ค่าธรรมเนียม การถอน บังคับคดี ก ยศ

จะทำHair Cut กะ HSBC ตกลงยอดได้แล้ว แต่เค้าบอกให้ไปถอนอายัดเอง แล้วก็เสียค่าธรรมเนียมเอง ปกติเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าคะ

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ขออภัยคุณแก้ว เขาถามเรื่องถอนที่กรมบังคับหรือนี้
ตอบใหม่ ไปถอนเองเลยถ้าเป็นบ้าน
หรือเงินเดือนถ้าร้อนใจ

Last edit: 10 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา by chaowalert.

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ค่าธรรมเนียม การถอน บังคับคดี ก ยศ
ท่านมหาเลิศงัวเงียแต่เช้า ทำงานหนักขาดการพักผ่อนเต็มที่
เลยข้ามเรื่องที่ถามไปหน่อยค่ะ

ประเด็นที่ถาม ถอนอายัดกะกรมบังคับคดีเอง?

มาสั้นตอบสั้น เพราะไม่รู้ว่า คุณจขกท หมายถึงอายัดอะไร ทรัพย์สินหรือเงินเดือน

คุณคงเจอเจ้าหนี้ที่ได้เงินแล้วจบ หรือการตกลงกันเรื่องปิดหนี้ ไม่ลงรายละเอียด
การถอนอายัดอะไรก็ตามของคุณ แต่โดยปกติ คนที่ถอนคือคนที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม
ในการถอน ประมาณ 2% ของหนี้ ถ้าจำไม่ผิดแล้วต้องไปยื่นคำร้องหรือแถลงต่อกรม
บังคับคดี ถ้ามีการตกลงกันดี ทางเจ้าหนี้จะยอมไปถอนให้เพราะได้เงินแล้ว แต่
อาจให้ลูกหนี้จ่ายค่าถอนเอง แล้วแต่กรณีไป อาจไปด้วยกันหรือเจ้าหนี้ไปเดียว
ขึ้นอยู่กับว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ไป ลูกหนี้รอเอกสารนานหน่อยค่ะ เพราะกรมฯ จะจัดส่งไปที่
บริษัทฯ หรือที่บ้านตามมาค่ะ

ของแก้วจ๋าที่เคยถูกอายัดเงินเดือน ได้ตกลงกับเจ้าหนี้ว่า ไปด้วยกัน แต่ค่าธรรมเนียม
ในการถอน เจ้าหนี้อาสาออกให้ เพราะเขาได้เงินเราไปเยอะ

ค่าธรรมเนียม การถอน บังคับคดี ก ยศ
ก็ไปเจอกันที่กรมฯ
จ่ายเงินปิดหนี้ แล้วเซ็นเอกสารคำร้อง นอกนั้น ฝ่ายเจ้าหนี้ก็เดินเรื่องให้ รอสัก 2ชั่วโมง
ก็ได้เอกสารแจ้งถอนอายัดเงินเดือนเป็นที่เรียบร้อย

Last edit: 10 ปี 5 เดือน ที่ผ่านมา by kaewja.

กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิกใหม่ เพื่อเข้าร่วมวงสนทนา

ขอเพิ่มเรื่องอายัดทรัพย์ ที่คุณสามารถสืบค้นหาจาก google หรือ ปุ่มสืบค้นด้านบนนะค่ะ จะได้ไม่มีคำถามคาใจอีก

ถาม : กรณีเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินที่ถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อมาลูกหนี้ได้ชำระ หนี้ให้แก่เจ้� ��หนี้นอกศาลจนเป็นที่พอใจแล้ว และเจ้าหนี้แจ้งว่าจะถอนการยึดให้ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ยอมถอนการยึดให้เจ้าของร่วมในที่ดินมีสิทธิขอให้ศาลสั่ง ถอนการยึดได� ��หรือไม่ และกรณีนี้ใครจะเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียม

ตอบ : เจ้าหนี้จะต้องมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอถอนการยึดทรัพย์และเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย ให้ติดต่อเจ้าหนี้ให้มาดำเนินการกับเจ้าพนักงานบังคับคดี หากเพิกเฉยจึงค่อยดำเนินการร้องศาลให้มีคำสั่งต่อไป

การถอนการยึดทรัพย์ ต้องให้โจทก์มายื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอถอนการยึดทรัพย์ ว่าคงต้องชำระหนี้หรือมีข้อตกลงกันภายนอกมาก่อนแล้ว และจะคิดคำนวณค่าธรรมเนียมยึดแล้วแต่ไม่มีการขาย และค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีว่าเป็นเงินจำนวนเท่าใด โดยจะเรียกให้โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ชำระ และจะต้องชำระจนครบถ้วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงจะถอนการยึดให้ การถอนการยึดต้องกระทำก่อนวันเอาทรัพย์ขายทอดตลาดครั้งต่อไป

การถอนการยึดทรัพย์ เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ยึดทรัพย์เอง ไม่ประสงค์จะบังคับคดีขายทอดตลาดเอากับทรัพย์ที่ยึดนั้นต่อไปแล้ว เพราะอาจมีการชำระหนี้ หรือตกลงเอาทรัพย์ของจำเลยใช้หนี้โจทก์ จะมาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์นั้นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งกรณีเช่นนี้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมที่ยึดแล้วไม่มีการขายตามกฎหมาย จากราคาประเมินทรัพย์ที่ยึด

ถาม : ถูกเจ้าหนี้ยึดทรัพย์จะขายทอดตลาด ต่อมาสามารถไกล่เกลี่ยกันได้ มีข้อสงสัยในสัญญาประนอมหนี้ให้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการถอน การยึดทรัพย� �� อยากทราบว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนเท่าไร และควรไปทำสัญญาประนีประนอมที่ศาลอีกหรือไม่

ตอบ : ไม่ต้องไปทำสัญญาที่ศาลแล้ว แต่ให้เจ้าหนี้มาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดี โดยระบุว่ามีการชำระหนี้ตามข้อตกลงครบถ้วนเป็นที่พอใจแล้ว ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมกับชำระค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีซึ่งลูกหนี้ต้องชำระต่อกรมบังคับคดี

ถาม : ตามพรบ.แก้ไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2551 กำหนดเพิ่มมาตรา 169/2 ในวรรคท้าย ให้ความรับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ให้ผู้ขอยึด หรืออายัดทรัพย์ เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์นั้น ในกรณีที่ โจทก์ หรือ จำเลย ได้ทำข้อตกลงกันให้คดียุติ โจทก์ผู้ขอยึดจะตกลงให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมถอนการยึดได้หรือไม่ ชึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะใช้บังคับกันได้หรือไม่

ตอบ : ข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับกันได้ แม้ตาม ม.169/2 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะบัญญัติให้ในกรณีที่มีการถอนการ บังคับคดี นอกจากตามมาตรา 295(1) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีก็ ตาม ก็เป็นบทบัญญัติทั่วไปในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากมาตรา 295(1) เท่านั้น แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะตกลงกันให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชำระไม่มีข้อ ห้ามแต่อย่างใ� ��

สรุปก็คือ...มันขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันเองระหว่าง "เจ้าหนี้" กับ "ลูกหนี้" ว่าจะให้ใครเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ ถ้าหากมีข้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้นๆ (ต้องทำเป็นหนังสือยืนยันข้อตกลงเท่านั้น จึงจะสามารถใช้บังคับได้ตามกฏหมาย ไม่ใช่ตกลงกันด้วย "ลมปาก" เพียงอย่างเดียว)

แต่ถ้าไม่มีการทำข้อตกลงกันมาก่อน...ทางฝ่ายเจ้าหนี้ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี โดยต้องให้ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้มาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดีออกไป ตามมาตรา 169/2...แต่ถ้าหากฝ่ายเจ้าหนี้เพิกเฉย ลูกหนี้มีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาล ให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เจ้าหนี้ต้องเป็นผู้ดำเนินการ ตามมาตรา 295(1) ที่กฏหมายกำหนดไว้