พ่อกรุ๊ป a แม่กรุ๊ป a ลูกกรุ๊ปอะไร

อธิบายง่ายๆ ว่าการถ่ายโอนเลือด ก็เช่นการถ่ายโอนเลือดเวลาบาดเจ็บกะทันหัน หรือการบริจาคเลือให้ผู้อื่น โดยการรับเลือดก็คือรับเลือดจากผู้อื่นที่เป็นกรุ๊ปอะไรได้บ้าง เช่น ถ้าคุณกรุ๊ปเลือด A เพื่อนของคุณกรุ๊ปเลือด O จะสามารถถ่ายโอนให้กันได้

สมัยก่อนที่จะมีใช้วิธีตรวจพิสูจน์ด้วยการตรวจดีเอ็นเอ หลายประเทศก็เคยใช้วิธีการดูหมู่เลือดเพื่อตรวจสอบคร่าวๆ เพื่อยืนยันทางกฎหมาย 

แต่ชีวิตจริงไม่เหมือนในละคร หากสงสัยว่าเด็กเป็นลูกคนไหนแล้วจะเที่ยวไปดึงผมคนนั้น เพราะอย่างแรกคือดีเอ็นเอบนเส้นผมมันมีน้อยกว่าในเลือด ถ้าจะดึงให้ตรวจดีเอ็นเอได้ต้องดึงให้ติดหนังศีรษะ (ลองคิดภาพตามว่ามันต้องเจ็บมากแน่ๆ) จึงเป็นเหตุผลที่ศาลจะพิจารณาให้ตรวจตามความสมัครใจและตามความเหมาะสมเท่านั้น

พ่อกรุ๊ป a แม่กรุ๊ป a ลูกกรุ๊ปอะไร

หากเกิดกรณีว่าที่คุณพ่อคุณแม่อยากรู้คร่าวๆ เพื่อประเมินก่อนตัดสินใจจดทะเบียนรับรองบุตร การเทียบกรุ๊ปเลือดพ่อแม่ลูก พอจะบอกความสัมพันธ์นี้ได้

กรุ๊ปเลือดบอกพันธุกรรมพ่อแม่ลูกได้เบื้องต้น

เนื่องจากความสัมพันธ์บางครั้งไม่จบลงที่การสมรสเสมอไป การตรวจความสัมพันธ์ “พ่อ-แม่-ลูก” เป็นวิธีที่ศาลใช้บังคับฟ้องร้องคดีแพ่ง เพื่อให้ร่วมกันจ่ายค่าดูแลได้ รวมถึงเป็นการยืนยันให้เด็กได้สัญชาติไทยในกรณีที่พ่อแม่เป็นต่างด้าว แต่หากเราอยากรู้ความสัมพันธ์ “พ่อ-แม่-ลูก” อย่างคร่าวๆ เพื่อประเมินว่าควรไปตรวจดีเอ็นเอต่อไปหรือไม่ การเทียบตารางกรุ๊ปเลือดพ่อแม่ลูก พอจะประกอบการตัดสินใจได้เบื้องต้น 

ตารางกรุ๊ปเลือด พ่อ แม่ ลูก 

พ่อกรุ๊ป a แม่กรุ๊ป a ลูกกรุ๊ปอะไร

รูปแบบที่ 1 : พ่อ A แม่ A ผลลัพธ์ ลูก A หรือ O เท่านั้น
รูปแบบที่ 2 : พ่อ B แม่ A ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB, O เท่านั้น
รูปแบบที่ 3 : พ่อ AB แม่ A ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB เท่านั้น
รูปแบบที่ 4 : พ่อ O แม่ A ผลลัพธ์ ลูก A หรือ O เท่านั้น
รูปแบบที่ 5 : พ่อ A แม่ B ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB, O เท่านั้น
รูปแบบที่ 6 : พ่อ B แม่ B ผลลัพธ์ ลูก B หรือ O เท่านั้น
รูปแบบที่ 7 : พ่อ AB แม่ B ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB เท่านั้น
รูปแบบที่ 8 : พ่อ O แม่ B ผลลัพธ์ ลูก B หรือ O เท่านั้น
รูปแบบที่ 9 : พ่อ A แม่ AB ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB เท่านั้น
รูปแบบที่ 10 : พ่อ B แม่ AB ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB เท่านั้น
รูปแบบที่ 11 : พ่อ AB แม่ AB ผลลัพธ์ ลูก A, B, AB เท่านั้น
รูปแบบที่ 12 : พ่อ O แม่ AB ผลลัพธ์ ลูก A หรือ B เท่านั้น
รูปแบบที่ 13 : พ่อ A แม่ O ผลลัพธ์ ลูก A หรือ O เท่านั้น
รูปแบบที่ 14 : พ่อ B แม่ O ผลลัพธ์ ลูก B หรือ O เท่านั้น
รูปแบบที่ 15 : พ่อ AB แม่ O ผลลัพธ์ ลูก A หรือ B เท่านั้น
รูปแบบที่ 16 : พ่อ O แม่ O ผลลัพธ์ ลูก O เท่านั้น

กรุ๊ปเลือดลูกที่จะเหมือนพ่อหรือแม่ 100% คือกรุ๊ป O เท่านั้น แต่ตามธรรมชาติก็พบการกลายพันธุ์ในพันธุกรรม จึงควรตรวจยืนยันด้วยวิธีตรวจดีเอ็นเอดีที่สุด

ตรวจความสัมพันธ์เพื่อรับรองบุตรทางกฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนรับรองบุตร คือ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2533 การฟ้องร้องให้รับรองบุตร หรือการเรียกร้องให้ตรวจดีเอ็นเอ ต้องได้รับการยินยอมจากผู้เยาว์ หรือผู้แทนโดยชอบธรรม แต่หากไม่ให้ความยินยอมร่วมมือ ก็จะมีผลต่อรูปคดีด้วย

การรับรองบุตรตามกฎหมาย จะทำให้เด็กได้สิทธิพื้นฐาน และมีผลต่อการเข้าโรงเรียน, การเดินทางข้ามประเทศ, การเกณฑ์ทหาร และการรับมรดก เป็นต้น

เหตุผลที่ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กหรือผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้ปกครองของเด็ก) เพราะการตรวจดีเอ็นเอแต่ละครั้ง ต้องเจ็บเนื้อเจ็บตัว ทั้งดึงเส้นผม เจาะเลือด หรือการเขี่ยเยื่อบุผิวที่กระพุ้งแก้ม โดยต้องเก็บตัวอย่างผิวหนังหรือเซลล์ให้ได้จำนวนที่มากพอ  

ตรวจความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกจากหมู่เลือด แตกต่างจากตรวจดีเอ็นเออย่างไร

พ่อกรุ๊ป a แม่กรุ๊ป a ลูกกรุ๊ปอะไร

การตรวจความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกจากการตรวจเลือดนั้นไม่แม่นยำเท่าการตรวจดีเอ็นเอ เพราะเป็นการตรวจคร่าวๆ และหากตรวจพบว่ากรุ๊ปเลือด “ตรงกัน” ก็ยังมีโอกาสผิดพลาดอยู่ดี เนื่องจากตำแหน่งโปรตีนที่ใช้สารเคมีตรวจสอบนั้นเป็นตำแหน่งใหญ่ จึงไม่สามารถคัดกรองสิ่งที่ซ่อนอยู่เล็กๆ ได้

พ่อกรุ๊ป a แม่กรุ๊ป a ลูกกรุ๊ปอะไร

การตรวจดีเอ็นเอ แม่นยำถึง 99.99% เพราะสารเคมีที่ใช้ตรวจสอบ ระบุตำแหน่งบนโครโมโซมที่เฉพาะเจาะจง จึงมีโอกาสผิดพลาดน้อยมาก ดังนั้นทางกฎหมายการใช้หลักฐานตรวจดีเอ็นเอจะแม่นยำกว่าการตรวจเลือดเสมอ 

สิ่งที่ตามมาหลังจากตรวจความสัมพันธ์ พ่อ แม่ ลูก

ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของคนสองคน และเมื่อมีบุตรมาเกี่ยวข้อง ก็จะเป็นเรื่องของคนในครอบครัวที่ร่วมตัดสินใจเพื่อตกลงวางแผนการเลี้ยงดูให้ดีที่สุดตามแบบที่เห็นตรงกัน อย่างไรก็ดีการรับรองบุตรบางครั้งก็ตกลงกันได้เอง โดยไม่ต้องฟ้องร้องให้ศาลช่วยตัดสิน 

แต่ในกรณีที่เข้ารับการตรวจสอบอย่างชัดเจนแล้วพบว่า ความสัมพันธ์ของเด็ก “ตรง” หรือ “ไม่ตรง” กับคุณพ่อหรือคุณแม่ ก็จะมีสิ่งที่ครอบครัวต้องทำใจยอมรับในภายหลัง เช่น 

กรณีตรวจ DNA หลังจากทำสูติบัตรแก่เด็กเรียบร้อยแล้ว

หากมีการแก้ไขชื่อ “บิดา” หรือ “มารดา” ภายหลัง ก็ต้องแจ้งทำความเข้าใจให้กับเด็กทราบภายหลัง หากลูกยังเล็กอยู่ วันหน้าเขาก็จะมีคำถามถึงประเด็นนี้ และคุณพ่อคุณแม่ก็เตรียมคำตอบเพื่ออธิบายในวัยที่เขาเข้าใจเหตุผลได้

กรณีผลตรวจ DNA แล้ว แต่ญาติยังไม่เชื่อ

หากเป็นการเดินทางไปตรวจดีเอ็นเอกันเองจากสถาบัน หรือโรงพยาบาลที่ตรวจสอบได้ ถือเป็นการตรวจสอบเบื้องต้น หากต้องการการยืนยันเพื่อมีผลทางกฎหมาย จำเป็นต้องฟ้องร้องให้ศาลพิจารณา เพราะส่งผลต่อสิทธิต่างๆ ของเด็กในอนาคต หากต้องร้องขอเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ก็ต้องเป็นไปตามความเหมาะสม ต้องดำเนินการตรวจกับสถาบันที่ได้รับการรับรองจากศาลเท่านั้น เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลตำรวจ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

สุดท้ายนี้หากเทียบกรุ๊ปเลือดพ่อแม่ลูกแล้วยังมีข้อสงสัยอยู่ ก็จำเป็นต้องส่งตรวจดีเอ็นเอต่อไป ค่าใช้จ่ายของการตรวจ DNA ต่อ 1 ครั้ง อยู่ที่ 4,000 - 10,000 บาท ต่อคน แต่การตรวจกรุ๊ปเลือดมีค่าใช้จ่าย 500 - 1,000 บาท ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ปกครองนำมาประกอบการตัดสินใจส่งตรวจต่อไปได้