แนวข้อสอบ พร บ จัดตั้ง อป ท

((FREE))แนวข้อสอบ พรบ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

แนวข้อสอบ พร บ จัดตั้ง อป ท

1. พระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.  29  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2542
ข.  30  พฤศจิกายน   พ.ศ. 2542
ค.  29  ธันวาคม  พ.ศ.  2542
ง.  30  ธันวาคม  พ.ศ.  2542
  ตอบ  ข.  30  พฤศจิกายน   พ.ศ. 2542
มาตรา  2  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. องค์การปกครองท้องถิ่น  หมายความว่า
ก.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล
ข. องค์การบริหารส่วนตำบล  กรุงเทพมหานคร  เมืองพัทยา
ค. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
           มาตรา  3 ในพระราชบัญญัตินี้
           “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล  กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
           “พนักงานส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า  ข้าราชการองค์การส่วนจังหวัดพนักงานเทศบาล  พนักงานส่วนตำบล  ข้าราชการกรุงเทพมหานคร  พนักงานเมืองพัทยา  และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

3. บุคคลใดคือผู้รักษาการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542
ก.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.  ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.  ปลัดองค์กรปกครองท้องถิ่น
ง.  ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ  ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
          มาตรา  4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

4. คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากที่ใดบ้าง
ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
ค.  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และผู้ทรงคุณวุฒิ
ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
          มาตรา  5 ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง ให้มีคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย
         1)  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
         2)  หัวหน้าส่วนราชการประจำหวัดจำนวนสามคนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้
ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล
ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้
        3)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่คน  ประกอบด้วย
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน
       4)  ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน
ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้าน  การบริหารงานท้องถิ่น  ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ
ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

5. บุคคลใดคือคือประธาน คณะกรรมการการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก.  รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ข.   ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.  นายกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง.  ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ  ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
              มาตรา  5 ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง ให้มีคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย
             1)  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

6. คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีผู้แทนที่มาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดกี่คน
ก.  2  คน
ข.  3 คน
ค.  4  คน
ง.  5  คน
ตอบ  ค. 4  คน
           3)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสี่คน  ประกอบด้วย
-นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
-สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน
-ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
-และผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน

7. อยากทราบว่าในคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนี้  มีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คน
ก.  2  คน
ข.  3 คน
ค.  4  คน
ง.  5 คน
ตอบ  ค. 4  คน
             มาตรา  5
ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง
ให้มีคณะกรรมการการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
            1)  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
            2)  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจำนวนสามคนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล  ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้
            3)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่คน  ประกอบด้วย
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน  ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน
           4)  ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน
ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานท้องถิ่น  ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ  ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม  4)
ให้กรรมการตาม  1)  และ  2) เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนหกคน และกรรมการตาม 3)  เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนหกคนและให้บุคคลทั้งสิบสองคนดังกล่าวประชุมเพื่อคัดเลือกกันเองให้เหลือสี่คน

8. บุคคลซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตจังหวัดนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าระยะเวลาเท่าใดนับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
ก.  90  วัน
ข.  180 วัน
ค.  1  ปี
ง.  ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดไว้
ตอบ  ค. 1 ปี
              มาตรา  6   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม  ดังต่อไปนี้
           1)  มีสัญชาติไทย
           2)  มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
           3)  ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
           4)  ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ
หรือ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          5)  ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
          6)  ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
          7)  ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใดๆ  ในพรรคการเมือง
บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ

9. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก.  2  ปี
ข.  3  ปี
ค.  4 ปี
ง.  5 ปี
ตอบ  ค. 4 ปี
             มาตรา  7
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจรับคัดเลือกอีกได้
         ถ้ากรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง
ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างโดยเร็ว  ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา  5
และให้กรรมการซึ่งได้รับการคัดเลือกมีวาระอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตอบแทน
ในระหว่างที่ยังมิได้คัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างตามวรรคสองและยังมีกรรมการเหลืออยู่กึ่งหนึ่ง ให้กรรมการที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้

10. นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
ก.  ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
ข.  เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น  หรือผู้บริหารท้องถิ่น
ค. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
              มาตรา  9  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
              1)   ตาย
              2)   ลาออก  โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
              3)   เป็นบุคคลล้มละลาย
              4)   เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
              5)  ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  6
              6)   ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก