยากรณ์และรูปประโยคเบื้องต้น การฝึกการฟังการพูด การอ่าน และการเขียนประโยคเดี่ยว

อักษรศิลปากร ได้วุฒิอะไร

หลักสูตรการศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต - ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) ระดับปริญญามหาบัณฑิต - ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)

คณะอักษรศาสตร์ เอกอะไรบ้าง

คณะอักษรศาสตร์ประกอบด้วย 11 ภาควิชา ได้แก่.
บรรณารักษศาสตร์ (Library Science).
ประวัติศาสตร์ (History).
ปรัชญา (Philosophy).
ภาษาตะวันตก (Western Languages).
ภาษาตะวันออก (Eastern Languages).
ภาษาไทย (Thai).
ภาษาศาสตร์ (Linguistics).
ภาษาอังกฤษ (English).

คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร มีเอกอะไรบ้าง

รายละเอียดหลักสูตร.
รายวิชาศึกษาทั่วไป.
สาขาวิชาภาษาไทย.
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ.
สาขาวิชาประวัติศาสตร์.
สาขาวิชาภูมิศาสตร์.
สาขาวิชาภาษาตะวันตก.
สาขาวิชานาฏยสังคีต.
สาขาวิชาปรัชญา.

คณะอักษรศาสตร์ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง

1. คะแนนของวิชาสามัญ 7 วิชา ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) คณะอักษรศาสตร์ ใช้ 3 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา (แต่ละวิชามีค่าน้ำหนักร้อยละ 25) 2. คะแนน PAT 1 (คณิตศาสตร์) ร้อยละ 25..
ภาษาไทย.
ภาษาอังกฤษ.
สังคมศึกษา.