ป ว ส กับ ป ว ช

Skip to content

ป ว ส กับ ป ว ช

หลักสูตร (ปวส.) ระบบทวิภาคี

Home/หลักสูตร (ปวส.) ระบบทวิภาคี

หลักสูตร (ปวส.) ระบบทวิภาคีjane2021-06-22T14:35:15+07:00

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) ระบบทวิภาคี เรียน 2 ปี รับผู้จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6)

ระบบทวิภาคี คืออะไร

“ทวิภาคี” แปลว่า “สองฝ่าย” ซึ่งหมายถึง สถานประกอบการและโรงเรียน เยาวชนที่เข้าร่วมฝึกอาชีพในโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีนั้นจะมี 2 สถานภาพในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียน และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกอาชีพของสถานประกอบการด้วยการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาด้านอาชีพอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในระบบนี้ผู้เรียนหรือผู้ฝึกหัด (Trainee) จะต้องเรียนรายวิชาสามัญ รายวิชาชีพพื้นฐาน โดยเรียนและฝึกปฏิบัติเบื้องต้น ที่สถานศึกษา

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาประชาชนที่มีงานอาชีพ ได้เพิ่มวุฒิการศึกษา โดยการศึกษาในระบบทวิภาคี และสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป
  • เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้รับการฝึกอาชีพ ที่ตรงตามสาขางาน
  • เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถทำงานในสถานประกอบการได้

คุณสมบัติของผู้เรียน

  • สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 / เทียบเท่า / ปวช. ทุกสาขา  (มีวุฒิการศึกษาหรือใบรับรองมาแสดง)
  • มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
  • เพศหญิงหรือชาย
  • มีสภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เหมาะสมที่จะเรียนวิชาชีพในสาขาวิชาในอาชีพที่สมัครนั้นได้ตลอดหลักสูตร
  • สามารถฝึกอาชีพในสถานประกอบการได้
  • เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
  • เป็นผู้ที่ไม่เคยมีประวัติ หรือพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการค้า หรือเสพติดยาเสพติดทุกชนิดมาก่อน
  • มีใจรักในวิชาชีพที่ตนจะเข้ารับการฝึก
  • ยินดีปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานประกอบการและสถานศึกษา

ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับ

  • ได้รับการฝึกอาชีพที่ดี ตรงกับความต้องการของผู้เรียน
  • ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงกับเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน
  • ได้รับความรู้ทางวิชาการจากสถาบันอาชีวศึกษา
  • ได้รับค่าตอบแทน / เบี้ยเลี้ยง และความช่วยเหลืออื่น ๆ ด้านการศึกษาจากสถานประกอบการ
  • มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ
  • ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ได้รับวุฒิบัตรการฝึกอาชีพที่สถานประกอบการลงนามร่วมกับสถานศึกษาทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • เป็นการฝึกอาชีพที่ดี และได้รับความรู้ทางด้านวิชาการจากวิทยาลัย ฯ
  • ได้งานที่มีรายได้ดี
  • โอกาสในการศึกษาต่อเหมือนนักศึกษาระบบทั่วไป

สาขาวิชาที่เปิดสอน

  • เทคนิคเครื่องกล (ช่างยนต์)
  • เทคนิคอุตสาหกรรม (ช่างกลโรงงาน)
  • ไฟฟ้า
  • การบัญชี
  • เทคโนโลยีดิจิทัล

ความรู้

เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง เรียนต่อ “วิศวะ” ได้ไหม?

ป ว ส กับ ป ว ช

เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง เรียนต่อ วิศวะ ได้ไหม?

สวัสดีครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆ ท่าน เป็นยังไงกันบ้างครับ ช่วงนี้อากาศร้อนมากๆ แต่บางทีก็หนาว อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ ยังไงก็ขอให้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆ ท่าน มีสุขภาพแข็งแรง กันทุกๆ ท่าน เลยนะครับผม ขอบคุณมากครับ

หากเราจะคุยกันเรื่องการเรียนต่อ ของน้องๆ คนที่เรียนสายอาชีพ หรือ เรียนจบ ปวช. หรือ ปวส. มานั้น ก็สามารถศึกษาเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปได้ ในหลายๆ ช่องทางกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยเอกชน

ในส่วนตัวผมมองว่า สำหรับช่องทางการเรียนต่อของน้องๆ สายอาชีพนั้น ยังไม่ค่อยเปิดกว้าง มากพอ หากเรานำไปเปรียบเทียบกับน้องๆ ที่เรียนจบสายสามัญ หรือ ชั้น ม. 6 มานั้นเอง เพราะว่า มหาวิทยาลัยที่เปิดรับน้องๆ ที่เรียนจบสายอาชีพมานั้น มีจำนวนจำกัด ไม่ได้เปิดรับในทุกๆ มหาวิทยาลัยนั้นเอง

ป ว ส กับ ป ว ช

ก่อนอื่นผมต้องขออธิบายก่อนนะครับว่า ปวช. และ ปวส. นั้นคืออะไร

ปวช. ย่อมาจาก “ประกาศนียบัตรวิชาชีพ” รับคนที่จบวุฒิ ม.3 หรือเทียบเท่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมดตามหลักสูตร 3 ปี เรียนจบมาแล้วจะได้รับวุฒิ “ประกาศนียบัตรวิชาชีพ” หรือ เทียบเท่าวุฒิ ม.6 นะครับผม

ปวส. ย่อมาจาก “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง” รับคนที่จบวุฒิ ปวช., ม.6 หรือ เทียบเท่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมดตามหลักสูตร 2 ปี เรียนจบมาแล้วจะได้รับวุฒิ “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง” หรือ เทียบเท่าวุฒิ “อนุปริญญา” นะครับผม

สำหรับน้องๆ หลายคนที่กำลังเรียน ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง อยู่ หรือ น้องๆ ที่เรียนจบแล้วก็ตาม ที่อยากจะรู้ว่า ตัวเองจะมีโอกาสที่จะศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้หรือไหมนั้น เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดกันได้เลยนะครับ

ป ว ส กับ ป ว ช

หลังจากที่ผมได้ทำการศึกษาหาข้อมูลมาพอสมควรแล้วนั้น ก็ได้คำตอบมาว่า สำหรับน้องๆ ที่เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง นั้น สามารถศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นะครับ เพียงแค่มีเงื่อนไขบ้างอย่างที่ไม่เหมือนน้องๆ ที่เรียนจบมาจากสายสามัญ หรือ ม.6 นั้นเอง ครับผม

น้องๆ ที่เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง สามารถเข้าไปศึกษาหารายละเอียดเพิ่มเติมที่ชัดเจนมากขึ้น ได้ตาม เว็บไซต์ หรือช่องทางการติดต่อ ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้เลยนะครับผม เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวน้องๆ เองด้วยนะครับ

สำหรับ น้องๆ ที่เรียนจบ. ปวช. มานั้นก็สามารถสอบโควต้า หรือ สอบเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาได้ตามระเบียบของแต่ละแห่งได้เหมือนน้องๆ ที่เรียนจบ ม. 6 มาเลยนะครับ

ส่วนน้องๆ ที่เรียนจบ ปวส. มานั้น อาจจะมีทางเลือกน้อยกว่า เพราะมีเพียงมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่เปิดรับ วุฒิ ปวส. เข้าหลักสูตรเทียบโอน ในระดับปริญญาตรี ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 3 ปี ต่อเนื่อง นั้นเองครับผม

ป ว ส กับ ป ว ช

ผมจะขอยกตัวอย่าง สถาบันการศึกษาที่เปิดรับน้องๆ สายอาชีพ ปวช. และ ปวส. นั้น มีดังนี้นะครับ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ, สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ ทั่วประเทศ

นี่ก็เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เบื้องต้นเท่านั้น หากน้องๆ มีความสนใจในการศึกษาเรียนต่อ ก็สามารถเข้าไปหารายละเอียดต่างๆ ได้ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้เลยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับผม

ป ว ส กับ ป ว ช

สุดท้ายนี้อยากจะฝากน้องๆ ไว้ว่า...

โอกาสไม่ได้มาหาใครง่ายๆ หากมีโอกาสมาหาแล้ว ก็จงคว้ามันมาให้ได้ แต่หากโอกาสยังไม่มาหาเรา ก็อย่านั่งรอโอกาส จงวิ่งไปตามหาโอกาส แล้วเราก็จะได้โอกาสมาเอง

ภาพหน้าปกจาก: Pixabay / Gillian Callison

ภาพจากลำดับที่ 1 จาก: Pixabay / Stefan Gebhard

ภาพจากลำดับที่ 2 จาก: Pixabay / graphiclinegroup

ภาพจากลำดับที่ 3 จาก: Pixabay / RAEng_Publications

ภาพจากลำดับที่ 4 จาก: Pixabay /  RAEng_Publications

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

ความคิดเห็น

ป ว ส กับ ป ว ช

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์