นักอนามัยสิ่งแวดล้อม ภาษาอังกฤษ

ชื่อภาษาไทย

   หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม)

   (ชื่อย่อ) วท.บ.(อนามัยสิ่งแวดล้อม)

ชื่อภาษาอังกฤษ

   Bachelor of Science (Environmental Health)

   (ชื่อย่อ) B.Sc.(Environmental Health)

จุดเด่นของหลักสูตร

   ■ เรียนรู้โดยการปฏิบัติ
   ■ ฝึกงานเข้มข้นในสถานประกอบการหน่วยงานต่างๆ
   ■ มีสภาวิชาชีพรองรับ

นักอนามัยสิ่งแวดล้อม ภาษาอังกฤษ

นักอนามัยสิ่งแวดล้อม ภาษาอังกฤษ

การประกอบอาชีพ
  • นักวิชาการสาธารณสุข
  • นักสุขาภิบาล
  • เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมในบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ควบคุมระบบสิ่งแวดล้อม
  • นักวิชาการสิ่งแวดล้อม/เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม
  • นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ช่วยวิจัยทางสิ่งแวดล้อม

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Environmental Health

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ : วท.บ. (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Environmental Health)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Environmental Health)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อว่า วิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชน โดยนักอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพนั้น ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานจริง เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิจัย นวัตกรรม ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม ผนวกกับแนวคิด EcoHealth และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม    

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. แสดงพฤติกรรมที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จิตอาสา และมีสำนึกสาธารณะ 
  2. มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการควบคุมและ การควบคุมมลพิษทางน้ำ อากาศ มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 
  3. มีทักษะการปฏิบัติด้านการจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ ประเมิน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามขอบเขตของกฎหมาย มาตรฐานวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  
  4. สามารถคิดเชิงระบบ มีทักษะในศตวรรษที่ 21ด้านทักษะชีวิตและอาชีพและบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต   
  5. มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม การใช้ภาษาและเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม
  6. ทักษะทางด้านกระบวนการทางวิจัย เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 

     บัณฑิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมสามารถเป็นผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  1. นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  2. ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
  3. นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  4. นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานต่างประเทศ เช่น United States Environmental Protection Agency (U.S. EPA), World Health Organization (WHO), United Nations (UN), Centers for Disease control and Prevention (CDC) เป็นต้น
  5. เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  6. ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม
  7. เจ้าหน้าที่บริหารจัดการมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ในภาคเอกชน เช่น ISO 14000, ISO 17025 เป็นต้น
  8. นักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  9. เป็นผู้ประกอบการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

  • PLO 1: มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยเน้นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีจิตอาสา และมีสำนึกสาธารณะ 
  • PLO 2: มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถสื่อสารกับสังคมพหุวัฒนธรรม และทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ     
  • PLO 3:  มีความสามารถวิเคราะห์ ประเมิน จัดการปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และมลพิษข้ามแดนในยุคดิจิตอล           
  • PLO 4:  มีความสามารถริเริ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรม ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยการบูรณาการองค์ความรู้และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องผ่านกระบวนการวิจัย ตามกรอบแนวคิดของ EcoHealth

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 30,000.- บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 143 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 107 หน่วยกิต
  1) กลุ่มพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 25 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาพื้นฐานสาธารณสุข 18 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อม 58 หน่วยกิต
  4) กลุ่มวิชาเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพ 6 หน่วยกิต
       
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
       

หลักสูตรที่เปิดสอน