ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง


ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง

การตลาด/การขาย

จำนวนเข้าชม 2723 ครั้ง

โฆษณาบนสื่อโซเชียล ทำอย่างไรให้โดดเด่น โน้มน้าวใจ ได้ดี

Sponsored

ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง

หลักสูตรอบรม เทคนิคการเจรจาต่อรองและบุคลิกภาพที่ดีเพื่อการขาย ( Negotiation and Selling Techniques with Smart Personality )

          ในยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งล้วนเป็นการแย่งชิง แข่งขัน ฟา...

ดูรายละเอียด

ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง

หลักสูตร เจาะลึก...ขั้นตอนการยื่นกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรับรองหลักสูตรฝึกอบรมและค่าใช้จ่าย

         ปัจจุบันหลายองค์กรต้องเผชิญกับสภาวการแข่งขันอย่างรุนแรงทางด้านการตลาด อีกทั้งย...

ดูรายละเอียด

โฆษณาบนสื่อโซเชียล ทำอย่างไรให้โดดเด่น โน้มน้าวใจ ได้ดี

            เมื่อการขายสินค้าในตลาดออนไลน์ได้รับความนิยมและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บรรดาผู้บริโภคต่างก็ได้รับชมโฆษณาสินค้าต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้การสร้างโฆษณาในแต่ละครั้งต้องสร้างจุดเด่นมีความน่าสนใจที่ดีได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการตลาดและโน้มน้าวใจให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ ซึ่งต้องอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้

1.        การใส่เรื่องราวที่ผู้คนสนใจหรือกำลังเป็นที่นิยมไว้ในโฆษณา รายละเอียดในโฆษณานอกจากจะมีจุดเด่นที่สินค้าแล้ว ยังอยู่ที่การดำเนินเรื่องราวในโฆษณาด้วย ซึ่งหากเป็นโฆษณาที่มีเรื่องราวที่ผู้คนกำลังสนใจก็ย่อมสร้างโอกาสให้ลูกค้าสนใจได้เป็นอย่างดี

2.        การนำเสนอด้วยภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวคือสื่อโฆษณาที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดี ในปัจจุบันรูปแบบของภาพเคลื่อนไหวนั้นก็มีหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวีดีโอ หรือแบบ GIF ซึ่งหากสามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจก็ย่อมจะช่วยให้เกิดการโน้มน้าวใจในหมู่ผู้รับชมได้ดี

3.        การระบุช่องทางในการติดต่อสั่งซื้อเอาไว้ในโฆษณา การขายผ่านสื่อโซเซียลมักเป็นการขายแบบไม่มีหน้าร้าน จึงควรระบุช่องทางในการติดต่อหรือสั่งซื้อสินค้าเอาไว้ด้วย ควรเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกเพื่อสร้างภาพจำให้ผู้บริโภคทราบ

            การโฆษณาที่ดีนอกจากจำเป็นต้องสร้างจุดเด่นให้กับสินค้าและช่องทางในการติดต่อให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจนแล้ว ยังควรมีการติดตามผลของโฆษณาด้วยว่าให้ผลตามเป้าหมายที่วางเอาไว้หรือไม่ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้โฆษณายิ่งสามารถโน้มน้าวใจให้ลูกค้าสนใจและติดตามมากขึ้น  อีกทั้งควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้มากขึ้น

เคล็ดลับอื่นจาก วรพล ทับทิมศรี

เคล็ดลับโค้ชฝากบอก ดูเคล็ดลับทั้งหมด »


การทำธุรกิจสักอย่างหนึ่งให้ได้รับความสนใจและติดตลาดมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพ ราคา และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการโฆษณา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการโฆษณาเป็นสิ่งที่จะทำให้สินค้าของคุณเป็นที่รู้จัก ถึงแม้ในปัจจุบันช่องทางในการโฆษณาจะมากขึ้น แต่บางคนยังพบปัญหาสินค้าขายไม่ออก นั่นอาจเป็นเพราะโฆษณาของคุณยังไม่น่าสนใจมากพอ วันนี้ผมมีเทคนิค การเขียนโน้มน้าวใจ มาฝาก เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปเขียนโฆษณาของคุณให้น่าสนใจมากขึ้นครับ

ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง

การเขียนโน้มน้าวช่วยให้โฆษณาของคุณน่าสนใจยิ่งขึ้น
ขอบคุณรูปภาพจาก
https://positioningmag.com/1154921

การโน้มน้าวใจ คืออะไร?

การโน้มน้าวใจ คือ การพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อ การกระทำ ทัศนคติของคนอื่นให้เกิดความคล้อยตามด้วยวิธีที่เหมาะสม ทำให้บุคคลนั้นเกิดการยอมรับแล้วทำตามในสิ่งที่ผู้โน้มน้าวต้องการ ซึ่งการโน้มน้าวถือว่าสำคัญต่อการโฆษณาสินค้ามากๆ หากคุณสามารถเขียนโฆษณาที่สามารถโน้มน้าวใจผู้ซื้อได้ สินค้าของคุณจะขายได้อย่างแน่นอนครับ

การเขียนโน้มน้าวใจ คืออะไร? หลักการเขียนมีอะไรบ้าง...

การเขียนโน้มน้าว จะเป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่าน เมื่ออ่านแล้ว เกิดความคล้อยตาม รู้สึกตาม หรือ อยากปฏิบัติตามความต้องการที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ การเขียนโน้มน้าวใจ มักถูกนำไปใช้ในการเขียน Copywriting เช่น การเขียนเพื่อโฆษณาขายสินค้าต่างๆ เพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่โฆษณาเอาไว้

ตัวอย่างการเขียนโน้มน้าวใจเชิญชวนให้คนมาดู Netflix

ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง

ขอบคุณรูปภาพจาก
https://brandinside.asia/netflix-new-year-campaign/

การจะเขียนโน้มน้าวใจต้องมีหลักในการเขียนเพื่อให้คนอ่านสามารถเข้าถึงสารที่คุณจะสื่อ ซึ่งหลักในการเขียนมีด้วยกันหลายข้อ ผมได้รวมรวมหลักการเขียนโน้มน้าวที่น่าสนใจมาฝากครับ

  • การวิเคราะห์ผู้อ่าน : ผู้เขียนต้องวิเคราะห์ว่าผู้อ่านมีลักษณะอย่างไร เช่น เพศ อายุ อาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ผู้เขียนสามารถกำหนดเนื้อหาและวิธีนำเสนอได้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้คำพูดที่เน้นความปลอดภัยเมื่อต้องการโฆษณาของใช้เด็กอ่อน
  • การใช้หลักจิตวิทยา : ผู้เขียนต้องใช้หลักจิตวิทยาเป็นตัวช่วยในการเขียนโน้มน้าวใจ ผู้เขียนต้องทำความเข้าใจ ความสนใจ และความต้องการของผู้อ่านว่าจะไปในทิศทางใด เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเขียนโน้มน้าวใจ ใช้ความสนใจเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าของคุณ
  • การให้เหตุผล : ผู้เขียนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อ่าน เป็นการเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจของผู้อ่าน เช่น เหตุผลที่ผู้อ่านต้องซื้อสินค้าของคุณเพราะอะไร สินค้าของคุณมีความแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
  • การใช้ภาษา : ภาษาที่ใช้ในการเขียนโน้มน้าวใจ ความเป็นภาษาที่เร้าอารมณ์ และความรู้สึกของผู้อ่าน กระตุ้นให้ผู้อ่านรู้สึกอยากซื้อสินค้าของคุณ ภาษาที่น่าสนใจจะทำให้สินค้าของคุณน่าสนใจมากขึ้น

ตัวอย่างการเขียนโน้มน้าวใจ

หากใครยังคิดไม่ออกว่าจะเขียนโน้มน้าวใจอย่างไรให้น่าสนใจ เหมาะกับสินค้าของคุณ วันนี้ผมได้นำตัวอย่าง การเขียนโน้มน้าวใจในรูปแบบต่างๆ มาฝากเพื่อเป็นแนวทางครับ 

การให้เหตุผล :

ยกเหตุมาประกอบการตัดสินใจของผู้อ่าน ให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าทำไมต้องเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เช่น “หากคุณกำลังมีปัญหากับความอ้วน มาออกกำลังกายไปกับเราสิ เพราะความอ้วนเป็นบ่อเกิดของโรคภัยอีกมากมาย”

การบอกวิธี :

เขียนเพื่อบอกวิธีการใช้งานไปในตัว เหมาะกับสินค้าที่ใช้ยาก เช่น “แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เพียงใช้เจลใบบัวบก ทาบริเวณแผลเบาๆ จะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนและป้องกันการติดเชื้ออย่างเห็นผล”

ข้อความแบบมีพยาน :

กล่าวถึงบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้และใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้อ่าน เช่น “หากคุณอยากมีเส้นผมที่สวยเหมือน…เลือกแชมพูอัญชันสิคะ เพื่อผมที่สวยเงางามตั้งแต่โคนจรดปลาย”

ข้อความแบบพรรณนา :

บอกถึงลักษณะของสินค้าอย่างละเอียด เน้นการให้ข้อมูลของสินค้า เช่นแชมพูสระผมออร์แกนิก ทำจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% สกัดจากมะกรูดที่ปลูกแบบปลอดสารพิษ น้ำมันหอมระเหยจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย”

การเขียนโน้มน้าวใจ จะช่วยให้สินค้าของคุณได้รับความสนใจมากขึ้น  ยิ่งคุณโน้มน้าวใจลูกค้าได้มากแค่ไหน โอกาสขายสินค้าของคุณก็จะมากเท่านั้น การโฆษณาที่มีข้อความโน้มน้าวใจผู้ซื้อย่อมมีผลต่อความรู้สึกผู้ซื้อมากกว่าข้อความธรรมดาอยู่แล้ว ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังเขียนโฆษณาสินค้านะครับ อย่าลืมไปฝึกฝน การเขียนโน้มน้าวใจ เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจคุณนะครับ 


KingCopywriting แนะนำ... 👇👇👇

ภาษาโฆษณา โน้มน้าวใจ ตัวอย่าง