ตัวอย่าง การเขียน ประชาสัมพันธ์ เชิญ ชวน

ตัวอย่าง การเขียน ประชาสัมพันธ์ เชิญ ชวน

การเขียนถ้อยคำสำนวนเชิญชวน  เป็นการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้อ่านสนใจและเกิความรู้สึกอยากทำตาม  จึงต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้สื่อความหมายตามที่ต้องการ     โดยคำนึงถึงจังหวะ    และความนุ่มนวลในน้ำเสียงของคำด้วย  มีความจริงใจ  เต็มใจ  ไม่ใช่การบังคับ  คำเชิญชวนมีหลายประเภท เช่น ประกาศ   แผ่นพับ  แผ่นปลิว  ป้ายโฆษณา  การบอกกล่าวด้วยวาจาทางเครื่องขยายเสียง  วิทยุ   โทรทัศน์

หลักการเขียนคำเชิญชวน

1.มีจุดประสงค์ชัดเจนและสร้างความตระหนักให้ผู้อ่านรับรู้ว่า  หากปฏิบัติตามคำเชิญชวน  จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม  ย่อมได้รับการยกย่อง

2.ใช้ภาษาง่ายๆไม่ต้องแปล มีความเป็นกลาง  มีความหมายเร้าใจ  ทั้งการเสนอแนะ  ขอร้อง  วิงวอน  ไม่ควรใช้ถ้อยคำเชิงข่มขู่บังคับ

3.มีสัมผัสคล้องจอง  มีความเหมาะสมด้านความหมายและเหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งบุคคลและสังคม

ตัวอย่างการเขียนคำเชิญชวน

            –           วันนี้คุณคือผู้อ่าน   พรุ่งนี้คุณคือผู้นำ ( เสนอแนะ )

            –           ทิ้งขยะไม่เลือกที่หมดราศีไปทั้งเมือง  (เสนอแนะ )

–           เสร็จกิจปิดไฟ  ช่วยไทยประหยัดน้ำมัน ( ขอร้อง )

–           เห็นอะไรผิดสังเกต  รีบแจ้งเหตุให้ยามรู้  ( ขอร้อง )

–           สะอาดกายเจริญวัย  สะอาดใจเจริญสุข  (เสนอแนะ )

             –          เอาใจใส่กับครอบครัวสักนิดลูกจะไม่ติดยา ( วิงวอน )

 –          อากาศเป็นพิษ ชีวิตจะสั้น  ต้นไม้เท่านั้น  ทั้งกันทั้งแก้  ( เสนอแนะ )

 –          ยาบ้าอันตาย   ผู้เสพถึงตาย   ผู้ขายติดคุก  ( ขอร้อง )

–         สัตว์ป่าทุกชนิด  รักชีวิตเหมือนท่าน  เมตตาช่วยป้องกัน ไม่ให้สูญพันธุ์หมดไป ( วิงวอน )

–           แวะห้องสมุดสักประเดี๋ยว  เหมือนได้เที่ยวทั่วจักรวาล  ( วิงวอน )

 –          ล้อมรักให้ครอบครัวเหมือนล้อมรั้วป้องกันยาเสพติด( เสนอแนะ )

–          ปลอดไฟป่า  พงพนางดงาม  สัตว์สวยป่างาม  น้ำตกใส  ( เสนอแนะ )

–         เผาป่าอย่างยั้งคิด  ผิดกฎหมาย  ทำลายธรรมชาติ  (วิงวอน )

                –       ป่าสวย  น้ำใส  ไร้ควันไฟป่า  ถ้าชาวประชาหยุดทำลาย (วิงวอน )

  –          ไฟป่าพาพินาศ   รักชาติอย่าเผาทำลาย  (วิงวอน )

  • เคร่งครัดหลักการใช้ เพราะภาษาไทยเป็นหัวใจของชาติ

****************************

การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน

        ในแต่ละวันเราทุกคนย่อมได้รับสารจากแหล่งต่างๆ เช่น  หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร วิทยุ และโทรทัศน์ หรือประกาศเชิญชวน สารเหล่านี้มีจดมุ่งหมายต่างๆกัน บ้างก็มั่งให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงบ้างก็มุ่งให้ความบันเทิง บ้างก็มุ่งเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และการกระทำของผู้รับสารในสังคมประชาธิปไตยบุคลย่อมสามารถแสดงทรรศนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ถ้าทรรศนะนั้นแสดงออกด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยเฉพาะ  การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน เพื่อประโยชน์ทางสร้างสรรค์และด้วยเจตนาดีต่อสังคม

           คำ ทรรศนะ หมายถึง ความเห็น การเห็น เครื่องรู้เห็น อาจเขียนว่า ทัศนะ ก็ได้ ความหมายของทรรศนะก็คือ   ความคิดเห็นอันประกอบด้วยเหตุผลนั่นเอง

           คำ เชิญชวน หมายถึง การแสดงวามปรารถนาให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ อาจเป็นการบอกกล่าว กันด้วยวาจาก็ได้

หลักการเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน

     การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน เป็นการเขียนจุดประสงค์ที่จูงใจ โน้มน้าวใจให้ผู้รับสารยอมรับในสิ่งที่ผู้เขียนเสนอ การเขียนประเภทนี้จะต้องแสดงให้ผู้รับสารประจักษ์ชัดว่า เรื่องที่กำลังเชิญชวนนั้นมีเหตุผลหนักแน่น และมีคุณค่าทางสังคม

       การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน มีหลักสำคัญดังนี้

            คุณสมบัติของผู้เขียน             

            การกำหนดจุดจุดมุ่งหมายและการวางโครงเรื่อง

            การใช้ภาษาที่เชิญชวน

            การลงมือเขียนตามหลักการเขียนที่ดี  

            การตรวจสอบและปรับปรุง

คุณสมบัติของผู้เขียน

การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน ผู้เขียนต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑ . ใฝ่ศึกษาหาความรู้

    การเขียนต้องอาศัยหลักวิชาและศิลปะ ผู้เขียนจึงต้องหมั่นศึกษาหลักการเขียนที่ดีรู้จักสังเกตวิธีเขียนของนักเขียนที่มีชื่อเสียง อ่านบทความประเภทเชิญชวน หรือ ประกาศเชิญชวนของผู้อื่นเพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจ

๒. เป็นนักคิดสร้างสรรค์

   ความคิดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดงานเขียน ความคิดของผู้เขียนจะเฉียบคมลึกซึ้ง เปรียบเสมือนคลังเก็บวัตถุดิบสำหรับนักเขียน

๓.  มีมารยาท

    มารยาทในการเขียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวนเป็นการเขียนให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม เพื่อขจัดอารมณ์ที่บกพร่อง

  การกำหนดจุดมุ่งหมายและการวางโครงเรื่อง

 การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวนโดยทั่วๆ ไปเป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ

  การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน มีลักษณะดังนี้

๑.       การบอกจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจน

๒.   ชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับแก่ส่วนรวม    

๓.   กลวิธีในการเขียน

๔.   การปิดเครื่อง

  การใช้ภาษาที่เชิญชวน           

  การเขียนเชิญชวน เป็นการเขียนเพื่อโน้มน้าวใจให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องหลักเลี่ยงการใช้ถ้อยคำในลักษณะเป็นการข่มขู่ คุกคาม หรือการบีบบังคับ  ควรใช้ถ้อยคำเป็นเชิงเสนอแนะ

ตัวอย่าง การใช้ภาษาเชิญชวน

การใช้ภาษาเชิญชวน

การใช้ภาษาโดยไม่คำนึงถึงการเชิญชวน

 ๑)  ปีนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว   จังหวัดจึงขอความร่วมมือจากพวกคุณ         (ข้าราชการ) ให้ช่วยกันไปสืบค้นประเพณี     การละเล่นของแต่ละท้องถิ่นว่ามีอะไรเด่นๆบ้างเพื่อนำไปรวบรวม หาจุดเด่น หยิบยกมือขึ้นมาประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันมากๆเราอาจต้องฟื้นฟูประเพณีบางอย่างขึ้นมาก็ได้นอกจากนี้มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเช่น น้ำตก ป่าเขา ถ้ำ หาดทราย ชายทะเล สิ่งประหลาด ชีวิตพิสดารและแหล่งอาหารอร่อยขอให้ช่วยกันสืบค้นกันมาให้หมด รัฐบาลเจ้าหน้าที่ไปทำแผนที่เมื่อมีนักท่องเที่ยวมากันมากๆชาวบ้านก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น

   ๑) ทางจังหวัดของแจ้งให้พวกคุณทราบว่าปีนี้  รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและมี  สถานท้องถิ่นดีเด่น นอกจากนี้ก็ให้สืบค้นแหล่ง  ท่องเที่ยว เช่น น้ำตก ป่าเขา ถ้ำ หาดทราย  ชายทะเล สิ่งประหลาด ชีวิตพิสดารและแหล่ง  อาหารอร่อยมาให้หมด เพื่อรัฐบาลจะนำไปทำ    แผนท่องเที่ยว

 ๒ พวกเราทุกคนควรช่วยกันประหยัดพลังงาน เพราถ้าไม่ประหยัดแล้ว ในที่สดเราก็จะไม่มีพลังงานใช้งานใช้ กิจการแทบทุกอย่างในบ้านเมืองก็จะชะงักงันไปหมด ความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้น

  ๒) พวกเราทุกคนต้องประหยัดพลังงาน เพราะถ้าไม่ประหยัดแล้ว รัฐบาลอาจต้องใช้มาตรการเข้มงวดก่อนจะไม่มีพลังงาน

๓) เมื่อสูบบุหรี่ ควันที่ถูกพ่นออกจะก่อให้เกิดควันบุหรี่ในบรรยากาศ หรือควันบุหรี่ในสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ต้องอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่ในปริมาณมากและเป็นเวลานานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอด และ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายอื่นๆด้วยเช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก

๓)  เมื่อมีสูบบุหรี่  ควันบุหรี่ที่ถูกพ่นออกในบรรยากาศ หรือควันบุหรี่ในสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ต้องอยู่ในสถานที่ที่มี ควันบุหรี่ในปริมาณมากและเป็นเวลานานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอด และ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค   ร้ายอื่นๆด้วย  เช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก

     น้ำเสียงของภาษาที่ใช้ในการเชิญชวนนั้น ผู้เขียนต้องการความรู้สึกให้ผู้อ่านเกิดความคล้อย

ตาม ไม่ควรกล่าวเด็ดขาดตายตัว หรือกล่าวตรงไปตรงมา ไม่ใช้น้ำเสียงที่เป็นคำสั่งหรือแสดงอำนาจโดยไม่คำนึงถึงว่าจะกระทบกระเทือนจิตใจผู้รับสาร

      อนึ่ง ข้อความที่ใช้โน้มน้าวใจนั้นไม่จำเป็นจะต้องยืดยาวเสมอไป อาจเป็นถ้อยคำสั้นๆเพียงไม่กี่คำผูกแต่งขึ้นเป็นประโยคอย่างกระชับชัดเจน   การเขียนคำขวัญต้องมีจุดมุ่งหมายที่เด่นชัด คำขวัญแต่ละบทแม้จะมีความแตกต่างกันใน

เนื้อหาและรายละเอียด แต่ก็มีลักษณะร่วมกันบางประการดังนี้

๑. แสดงความคิดในเรื่องเรื่องหนึ่งอย่างเด่นชัด

๒.ใช้ถ้อยคำสั้นๆ กะทัดรัด มีความหมายลึกซึ้ง

๓. มีคำสัมผัสคล้องจองกัน ช่วยให้จำง่าย

ตัวอย่าง  ขวัญที่สามารถพบเห็นได้ในที่สาธารณะทั่วๆไป นักเรียนคิดว่ามันน่าจะเปลี่ยนข้อความ

   อ่านวันละนิด  จิตแจ่มใส………………………………………………......................................

  หนังสือคือประทีปส่องทาง  ให้ความสว่างสร้างปัญญา……………………………....................

  ช่วยชีวิตท่านได้  หากใช้หมวกกันน็อก.........................................................................................

  น้ำมันแพงนัก  ช่วยกันพร้อมพลั่ง  ประหยัดเชื่อเพลิง…………………………….........................

  ยาเสพติดเป็นพิษแก่ตน  กลายเป็นคนสิ้นคิด  ชีวิตอับปาง…………………………......................

 ลูกสาวก็ได้  ลูกชายก็ดี  อย่ามีเกินสอง………………………………………..................................

  อยากให้ปอดคนไทย  สะอาดสดใสไร้ควันบุหรี่...............................................................................

  ฝนตกทั่วฟ้า  เพราะป่าช่วยไว้  ไร้สิ้นทุกข์ภัย  เมืองไทยร่มเย็น.........................................................

.....................................................................................................................................................

  การลงมือเขียนตามหลักการเขียนที่ดี

        การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน มิได้หมายถึงการเขียนตามจุดมุ่งหมายและการวางโครงเรื่องเท่านั้น จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการด้วย คือ ต้องมีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ และน่าสนใจ

๑. มีเอกภาพ    เนื้อเรื่องจะต้องมีเนื้อหาอันเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่กล่าวนอกเรื่องการเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวนจะมีเอกภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการวางโครงเรื่อง

๒. มีสัมพันธภาพ    เนื้อหาจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตลอดทั้งเรื่องความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่เกิดจากการจัดลำดับความคิดและการวางโครงเรื่องที่ดี

๓.  มีสารัตถภาพ   การเจียนแสดงทรรศนะเชิญชวนแต่ละเรื่องต้องมีสาระที่สมบูรณ์ย่อหน้าทุกย่อหน้าจะต้องมีประโยคใจความสำคัญ

๔. เขียนให้น่าสนใจ  การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวนให้น่าสนใจ  ควรเลือกเรื่องที่ผู้คนกำลังสนใจ  เรื่องที่กำลังเป็นข่าว

การตรวจสอบและปรับปรุง  การตรวจสอบเป็นขั้นตอนการเขียนขั้นสุดท้ายที่จำเป็น ผู้เขียนไม่ควรละเว้นขั้นตอนเด็ดขาด เพราะจะได้ตรวจทานว่าเรื่องนั้นมีเนื้อหาครบถ้วนและภาษาสมบูรณ์หรือไม่

ตัวอย่าง   การเขียนแสดงทรรศนะเชิญชวน

                                               เรื่องที่ ๑

เรื่อง

ข้อสังเกต

     รักการอ่านและการเรียนรู้ถวายการเรียนรู้ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

     ชื่อเรื่องบอกจุดมุ่งหมายของการเชิญชวนไว้อย่างชัดเจน คือ ชักชวนให้รักการอ่าน

      จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การมุ่งให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะดังกล่าวจนเกิดเป็นนิสัยประจำตนได้

      เป็นบทนำคำเชิญชวนนี้ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง คือ มุ่งให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ รักการอ่าน รักการเขียนและค้นคว้า

      คงจะไม่เป็นการยากลำบากแก่คนทุกคนในสังคมปัจจุบัน หากทุกคนจะเพิ่มบทบาทการแนะแนวเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นลูกหลานของแผ่นดินไทยได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเองเท่านั้น

     สารนี้ใช้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการอ่านว่ามิใช่เป็นประโยชน์ในการศึกษาเล่าเรียนของตนเองเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิต

       เริ่มต้นกันด้วยวิธีการง่ายๆที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเองโดยการอ่านอะไรก็ได้วันละนิดอ่านอย่างไม่มีข้อจำกัด รูปแบบ สถานที่ เวลา

       แนะนำวิธีสร้างนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้เพื่อกลายเป็นกิจนิสัยรักการอ่าน

      แรกๆการอ่านของใครบางคนจะยุ่งยาก ไม่คล่องแคล่วนัก แต่เมื่อได้ปฏิบัติซ้ำๆบ่อยๆครั้ง ก็จะเกิดเป็นทักษะความชำนาญการอ่านจะคล่องแคล่วมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถจับประเด็น ในสิ่งที่อ่านได้รวดเร็วถูกต้องมากขึ้น

     ให้กำลังใจแก่ผู้เริ่มอ่าน และแนะนำแหล่งการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

       เมื่อนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้เป็นการเพิ่มข้อมูลให้แก่ตนเองถึงเพียงนี้แล้วจะมัวรอช้ากันอยู่ทำไม มาช่วยกันบอกต่อ ขยายวงนักการอ่านให้กว้างไกลไปทั่วแผ่นดินไทย

โดยตั้งเป้าหมายในการอ่านเพียง  “อ่านวันละนิด สว่างจิตคิดแจ่มใส”

      ชักชวนให้คนทั้งแผ่นดินร่วมกันเป็นนักอ่าน โดยตั้งเป้าหมายในการอ่านเพียง  “อ่านวันละนิด สว่างจิตคิดแจ่มใส”

      ทั้งนี้ ใคร่ขอเชิญชวนให้ทุกท่านปักธงชัยแห่งความสำเร็จร่วมกันทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นราชสักการะแต่สมเด็จพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงจัด

    สรุปด้วยการเชิญชวนให้ทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

     หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ทีมงาน..การศึกษาขั้นพื้นฐานจากคอลัมน์ “เกาะติดหลักสูตรใหม่”หนังสือพิมพ์มติชน

                                               เรื่องที่ ๒

เรื่อง

ข้อสังเกต

ชวนครอบครัวออกกำลังกาย

      ชื่อเรื่องบอกจุดมุ่งหมายของการเชิญ ชวนไว้อย่างชัดเจน คือ ชักชวนสมาชิกในครอบครัวออกกำลังกาย

       การสร้างความรักความอบอุ่น และสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นในครอบครัว ในยุคที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสที่จะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันน้อยนั้น สมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญยิ่ง ผู้สูงอายุนับว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าเพราะเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ สามารถเป็นที่ปรึกษาแนะนำให้กำลังใจแก่ลูกหลานและสมาชิกในสมาชิกครอบครัวเมื่อมีปัญหา ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ผ่านปัญหาและอุปสรรคมานานัปการ

       บทนำกล่าวถึงวิธีสร้างความรักความอบอุ่นและสัมพันธภาพของสมาชิกให้เกิดขึ้นในครอบครัว และกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุก็จะต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในครอบครัวด้วย

      สมาชิกในครอบครัวควรทำความเข้าใจว่าวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของร่างกายทุกระบบ และสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่นซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุดังนั้น จึงควรให้ความสนใจและหันมาดูแลผู้สูงอายุกันบ้าง

     สารนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของผู้สูงอายุพร้อมทั้งชักชวนให้สมาชิกในครอบครัวหันมาเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต

       การออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 20 – 30 นาที โดยการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน เช่น การเดินเร็ว การบริหาร การออกกำลังกายในน้ำ รำมวยจีน หรือ ถีบจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น

     การแนะนำกิจกรรมที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติตน คือ การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน

       ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีดังนี้คือ  ควรออกกำลังกายเพื่อความเพลิดเพลินและผ่อนคลาย มิใช่เพื่อการแข่งขัน  ออกกำลังกายให้ครบทุกส่วนทุกข้อต่อของร่างกาย ไม่เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งและควรออกกำลังกายในลักษณะราบเรียบสม่ำเสมอแทนการออกกำลังกายแบบรุนแรงและกระตุ้นแต่การออกกำลังกายต้องเริ่มช้าๆไม่หักโหม

      ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

เรื่อง

ข้อสังเกต

      การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี จึงอยากให้ทุกคนในครอบครัวเชิญชวนผู้สูงอายุมาออกกำลังกายร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเชื่อมสัมพันธภาพในครอบครัวให้อบอุ่นและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวเอง

     สรุปด้วยการเชิญชวนให้ทุกคนในครอบครัวออกกำลังกายร่วมกัน

กิจกรรม ๒ เขียนได้...เชิญชวนเป็น

พิจารณาคำเชิญชวนต่อไปนี้ ตามหลักการเขียนเชิญและความน่าเชื่อถือ

               ฉลอง “สมเด็จพระเทพฯ”๔๘พรรษาเชิญ อุทิศ “ดวงตา” ๔๘,000คู่

            ดวงตา    เป็นอวัยวะสำคัญ  ผู้ที่มีอยู่แล้วย่อมหวงแหน ส่วนผู้ที่เคยมีแล้วสูญเสียนับเป็นความทุกข์ทรมานทางจิตใจที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา

            ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการก่อเกิดศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ซึ่งรับผิดชอบการรับบริจาคดวงตาเพื่อนำไปให้ผู้กระจกตาพิการ แต่ในจำนวนนี้การเก็บส่งดวงตาของผู้บริจาคให้จักษุแพทย์ใช้ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้ผู้ป่วย สามารถทำได้เพียง ๔,๒๓๔ ดวงเท่านั้น และปัจจุบันมีผู้ที่รอคอยแสงสว่างอยู่กว่า 3,000 คน

            ประสาร  ไตรรัตน์วรกุล  ประธานกรรมการจัดหาและบริการดวงตา สภากาชาดไทย เล่าถึงปัญหาของการจอรับบริจาคดวงตาว่า มีสิ่งเกี่ยวข้องหลายอย่าง นับตั้งแต่วามเชื่อ ขั้นตอนการจัดเก็บหลังผู้บริจาคเสียชีวิต

             “มีคนอีกจำนวนมากที่มีความเชื่อว่า  ถ้าเราได้บริจาคอวัยวะส่วนใดในร่างกายไปแล้ว หากเกิดชาติหน้าจะไมมี่อวัยวะนั้นติดตัวมาด้วย ปัจจุบันมีการเปลี่ยนอวัยวะได้หลายๆอย่างได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต แต่อวัยวะที่เปลี่ยนกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นตา ในขณะเดียวกันการจัดหาดวงตายังอยู่ในสภาวะที่ขลาดแคลน”

สาเหตุนั้นมาจาก

            “ผู้ที่บริจาคมันไม่สมดุลกับผู้ป่วย เรารณรงค์มาโดยตลอดเพื่อหาทางที่จะให้มีผู้บริจาคดวงตามากขึ้นแล้วแต่ปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา สภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา เราจึงจัดโครงการรณรงค์ให้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตา ซึ่งตั้งเป้าไว้ที่ ๔๘,000 ราย”

“สิทธิประโยชน์ของผู้บริจาคดวงตา ทางสภากาชาดจะมอบเกียรติบัตรยกย่องคุณความดีของผู้บริจาค ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ตามความประสงค์ของทายาท”

   สำหรับ“ผู้รับ”การให้ลักษณะนี้มีค่านัก   

 น.ส.พิมพ์พรรณ เดชจรัส คืออีกคนหนึ่งที่ได้รับการเปลี่ยนดวงตา เนื่องจากเป็นโรคกระจกตาโค้งผิดปกติ เล่าถึงความรู้สึกที่ได้กลับมามองเห็นอีกครั้งว่า

       “วันที่ศูนย์ดวงตาฯ  แจ้งเปลี่ยนตา  เป็นวันที่ตื่นเต้นมาก ซึ่งกว่าจะได้เปลี่ยนนั้นต้องรอถึง ๗ ปีและวันที่ฉันได้มองเห็น ฉันมีความรู้สึกเหมือนมีใครมาให้โลกใบใหม่ ชีวิตฉันสดใสมากขึ้น ฉันดีใจมากและขอขอบคุณผู้ที่ให้ชีวิตใหม่กับฉัน จะไม่ลืมเลยตลอดชีวิต ฝากถึงผู้มีดวงตาที่สดใส มามอบให้ศูนย์ดวงตาเถอะค่ะจะเป็นการทำบุญต่อคนที่มองไม่เห็น ให้ชีวิตที่มืดมิดของเขากลับมามองเห็นได้อีกครั้ง”

 ...ดวงตาเราคู่นี้แสนมีค่า เกินกว่าจะทิ้งไปให้สูญเปล่า

      เราไม่อยู่เราไม่ใช้นัยน์ตาเรา ให้คนเขาเก็บไว้ใช้เราได้บุญ

ศรัทธาแห่งการ“ให้”

      สำหรับผู้ที่ยังเกรงหรือลังเลที่จะตัดสินใจบริจาคดวงตา ท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระวรธรรมคติไว้ว่า

        ...มีการบริจาคสำคัญอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างจะลังเลหวาดกลัวกันอยู่ คือ การบริจาคดวงตา หลายคนมีความเข้าใจว่าการบริจาคดวงตาจะทำให้เมื่อไปเกิดใหม่จะตาบอด เพราะดวงตาถูกนำออกจากร่างไปแล้วความคิดเช่นนี้น่าเห็นใจแต่ไมใช่เช่นนั้น  การทำบุญด้วยการบริจาคดวงตา อันเป็นเครื่องให้ความสว่างอันเป็นที่รักที่ชอบใจของเจ้าของย่อมให้ผลตรงกับคุณประโยชน์ ให้ผลตรงกับค่าของสิ่งนั้น นั่นคือ ผู้บริจาคดวงตาย่อมได้มีสายตาที่ดี ที่สว่างไสว ไม่มืดมัว ไม่มืดบอดทั้งในภพชาติปัจจุบัน คือเมื่อตั้งใจบอกบริจาคแล้วขณะยังมีชีวิตอยู่ ภพชาติปัจจุบันก็จะมีดวงตาที่ใสสว่าง ไม่ปวดไม่เจ็บได้

         ส่วนผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา พระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู ประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยระบุในสาสน์โอกาสครบรอบ ๓๗ ปี ของศูนย์ว่า

        “ความรักต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนและพร้อมพี่น้องเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของคริสต์ ศาสนา ซึ่งเรียกร้องให้บรรดาคริตศาสนิคชนพึงปฏิบัติในชีวิต ดังนี้ การบริจาคดวงตาของตน จึงถือว่าเป็นภารกิจแห่งความรักฉันพี่น้องและเป็นการเสียสละและกุศลที่สมควรได้รับ”