ตัวอย่างแผนผังกาพย์ฉบัง 16

           หมายเหตุ : กิจกรรมอาจปรับให้เหมาะสมกับชั้นเรียนแต่ชั้นได้ เพื่อให้เหมาะสมกับเวลา เช่น ห้องเรียนที่มีนักเรียนจำนวนน้อยๆ อาจปรับให้นักเรียนแต่ละคนได้ลองทำด้วยตนเอง ครูเป็นที่ปรึกษาแนะแนวทางให้เมื่อนักเรียนลองโยงสัมผัส

กาพย์ฉบัง เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ บทหนึ่งมีเพียงหนึ่งบาท บาทละ 3 วรรค บังคับจำนวนคำและสัมผัส ไม่มีบังคับเอก-โท หรือครุ-ลหุ กาพย์ฉบังที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมตั้งแต่โบราณคือ กาพย์ฉบัง 163

ประวัติ
เคยเชื่อกันว่ากาพย์เป็นคำประพันธ์ที่ดัดแปลงมาจากฉันท์ แต่สำหรับ กาพย์ฉบัง นี้ไม่ปรากฏว่ามาจากฉันท์ชนิดใด และไม่เหมือนกาพย์ชนิดใดในตำรากาพย์ ขณะที่สุจิตต์ วงษ์เทศ ระบุว่ากาพย์ฉบังเป็นฉันทลักษณ์เขมร โดย ฉบัง มีรากจากคำเขมรว่า "จฺบำง" หรือ "จํบำง" (ไทยใช้ว่า จำบัง) แปลว่า รบ, สงคราม แต่กวีเขมรบรรยายฉากสงคราม, เคลื่อนทัพ, สู้รบ ด้วยฉันทลักษณ์ที่เขมรเรียกบทพํโนล(ปุมโนล) แล้วไทยเรียกฉบัง
ในจินดามณีมีข้อความว่า

จ ○○○○○○ ○○○○ ○○○○○○ ฯ 16 ฉบัง
โคลสิงฆฉันท์ ฯ มิได้กำหนด ครุ ลหุ แลนิยมแต่กลอนฟัดกันอย่างกาพย

เมื่อพิจารณากาพย์ตัวอย่างแล้วฉันทลักษณ์เป็นกาพย์ฉบัง 18 แต่การจัดวรรคต่างกัน คำว่าดำเนอรกลอน 4 หมายถึงการรับสัมผัสคำที่ 4 ของวรรคที่สอง และดำเนอรกลอน 5 หมายถึงการรับสัมผัสคำที่ 5 ของวรรคที่สองนั่นเอง

ตัวอย่างแผนผังกาพย์ฉบัง 16

             "มะม่วง/พวงพลอง/ช้องนางหล่นเกลื่อน/เถื่อนทาง
กินพลาง/เดินพลาง/หว่างเนิน
             เห็นกวาง/ย่างเยื้อง/ชำเลืองเดิน
เหมือนอย่าง/นางเชิญ
พระแสง/สำอาง/ข้างเคียง
              เขาสูง/ฝูงหงส์/ลงเรียง
เริงร้อง/ซ้องเสียง
สำเนียง/น่าฟัง/วังเวง
            กลางไพร/ไก่ขัน/บรรเลง
ฟังเสียง/เพียงเพลง
ซอเจ้ง/จำเรียง/เวียงวัง"


             กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๓ วรรค

  พยางค์

                พยางค์หรือคำ วรรคที่ ๑ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ รวมทั้งหมดมี ๑๖ คำ จึงเรียกว่า กาพย์ฉบัง ๑๖

  สัมผัส

  ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค ๒

  ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป   ( เรียกว่า สัมผัสระหว่างบท )

 การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖

                การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖ จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้

 หนึ่งบทมี ๓ วรรควรรคแรกมี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ การอ่านจึงเว้นจังหวะทุกๆ ๒ คำ

00 / 00

กลางไพร / ไก่ขัน / บรรเลง

ฟังเสียง / เพียงเพลง

ซอเจ้ง / จำเรียง / เวียงวัง