ตัวอย่างสัญญาร่วมทุน บุคคลธรรมดา

สัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement) คือสัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าทำสัญญากันเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นและกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้นรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ หน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองนั้น โดยที่ห้างหุ้นส่วน คือรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าบริษัทจำกัดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของรายเดียว โดยแต่ละรูปแบบองค์กรก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยห้างหุ้นส่วนจะมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

Show
  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น

โดยที่ในการเข้าหุ้นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำสินทรัพย์ของตนมาเข้าหุ้นเพื่อลงทุนและใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น เช่น เงิน ทรัพย์ (เช่น อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์) หรือ แรงงาน (เช่น การที่หุ้นส่วนรับทำงานให้กับกิจการของห้างหุ้นส่วน)

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนมี 3 ประเภทซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใดๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น (เช่น หนี้สิน)
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคนโดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

(ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ และ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

กำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน เช่น ชื่อและที่อยู่ของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ รายละเอียดผู้เป็นหุ้นส่วน การเข้าหุ้น และการแบ่งผลกำไรและขาดทุน

กำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เช่น การบริหารจัดการ การออกเสียงหรือลงมติ การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)

ผู้เป็นหุ้นส่วนควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน โดยอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนหุ้นส่วน เพื่อให้หุ้นส่วนแต่ละคนยึดถือสัญญาไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยคนละหนึ่งฉบับ รวมถึงเพื่อใช้ในการดำเนินการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยอีกหนึ่งฉบับ ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยในสัญญาดังกล่าวควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของหุ้นส่วนทุกคนที่หุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง

ผู้เป็นหุ้นส่วนติดอากรแสตมป์ที่หนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามอัตราและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจสามารถเกิดขึ้นได้ หากบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันดำเนินกิจการหรือธุรกิจโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งปันผลกำไรกัน แม้ไม่ได้มีการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเอาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี หุ้นส่วนดังกล่าวก็ควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อกำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน รวมถึงวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เพื่อความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนของห้างหุ้นส่วนนั้น

อนึ่ง ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย ห้างหุ้นส่วนจึงจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

การประกอบธุรกิจในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และใช้เทคโนโลยีต่างๆมากมาย ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินโครงการนั้นๆได้เพียงรายเดียว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้ การร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการอาจจะอยู่ในรูปแบบของ “กิจการร่วมค้า”(Joint Venture) หรือ “การร่วมกันในลักษณะของกลุ่มบริษัท”(Consortium)

 

1. ความหมายของJoint Venture และ Consortium     คำว่า “กิจการร่วมค้า” (Joint Venture) ไม่ใช่คำในกฎหมาย แต่เป็นคำที่ใช้กล่าวถึง “การร่วมทุน” (ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน) โดยมีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กิจการร่วมค้า” ไว้มากมาย ซึ่งอาจสรุปได้ว่า “กิจการร่วมค้า” หมายถึง การที่บุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตกลงแบ่งผลกำไรหรือขาดทุนของกิจการร่วมกันหรือตามสัดส่วนของการลงทุนประมวลรัษฎากรได้รับรู้ถึงการทำธุรกิจการค้าแบบ “กิจการร่วมค้า” เพื่อประโยชน์ของการเก็บภาษี

โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 39 ว่าคำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้หมายความรวมถึงกิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ/หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

ประมวลรัษฎากรเพียงแต่ให้ถือว่า “กิจการร่วมค้า” ต้องเสียภาษีอย่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น แต่หาได้ให้ความหมายที่แน่นอน หรือกล่าวถึงสิทธิหน้าที่หรือความเกี่ยวพันระหว่างผู้ร่วมกิจการค้าด้วยกัน หรือกับบุคคลภายนอกไม่

 ดังนั้น กิจการร่วมค้าจึงเป็นการตกลงทำธุรกิจการค้าที่ไม่มีแบบแน่นอนขึ้นอยู่กับข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้ร่วมกิจการหรือผู้ร่วมลงทุน (Joint Venture Agreement) และเนื่องจากเป็นคำที่ยังไม่มีกฎหมายให้ความหมายที่แน่นอนจึงอาจหมายถึงการร่วมกิจการอะไรกันก็ได้ที่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจจะเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ได้ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่ากิจการร่วมค้าจะต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ถ้าไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็ถือว่าเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรที่จะต้องเสียภาษี ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ศาลฎีกาเคยตัดสินว่า กิจการร่วมค้าแห่งหนึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด และบริษัท อ ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” โดยมี อ. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน เช่นนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” ก็คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ “สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์” จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 3848/2531)

ฉะนั้น เมื่อกิจการร่วมค้ายังไม่มีกฎหมายรับรองฐานะและสิทธิหน้าที่ของผู้ร่วมกิจการ ผู้ร่วมกิจการดังกล่าวจะมีความผูกพันระหว่างกันและต่อบุคคลภายนอกอย่างไร ปัญหานี้คงต้องวินิจฉัยตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างผู้ร่วมกิจการและทางปฏิบัติของผู้ร่วมกิจการซึ่งเป็นคู่สัญญากัน ตลอดจนการแสดงออกต่อบุคคลภายนอกด้วย แม้โดยทั่วไปผู้ร่วมกิจการค้าจะไม่เป็นตัวการตัวแทนซึ่งกันและกัน แต่ถ้ามีการมอบอำนาจให้ทำการแทนกันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือปริยาย หรือมีการเชิดให้เป็นตัวแทนกัน ก็อาจต้องมีความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอย่างตัวการตัวแทนได้ (โปรดพิจารณามาตรา 820, มาตรา 821 และมาตรา 822 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) สำหรับสิทธิ ทรัพย์สิน และผลกำไรขาดทุนที่หามาได้ร่วมกันใครจะมีส่วนเท่าไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อตกลงสำหรับ

 

2. รูปแบบของกิจการร่วมค้า (Joint Venture)

 

2.1    กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (Unincorporated Joint Venture)  กิจการร่วมค้าในรูปแบบนี้เกิดขึ้น โดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาร่วมลงทุนเป็นหลัก (Contractual Joint Venture) เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลใหม่แยกต่างหากจากผู้ร่วมลงทุน   แต่ละราย

2.2    กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (Incorporated Joint Venture กิจการร่วมค้าในรูปแบบนี้เป็นกิจการร่วมค้าที่จัดตั้งขึ้น โดยการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลใหม่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมลงทุนแต่ละราย และมักจัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ร่วมลงทุนทุกรายร่วมกันกำหนดในระยะยาว มากกว่าการตั้งขึ้นมาเพื่อรับงานในโครงการใดโครงการหนึ่งเป็นการเฉพาะ

 

3.วัตถุประสงค์ของ Joint Venture และ Consortium

 

3.1   เงินลงทุนในกิจการหรือโครงการขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ประกอบการแต่ละฝ่ายอาจไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ จึงต้องเข้าร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และกรณีที่ต้องขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การร่วมลงทุนดังกล่าวก็เป็นการสร้างความเชื่อถือหรือเครดิตแก่สถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่ออีกด้วย

3.2   ความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน และทรัพยากรทางธุรกิจ (เช่น ใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการเป็นผู้รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของทางราชการ) กิจการหรือโครงการที่ทำนั้นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน และทรัพยากรทางธุรกิจต่างๆ หลายอย่างประกอบกัน ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายขาดความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน หรือทรัพยากรทางธุรกิจบางอย่างในการปฏิบัติงาน จึงต้องร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยี ประสบการณ์ ผลงาน หรือทรัพยากรทางธุรกิจที่ตนยังขาดอยู่

3.3 การกระจายความเสี่ยง  ในกิจการหรือโครงการขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากมีความเสี่ยงต่อการลงทุนเพียงรายเดียว แม้ว่าผู้ประกอบการรายนั้นไม่มีปัญหาทางด้านเงินลงทุนก็ตาม จึงต้องร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

3.4   การลดการแข่งขันทางธุรกิจการเข้าร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการที่ต่างมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันที่ใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกันก็จะเป็นการลดการแข่งขันและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยทำให้ผู้ประกอบการแต่ละรายดังกล่าวสามารถได้รับงานที่จ้างตามความมุ่งหมายของตนได้

3.5    การปฏิบัติงานที่จ้างในโครงการซึ่งอยู่ในต่างประเทศ

 

ข้อกำหนดในการประกวดราคา หรือการจัดจ้างงานในโครงการที่จะต้องดำเนินงานในต่างประเทศ (Terms of Reference หรือ TOR) มักกำหนดให้ผู้เสนอราคาที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยต้องมีบริษัทต่างประเทศร่วมค้าเป็นผู้ร่วมดำเนินงานในประเทศนั้น ๆ

สอบถามเพิ่มเติม

ชื่อ

เบอร์โทรศัพท์

อีเมล์

เรื่อง

ข้อความ