แต่งกายไปงานพระราชทานเพลิง ชุดขาว

การแต่งกายไว้ทุกข์อย่างถูกต้อง สำหรับข้าราชการ

เชื่อว่า หลายคนต่างรู้ดีอยู่แล้วว่า การแต่งกายในช่วงวันไว้ทุกข์ สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น คือ การสวมใส่ชุดสีดำสุภาพ แต่หากไม่มีก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าสีเทา สีขาว หรือสีพื้นที่สุภาพก็ได้เช่นกัน แล้วหากเป็นข้าราชการล่ะ ควรต้องแต่งกายแบบใด วันนี้ Promotions มีคำตอบมาฝากค่ะ

โดย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ระบุถึงเรื่องเครื่องแบบพิธีการ (ชุดขาวข้าราชการ) ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ดังที่มีรายละเอียด ต่อไปนี้

เครื่องแบบพิธีการข้าราชการฝ่ายพลเรือน

ข้าราชการชาย (เครื่องแบบปกติขาว)
แต่งกายไปงานพระราชทานเพลิง ชุดขาว
ภาพจาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

1. เสื้อแบบราชการ (เสื้อคอปิดแขนยาว) สีขาว กระเป๋ามีใบปกกระเป๋า ดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ 5 ดุม

2. กางเกงขายาวแบบราชการสีขาว ไม่พับปลายขา

3. ติดเครื่องหมายแสดงสังกัด ทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบ สูง 2 เซนติเมตร ติดที่คนเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง

แต่งกายไปงานพระราชทานเพลิง ชุดขาว

4. อินทรธนู ให้มีอินทรธนูแข็งกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก โดยประดับตามประเภทและระดับตำแหน่ง

5. ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

6. รองเท้าหุ้มส้นหนังเทียมหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำชนิดผูกเชือกและถุงเท้าสีดำ

กรณีมีหมายกำหนดการกำหนดแต่งเครื่องแบบปกติขาวประดับเหรียญ ให้ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ เช่น เหรียญบรมราชาภิเษก เหรียญรัชดาภิเษก เหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น โดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อนึ่ง สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ซึ่งยังไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบย่อเหรียญที่ระลึกได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ในกรณีไว้ทุกข์ซึ่งมีหมายกำหนดการ หรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งเครื่องแบบพิธีการ ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งดำขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซนติเมตร พันแขนเสื้อซ้ายเบื้องบน


ข้าราชการหญิง (เครื่องแบบปกติขาว)
แต่งกายไปงานพระราชทานเพลิง ชุดขาว
ภาพจาก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

1. เสื้อให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาว แขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลัง 4 ตะเข็บ ที่แนวสาบ อกมีดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร 3 ดุม สำหรับเสื้อคอแหลม และ 5 ดุม สำหรับเสื้อคอป้าน มีกระเป๋าล่างข้างละ 1 กระเป๋า เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋าด้านในให้ใช้เสื้อคอพับสีขาว ผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสี

2. กระโปรงสีขาว ตีเกร็ดด้านหน้า 2 เกร็ด และด้านหลัง 2 เกร็ด ยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย

3. ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบ สูง 2 เซนติเมตร ติดที่คนเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง

4. อินทรธนู ให้มีอินทรธนูแข็งกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า พื้นสักหลาดสีดำ ติดทับเสื้อเหนือบ่าสองข้างจากไหล่ไปคอ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดเล็ก โดยประดับตามประเภทและระดับตำแหน่ง

5. ประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

6. กรณีไว้ทุกข์ซึ่งมีหมายกำหนดการ หรือกำหนดนัดหมายของทางราชการระบุให้แต่งเครื่องแบบพิธีการ ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งดำขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซนติเมตร พันแขนเสื้อซ้ายเบื้องบน

7. รองเท้าเทียมหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ แบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ (ถุงน่อง)

กรณีมีหมายกำหนดการกำหนดแต่งเครื่องแบบปกติขาวประดับเหรียญ ให้ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ เช่น เหรียญบรมราชาภิเษก เหรียญรัชดาภิเษก เหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น โดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อนึ่ง สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ซึ่งยังไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบย่อเหรียญที่ระลึกได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ทั้งนี้ ในส่วนการแต่งเครื่องแบบเต็มยศ สำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย และขั้นต่ำกว่าสายสะพายนั้น กรณีไว้ทุกข์ซึ่งมีหมายกำหนดการ หรือกำหนดนัดหมายของทางราชการก็ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งดำขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซนติเมตร พันแขนเสื้อซ้ายเบื้องบนเช่นเดียวกัน


READ MORE :

  • ออกทุกข์วันที่ เท่าไหร่ และควรแต่งกายอย่างไร?
  • อยากเป็น “ข้าราชการ” ต้องวางแผนการเงินอย่างไร?
  • ชุดไทยจิตรลดา สีดำ พร้อมส่ง 11street
  • 5 ชุดดำสีสุภาพจากจีน ราคาไม่เกิน 300 จาก Ezbuy
  • Shopat24 เครื่องแต่งกาย ของใช้ สีดำ ลดราคา สูงสุด 76%

แต่งกายไปงานพระราชทานเพลิง ชุดขาว